ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรฟูนันหรือขอมโบราณ

 

 

อาณาจักรฟูนันหรือขอมโบราณ

พุทธศตวรรษที่ ( -๑๑)

 

          อาณาจักรฟูนันเป็นอาณาจักรเก่าแก่ของขอมโบราณที่สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๖ มีบันทึกของทูตจีนสมัยสามก๊ก ๒ คนคือ คังไถและชูยิง ซึ่งได้เดินทางไปฟูนันเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๘ ชาวจีนเรียกว่า อาณาจักรฟูนัน หรือบุยหนำ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า บนัม (ภาษาขอมโบราณ แปลว่า ภูเขา) หรือตรงกับคำว่า พนม หมายถึงภูเขา ชาวฟูนันนั้นเรียกผู้นำของตนว่า กรุงนัม แปลว่า ราชาหรือกษัตริย์แห่งขุนเขา (ไศลราช) นั่นเอง

         

เนื่องจากอาณาจักรขอม นั้นสร้างขึ้นอยู่ทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีน ตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งเป็นการสร้างเมืองตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูลัทธิไศวนิกายและไวณพนิกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ดังนั้นการสร้างเมืองจึงสร้างไว้บนภูเขาวิหารจำลอง

         

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นั้น พราหมณ์โกญธัญญะจากอินเดียได้เดินทางมาครองอาณาจักรขอมแห่งนี้เป็นปฐมกษัตริย์ของฟูนัน ได้ทำการสร้างแบบแผนของราชสำนักตามอย่างอินเดีย โดยมีตำนานเล่าถึงราชวงค์ขอมนี้ไว้ว่า

         

ราชวงศ์ขอมนั้นเกิดจากพราหมณ์คนหนึ่ง (พราหมณ์โกญธัญญะ) สมสู่กับนางนาค (นางนาคโสมา เป็นนาคมี ๙ เศียร) ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาค และได้รับการนับถือเป็นบรรพบุรุษของชนชาติขอม นางนาคโสมานี้มีทายาทหลายองค์มีชื่อรู้จักกันคือฟันจัน ฟันขุน ฟันซิมัน ต่อมานั้นได้เป็นผู้ปกครองอาณาจักรฟูนันต่อมาจนถึง พ.. ๑๑๐๐

         

อาณาจักรฟูนันในระยะแรกนั้นมีอาณาเขตกว้างขวางมากครอบคลุมไปถึงพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำโขงในเขตเวียดนามใต้และแม่น้ำโขงตอนใต้ของกัมพูชา มีเมืองออกแก้ว ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม เป็นเมืองท่า และเมือง

เถมูหรือเมืองวยาธปุระ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เขาพาพนมในกัมพูชาเป็นเมืองหลวง

         

ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าฟันซีมัน โอรสของพระเจ้าโกณณัญญะได้ขยายอาณาเขตออกไหโดยสามารถปราบปราบรัฐต่างๆ ได้ถึง 10 รัฐ (เมืองเช่น ฉูตูคุณ จิวจิ และเตียนซุน ซึ่งมีรัฐที่น่าสนใจคือ จิวจิ หรือรัญจินหลิน ที่หมายถึงรัฐในดินแดนสุวรรณภูมิหรืออู่ทอง และเตียนซุนหรือตุนซุน รัฐที่อยู่ในบริเวณแหลมมาลายู ดังนั้นทำให้มีความเชื่อว่า อาณาจักรฟูนันนั้นน่าจะมีอำนาจครอบครองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแหลมมลายูด้วย

         

ดังนั้นอาณาจักรแห่งนี้ได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวอินเดียและชาวจีนที่เดินไปมาค้าขายนั้นกับต่างประเทศตลอดมา และในคริสต์ศตวรรษที่ ๕ อาณาจักรฟูนันได้ส่งพ่อค้าออกไปค้าขายยังประเทศจีนที่เมืองกวางตุ้ง

