ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรโบราณแถบคาบสมุทรมลายู

อาณาจักรโบราณแถบคาบสมุทรมลายู

 

                ดินแดนสุวรรณภูมิตอนใต้ซึ่งพื้นที่คาบสมุทรมลายูนั้น  ในจดหมายของจีนราชวงศ์เหลียง  (พ.ศ. ๑๐๔๕-๑๐๙๙)  และพงศาวดารจีนในสมัยราชวงศ์ถัง  (พ.ศ.  ๑๑๖๑-๑๔๔๙)  และบันทึกต่าง ๆ  ของชาวจีนนั้น  ได้บันทึกชื่อเมืองและอาณาจักรต่าง ๆ  ที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ  โดยเฉพาะดินแดนตอนใต้นั้นมีชื่ออาณาจักรหรือรัฐ  ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลของแหลมมลายูปรากฏมากมาย  เช่น 

               

เตียนซุนหรือตุนซุน  ลังยาเสียว พันพัน  ฉีตู  ดันดัน  ตามพรลิงค์  และตักโกละ  เป็นต้น  ชื่อเมืองเหล่านี้มีความสำคัญในสมัยโบราณ  ได้ดังนี้

               

เตียนซุนหรือชุมชน  เรื่องราวของอาณาจักรหรือรัฐเตียนซุนนี้  ปรากฏชื่อในจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์เหลียงเมือ  (พ.ศ. ๑๐๔๕-๑๐๙๙)  ซึ่งอ้างอิงมาจากบันทึกคังไถ  และชูยิง  ซึ่งเป็นชาวราชฑูลจีน  ในสมัยราชวงศ์เว่ย  ที่เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับอาณาจักรฟูนัน  เพื่อเป็นการตอบแทนที่อาณาจักรฟูนันได้ส่งราชทูตไปจีนหลายครั้งแล้ว  เมื่อไปถึงอาณาจักรฟูนันแล้วราชทูตจีนทั้งสองได้พบกับราชทูตชาวอินเดีย  ที่ราชวงศ์มุรุณฑะซึ่งปกครองบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาส่งมาเจริญสำพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรฟูนัน  ครั้งนั้นราชฑูตจีนได้สอบถามถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย  ดังนั้น  ในช่วงที่เดินทางกลับจากประเทศจีน  ราชทูต

ทั้งสองจึงบันทึกถึงเมืองโบราณในแถบทะเลใต้  ที่ตั้งอยู่คาบสมุทรมลายู  ที่ได้แวะพักหรือได้สอบถามจากนักเดินเรือที่พบระหว่างทาง  ต้นฉบับที่เป็นบันทึกเดิมนั้นสูญหายไปแล้ว  แต่ข้อความนี้ได้มีการอ้างอิงไว้ในจดหมายเหตุอื่นในชั้นหลัง

               

ในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถัง  (ตุงเตียน)  ซึ่งเขียนไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่  ๑๖  โดยอ้างอิงจากตุงเตียน  นั้น  มีข้อความเล่าถึงพราหมณ์ที่อยู่เตียนซุนไว้ว่า

               

“ภายในรัฐเตียนตุนนั้น  มีครอบครัวชาวอินเดียหรือพวกฮู  อาศัยอยู่  ๕๐๐  ครอบครัว และมีพวกพราหมณ์อาศัยอยู่จำนวนมากถึง  ๑,๐๐๐  คน  ประชาชนต่างนับถือศาสนาพราหมณ์ และนิยมจะให้ลูกสาวตนไปแต่งงานกับพวกพราหมณ์  พราหมณ์พวกนี้จะอ่านคัมภีร์ (อ่านมนต์)  อาบน้ำผสมน้ำหอม และทำพิธีบุญในประเพณีการปลงศพ  ซึ่งจะนิยมการทิ้ง บริจาคซากศพให้เป็นอาหารนก (แร้ง)  ศพนั้นจะมีการยกย้ายขบวนศพที่มีการประโคมแห่ดนตรีและการร้องรำทำเพลง  เมื่อขบวนแห่ไปนอกเมืองแล้วก็นำศพนั้นไปทิ้งเป็นอาหารนก (แร้ง)  ส่วนกระดูกที่เหลือจะนำกลับมาเผาแล้วนำขี้เถ้าไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเล  หรือบางทีก็นำไปใส่ในโถ  (ผอบ-โถมีฝาปิด)  และประกอบพิธรกรรมทางศาสนาไปเรื่อย ๆ  ไม่มีสิ้นสุด  และที่น่าสนใจก็คือประชาชนในเตียนซุนนี้  นิยมหักเหล้าไวน์  จากผลไม้ที่ทำการเพาะปลูกได้เองด้วย”

