ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองใ

อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองในอินเดีย(1)

 

                กษัตริย์หรือผู้นำชุมชนในอาณาจักรทวาราวดีจึงมุ่งที่จะขยายอำนาจการปกครองตามคติของจักรพรรดิในพุทธศาสนาอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชโดยหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเข้าสู้รบหรือปราบปรามด้วยอำนาจและกำลังไพร่พล ด้วยเหตุนี้การขยายอาณาเขตจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีบริเวณกว้างไพศาลนั้น จึงใช้พุทธศาสนาเผยแพร่เป็น การเอาชนะด้วยธรรมจนสามารถครอบคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่างตั้งแต่ด้านตะวันตกไปจนถึงด้านตะวันออกนั้น

 

                ทำให้กษัตริย์หรือผู้นำชุมชนนั้นมีอิทธิพลที่ครอบคลุมไปถึงลุ่มแม่น้ำแม่กลองแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และ แม่น้ำบางประกง หลักธรรมคำสั่งสอนในพุทธศาสนานั้นได้ไปปลูกให้ผู้คนในสมัยทวาราวดีมีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนามากขึ้นจึงเป็นหนทางชนะที่ลดการต่อสู้และยอมรับเอาหลักธรรมให้สงบโดยดุษฎีและปล่อยวาง นั่นคือ การยอมให้อำนาจธรรมกับชนชั้นปกครองนั่นเอง

 

                การสร้างศรัทธาความเชื่อและสร้างระบบชัยชนะด้วยธรรมนั้น ได้มีการสร้างธรรมจักร กับกวางหมอบพระพุทธรูปสลักจากหิน และหล่อด้วยสำริด สร้างสถูปเจดีย์ วิหารขึ้นมากมายพร้อมกับนำหลักธรรมโดยเฉพาะ  คาถา  เย  ธมมา และจารึกคำสั่งสอนนั้นได้ทำให้กษัตริย์หรือผู้นำชุมชนมีความสำเร็จในการเอาชัยด้วยธรรม ทำให้อาณาจักรทวาราวดีมีบทบาทสำคัญคือสามารถเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่ขยายความเชื่อศรัทธาในพุทธศาสนาออกไปจากศูนย์กลางที่อยู่ด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ แม่น้ำ แม่กลอง แม่น้ำท่าจีนแล้วขยายออกไปทางด้านตะวันออกคือลุ่มแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก ออกไปจนถึงลุ่มแม่น้ำบางประกง ขึ้นไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี นอกจากนี้ยังได้ขยายออกไปทางภาคเหนือจนขึ้นไปถึงลุ่มแม่น้ำปิง คืออาณาจักรหริภูญ์ไชยและขยายลงภาคใต้ลงไปจนถึงเมืองยะรัง (ในจ.ปัตตานี) จึงทำให้ดินแดนของอาณาจักรทวาราวดีที่มีชัยชนะโดยพุทธธรรมนั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก เป็นการทำให้กษัตริย์มีความเป็นจักรพรรดิในพุทธศาสนาที่มีคติจักรพรรดิของศาสนาพราหมณ์ที่มีความเชื่อว่า จักรพรรดินั้นต้องมีชัยชนะได้ทั้ง ๔ ทิศ คือ ทิควิชยิน

 

                การสร้างฐานะกษัตริย์ ในชุมชนโบราณสมัยทวาราวดีนั้นแม้จะมีผู้นำชุมชนอยู่มากมายหลายแห่งก็ไม่ได้หมายความว่าชุมชนนั้นจะสามารถเป็นกษัตริย์หรือผู้นะของอาณาจักรได้ ดังนั้นเมื่อมีชุมชนโบราณมากขึ้น การสร้างรัฐปกครองตามคติของจักรพรรดิในพุทธศาสนาที่เอาชนะด้วยธรรมนั้นจึงน่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ ผู้นำอาณาจักรที่สามารถขยายเขตของหลักธรรมออกไปเป็นทิศวิชยินคือมีชัยชนะทั้ง ๔ ทิศ ขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยหมายว่าผู้นำอาณาจักรนั้นได้ถูกให้ความเคารพเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ คือ ประทับนั่งเทียบเทพพระเจ้า ซึ่งในอินเดียโบราณนั้นมีพิธีราชสูยะคือพิธีเสกให้เป็นราชา

