ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรทวาราวดี

 

อาณาจักรทวาราวดี

พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖

 

                อาณาจักรทวาราวดีนั้นถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตอนกลางของประเทศไทย เมื่อ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น ได้มีชุมชนโบราณของมนุษย์อาศัยอยู่บริเวณนี้มาก่อน ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตก ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อย แควใหญ่ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ไปจีนถึงภาตกลางตอนบนด้านเหนือ ซึ่งเป็นพื้นทีราบขนาดใหญ่ที่มีบริเวณปากน้ำโพ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมะขามเฒ่า แม่น้ำลพบุรีนั้น

               

สมัยโบราณนั้นได้พบว่าเป็นบริเวณดังกล่าวนั้นได้เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณทั้งของอาณาจักรทวาราวดี และอาณาจักรสุวรณภูมิมาก่อน กล่าวคือ ได้พบว่ามีเมืองโบราณยุคอาณาจักรทวาราวดีนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งทั่วไป เช่น จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์และลพบุรี เป็นต้น

               

บริเวณด้านตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำบางปะกงนั้น ได้พบร่องรอยว่ามีการตั้งชุมชนโบราณมาก่อนในสังคมเกษตรกรรม

               

สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ ๓,๐๐๐ – ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคโลหะนั้นได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ภาคกลางตอนล่างที่มีแม่น้ำเจ้าพระยากว้างใหญ่ เป็นบริเวณดินแดนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาข้าวที่ต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำขึ้นมาเลี้ยงต้นข้าวให้เติบโต

               

ดังนั้นบริเวณตั้งแต่ปากน้ำโพลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปากน้ำที่ออกไปยังทะเลอ่าวไทยนั้น พื้นดินดังกล่าวจึงเป็นดินตะกอนอันเกิดจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง ด้วยเหตุนี้ในฤดูน้ำหลาก จึงมีน้ำหลากไหลท่วมพื้นดินทำให้มีตะกอนดินและน้ำทั่วถึงนาข้าว ถือว่าเป็นแหล่งเกษตรสมบูรณ์ที่สามารถทำนาปลูกข้าว ในผลผลิตที่มีข้าวออกรวงเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง

               

นอกจากนี้ ในพื้นดินบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณอำเภอโคกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีนั้น พบว่ามีแหล่งแร่ทองแดงและแร่เหล็กอยู่จำนวนมาก และมีจำนวนมากพอที่จะนำมาถลุงทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับสำริด เป็นสินค้าส่งออก

               

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแผ่นดินจากการเป็นแหล่งเพาะปลูกกว้างใหญ่ไพศาลและมีแหล่งน้ำสมบูรณ์ ตลอดจนได้มีสินแร่ที่สามารถเอื้อประโยชน์ด้านโลหกรรมนั้น ได้ทำให้ชนชาติที่มีเชื้อสายมองโกลลอยด์ ได้พากันมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จนมีจำนวนประชากรหนาแน่นขึ้น

               

กลุ่มคนที่อาศัยอยู่พื้นที่ด้านตะวันออกนั้นได้พากันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงและบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก

               

ชุมชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ด้านตะวันตกนั้นได้พากันตั้งถิ่นฐานออยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำกลองและแม่น้ำท่าจีน อาชีพหลักของชุมชนโบราณเหล่านี้คือ การทำนาปลูกข้าวที่ต้องอาศัยการท่วมของน้ำในแม่น้ำ และนอกจากนี้ชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีนั้น ได้มีการถลุงเหล็กและทองแดง ส่งเป็นสินค้าแร่ไปค้าขายแลกเปลี่ยนด้วย

               

ชุนชนแถบแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำท่าจีนก็มีความสามารถจับปลาหาหอยจากแม่น้ำและชายทะเลโดยนำเปลือกหอยทะเลมาทำเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับเป็นสินค้าด้วยพบว่ามีการนำเปลือกหอยทำกำไล ทำแผ่นวงกลมเจาะรูแขวนหน้าอก และทำลูกปัดหอย

               

ชุมชนที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำเหล้านี้ เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันทั้งเส้นทางบกและเส้นทางน้ำเส้นทางที่ใช้เดินทางน้ำนั้นนอกจากล่องเรือไปตามลำแม่น้ำแล้วยังนิยมเดินเรือเลียบไปตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วหรือ ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น ชุมชนบริเวณตอนกลางหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันกับชุมชนที่เดร่วมสมัยในพื้นที่แถบเวียดนามและจีนตอนใต้ พร้อมกันกับได้มีการติดต่อกับอินเดีย และกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียบและเปอร์เซีย ที่เดินทางเข้ามาค้าขายบริเวณนี้เช่นกัน

               