               

พิธีปลงศพจากข้อความนี้  น่าจะนำมาจากอินเดีย  ในธิเบตนั้นกการปลงศพแบบเดียวกันนี้  ซึ่งจะแตกต่างกันตรงหลังจากที่ให้แร้งกินเนื้อศพไปแล้ว  กระดูกนั้นได้นำมาทุบให้แตกหรือตัดเป็นท่อน  สถานที่ปลงศพนั้นจะอยู่นอกเมืองและอยู่บนภูเขาให้ห่างชุมชน

               

เตียนซุนนั้นเป็นเมืองโบราณที่มีความเก่าแก่ที่สุด  ตั้งอยู่คาบสมุทรมลายู  เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจมาก  เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๘  มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลทั้งสองฝั่งจึงทำให้เป็นเมืองที่มีอำนาจในการดูแลเส้นทางค้าขายของเรือสินค้าต่าง ๆ  ที่เดินทางในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก  ทำให้เตียนขุดแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่แห่งหนึ่ง  ด้วยเหตุที่มีคลังเก็บสินค้าประเภท

               

สำหรับสถานที่ตั้งเตียนซุนนั้น  สันนิษฐานว่า  อาณาจักรหรือรัฐนี้ตั้งอยู่บริเวณอ่าวบ้านดอนซึ่งเป็นเมืองท่าไชยาเก่า  โดยมีอาณาจักรจดทะเลทั้งสองด้าน  กล่าวคือด้านตะวันออกนั้นจดทะเลจีนใต้  บริเวณอ่าวบ้านดอนนั้นมีเมืองต่าง ๆ  ตั้งอยู่ยาวตลอดไปตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก  พื้นที่ทางทะเลนี้ได้ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าระหว่างอินเดีย อาหรับ  และจีน  ซึ่งมีเส้นทางเดินเรือสมัยก่อนนั้น  โดยแล่นเรือผ่านช่องแคบมะละกา  ช่องแคบซุนดา  และมีเส้นทางข้ามทะเล  หรือคาบสมุทรข้ามมายังอาวบ้านดอนได้หลายทาง  เช่น  เส้นทางจากตะกั่วป่ามาอ่าวบ้านดอน  เส้นทางจากคลองท่อมมาอ่าวบ้านดอน  เป็นต้น

               

แหล่งโบราณคดีบริเวณนี้  พบว่าโบราณเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีบทบาทในการค้าขายทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกและฝังทะเลตะวันออก เช่น

 

·        แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก  (เกาะคอเขา)  ที่อำเภอคุระบุรี  จังหวัดพังงา

·        แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด  ที่อำเภอคอลงท่อม  จังหวัดกระบี่

·        แหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส  ที่อำเภอท่าชนะ  จังหวัดสงขลา

·        แหล่งโบราณคดีบ้านแหลมโพธิ์  ที่อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งพบร่องรอยการนับถือศาสนาพราหมณ์ในชุมชนโบราณ  และพบศิลปกรรมรูปพระวิษณุทำด้วยศิลาที่เก่าสุด  สร้างราว

พุทธศตวรรษที่  ๑๐-๑๑  ที่วัดศาลาทึง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมรูปพระวิษณุศิลา  ๒  องค์ในถ้ำสิงขร  อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัด

นครศรีธรรมราช  ซึ่งได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์จากวัฒนธรรมอินเดีย  เป็นรูปพระวิษณุที่เป็นประติมากรรมแบบเดียวกับรูปพระวิษณุที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำกฤษณา  เขตปกครองของราชวงศ์อิกษวากุ  เมืองนาคาชุณโกณฑะ  เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๘-๙  และยังพบพระพุทธรูปสลักจากศิลา  อำเภอสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช  และพระพุทธรูปหล่อสำริด  ๒  องค์  พบที่อำเภอพุนพิน  จังหวัดสุราษฎร์ธานีองค์หนึ่ง  และอำเภอสุไหงโกลก  จังหวัดนราธิวาสองค์หนึ่ง  ซึ่งเป็นอิทธิพลพระพุทธศาสนาที่มาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา  เมื่อพุทธศตวรรษที่  ๑๑  เช่นเดียวกับฉีตูหรือเซียะโท้ว  เรื่องราวของอาณาจักรหรือรัฐฉีตูหรือเซียะโท้วนี้  ปรากฏในจดหมายตุจีนสมัยราชวงศ์สุย  (พ.ศ. ๑๑๓๑-๑๑๖๑)  ที่บันทึกว่า  กษัตริย์จีนนั้นได้ส่งราชทูตไปเจริญทางพะราชไมตรีกับรัฐเซียะโท้ว  ใน  พ.ศ.  ๑๑๕๐  โดยคณะนี้ลงเรือสำเภา  ที่ท่าเรือนำไฮ่  (คือ  เมืองกวางตุ้ง)  ใช้เวลาเดินทางกว่า  ๑๐๐  วัน  เมื่อเดินทางถึงเขตดินแดนของเมืองนี้แล้วเรือของราชทูตนั้นต้องถูกลากจูงไปตามน้ำเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน  จึงจะเข้าไปถึงเมืองหลวงของรัฐเซียะโท้ว  ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ทีอาณาเขตกว้างขวางหลายพันลี้  )๑  ลี้  เท่ากับ  ๕๗๖  เมตร)ทิศเหนือจดทะเลใหญ่  ทิศใต้จดรัฐโฮโลตัน  (คือกลันตัน)

 

นอกจากพงศาวดาร  ตุงเตียน  และไท  ปิง  ยูลัน  แล้วม้าตวนหลิน  ยังเขียนเล่าไว้ใน  เวน  เฮียน  ตุง

เกา  ซึ่งป็นจดหมายเหตุที่เขียนในปลายราชวงศ์หยวน  โดยอ้างความจากตุงเตียน  มีความเล่าให้ฟังว่า

 

“พระเจ้ากรุงเซียะโท้ว  นั้นประทับอยู่นครเส็งซี  (คือ  สิงห์บุระ  บริเวณเมืองสงขลาหรือสิงคโปร์) 

