ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ศาสนาอิสลามในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

ศาสนาอิสลามในดินแดนสุวรรณภูมิ

               

ศาสนาอิสลาม  นั้นได้เดินทางมาเผยแพร่อยู่ทางหัวเมืองตอนใต้ของแหลมมลายูและประเทศมลายู  ในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง  และเกิดอาณาจักรมัชปาหิตขึ้น  ทำให้มีชาวอาหรับและชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามต่างพากันเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายเผยแพร่ศาสนาอิสลามในเวลาเดียวกัน  ครั้นเมืองแคว้นสุโขทัยสามารถแผ่อำนาจมาถึงหัวเมืองทางตอนใต้ไปจดเมืองยะโฮร์  เมืองมะละกา  นั้น  แค้นสุโขทัยมีเมืองนครศรีธรรมราช  และเมืองปัตตานี  เป็นเมืองสำคัญ  และแต่งตั้งให้เมืองนครศรีธรรมราชนั้นเป็นเมืองประเทศราช  คอยดูแลเมืองต่าง ๆ  ในแหลมมลายูด้วย  จึงเป็นเหตุให้ชาวสยามในสมัยสุโขทัยได้พากันไปอาศัยคามหัวเมืองในแหลมมลายูด้วย  จึงเป็นเหตุให้ชาวสยามในสมัยสุโขทัยได้พากันไปอาศัยตามหัวเมืองในแหลมมลายูและนับถือศาสนาอิสลาม  ซึ่งมีชื่อเรียกว่า  สยาม  (นับถือ)  อิสลาม  หรือ  พวกสาม-สาม

               

ในปี  พ.ศ.  ๑๙๘๐  นั้นชาวอาหรับ  และชาวอินเดีย  ได้นำศาสนาอิสรามเข้าไปเผยแพร่ในสิงคโปร์  เมืองมะละกา  เมืองกลันตัน  เมืองไทรบุรี  และเมืองปัตตานี  จึงทำให้ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น

               

ด้วยเหตุที่หัวเมืองทางภาคใต้มีการนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก  มีขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกัน จึงทำให้มีการจัดระเบียบระบบการปกครองให้สอดคล้องกับการนับถือศาสนาด้วย  กล่าวคือ  ให้มีการพิจารณาการวางแผนการปกครองขึ้นเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นหัวเมืองอิสลาม  นั้นได้รวมตัวกันเป็นเมืองปัตตานี  ให้มีฐานะเป็นประเทศราชของแคว้นสุโขทัย

               

สมัยอยุธยาระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุง  ใน  พ.ศ.  ๒๓๑๐  นั้น  เจ้าเมืองปัตตานี  และ  เมืองไทรบุรี  ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ  และเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตนเป็นเมืองใหม่  ไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาด้วยคือ  ชุมนุมเจ้านคร  เป็นชุมนุมที่มีอาณาเขตตั้งแต่ชุมพรลงไปจนต่อเขตที่ต่อแดนของมลายู  เจ้านครนั้นเดิมรับราชการอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา  ได้รับแต่งตั้งให้มารักษาการที่เมืองศรีธรรมราช  ในตำแหน่งปลัดเมือง  ครั้นเมื่อ  พระยาสุภาวดี  เจ้าเมืองทำความผิดออกจากตำแหน่ง  จึงทำให้ปลัดเมืองคือ  เจ้านครได้รั้งเมืองนี้จนกระทั่งเสียกรุง

               

ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินทำการู้เอกราชโดยทำการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ  ที่ตั้งตัวเป็นอิสระ  ๕  ชุมนุมนั้น  ในปี  พ.ศ.  ๒๓๑๒  พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเรือมาติดเมืองนครศรีธรรมราช  เมื่อพระองค์เสด็จถึงปากน้ำเมืองนคร  และยกไพร่พลขึ้นบกแล้ว  จึงได้เข้าตีทัพของเจ้านครทันที  ดังนั้น  พลของเจ้านครจึงแตกพ่ายจึงหนีลงไปอาศัยอยู่กับพระยาตานี  เจ้าเมืองปัตตานี

               