               

                หลักฐานสำคัญที่เป็นกษัตริย์ต้องประกอบในพิธีกรรมดังกล่าวนั้น ที่พระปฐมเจดีย์นั้นได้พบแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะสมบูรณ์ ตรงกลางมีหลุมดินล้อมรอบด้วยกลีบบัว ๒ ชั้น ด้านบนนั้นสลักเป็นรูปการอภิเษกของศรีหรือคชลักษมี ถัดลงมานั้นเป็นรูปแส้ขนจามรวัชระ ขอสับช้าง (อังกุศะ) พัดโบก (วาลวิชนี) ฉัตรปลาและสังข์อย่างละคู่ และมี หม้อกลศ (ปูรณกลศ-หม้อน้ำ) อยู่ส่วนล่างและตรงมุมทั้งสี่นั้นสลักเป็นรูปดอกบัวเสี้ยวที่เมืองดงคอน จังหวัดชัยนาท ก็พบแผ่นหินแบบเดียวกันแต่เป็นชิ้นที่แตกหัก

 

                แผ่นหินนี้ จากลายจำหลักที่เป็นองค์ประกอบของพิธีเสกนี้น่าจะมีความหมายถึงสิ่งมงคลสำหรับการเสกให้เป็นราชา  สำหรับหลุมตื้นที่อยู่ตรงกลางนั้นน่าจะเกิดจากการถูกใช้ฝนหรือนำผงกำยานหรือผงแป้งมาผลสำหรับเจิม หรือวางหม้อกลศ เพื่อใช้น้ำสรง (แบบมุรธาภิเษกหรือสรงสนานในปัจจุบัน) ผู้เป็นเทพหรือเทพี คือ อภิเษกนียะก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

 

                ภาพแส้ วัชระ ขอสับช้าง พัดโบกฉัตร ปลา สังข์ นี้เป็นสิ่งของที่น่าจะใช้ในพิธีราชสุยะมาก่อน จึงไม่เหมือนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในปัจจุบัน อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย เช่น พระแสงพระขรรค์ชัยศรี น่าจะใช้ วัชระมาก่อน

                เรื่องราวของกษัตริย์ของอาณาจักรทวาราวดีนั้น ยังไม่พบรายละเอียดมากไปกว่านี้นอกจากแผ่นหินแบบเดียวกันนี้กับหม้อกลศสำริดในสภาพสมบูรณ์ พบที่เมืองเวศาลีในแคว้นยะไข่ และเมืองโบราณสมัยทวาราวดี นั้นพบแผ่นหินแบบนี้ที่เมืองบึงคอกช้างตรงกลางนั้นถูกฝนเป็นรอยตื้นอยู่บ้างเหมือนกัน เป็นแผ่นเรียบ ไม่มีลวดลายเช่นนี้

 

                ส่วนการปกครองอาณาจักรทวาราวดีนั้น กษัตริย์ที่ครองอาณาจักรใหญ่นั้น น่าจะได้แบ่งส่วนการดูแลให้กับโอรสเป็นตัวแทนไปครองเมืองโดยขึ้นตรงกับกษัตริย์ซึ่งจะมีคำต่อท้ายว่า ปติ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ เจ้าครองเมืองที่มีอำนาจระดับเมือง อันเป็นรูปแบบการปกครองของชาวอินเดีย จากการพบจารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีที่วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรีที่กล่าวถึงการสร้างพระพุทธโดยพระโอรสของกษัตริย์ซึ่งเป็นเจ้าครองเมืองนั้น ทำให้เมืองลพบุรีนั้นน่าจะมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง โดยในพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๒ นั้นเมืองอู่ทองได้เป็นเมืองหลวงรุ่นแรก และพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ เมืองนครปฐมโบราณ ได้เป็นเมืองหลวงต่อมา นั่นหมายถึงอาณาจักรทวาราวดีนั้นมีศูนย์กลางอยู่ในภาคกลางตอนล่างของไทย

 

