ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  นอกจากนี้ยังสำรวจพบแหล่งโบราณคดี

               

นอกจากนี้ยังสำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น

 

                แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดิน ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น พบเงินเหรียญสมัยทวาราวดีเป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์และรูปหอยสังข์ บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรีชนิดต่างๆ เป็นต้นเป็นหลักฐานนี้ชี้ให้เห็นว่า เมืองอู่ทอง มีฐานะเป็นเมืองสำคัอแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวาราวดี

               

เมืองนครไชยศรีโบราณ อยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุลประโทณ จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัยและถัดออกจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๕๒ กิโลเมตรนั้นมีที่ดอนสำรวจพบคูเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๓,๖๐๐ x ๒,๐๐๐ เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออกไปตัดคลองพระประโทณ ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวาราวดีจำนวนหนึ่งของเมืองนครไชยศรีโบราณแห่งน้ำ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                เมืองโบราณกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมมีลักษณะคล้ายสำเภาโบราณ ขนาดประมาณ ๓๒๕ ไร่ (ปรากฏคันดินคูน้ำ สระน้ำและทางน้ำเก่าต่อกับห้วยยาง ปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะตั้งเขิน)

               

เป็นเมืองใหญ่ของอาณาจักรทวาราวดีโบราณ มีวัดพระประโทณเป็นศูนย์กลาง ลักษณะเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการขุดสระน้ำขนาดต่างๆ มีคลองขุดจากคลองพระประโทณผ่านไปยังดอนยายหอมยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร มีเส้นทางน้ำหลายสายที่ยังปรากฏอยู่ เช่น คลองบางแก้ว คลองรังไทร และคลองรางพิกุล เป็นต้น

               

การพบศิลาสลักรูปวงล้อพระธรรมจักรกับกวางหมอบเปลือกหอยทะเล สมอเรือและสายโซ่เรือขนาดใหญ่ในเมืองนครปฐมโบราณ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าในสมัยก่อนนั้นเมืองโบราณแห่งนี้อยู่ติดกับทะเบหรือเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวาราวดี ซึ่งมีการพบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปจำนวนมาก และยังได้พุทธรูปหินทรายสลักประทับนั่งขนาดใหญ่สมัยทวาราวดี จำนวน ๔ องค์ พระปฐมเจดีย์

               

ปัจจุบันนี้พระพุทธรูปองค์หนึ่งได้อัญเชิญไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาจังหวัดอยุธยาองค์ที่สองอยู่ในอุโบสถวัดปฐมเจดีย์ องค์ที่สามอยู่ที่ลานประทักษิณด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์และองค์ที่สี่อยู่ในวิหารน้อยวัดหน้าพระมรุ จังหวัดอยุธยา นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทศิลปทวาราวดีสลักอยู่ในถ้ำฤาษี เขางู จังหวัดราชบุรี ด้วย

               

จากหลักฐานที่พบสถาปัตยกรรมศิลปสมัยทวาราวดีจากลายปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลประโทณที่เมืองนครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณนั้นปรากฏว่าเป็นศิลปการก่อสร้างที่มีอิทธิพลจากอินเดีย (บ้างว่าเหมือนอานันทเจดีย์ ที่พุกามประเทศพม่า)

               

นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีอื่นๆ อีก ซึ่งสำรวจพบเมืองโบราณ และชิ้นส่วนรูปปั้นดินเผา ปูนปั้นลายผักกูดศิลปสมัยทวาราวดีอีก เช่น ที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี บ้านโคกไม้เคน จ.นครสวรรค์

               

ในจังหวัดเพชนรบูรณ์จุดพบธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ที่เมืองโบราณศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่สาชุมชนแห่งนี้ได้มีการนับถือศาสนาพุทธแล้ว ส่วนหลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวาราวดีนั้นพบที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง) อำเภอกมาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ใกล้แม่น้ำชี ซึ่งพบเสมาหินจำนวนมากเป็นเสมาหินทรายสมัยทวาราวดี ขนาดใหญ่อายุราว ๑,๒๐๐ ปี มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยขอมนครวัด ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยรับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย พบเสมาหินบางแท่งมีจารึกอักษรปัลลวะ ของอินเดียใต้ไว้ด้วย

               

สำหรับดินแดนภาคใต้นั้นมีการขุดพบดินเผาลวดลายดอกบัวศิลปสมัยทวาราวดีที่เมืองโบราณสถาน

                สมเด็จฯกรมรพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวาราวดีไว้ว่า

               

“พระจ้าอรุรุทรมหาราชแห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีของอาณาจักรทวาราวีด จนทำให้อาณาจักรทวาราวีดสลายสูญไป”

               

ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคตในพ.ศ. ๑๗๓๒ อำนาจขอมก็เริ่มเสื่อมลงทำให้บรรดาเมืองประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็ยอิสระ ดังนั้นใน ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนบางกางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวีพระธิดาของกษัตริย์ขอมเป็นมเหสีและได้รับพระนามว่า “ขุนศรีอินทราทิตย์” พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้ร่มกันทำการยึดอำนาจจากขอมและยอมให้พ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นสถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศแต่งตั้งแคว้นสุโขทัยเป็นอิสระจากการปกครองของพวกขอม

               

พ่อขุนรามคำแหง พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลงอักษรขอมมาประดิษฐ์เป็นลายสือไทย

               

ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงได้ระบุชื่อเมืองที่อยู่ในอำนาจของสุโขทัยหลายเมือง ก่อนนั้นเมืองเหล่านี้เคยอยู่ในอาณาจักรทวาราวดีโบราณ เช่นเมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองแพรก (ชัยนาท) เป็นต้น

               

ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระเจ้าไชยศิริโอรสของพระเจ้าพรหมแห่งโยนกนครทางเหนือถูกกษัตริย์เมืองสุธรรมวดียกกองทัพมารุกราน พระเจ้าไชยศิริสู้ไม่ได้จึงหนีข้าศึกมาเมืองกำแพงเพชร และอพยพหนีลงมาถึงดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรทวาราวดีแล้วตั้งราชวงศ์อู่ทองขึ้น

               

ต่อมา พ.ศ. ๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทอง พระโอรสของพระเจ้าไชยศิริ (เชียงแสน) นั้นได้ย้ายราชธานีจากเมืองอู่ทอง มาตั้งมั่นที่บริเวณใกล้เมืองอโยธยาเดิมตรงที่ปละคูจาม ใกล้หนองโสน (อาจเป็นเพราะเพราะแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดิน หรือ เกิดโรคระบาด) แล้วพระองศ์ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นามว่า “กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาฯ”

               

ดังนั้นคำว่า “ทวาราวดี” จึงมีความสำคัญต่อชนชาติไทยและเป็นชื่อหนึ่งที่ใช้ในการเรียกนามของ อาณาจักรของชนชาติไทยตลอดมา

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์