ต่อมาพระยาตานี  เจ้าเมืองปัตตานี  ได้กลับทำการจับตัวเจ้านครส่งตัวมาถวายพระเจ้าตากสิน  แต่พระองค์ไม่ตัดให้มีการลงโทษแต่อย่างไร  เนื่องจากทรงว่าในยามกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่านี้บ้านเมืองเกิดการจลาจล  จึงเป็นโอกาสที่ทุกคนจะต้องตั้งตนเป็นใหญ่  หลังจากที่พระเจ้าตากสินปราบชุมนุมต่าง  ๆ  ได้หมดแล้ว  จึงได้มีการสถาปนากรุงธนบุรี  เมืองปัตตานีกับเมืองไทรบุรี  จึงกลับมาขึ้นอยู่กับไทยอีกครั้งหนึ่ง  เมืองปัตตานีนั้นเป็นเมืองที่มีการนับถือศาสนาอิสลามอยู่จำนวนมาก

               

ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๑  นั้นได้เกิดเหตุจากเจ้าเมืองปัตตานีแข็งข้อไม่ยอมอ่อนน้อม  พระองค์จึงโปรดให้พระยากลาโหมพระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน)  พระยาพัทลุง  (ทองขาว)  เจ้าเมืองสงขลา  ยกทัพไปตีเมืองปัตตานี  เมื่อตีได้แล้วพระองค์ทรงโปรดให้พระพลเทพพระยาวิเศษโกษา  และหลวงฤทธิ์จัดการแยกเมืองปัตตานีออกเป็น  ๗  หัวเมือง  ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชดำหริว่าถ้าหากปล่อยเมืองปัตตานีว่าให้เป็นเมืองใหญ่เช่นนี้ก็จะลำบากแก่การปกครอง  พระอง๕ทรงโปรดให้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น  ๗  หัวเมืองใหญ่  คือ  เมืองปัตตานี  เมืองหนองจิ  เมืองยะหรั่ง  เมืองสายบุรี  เมืองยะลา  เมืองรามันต์  และเมืองระแงะ  โดยให้อยู่ในการดูแลของเมืองสงขลา 

                 

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๒  ของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น  อังกฤษได้แผ่อำนาไปยังท่าตะวันออก  ได้เข้ายึดครองอินเดีย  และขยายอำนาจมายึดเกาะปีนัง  เมืองมะละกา  เมืองสิงคโปร์ไว้  สำหรับเมืองมะละกานั้นเคยเป็นของแคว้นสุโขทัยมาช้านานและหลุดเป็นของอังกฤษ  ดังนั้น  พระองค์จึงมอบให้พระยานครน้อย (พัฒน์)  ซึ่งครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้น  เข้ามาทำการยึดเมืองไทรบุรี  ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของแคว้นสุโขทัยไว้ได้สำเร็จ

               

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าจอมเกล้ารัชกาลที่ ๕  นั้นพระองค์ให้ปรับปรุงหัวเมืองต่าง ๆ  ของเมืองปัตตานีใหม่โดย  จัดให้รวมกันเป็นบริเวณ  เรียกว่า  “บริเวณ ๗  หัวเมืองอิสลามปักษ์ใต้”  และหัวเมืองทั้ง๗  นั้นไป  ขึ้นอยู่กับมณฑลนครศรีธรรมราชที่ตั้งขึ้นเมือง  พ.ศ.  ๒๔๓๔  ด้วยเหตุมีการปกครองไม่ทั่วถึง  จึงปรากฎว่าเมืองปัตตานีนั้นได้พยายามตั้งตนเป็นอิสระ  และทำการก่อกบฏขึ้นหลายครั้ง

               

พรยาสุขุมนัยวินิต  (ปั้น  สุขุม)  ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรธรรทราชและจัดการเมืองสงขลา  เมืองพัทลุง  นั้น  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  จึงมอบหมายให้ดำเนินการวางแผนการปกครองในบริเวณ  ๗  หัวเมืองอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งมีรายงานที่น่าสนใจว่า  การชำระตัดสินความอยู่ในอำนาจของ  “โต๊ะกาลี”  คืออาจารย์ฝ่ายศาสนาอิสลาม  เป็นผู้ตัดสินความตามหลักกฎหมายอิสลาม

               

เมืองทางปักษ์ใต้  ได้มีการนับถือศาสนาอิสลามนั้นได้แก่  เมืองปัตตานี  เมืองนราธิวาส  เมืองยะลา  และเมืองสตูล  แล้วต่อมาภายหลังศาสนาอิสลามได้เผยแพร่และทำการสร้างมัสยิดอยู่ทั่วไป

 

                                “สูเจ้าทั้งหลายอย่าก่อกวนความเสียหายขึ้นในแผ่นดินการรักบ้านเกิดเมืองนอน

                นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธามั่นในองค์อัลเลาะห์”  (จากคัมภีร์อัลกุรอาน)

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ศาสนาอิสลามในดินแดนสุวรรณภูมิ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์