                การใช้เงินตรา  ในระยะแรกนั้นการแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่อนำไปใช้ในชุมชนของตนนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ เมื่อมีจำนวนมากและต้องการสิ่งของที่ไม่มีในชุมชนนั้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้วยความยินดีกัน ไม่ได้คำนึงถึงผลของการทำการหายากง่าย หรือมีน้อย มีมาก สังคมการแลกเปลี่ยนนั้นทำให้มีสิ่งของหลายอย่างในชุมชนอื่นและมีการเดินทางที่ไกลออกไปจากแหล่งผลิตเดิม การขนย้ายสิ่งของระหว่างชุมชนจึงมีความยากลำบากแต่ต้องใช้เวลา


 

                ครั้นเมื่อชาวเมดิเตอร์เรเนียน ได้เริ่มได้เริ่มการค้าโดยมีระบบเงินตราขึ้น อินเดียจึงรับการสร้างเงินตราขึ้นเป็นเหรียญกษาปณ์ที่เป็นเงินมีตรานั้นได้แพร่หลายไปยังชุมชนสมัยทวาราวดีหลายแห่ง เช่น พบที่เมืองออกแก้ว ในเวียดนามใต้ คลองทอมในจังหวัดกระบี่ เป็นต้น ต่อมาได้มีการทำเงินตราขึ้นเองในชุมชนโดยผู้นำท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง

 

                เงินตราสมัยทวาราวดีนั้น ชนิดจารึกตัวอักษร นั้นเป็นเหรียญที่สร้างโดยกษัตริย์รัฐยะไข่และกษัตริย์ในอาณาจักรทวาราวดี ส่วนเหรียญที่มีทำเป็นสัญลักษณ์โดยมีรูปหอยสังข์ด้านหนึ่งกับศรีวัตสะด้านหนึ่ง  และรูปพระอาทิตย์ด้านหนึ่งกับศรีวัตตะด้านหนึ่งเป็นนั้น พบในชุมชนโบราณสมัยแรกที่เริ่มประวัติศาสตร์  เช่น

 

                อาณาจักรฟูนัน  ของขอมโบราณ

                เมืองโบราณที่ออกแก้ว  ในเวียดนามใต้

                เมืองโบราณที่รัฐของพวกปยู  ในเมียนมาร์ (พม่า) ตอนกลาง

                เมืองโบราณในรัฐของพวกมอญ  ในเมียนมาร์ (พม่า) ตอนใต้

                เมืองโบราณต่างๆ สมัยทวาราวดี ที่พบในไทยภาคกลาง

 

                เหรียญรูปสัญลักษณ์  ทำโดยกษัตริย์ของสมัยทวาราวดี ด้วยพบแม่พิมพ์เหรียญทั้งสองแบบ การทำเงินตรานั้นต้องการที่จะควบคุมรายได้จากการซื้อขายกับชุมชนภายนอกจึงทำด้วยโลหะที่ดีหายาก และใช้เป็นสื่อกลางสำหรับ ซื้อขายกันโดยให้มีค่าเหมือนกับเงินตราของพ่อค้าที่มาค้าขายด้วย ดังนั้นเงินตรานี้จึงได้นำรูปสัญลักษณ์ของกษัตริย์อินเดียมาใช้ เพื่อให้ระบบเงินตราสามารถใช้ด้วยกันได้กับเงินตราที่มาจากอินเดีย ดังนั้นจึงพบเงินตรานี้ได้ระบบเงินตราสามารถใช้ด้วยกันได้กับเงินตราที่มาจากอินเดีย ดังนั้นจึงพบเงินตรานี้ในบริเวณแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นพม่า เวียดนาม และขอม

 

                ประการสำคัญคือ สัญลักษณ์บนเงินตรานั้นมีความหมายถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์ความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร

 

                การใช้ตราประทับ   นอกจากสัญลักษณ์เงินตราที่ใช้ในเงินตราสมัยทวาราวดีแล้ว ยังมีการนำการประทับตรามาเป็นเครื่องบอกถึงสถานะของสถาบันต่างๆ ได้แก่ ผู้ปกครอง ศาสนา องค์กรการค้า หรือกลุ่มคณะ ที่มีการติดต่อสื่อสารกัน ในระยะแรกเป็นกลุ่มพ่อค้าอินเดียได้สื่อสารกับประชากรในเมืองที่ติดต่อค้าขายกัน ซึ่งพบตราประทับของกษัตริย์อินเดียและโรมันที่บริเวณท่าโบราณ เช่น ในคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เมืองออกแก้ว ในเวียดนาม เมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่พบในเมืองนครปฐมโบราณ เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองพรหมทิน จังหวัดลพบุรี เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น