          ต่อมาราว พ.. ๑๐๔๓ (..๕๕๐) พระเจ้ารุทวรมัน กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรฟูนันได้ถูกพระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์อาณาจักรเจนละยกทัยพเข้าโค่นอำนาจลงโยทำการตีเมืองวยาธปุระจนแตก

         

เมืองหลวงของอาณาจักรฟูนันนั้น มีชื่อเรียกว่า นอ-กอร-กก-ทะโหลก หมายถึง เมืองพระนครที่ตั้งอยู่บนเขาและต้นไม้สูงนั่นเอง และได้รับอิทธิพลมีความเชื่อในเรื่อง พญานาคภายหลังได้กลายเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์สมัยเมืองพระนครต่อมา

         

“นาค” คำนี้หากความเชื่อตามตำนานต้องถือว่าเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์ เป็นตัวแทนความเชื่อของชาวขอมที่ยึดเอาเป็นสัญลักษณ์ประจำของชนเผ่า นับถือนาค นับถืองู เช่นเดียวกับอียิปต์หรืออินเดีย ความเชื่อนี้เกิดจากพื้นฐานของแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น มีความเชื่อว่าแม่น้ำโขงเกิดจากรอยพญานาค ดังนั้น น้ำและถ้ำใหญ่ใต้น้ำหรือบนภูเขาจึงเป็นถิ่นที่อยู่ของพญานาค ผู้นับถือนิยมที่จะสักลายตามผิวหนังด้วยรูปนาคและงู มีพิธีกรรมสำหรับบูชาพญานาคเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข ดังนั้นอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บหรือถูกงูกัด ถือว่าเป็นการลงโทษของพญานาค ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ปัจจุบันยังมีหลงเหลืออยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เช่นมีความเชื่อว่าทุกปีพญานาคจะพ่นบ้องไฟขึ้นเหนือแม่น้ำโขง เป็นต้น

               

หากวิเคราะห์เอาว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงหรือทะเลสาบ เป็นผู้ที่อยู่กับน้ำซึ่งเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว การอาศัยสิ่งที่อยู่ในน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคจึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เรียกกลุ่มคนริมน้ำว่า มนุษย์นาคา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการหาปลาจับสัตว์น้ำและใช้เรือสำหรับเดินทางไปมาในแม่น้ำ จนมีการสร้างเรือยาวที่มีหัวพญานาคหรือเรือมังกรขึ้นในดินแดนที่อยู่ริมแม่น้ำ ก็พอจะมองเห็นภาพของชมชุนริมน้ำและชุมชนบนภูเขา ที่มีความเชี่ยวชาญในการเข้าป่าล่าสัตว์ นับถือขุนเขาและสิ่งลึกลับที่เกิดขึ้นในป่าเขา โดยเชื่อว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจากสัตว์ป่าและไข้ป่านั้นเป็นการลงโทษของเจ้าป่าเจ้าเขาหรือเชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ของยักษ์ของผีไป

               

ดังนั้นการตั้งบ้านเมืองจึงขึ้นอยู่ว่าผู้นำหรือกษัตริย์ของตนนั้นมีความเชื่อหรือนับถือเอาอะไรเป็นหลัก ฝ่ายนาคาหรือเจ้าป่าเจ้าเขา หรือได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากศาสนาใดก็จะพากันตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองตามคติความเชื่อนั้น

               

สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบันนี้ เดิมนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนันเดิม เนื่องจากได้พบหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย คือทับหลังหินทรายแกะสลัก ยุคไพรกะเม็ง (.. ๑๑๘๐ -๑๒๕๐ สมัยเจนละ ยุคก่อนสร้างนครวัด นครธมในเขมร) ทับหลังยุคปาปวน (.. ๑๕๖๐ – ๑๖๓๐)          และศิลาจารึกขอมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นับเป็นหลักฐานศิลปะขอมโบราณที่เก่าแก่ที่สุด

