ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำใ

 

                การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำให้เกิดคุณค่าเชื้อชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ขึ้น ซึ่งเป็นผลถึงชนชาติต่าง ๆ ดังนี้(2)

 

ตอนกลางของดินแดนสุวรรณภูมินั้น มนุษย์รู้จักทำภาชนะสำหรับหุงต้ม และเป็นภาชนะใส่ข้าว-น้ำมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 20,000 ปีแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รู้จักการนำใบยาพื้นเมืองมาสูบไม่น้อยกว่า 9,000-7,000 ปีแล้ว โดยมวนด้วยใบยา ใบตองแห้ง และกลีบบัว ต่อมาประมาณ 8,000-7,000 ปี ก็มีความสามารถสร้างสรรค์กล้องยาเส้นทำด้วย  ดินเผามีลวดลายของกลีบบัวประกอบให้สวยงาม

 

                นอกจากนี้ยังรู้จักทำลูกกลิ้ง ลวดลายผ้าและลายหม้อไหลายเขียนสี (บ้านเชียง) ระยะประมาณ 6,000 ปีเศษ ได้มีการใช้ภาษาพูดเป็นสื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันมีการสร้างสัญลักษณ์แทนคำพูดตามผนังถ้ำ และเพิงผา พอล่วงมาประมาณ 5,000-4,000  ปี  สัญลักษณ์นั้นก็เป็นรากฐานตัวหนังสือที่แพร่หลายในสมัยวงศ์ชางอิน(SHANG YIN  CULTURE)  ประมาณ 5,000  ปีนั้น ได้มีการคิดค้นทำข้าว หรือน้ำอ้อย หรือน้ำตาลจากต้นตาล มะพร้าว  มาหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ และนำเปลือกไม้ รากไม้ ปรุงแต่งให้มีรสดีน่าดื่ม เล้วมีการทำกาเหล้า ไหเหล้า ด้วยเหล้าเป็นการพิเศษอีกด้วย 

 

                เรื่องราวของมนุษย์เผ่าพันธุ์ไทย จึงมีเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการจากยุคหิน ตั้งแต่สมัยหินเก่า (PALAEOLOTHIC PERIOD) ตั้งแต่ 10,000 ปี ขึ้นไป สมัยหินกลาง (MESOLITHIC PERIOD) ประมาณ 11,000-8,350 ปี  จนและสมัยหินใหม่  (NEOLITHIC PERIOD) ประมาณ 3,900-2,000 ปี จนถึงยุคโลหะ ที่สิ้นสุดเมื่อประมาณ พ.. 1000ที่ถือกันว่า เป็นการตั้งต้นสมัยประวัติศาสตร์ (คือจารึกของพระเจ้าอิศานวรมัน นั้นมีอายุราว พ.. 1185)

 

                ชนชาติไทยนั้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่เก่าแก่มาก ซึ่งในปัจจุบันนี้เผ่าพันธุ์ของชนชาติไทยได้อยู่กระจัดกระจายทั่วไปในตอนใต้ของทวีปเอเชีย ตำนานและขนบธรรมเนียมของชาตินั้นยังเกี่ยวพันถึงชาติมองโกเลียและใกล้ชิดกับชาติจีน ซึ่งในจดหมายเหตุโบราณของจีนพม่า

 

                เผ่าพันธุ์เชื้อชาติไทยนี้ปรากฏตามจดหมายเหตุจีนโบราณว่า มุงใหญ่ หรือต้ามุง (GREATMUNG) เป็นชนชาติที่มีพวกมากและสำคัญพวกหนึ่ง ต่อมาได้มีการอพยพเข้าไปอยู่ในท้องที่ลุ่มแม่น้ำยางสีตอนเหนือตลอดจีนตอนใต้ของประเทศจีน และอยู่ทั่วไปใน อัสสัม พม่า ญวนและในเขมรบางส่วน

                ถึงแม้ว่าชนชาติไทยจะมีประวัติการมานานและอาศัยอยู่ทั่วไปนั้น ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏว่าชนชาติไทยในครั้งโบราณนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าชนชาติไทยในปัจจุบันนี้ซึ่งมีข้อสังเกตจากตำนานของชนชาติไทยวา ชนชาติไทยได้แยกออกเป็นหลายพวกหลายเหล่า  ซึ่งต่างก็เป็นอิสระไม่ได้รวมกันเป็นชาติใหญ่ชาติเดียวเช่นนี้ ทำให้ชาติมีกำลังอ่อนลงและไม่เจริญรุ่งเรืองเหมือนกับที่ได้รวบรวมอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลแห่งเดียวกัน

 

                ความเจริญของชนชาติไทยเป็นมาอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องราวของถิ่นเดิมหรือภูมิลำเนาดั้งเดิมของชนชาติไทย ซึ่งในคำนำของหนังสือฝรั่งเศสชื่อ “SILVE'S TO GRAMMER” ได้กล่าวถึงประวัติการของชนชาติไทยจากการแปลพงศาวดารสยามฉบับหลวง ประวัติการของเขมร ตำนานไทยฝ่ายเหนือ เชียงราย และตำนาน  เมืองลาวที่ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีข้อความดังนี้

 

                “ประวัติการของชนชาติไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนโบราณกล่าวว่า เมื่อประมาณ 850 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (307 ปี ก่อนพุทธศักราช)  ภูมิลำเนาเดิมของชนชาติไทยอยู่ตอนกลางลุ่มแม่น้ำเหลือง  (YELLOW SEA)  ซึ่งเป็นท้องที่มณฑลฮูเปและมณฑลโฮนาน แห่งประเทศจีนในบัดนี้ ในสมัยเดียวกันนั้นชนชาติจีนได้อพยพตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบในลุ่มแม่น้ำเหลืองตอนเหนือ บัดนี้เรียกว่า มณฑลแกนซู  (อยู่เหนือมณฑลเสฉวนติดต่อกับทิเบต)  โดยถูกพวกตาดรุกราน จึงได้ร่วมลงมาและปะทะกับพวกไทยเข้าเลยเกิดต่อสู้กันมาช้านานพวกไทยมีจำนวนน้อยและฝีมืออ่อนกว่าจีน เมื่อสู้จีนไม่ได้จึงพากันเดินทางร่นลงมาข้างใต้โดยทางต่างๆ กัน เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว

 

                พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำยางสี   (YANGTZE  KIANG)   เข้าไปตั้งอยู่ในมณฑลยูนนาน ณ ที่นั้นได้ต่อสู้กับพวกพื้นเมืองเดิมเป็นเวลานานในที่สุดได้ตั้งราชอาณาจักรขึ้นเรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า (NAN-CHOW) ในท้องที่ที่เรียกว่าโกสัมพี   (KOSAMPHI)   และ ตั้งเมืองตาลีฟู   (TALI-FU) เป็นเมืองหลวง ต่อมาเมืองหลวงนี้ก็ได้เลื่อนไปตั้งที่พูเออร์ฟู (PU-ERH-FU) อาณาจักรนี้ครอบท้องที่มณฑลญวน นานทั้งหมด และท้องที่ตอนเหนือของสิบสองพันนาด้วย

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม คุณค่าเชื้อชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ (2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์