ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เรื่องของชนชาติไทย

เรื่องของชนชาติไทย(9)

 

  ส่วนเรื่องเมืองลุง – เมืองปา  (นครลุง – นครปา)  ที่ระบุว่าเป็นเมืองของชนชาติไทนั้นเดิมไม่ปรากฏในแผนที่อู๊ก้องกิวเจียว  (แผนที่ส่วยเก้าแคว้นของอู๊)  ที่เขียนเมื่อก่อนพุทธกาล  1662 ปี  สันนิษฐานว่า  เมืองลุงจะ

ตั้งอยู่ปลายหรือนอกเขตแคว้นเหลียง

 

 ต่อมาในสมัย สานไต๋ และในแผนที่สมัยกษัตริย์ราชวงค์จี๋นนั้น จึงปรากฏที่ตั้งเมืองลุง   และเมืองปาอยู่นอกเขตแดนของจีน  ดินแดนของเมืองปานั้นจีนเรียกเป็น “แดนผี”

 

             ดังนั้นบริเวณที่ตั้งเมืองลุงและเมืองลุงและเมืองปาที่ทราบในภายหลังนั้นเมื่อศึกษาจากแผนที่จะพบว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณของชื่อแคว้นอื่น  ในแผนที่อู๊ก้องกิวเจียว  นั้นคือบริเวณเฉะจี๊  และไซหยงในแผนที่สมัยซุนซิวเลียดก๊ก  บริเวณที่ตั้งเมืองลุง  คือ  เตียงหยง  กาวเอียน  และตี  (น่าจะ  ไต-TI)

 

                ส่วนเมืองปานั้นเป็นเมืองอยู่ในอาณาจักรจิ๋นแล้ว  แผนที่ของจีนนั้นระบุว่าพวกม่าน (ขื่นม่าน)  นั้นอยู่ทิศใต้  และอยู่ทางทิศหรดีของเมืองปา  พวกจกนั้นอยู่ทิศตะวันตก  ภายหลังนั้นเมืองลุงปาได้อยู่ในแคว้นจี๋น  ครั้นเมื่อพวกจี๋นตั้งเมืองหลวงขึ้น  ก็ใช้เมืองฮูหยง  (เมืองฮามเอียง)  ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างเมืองลุงและเมืองปาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีนทำให้เห็นว่า  บริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทนั้น  มีทำเลที่ดีและเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางอาณาจักรก่อน

 

                สำหรับเจ้าตระกูลเมือง  ที่ครองดินแดนชนชาติไทมุงนี้  ตำนานน่านเจ้ากล่าวว่า  วงศ์ที่ครองประเทศนี้มาจากแคว้น  มคธราษฎร์  จีนรู้จักรัฐน่านเจ้านี้มานานแล้วในนาม  “สาน-สาน-โกวะ”  สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จีว  เมื่อก่อนพุทธกาล  579 ปี  ดังนั้น  สานสานโกวะ  จึงน่าจะเป็นที่มาของการเรียก  ซาน หรือ  ฉาน (SHAN) ของชนชาตินี้ในเวลาต่อมา

               

                ในพุทธศตวรรษ  336-288  นั้น  สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จี๋นนั้น  แม่ทัพจากเมืองฌ้อ  ได้ยกทัพเข้ามาชิงเอาดินแดนรัฐน่านเจ้าแล้วตั้งตัวเป็นเจ้า  เรียกดินแดนนี้ว่าแถนหรือ  เถียนในสมัยสามก๊กระหว่าง พ.ศ. 700-800 จูกัดเหลียง  (ขงเป้ง)  ได้เป็นแม่ทัพจากเมืองจกได้ยกทัพมาปราบเบ้งเฮ็ก  (บ้างว่าเป็น ชนชาติไท)  เมื่อปราบได้ชัยชนะแล้วจึงแต่งตั้งให้ นงเยาวนครครองเมือง  (ประเทศ)  เรียกว่า  ประเทศเกียนนิง และให้นงเยาวน  มีชื่อ (สกุล)ตามอย่างจีนว่า  จาง

 

                รัฐน่านเจ้านั้นเคยเป็นไมตรีกับจีน และเป็นศัตรูกันตามสมัย  ในที่สุดรัฐน่านเจ้าจึงตกเป็นของจีนในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน  (พ.ศ. 1822-1911)

 

                ถิ่นฐานหรือเมืองของชนชาติไทนั้น  จีนได้รู้จักมาก่อนแล้ว  มีการเรียกชื่อดินแดนนี้แตกต่างกันตามยุคสมัย  ดังนี้

 

                ก่อนพุทธกาล  579  ปี-พ.ศ. 288  สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จิว เรียกชื่อ  1.  สาน-สาน-โกวะ  2.ขวัญมิ  โกวะ  3.  เปะหง่ายโกวะ  (ผาใย-เพงาย)

 

                สมัยเจี๋ยนโกวะ  เรียก  แถนหรือ  เถียนโกวะ

 

                พ.ศ. 337-807  สมัยราชวงศ์ฮั่น  จีนเรียก  1.  แคว้นอี๋  2.  เปะซื่อโกวะ  (ผาชื่อ)

                พ.ศ. 808-1132  สมัยวู๋ไต๋  หรือหงอโต้  (ห้าวงศ์กษัตริย์)  จีนเรียกแคว้นนิง

 

                สมัยกษัตริย์ราชวงศ์สุย  จีนเรียก  แคว้นขวัญ

                พ.ศ. 1161-1406  สมัยราชวงศ์ถัง  จีนเรียก  1.นานกิง  2.หกเจ้าไทเมือง  3.  สานสาน

                พ.ศ. 1503-1821  สมัยราชวงศ์ซ้อง  (ใต้)  จีนเรียก  น่านเจ้า

                พ.ศ. 1822-1911  สมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน  จีนเรียก  จงคิง

 

                ดินแดนของชนชาติม่าน  (งอ้าย-ลาว)  ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จีนตอนใต้นั้น  จึงมีชื่อเรียกอาณาจักรหลายชื่อดังกล่าว  ชื่อที่รู้จักกันอย่างดี  คือ น่านเจ้า  จนเชื่อกันว่า  เป็นอาณาจักรของชนชาติไท

               

                พวกม่าน  ในน่านเจ้าจึงเป็นบรรพบุรุษของชนชาติไท  (ทางเหนือ) ส่วนจะเป็นชนชาติพวกเดียวกับชนชาติสยามที่มีชื่ออยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ  (บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)  หรือไม่นั้นเป็นข้อศึกษาต่อไป

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เรื่องของชนชาติไทย(9)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์