               

หลักฐานสำคัญเหล่านี้พบที่วัดทองทั่ว – ไชยชุมพล ตำบลเพนียด อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (จันทบุรี นั้นเดิมชื่อ จันทบูนหรือจันทรบูรณ์ มีข้อสันนิษฐานว่า จันทบูรณ์น่าจะมาจากภาษาเขมรว่า “เจือนตะโบง แปลว่า ชั้นที่อยู่ทางทิศใต้ หมายถึง เมืองที่อยู่ทิศใต้ของอาณาจักร) นอกจากนี้ยังพบจารึกวัดทองทั่วเป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต  แปลได้ความว่า “พระเจ้าศรีอีศานวรมัน ได้พระราชทานแท่งศิลาที่สกัดด้วยเหล็ก เป็นอักษรพร้อมคนงานที่ต้องโทษ ๔๒ คนโค ๒๓๑ ตัว กระบือ ๒๔๕ ตัว

 

                การที่พระเจ้าศรีอีศานวรมัน กษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรอีสานในดินแดนสุวรรณภูมิ (สยาม) นั้นได้พระราชทานศิลาจารึก พร้อมกับแรงงานผู้ต้องโทษ ๔๒ คนและโค ๒๓๑ ตัวกระบือ ๒๓๕ ตัวให้ไว้เช่นนี้ เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า มีการส่งแรงงานนี้มาเพื่อสร้างหรือทำอะไรในบริเวณนี้

               

การจารึกข้อความบนศิลานั้น ถือว่าเป็นอริยธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของอาณาจักรฟูนัน เมื่อประมาณ ๑.๓๐๐ ปี มาแล้ว เป็นความนิยมจารึกเรื่องราวไว้บนศิลา เช่นเดียวกับการสลักรูปภาพต่างๆ บนหินและแกะสลักลวดลายศิลปะต่างๆ ไว้ประกอบในการสร้างปราสาท หินที่มีอยู่มากมายในดินแดนภาคอีสาน

               

นักประวัติศาสตร์บางคนมีความเห็นว่า ในระหว่างพุทธศควรรษที่ ๗-๙ นั้น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนันด้วย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน

               

ดังนั้นบริเวณส่วนที่เป็นดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อราว พ.. ๖๔๓ ถึง พ.. ๑๐๔๓ นั้นก็คือส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน กล่าวคืออาณาจักรฟูนัน (FUNAN) ได้ถูกตั้งขึ้นและเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ ที่เชื่อกันว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรแห่งนี้น่าจะตั้งอยู่ที่ เมืองเปรเวงในประเทศกัมพูชา โดยมีเมืองออกแก้วหรือออกแอว ในประเทศเวียดนาม เป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตั้งอยู่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

               

คำว่า “ฟูนัน” นี้ น่าจะมาจากภาษาจีนว่า บุยนัม ที่แปลว่า ภูเขา โดยออกเสียงเป็นภาษาขอมได้ว่า บนัม หรือ “พนม ”อาณาจักรฟูนันนี้ได้รับเอาวัฒนธรรมฮินดูจากอินเดียมาใช้ในสังคมและเป็นชนชาติที่เป็นบรรพบุรุษของเขมรปัจจุบัน

               

เรื่องนี้ศาสตราจารย์ของ เซลิเยร์ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศล กลับการมีความเห็นว่าเมืองสำคัญของอาณาจักรฟูนันนั้น น่าจะอยู่บริเวณเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากได้มีการพบโบราณวัตถุสมัยฟูนัน เช่น ลูกปัด ดินเผา และสำริด เป็นจำนวนมากที่เมืองอู่ทอง

               