ซึ่งพระราชวังนั้นมีประตูเข้าถึง  ๓  ชั้น  แต่ละชั้นนั้นอยู่ห่างกัน  ๑๐๐  ก้าว  แต่ละแระตูนั้นมีการเขียนภาพเทวดาเหาะ  ภาพพระโพธิศัตว์  และเทวดาอื่น ๆ  อยู่ตามบานประตู  ซึ่งแขวนดอกไม้ทองและระฆังใบเล็ก ๆ  ทีมีพนักงานหญิงหลายคนทำหน้าที่ประโคมดนตรีหรือถือดอกไม่ทองคำและเครื่องประดับต่าง ๆ  และมีผู้ชายสี่คน  (แต่งกายเหมือนเทวดาเซียวกาง  ซึ่งสลักเฝ้าประตูสี่ทิศของเจดีย์ในพระพุทธศาสนา)  ยืนเฝ้าประตูราชวัง  พวกทหารที่เฝ้าอยู่นอกประตูราชวังนั้นถืออาวุธหลายชนิด  อาคารภายในราชวังนั้นประกอบด้วย  พระที่นั่งจำนวนหลายหลังติดต่อกัน  (หมู่ปราสาทราชมณเฑียร)  พระที่นั่งทุกองค์นั้นมีประตูทางเข้าอยู่ทางทิศเหนือ  พระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่บนราชบัลลังก์  (พระแท่น) ที่มีฐาน  ๓  ชั้น  ฉลองพระองค์ด้วยผ้าสีกุหลาบ  มีรัดเกล้าเป็นดอกไม้ทองคำ  มีสร้อยพระศอประดับเพชร  มีพนักงานเฝ้าซ้าย ขวา  ด้านละ  ๔  คน มีทหารรักษาพระองค์มากว่า  ๑๐  คน  ด้านหลังพระราชบัลลังก์นั้นมีแทนบูชาทำด้วยไม้บุแผ่นทองคำและเงิน  (ไม้ที่สร้างแท่นนั้นเป็นไม้หอมชนิดต่าง ๆ  ๕  ชนิด  )  ด้านหลังแท่นบูชานั้นมีโคมไฟทองคำแขวนอยู่  ด้านข้างประทับที่ประทับนั้นตั้งกระจกเงาแท่นละ  ๑  บาน  หน้ากระจกนั้นมีหม้อน้ำทำด้วยโลหะ  มีกระถางธูป  (ทำด้วยทองคำ)  ตั้งอยู่  ด้านหน้ากระถางธูปมีวัวทองคำหมอบอยู่  มีผ้าประดับด้วยเพชรพลอยและมีพัดโบก  วางอยู่สองข้าง  มีพราหมณ์นับร้อยคนนั่งเรียงกันสองแถวโดยหันหน้าเข้าหากัน  ทางด้านตะวันออก และด้านตะวันตกนั้นมีข้าราชการผู้ใหญ่หลายระดับ  ตั้งแต่ระดับสูงที่ปกครองดูแลเมืองหลวง  ส่วนระดับหัวเมืองมีเจ้าตรองเมือง  (นายก) ๑  และเสนาบดี (บดี)  ๑๐ คน

 

ประชาชนผู้นับถือพุทธศาสนา  นั้นเนื่องจากมีความเคารพในพวกพราหมณ์อยู่มากประชาชน

ชายหญิงพวกนี้จะเจาะหู  ผู้ชายดัดผม  ส่วนผู้หญิงนั้นจะเกล้าผมไว้เพียงต้นคอ  ทั้งชายหญิงนั้นทอผ้านุ่งห่มเอง  ส่วนใหญ่มีสีกุหลาบและสีพื้น  นิยมทาตัวด้วยน้ำหอม  แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงมีอำนาจมาก  เมื่อจะจี้ทองคำใช้ต้องขออนุญาตจากกษัตริย์ก่อน

 

สำหรับประเพณีแต่งงาน  นั้นต้องมีการหาวันมงคล  (ฤกษ์)  วันหนึ่งและก่อนวันมงคล  ๕  วัน 

โดยผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเป็นผู้จัดงานและเลี้ยงดูญาติมิตร  และบิดาของเจ้าสาวจะจับมือเจ้าสาวและยกให้เป็นลุกเขย  และในวันที่ ๗  พิธีกรรมต่าง ๆ  จะสิ้นสุดลง  นับว่าคู่บ่าวสาวได้เป็นสามีภรรยากันแล้ว  มีการแบ่งทรัพย์สมบัติให้ครอบครัวใหม่  และมีการสร้างบ้านใหม่ให้คู่สามี – ภรรยา  ที่แยกไปอยู่ต่างหาก  ยกเว้นบุตรชายคนสุดท้องนั้นจะต้องอยู่กับบิดามารดา

 

ประเพณีการปลงศพนั้นหากบิดามารดาหรือญาติพี่น้องเสียชีวิต  ลูกหลานผู้ชายจะโกนหัว  และจะ