พุทธศตวรรษที่ ๓ หรือ ๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะตอนปลายนั้น ได้ปรากฏว่าบริเวณครอบคลุมไปถึงบริเวณใกล้เคียง คือ อำเภอไทรโยคและอำเภอพนมทวนด้วยพบว่ามีแหล่งโบราณคดีริมแควน้อย แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร โดยมีนักโบราณคดีได้สำรวจวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากวัฒนธรรมอินเดียทางมาอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย

               

นอกจากนี้พื้นที่ในจังหวัดลพบุรียังได้เป็นศูนย์กลางสินค้าจากวัฒนธรรมอินเดียอีกแห่งหนึ่ง คือพบแหล่งโบราณคดีที่ศูนย์การทหานปืนใหญ่ ซึ่งพบโบราณวัตถุเช่นเดียวกันกับที่พบในดอนตาเพชร ด้วยเหตุนี้ในบริเวณภาคลางตอนล่างนั้น พ่อค้าชาวอินเดียและกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียนและเปอร์เซียน่าจะได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย โดยการเดินเรือขึ้นมายังบริเวณดังกล่าว ที่เชื่อกันว่าบริเวณนี้ เคยเป็นบริเวณปากน้ำที่เรือในสมัยโบราณสามารถขึ้นไปค้าขายจนถึงบริเวณปากน้ำโพ (จังหวัวนครสวรรค์)

               

พุทธศตวรรษที่ ๕ – ๙ นั้นเป็นช่วงที่สินค้าของชาวอินเดีย สมัยอินโด- โรมัน (อินเดียทำเลียนแบบโรมัน) ได้นำเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนในบริเวณศูนย์กลางการค้าดังกล่าวมากขึ้นและได้กระจายไปตามแหล่งชุมชนที่อยู่ภาคกลางตอนล่าง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน คือ พบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่พงตึก เมืองโบราณอู่ทอง เมืองนครปฐมโบราณ(นครชัยศรี) และบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักแม่น้ำลพบุรีก็มี เมืองโบราณที่บ้านจันเจน แหล่งโบราณคดีเนิมมะกอก แหล่งโบราณคดีท่าแค และบริเวณลุ่มแม่น้ำบางประกง คือ แหล่งโบราณคดีโคกระกา เมืองศรีมโหสถ เป็นต้น

               

ชาวอินเดียที่เดินทางมาติดต่อกับชุมชนโบราณในอาณาจักนทวาราวดีนั้น มีทั้งพ่อค้าและนักบวช ที่มาจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เดินทางติดตามมาพร้อมกับเรือสินต้าของพ่อค้าหรือตามพ่อค้าเดินทางเข้ามานั้น ได้เข้ามาตั้งฐานบ้านเรือนอยู่ในเมืองต่างๆ โดยนำเอาความเชื่อในศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติอยู่มาดำรงชีวิตและเผยแพร่วัฒนธรรมนั้นจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชนพื้นเมือง ต่อมาอาณาจักรทวาราวดีได้นำเอาพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของอินเดียโบราณไปเสริมความเจริญของบ้านเมืองจนมีความนิยมแพร่หลาย

 

                ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมินั้นได้ถูกครอบครองโดยแคว้นอิศานุปุระของอาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้น ได้มีชนชาติอีกพวกหนึ่งแตกต่างกับชาวเจนละ ในด้านศาสนาและศิลปกรรม ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละ ตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูนได้

               

จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อเหี้ยนจั๋งหรือพระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. ๑๑๗๒ – ๑๑๘๘ และภิกษูจีน อี้จิง (I – Sing) ได้เดินทางอินเดียไปทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า โลโปตี้ หรือจุยล่อพัดดี้ (ทราวาวดี) เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร) ปัจจุบันก็คือส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย

               

พงศาวดารจีนสมัยราชวงค์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวาวตุ้งถึงอาณาจักรทวาราวดีได้ในเวลา ๕ เดือน”

               

หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศคตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๙ ม.ม พบที่นครปฐม และอู่ทองนั้น พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวาราวดีศวร” และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง จึงทำให้เชื่อได้ว่า ชนชาติมอญโบราณนั้นได้ตั้งอาณาจักรทวาราวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่

               

เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง) เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรีในลุ่มลพบุรี) เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรีในลุ่มแม่น้ำปแม่กลอง) เมืองอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเดต่า อ.เมือง จ.อุทัยธานีในแควตากแดด) เมืองซับจำปา จังหวีดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก) เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี) และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี)

               

นอกจากนี้ยังพบว่ามีเมืองโบราณสมัยอาณาจักรทวาราวดีอีกหลายแห่ง เช่น ที่บ้าน หนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่ และโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี เป็นต้น

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรทวาราวดี

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์