แต่ในประวัติศาสตร์โบราณคดีของเขมร ได้เขียนไว้ว่า ฟูนัน คืออาณาจักรเขมรยุคแรกเริ่มเมื่อเจ้าชายจากอินเดียชื่อ “โกญธัญญะ” (จีนว่าโกณฑิยะ) ลงเรือมาถึงอาณาจักรฟูนันแล้วได้นางพญาฟูนัน (จีนว่า พระนาง ลิวเย่) เป็นพระชายา (พระชายาผู้นี้น่าจะเป็นเชื้อสายกษัตริย์ ในราชวงค์ฟูนันมากกว่า จึงเรียกว่านางพญาฟูนัน)

               

ดังนั้นการตั้งอาณาจักรฟูนัน จึงต้องตั้งตามชื่อของราชวงศ์กษัตริย์ฟูนันเดิม คือภายหลังนั้นขุนพลฟันซีมัน (ฟูนัน)ทายาทของพระเจ้าโกญธัญญะ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรแห่งนี้ซึ่งปรากฏจดหมายเหตุกล่าวถึงอาณาจักรฟูนันแห่งนี้ดังนี้

               

ปลายพุทธศตวรรษที่ ๘ ระหว่าง พ.. ๗๖๐ - ๗๙๕ นั้นจดหมายเหตุของจีนราชวงศ์ฮั่นได้บันทึกไว้ว่า ราชทูตฟืจีนชื่อ คังไถ (Kang T ai) และจูยิง (Chu Ying) ได้เดินทางมายังดินแดนของอาณาจักรฟูนัน เพื่อเผยแพร่วัฒนะธรรมจีนและได้มีบันทึกไว้ความว่า “เมืองฟูนันมีความรุ่งเรืองมาก มีแม่น้ำใหญ่ไหลมาทางตะวันตกผ่ากลางเมือง ชาวอินเดียชื่อโกณฑิยะ ได้เดินทางโดยเรือมายึดครองดินแดนบริเวณปากแม่น้ำโขง และได้ประมุขของชาวพื้นเมืองคือ พระนางลิวเย่ (Liu-ye) เป็นชายา ต่อมาอีกหลายปี ขุนพลฟันซีมัน (Fan Shihman) ได้ขึ้นเป็นเจ้าครองนครฟูนัน ทรงขยายอาณาจักรฟูนัน ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยสามารถยึดครองอาณาจักร อาณาจักร ฉูตูคุณ จิวจิ และเตียนซุน

               

นอกจากนี้ยังมีราชฑูตจีนคังไถ ได้กล่าวเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันไว้อีกว่า “มีกำแพงล้อมรอบเมือง มีพระราชวังและบ้านประชาชน ประชาชนมีหน้าตาน่าเกลียด ผิวดำ ผมหยิก ไม่สวมเสื้อผ้าและเดินเท้าเปล่า อัธยาศัยใจคอง่ายๆ ไม่ลักขโมย ปลูกหว่านพืชเพียงปีหนึ่งแต่เก็บเกี่ยวไปได้สามปี ชอบแกะสลักเครื่องปะดับ ภาชนะกินอาหารมักทำด้วยเงิน เก็บภาษีเป็นทองคำ เงิน ไข่มุก และเครื่องหอม มีหนังสือ หอจดหมายเหตุ โดยใช้อักษรที่คล้ายอักษรของชนชาติอินดู (Hu)”

               

จดหมายเหตุจีนที่บันทึกในสมัยสามก๊ก กล่าวถึง อาณาจักรฟูนันไว้าว่า “ใน พ.. ๗๘๖ อาณาจักรฟูนัน ได้ส่งคณะทูตมาประเทศจีน พร้อมกับส่งนักดนตรีและพืชผลในประเทศเป็นเครื่องราชบรรณาการ”

               

จดหมายเหตุจีน บันทึกเมื่อ พ.. ๑๐๔๖ มีความว่า “ฟูนันส่งราชทูตไปประเทศจีน” และจักรพรรดิของจีน ได้มีพระราชโองการว่า

               