นำไม้ไผ่มาสร้างเป็นแคร่และยกสูงเหนือน้ำ  นำศพมาวางบนแคร่  เอาฟืนมากองรอบศพ  ประดับตกแต่งบริเวณงานด้วยธง  จุดธูป  เป่าสังข์  ตีกลอง  แล้วจุดไฟที่กองนั้น  เพื่อเอาศพ  เมื่อไฟไม้ศพแล้วก็ล่วงจมน้ำไป  ทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นธรรมดาจะเผาด้วยวิธีนี้  แต่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินจะมีการเก็บกระดูกที่เหลือจากกองไฟและนำไปเก็บรักษาไว้ในโกศทองคำ  แล้วนำไปบรรจุไว้ที่วัดแห่งหนึ่ง

 

อาณาจักรหรือรัฐเซียะโท้วนี้ได้ส่งคณะทูตไปยังเมืองจีนเป็นการตอบแทนพระราชไมตรี  กันในปี  พ.ศ.  ๑๑๕๑ – ๑๑๕๒  และ  ๑๑๕๓  พร้อมกับส่งมงกุฎทองลายดอกชบา  ผลิตผลของป่าและการบูรไปเป็นเครื่องบรรณาการด้วย

 

สำหรับที่ตั้งอาณาจักรหรือรัฐเซียะโท้วนี้  มีการสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณจังหวัดสงขลา  เมืองปัตตานี  และเมืองนราธิวาส  หรือเมืองไทรบุรี  (เคดะห์)  ซึ่งอยู่ในมลายู

 

ข้อน่าศึกษาก็คือ  การเดินทางไปยังเซียะโท้วนั้นต้องลากจูงเรือไปตามลำน้ำเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนจึงมีเมืองหลวงเซี้ยโท้ว

 

อาณาจักรแห่งนี้มรอาณาเขตกว้างหลายพันลี้  ถือว่าเป็นอาณาจักกว้างใหญ่ไพศาลแห่งหนึ่ง  หาก

ไม่มีความระบุว่าทิศเหนือจดทะเลใหญ่  ทิศใต้จดรัฐโฮโลตัน  คือกลันตันปแล้วก็หมายเอาว่า  เซียะโท้วนี้  น่าจะเป็นอาณาจักรสยาม  ที่สอดคล้องกับการมีพระราชวัง  ที่มีกำแพง  พระนครห่าง  ๑๐๐  ก้าว  และมีพระราชบัลลังก์  มีหมู่พระที่นั่งที่เป็นราชมณเฑียร  เหมือนพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยา  ลักษณะของพระราชวังเช่นนี้  จะมีขึ้นบริเวณเมืองสงขลา  เมืองปัตตานี  และเมืองไทรบุรี  นั้นก็ดูติดขัดที่นับถือศาสนาอิสลาม  และไม่น่าจะมีพราหมณ์  หรือพระราชวังขนาดใหญ่ตามจดหมายเหตุของม้าตวนหลิน  จึงมีข้อน่าศึกษาว่าน่าจะเป็นบริเวณพื้นที่ของเมืองนครศรีธรรมราช  เมืองสุราษฎร์ธานี  ที่มีกษัตริย์และศาสนาพราหมณ์เข้มแข็งมาอยู่ก่อน  ซึ่งแต่เดิมนั้นเมืองนี้รวมอยู่กับมลายู  และเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรศรวิชัย

 

ดันดันหรือตันตัน  เป็นเมืองหนึ่งทีอยู่ทางตอนใต้ของเมืองฉีตู  ปรากฎชื่อในจดหมายเหตุสมัย

ราชวงศ์เหลียง  (พ.ศ.  ๑๐๔๕-๑๐๙๙)  มีความเล่าว่า  ในปี  พ.ศ.  ๑๐๗๓  นั้นเมือง  ดันดันได้ส่งคณะทูตไปจีน  พร้อมกับเครื่องบรรณาการประกอบด้วยพระพุทธรูปปลักจากงาช้าง  ๒  องค์  สถูป  ๒  องค์  ไข่มุกอย่างดี  ผ้าฝ้าย  น้ำหอมต่าง ๆ  และยา

