ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ความสัมพันธ์กับชุมชนของชาวสยาม

 

ความสัมพันธ์กับชุมชนของชาวสยาม  (พุทธศตวรรษที ๑๑-๑๓)

               

ต้นพุธสตวรรษที่  ๑๑  ชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตอนใต้ของสยาม  ได้มีความสัมพันธ์กับพวกนับถือศาสนาฮินดูจากอินเดีย

               

จากหลักฐานที่พบเทวรูปพระนารายณ์  สวมหมวกแขก  เทวรูปวิษณุสวมหมวกทรงกระบอกเทวรูปพระคเนศ  และ  ศิวลึงค์  ในหลายท้องที่  เช่น  ที่พังแฟม  วัดะพโคะ  ที่บ้านจะทิ้งพระ  อำเภอทิงพระ  จังหวัดสงขลา  ที่วัดเขียนบางแก้ว  อำเภอเขาชัยสน  จังหวัดพัทลุง  ที่อำเภอเวียงสระ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  (รุ่นเนละ)  ที่เขาคา  หมู่๑๑  ตำบลเสาเภา  อำเภอสิชล  นั้นมีเทวาลัยฮินดูเก่าแก่และคาดว่าจะเป็นชุมชนแรกที่ค้าขายกับชาวอินเดีย  ที่อำเภอขนอม  และอำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นต้น

               

พุทธศตวรรษที่ ๑๒  หลวงจีนเหี้ยนจัง  ซึ่งเดินทางจากประเทศจีน  ไปสืบพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียได้บันทึกถึงอาณาจักรตามเส้นทางไว้ว่า

                               

“ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จากนี้ไปตามฝั่งทะเลผ่านภูเขาและหุบเขาไปแล้วมี

               

แคว้น  ชิดหลีซาต๋าล้อ  (เชื่อกันว่าคือ  อาณาจักรศรีเกษตร  ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี  ประเทศพม่า)  ถัดไปทางตะวันออกเฉียง ใต้ตอนปากอ่าวเรียกแคว้น  มอลังเกีย  (น่าจะเป็นเมืองลังกาสุกะ  หรืออาจจะเป็นปัตตานี) 

ต่อจากนี้ไปทางทิศตะวันออก  เรียกว่าแคว้น  โต-โล-โป-ตี้  (คืออาณาทวาราวดี  มีเมืองสำคัญอยู่ที่นครชัยศรีนครปฐมและเมืองละโว้  ลพบุรี)  ต่อไปทางทิศตะวันออก  คือแคว้น  อี๋เซียน้าโป้ล้อ  (เชื่อกันว่าคือแคว้น  อีศานปุระ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอาราจักรฟูนัน)  ต่อนั้นไปทางทิศตะวันออก  คือแคว้นม่อออเจียมปอ  ซึ่งชาวจีน  เรียกว่า  หลินยี่  คืออาณาจักร  จามปาในเวีนดนามใต้”

               

ใน  พ.ศ.  ๑๒๑๔ – ๑๒๓๘  นั้น  หลวงจีนอี้จิง  ได้บันทึกการเดินทางกลับของขบวนคาราวานพ่อค้าจีน  ซึ่งไปสืบหาพระธรรมวินัยในอินเดียโดยผ่านเข้ามายังดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย  ได้ระบุชื่อเมืองตามเส้นทางที่ผ่านมา  ได้เดินทางผ่าน  ซิลิโฟซิ  (นครชัยศรี  นครปฐม)  โมโลยู  (ยะริง  ปัตตานี) และ  เจียซะ  (เคดาห์)  โดยที่พักอยู่ที่เมืองซีหลี  หุดหลี  หุกหลี  หรือหลีโพชีชั่วระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อเตรียมตัวรอเวลามรสุมเปลี่ยนทิศทาง  แล้วลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลไปอินเดีย

               

พุทธศตวรรษที่ ๑๒  นั้นมีการขยายตัวของชุมชนภาคกลางจากลุ่มแม่น้ำท่าจีน  ไปยังแถบแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี  และทางเหนือนั้นเข้าไปในแถบลุ่มแม่น้ำน้อย  จังหวัดชัยนาท  และลุ่มน้ำเจ้าพระยา  จังหวัดนครสวรรค์

               

ชุมชนที่ตั้งบ้านเมืองนั้นได้ทำการพัฒนาเมืองนครชัยศรี  และเมืองคูบัว  (ในเขตจังหวัดราชบุรี)  โดยมีการสร้างเจดีย์ และพระพุทธรูปขนาดใหญ่จำนวนมาก  ด้วยฝีมือระดับสูง 

 

                ก่อนพุทธศตวรรษ  ๑๕  นั้นชุมชนสยามโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในแหลมทองนั้นใช้อักษร  ปัลลวะ  ภาษาบาลี  สันสกฤต  ภาษามอญโบราณหรือขอมโบราณเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากสมัยนั้น  อักษรที่เป็นตัวหนังสือไทยยังไม่มีใช้  ดังนั้นเอกสารเก่า  คัมภีร์  ใบลานศักดิ์สิทธิ์และสมุดข่อยโบราณ  จึงมักจารึเป็นตัวอักษรขอม  อักษรธรรมล้านนา  หรืออักษรธรรมอีสาน

 

                ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงจึงคิดประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นจากอักษรขอมและมอญ  ดังปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑  ของพ่อขุนรามคำแหง  ได้มารึกระบุไว้ว่า

 

                “...เมื่อก่อน  ลายสือไทนี้  บ่มี  ปี  ๑๒๐๕  ศก  ปีมะแม  พ่อขุรามคำแหงหาใคร่ 

                ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้  ลายสือไทยนี้จึ่งมี...”  แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันได้ว่า  “แต่ก่อนยังไม่มีอักษรไทย  พ่อขุนรามคำแหงทรงสนใจคิดค้นสร้างอักษรไทยขึ้น  เมื่อ พ.ศ.  ๑๘๒๖”

 

                ตั้งแต่นั้นมา  ลายสือไทยหรือภาษาไทย  จึงเป็นมรดกทางภาษาที่สำคัญของชนชาติสยามและบุคคลสำคัญของชนชาตินี้สามารถรวบรวมพลเมืองศิลปะ และวัฒนธรรม  ตั้งบ้านเมืองและสร้างอาณาจักรขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ทำนุบำรุงศาสนา  และสืบสานวัฒนธรรมไทย  รักษาความเป็นชนชาติเอกราชทุกวันนี้

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ความสัมพันธ์กับชุมชนของชาวสยาม 

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์