“พระราชาแห่งรัฐฟูนัน ทรงพระนามว่า โกณฑิยะชัยวรมัน ประทับอยู่สุดเขตโพ้นทะเล ราชวงศ์ของพระองค์ได้ทรงปกครองบรรดาประเทศโพ้นทะเลทางใต้ และได้ทรงแสดงความซื่อสัตย์สุจริตด้วยการส่งเคร่องราชบรรณาการมาถวายหลายรั้ง บัดนี้สมควรจะตอบแทนให้ทัดเทียมกันและได้ตำแหน่งอันมีเกียรติยศ คือตำแหน่งขุนพลแห่งภาคสันติใต้ กษัตริย์แห่งฟูนัน”

               

จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ฉี สมัยต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ กล่าวถึงชาวฟูนันนี้ว่า “ ประชาชนฟูนันโหดร้ายและเต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม เข้าโจมตีเมืองที่ไม่ยอมอ่อนน้อมและกดขี่ประชาชนลงเป็นทาสมีสินค้าคือ ทอง เงิน ผ้าไหม คนสำคัญใช้ผ้ายกนุ่งเป็นโสร่ง หล่อแหวนและกำไลด้วยทองคำ ใช้ภาชนะทำด้วยเงิน คนจนนุ่งผ้าฝ้ายผืนเดียว ริมทะเลมีกอไผ่ใหญ่ใช้ใบไผ่สานเป็นหลังคาบ้านเรือนซึ่งยกพื้นสูงเหนือน้ำ ใช้เรือที่มีหัวและท้ายคล้ายปลาพระราชาเสด็จบนหลังช้าง มีการชนไก่ วิธีพิพากษาคดีใช้วิธีโยนไข่ หรือแหวนทองคำ ลงในน้ำเดือดแล้วให้คู่ความหยิบออกมา หรือเผาโซ่ให้ร้อนแล้วให้คู่ความเดินถือไป ๗ ก้าวผู้ผิดจะมือพอง และผู้ถูกจะไม่บาดเจ็บ”

               

สรุปแล้วชาวฟูนันนั้นเป็นคนผิวดำ ผมหยิก ตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ นุ่งผ้ายกเป็นโสร่งเดินเท้าเปล่า ส้วมตุ้มหูที่ทำด้วยดีบุก สวมกำไลและแหวนทองคำ จะเห็นว่าชาวฟูนันนั้นมีความรู้ด้านโลหกรรม สามารถทำการหล่อเครื่องประดับ เช่น แหวน กำไลทองคำ และตุ้มหูดีบุกใช้ภาชนะทำด้วยเงิน

ชาวเมืองนี้สร้างบ้านเรือนมุงหลังคาด้วยใบไผ่ (แฝก?) ใช้ช้างเป็นพาหนะ และมีเรือยาว ๘๐–๙๐ ฟุตเป็นพาหนะการนับถือศาสนาในอาณาจักรฟูนันนั้น ชนชั้นปกครองนับถือศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย ส่วนชาวพื้นเมืองนั้นมีทั้งนับถือศาสนาพราหมณ์ ไวศษณพนิกายและพุทธศาลนาหินยานนิกายสรวาทติวาท ใช้คัมภีร์สันสกตฤ การละเล่นของชาวพื้นเมืองนั้น กมมีกีฬาชนไก่ ชนหมู เป็นต้น และพิธีศพของชาวฟูนัน ได้จัดพิธีปลงศพตามแบบอินเดีย

                อาณาจักรฟูนันแห่งนี้มีความเจริญสูงสุดในพุทธศตวรรษที่ ๙ แล้วเริ่มเสื่อมในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ต่อมาอาณาจักรแห่งนี้ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรเจนละ (ในเขมร) เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จากนั้นอาณาจักรฟูนัน ก็สูญหายไป เนื่องจากได้เกิดมีอาณาจักรขอมขึ้นมาเทนในดินแดนของอาณษจักรฟูนันเดิม