               

ต่อมา  พ.ศ.  ๑๐๗๘  ได้ส่งคณะทูตไปเมืองจีนอีกเป็นครั้งที่สอง  และใน พ.ศ.  ๑๑๖๙  ได้มีบันทึกว่าจีนได้ตอบรับคณะทูตจากเมืองดันดัน  ต่อมาไม่ปรากฏชื่อเมืองนี้ในบันทึกของจีนอีก  เมืองดันดัน  ยังไม่ทราบว่าอยู่ตรงที่ใด

               

พันพันหรือพานพาน  ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์เหลียงและพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถัง  ได้บันทึกถึงเมืองนี้ว่าพันพันนัน  ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลที่เป็นอ่าว  อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศหลินยี่  (คือ  อาณาจักรจามปา)  เรือสำเภาจากเมืองเกียวเจา  อาจแล่นไปถึงได้ภายใน  ๔๐  วัน  พันพันนั้นอยู่เหนือลังยาเสียว  และมีอาณาเขตติดต่อกัน  ประชากรนั้นศึกษาหนังสือจากพวกพราหมณ์  แต่มีศรัทธาในพระพุทธสาสนา  และใน  พ.ศ.  ๑๑๗๘  นั้นได้จัดส่งสิ่งของพื้นเมืองเป็นเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิของจีน  (พระเจ้าถังไท่จง)

               

ต้านหมาหลิงหรือตันมาลิง  ในบันทึกของชาวจูกัว  (พ.ศ.  ๑๗๖๘)  ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญในการค้าต่างประเทศของจีนในสมัยราชวงศ์ซุ่ง  โดยทำหน้าที่ประจำอยู่ที่เมืองท่าของฮกเกี้ยนนั้น  ได้บันทึกถึงเมืองต้าหมาหลิงไว้ว่า  เมืองนี้มีกำแพงไม้ล้อมรอบ  กำแพงนี้กว้าง  ๖-๗  ฟุต  และสูงกว่า  ๒๐  ฟุตตอนบนของกำแพงนั้นกว้าง  อาจใช้เป็นลานต่อสู้ได้  บ้านของข้าราชการสร้างด้วยไม้กระดาน  ในขณะที่บ้านคนธรรมดาสร้างด้วยไม้ไผ่  มีใบไม้ทำเป็นฝากั้นห้อง  (แผงไม้สานที่มีใบไม้)  และผูกมัดด้วยหวาย  ประชากรนิยมขมวดผมไว้ข้างหลัง  (เกล้ามวยผม)แบพราหมณ์)  และเดินเท้าเปล่าหรือใช้ควายเป็นพาหนะ  ผลิตผลพื้นเมืองมีขี้ผึ้ง  ไม้จันทน์  ไม้มะเกลือ  การบูร  งาช้าง  และนอแรด  การค้านั้นของเมืองนี้มีพ่อค้าชาวต่างชาติคอยหาสินค้านานาชนิด  มาขายให้ประชาชน  นับตั้งแต่สินค้าที่เป็นของจำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  เกลือ  น้ำตาล  ข้าว  และเครื่องปั้นดินเผา  ไปจนถึงสิ้นค้าฟุ่มเฟือย  เช่น  ผ้าไหม  เครื่องเคลือบ  ภาชนะ  โลหะทำด้วยเงินและทอง

               