 

 

                ต่อมา  ผู้นำของชุมชนโบราณได้ทำตราสำหรับใช้ประทับขึ้นเอง และใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับสื่อความหมายกับคนในชุมชนหรือกลุ่มชาวเมืองให้รู้ว่า ผู้ใดเป็นผู้สื่อสารมาถึง

                การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้   การสร้างรูปแบบนิยมสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายนั้น  ได้พบว่า  พ่อค้าชาวอินเดียได้นำสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้อยู่ในเมืองของตนมาใช้ในกลุ่มของตนที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  ๕-๗  ซึ่งเป็นสมัยที่มีการเรียนแบบอย่างที่รู้จักกันว่าสมัยอินโด-โรมันนั้นได้มีการส่งมาใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่  ๙-๑๑  คือ  สมัยคุปตะ ในที่สุดชุมชนโบราณนั้นได้ผลิตขึ้นเองซึ่งมีการพบเบี้ยดินเผาแผ่นดินเผาสำหรับขัดผิวแท่นหินกับหินบดสำหรับใช้บดเมล็ดพืช  เป็นต้น  ในชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี

 

                การทำภาชนะดินเผา   ภาชนะดินเผานั้นได้มีการสร้างรูปแบบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในครั้งแรกทำเป็นภาชนะดินธรรมดาที่มีรอยแตกได้ง่าย เป็นดินดิบยังไม่ได้เผาและทำง่ายๆ  เช่น จานหรือชามที่มีเชิงสูง หม้อดินมีสัน หม้อก้นกลม ไหดิน ขนาดต่างๆ  ชาม และอ่าง หลายขนาด รูปแบบที่ทำนั้นนำรูปแบบจากอินเดียบ้าง  โรมัน บ้าง  เช่น  หม้อน้ำมีพวย  หม้อน้ำปากขวดถ้วยมีพวย  และตะครัน

 

                การตกแต่งภาชนะดินเผาสมัยทวาราวดีนั้น มีวิธีทำหลายแบบ และสืบต่อจากวิธีการของชุมชน กล่าวคือ การขูดขีดเป็นลายคลื่น การกดลายด้วยลายประทับในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปบุคคล  สัตว์และดอกไม้ เป็นต้น

 

                ความเชื่อและศาสนา  ความเชื่อดั้งเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่นับถือผีหรือสิ่งที่อธิบายไม่ได้นั้นก็ยังมีพิธีกรรมอยู่บางส่วน  ในพุทธศตวรรษที่  ๘  นั้นหรือก่อนหน้านั้น ผู้คนสมัยทวาราวดีได้รับเอาพุทธศาสนาจากอินเดียทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานมานับถืออย่างเคร่งครัด  พบว่ามีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สร้างสำหรับพุทธศาสนานั้น กระจายตัวอยู่ตามชุมชนโบราณหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในบริเวณภาคกลางตอนล่างของไทยหลักฐานสำคัญนั้นคือ ประติมากรรมดินเผาและรูปปั้นที่ใช้ประดับศาสนาสถานที่สถูปเจดีย์และวิหารซึ่งพบในเมืองอู่ทอง  ปรากฎว่ามีหลายชิ้นที่มีรูปแบบสืบทอดมาจากศิลปะแบบอมราวดีตอนปลาย  เช่นชิ้นส่วนประติมากรรมรูปพระสงฆ์  ๓  รูปครองผ้าจีวร

 

                ส่วนศาสนาพราหมณ์นั้นผู้คนสมัยทวาราวดีส่วนหนึ่งได้พากันนับถือทั้งไศวนิกายและไวษณพนิกายปรากฏว่ามีชุมชนของพราหมณ์  ซึ่งเป็นนักบวชและพ่อค้านั้นเดินทางเข้าค้าขาย  และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณภาคใต้  บริเวณเมืองไชยาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองนครศรีธรรมราช  และบริเวณภาคกลางตอนล่างของไทย  หลักฐานที่พบนั้น พบว่ามีประติมากรรมรูปศิวลึงค์ของไศวนิกายอยู่เป็นจำนวนมากที่เมืองอู่ทองและเมืองนครปฐมโบราณ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองในอินเดีย(1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์