               

อาณาจักรฟูนันนั้นมีพระเจ้าโกณฑัญญะชัยวรมันเป็นปฐมกษัตริย์ และพระเจ้ารุทวรมันเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย มีการสร้างศิลปขอมที่เรียกว่า ศิลปขอมแบบพนมดา สร้างระว่าง พ.. ๑๑๐๐–๑๑๕๐

               

ส่วนอาณาจักรขอม ระหว่าง พ..๑๑๐๐–๑๑๗๐ นั้นได้มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ ดังนี้

·        พระเจ้าภวรมันที่ ๑ นัดดาของพระเจ้าทวรมัน

·        พระเจ้ามเหนทรวรมัน พระญาติของพระเจ้าภวรมัน รัชกาลนี้พระองค์ทรงสร้างอีศานปุระ(กลุ่มโบราณสถานสมโบ์ไพรกุก เมืองกำปงธม )เป็นราชธานีขึ้น

·        พระเจ้าอีสานวรมันที่ ๑ พระโอรสของพระเจ้ามเหนทรวรมัน ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปขอมแบบสมโบ์ไพรกุกขึ้นระหว่าง พ.. ๑๑๕๐–๑๒๐๐

               

การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองออกแก้ว (OC-EO) ตรงบริเวณปลายแหลมญวน ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองท่าที่เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรฟูนันนั้น ได้พบโบราณวัตถุสมัยฟุนัน เช่น ถ้วยชาม เงินตรา พระพุทธรูปและเทวรูป ส่วนใหญ่เป็นศิลปะอมราวดีที่มาจากอินเดีย

               

ศิลปกรรมของอาณาจักรฟูนันนั้น ได้สำรวจพบฐานอาคารสมัยก่อนเมืองพระนคร พบเทวรูปพระนาราย์ พระหริหระ และพระพุทธรูปสมัยก่อนเมืองพระนคร

 

สำหรับดินแดนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น ได้มีการสำรวจพบเงินเหรียญรูปพระอาทิตย์และศิลปวัตถุสมัย

ฟูนันหลายอย่าง พบที่แหล่งโบราณสถานคอกช้างดิน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าดินแดนสุวรรณภูมินั้นได้รับอิทธิพลหรืออยู่ในอาณาจักรฟูนันมาช้านานก่อนแล้ว

               

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ตอนตนนั้น หลวงจีนอี้จิง ได้ออกเดินทางโยเรือจากจีนไปสืบพระศาสนาที่อินเดีย ได้แล่นเรือผ่านบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรฟูนันมาก่อนและบันทึกไว้ว่า

               

“พราหมณ์ชาวอินเดียได้เคยอพยพมาตั้งถิ่นฐานและแต่งงานกับเจ้าหญิงชนพื้นเมืองเดิม สถาปนาอาณาจักรฟูนันขึ้น  โดยรับอารยธรรมอินเดียอย่างแน่นแฟ้นเช่น การปกครองแบบเทวราชา….…ในอาณาจักรฟูนันสมัยก่อน พระธรรมทางศาสนาพุทธได้แพร่หลายและขยายออกไป แต่ปัจจุบัน พระราชาที่โหดร้ายได้ทำลายพระธรรมเสียสิ้น และไม่มีพระสงฆ์เหลืออยู่เลย”

               

เมื่ออาณาจักรฟุนันล่มสลายเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักเจนละได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ครั้นเมื่ออาณาจักรเจนละมีอิทธิพลมากขึ้น จึงได้แผ่อำนาจมาทางอาณาจักรฟูนัน จึงทำให้เกิดการต่อสู้ชิงอำนาจเป็นใหญ่ในดินแดนดังกล่าว ในที่สุดอาณาจักรเจนละก็สามารถครอบครองดินแดนอาณาจักรฟูนันแถบนี้ได้

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรฟูนันหรือขอมโบราณ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์