จากต้าหมาหลิงนี้  เดินทางโดยเรือ  ๖  วัน  ๖ คืน  ไปถึงลังกาเสียว  ซึ่งอาจเดินทางโดยทางบกได้ด้วย  ในจารึกของพระเจ้าราเชนทร์  โจฬะที่ ๑  ซึ่งกษัตริยฺราชวงศ์โจฬะที่ครองเมืองอินดียได้  ที่เมืองตันเซอร์ของกษัตริย์จากหลังฐานต้าหมาหลิงแห่งนี้  ได้กล่าวว่า  ต้าหมาหลิงนั้นเคยตกเป็นเมืองขึ้นอยู่อาณาจักรศรีวิชัย  ในครั้งนั้น  พ.ศ.  ๑๕๖๘  พระองค์ได้ยกทัพไปต่ออาณาจักรศรีวิชัยนั้นมีหลายเมืองรวมทั้งต้าหมาหลิงด้วยต้าหมาหลิงแห่งนี้  คือ  ตามพรลิงค์  หรือเมืองนครศรีธรรมราช  ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏใน  จารึกเมืองตรหิ

               

สังยาเสียวหรือลังกาสุกะ  เมืองนี้ปรากฏชื่อในกฎหมายเหตุจีนราชวงศ์เหลียงและในจดหมายเหตุมลายูและชวา  เรียก  ลังกาสุกะ  ในหลักฐานของจีนกล่าวว่า  รัฐลังยาเสียวนี้ตั้งมากว่า  ๔๐๐  ปีแล้ว  มีอาณาเขตจดทะเลทั่งสองฝั่งของแหลมมลายู  โดยตั้งอยู่ใต้รัฐพันพัน  กล่าวคือด้านตะวันออกนั้นจดอ่าวไทย  (แถบปัตตานี)  และด้านตะวันตกอ่าวเบงกอล  (ด้านเหนือแคว้นไทรบุรีหรือเคดะห์)  จึงทำให้เป็นเมืองที่ควบคุมเส้นทางบกที่เดินทางไปยังดินแดนมลายู  กษัตริย์เมืองนี้นุ่งโสร่ง  ทำด้วยผ้าฝ้ายกันมัน  ไม่สวมรองเท้า  ประชาชนซอยผมสั้นและนุ่งโสร่ง  เช่นเดียวกัน  สินค้าพื้นเมืองมี    งาช้าง  และผ้าแพรมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าพื้นเมือง  ลังยาเสียวนี้เคยเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัยเช่นเดียวกันลังยาเสียวหรือลังกาสุกะ  สันนิษฐานกันว่า  น่าจะอยู่บริเวณยะรัง  จังหวัดปัตตานี

 

                ตักโกละ  ในบันทึกของปโตเลมีและมหานิเทศ  มิลินทปัญหา  ได้กล่าวถึงเมืองตักโกละว่า  พ่อค้าที่ร่ำรวยจะต้องเดินทางมาค้าขายที่ตักโกละ  จีนและสุวรรณภูมิ  ซึ่งกล่าวว่าตักโกละว่า  พ่อค้าที่ร่ำรวยจะต้องเดินทางมาค้าขายที่ตักโกละ  จีนและสุวรรณภูมิ  ซึ่งกล่าวว่าตักดกละนั้นเป็นเมืองท่าที่โบราณ  ที่พ่อค้าจากโลกตะวันตกนินมเดินเรือมาแวะพักก่อนเดินทางไปเมืองอื่น ๆ  ตักโกละแห่งนี้เคยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัย

               

ตักดกละ  ในบันทึกของปโตเลมีละมหานิเทศ  มิลิทะปัญหา  ได้กล่าวถึงเมืองตักโกละว่า  พ่อค้าที่ร่ำรวยจะต้องเดินทางมาค้าขายที่ตักโกลละ  จีนและสุวรรณภูมิ  ซึ่งกล่าวว่าตักโกละ  นั้นเป็นเมืองท่าโบราณนี้เคยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัย

               

ตักโกละ  นี้เป็นแหล่งที่กระงาน (ตลาดกระวาน-ตักโกวาน)  เป็นเมืองท่าโบราณเข้าใจว่าจะอยู่ชายฝั่งทะเลด้นตะวันตกแยงใต้ของคาบสมุทรมลายู  บริเวณเมืองตรังและปากน้ำตะกั่วป่า

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรโบราณแถบคาบสมุทรมลายู

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์