ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การตั้งศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ

การตั้งศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ

ศาสนาพราหมณ์ที่ตามพรลิงค์

 

                อาณาจักรตามพรลิงค์  แห่งนี้นับถืออาณาจักรเก่าแก่ที่อยู่ตามภาคใต้ของประเทศไทย  มีเมืองตามพรลิงค์ (เมทองนครศรีธรรมราช)  เป็นศูนย์กลางอาณาจักร  ปรากฏหลักฐานว่า

               

เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗  นั้น  ในระยะแรก  เมืองตามพรลิงค์นั้นอยู่ในอาณาจักรฟูนันและอาณาศรีวิชัย  ภายหลังแห่งเมืองได้มีความสำคัญขึ้น  ตามลำดับจนถึงพุทธศตวรรษที่  ๑๓  เมืองตามพรลิงค์จึงได้ขยายอำนาจขึ้นมาเป็รศูนย์กลางการค้าการปกครองเมืองต่าง ๆ  ในดินแดนภาคใต้  จนสามารถสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ -๑๕

               

อาณาจักรแห่งนี้  ได้ขยายอาณาเขตปกครองตั้งแต่เมืองปัตตานีและหัวเมืองทางภาคใต้เกือบทั้งหมด  ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙  อาณาจักรตามพรลิงค์หรือเมืองนครศรีธรรมราชได้เสื่ออำนาจลงและตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในที่สุด

               

เมืองตามพรลิงค์  (เมืองนครศรีธรรมราช)  แห่งนี้  พบว่าโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์อยู่บนเขาคา  ตำบลสำเภา  อำเภอสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทำให้เกิดหลักฐานใหม่ว่า  ศาสนาพราหมณ์นั้นได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่และตั้งแหล่งศาสนาพราหมณ์ขึ้นในดินแดนแถบนี้ก่อนที่จะเดินทางไปมีบทบาทในเมืองอื่นและดินแดนสุวรรณภูมิต่อไป

               

เทวสถานบนยอดเขาคาจะเกิดขึ้นได้นั้น  จะต้องมีชุมชนโบราณคอยอุถัมป์ดูแลอยู่ด้วย และบริเวณแห่งนี้จากการสำรวจพบว่า  มีแนวสันทรายนครศรีธรรมราช  (คือสันทรายสิชล-ท่าศาลา)  ทอดยาวจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ประมาณ  ๕๐  เมตร  มีอายุอยู่ในสมัยโฮโลซีน  คืออายุราว  ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐  ปีลงมา

               

ส่วนชุมชนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น  น่าจะอยู่แถวบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชด้านทิศตะวันตก  อันเป็นแหล่งต้นน้ำของคลองหลายสายที่ไหลเกือบเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก  ตอนกลางนั้นมีบริเวณที่ราบเชิงเขา และที่ราบลำน้ำมีสภาพพื้นที่สูงกว่าบริเวณเส้นทรายใกล้ชายฝั่ง  การทับถมของตะกอนดินในแม่น้ำและความชุ่มชื้นของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากทะเลนั้น  จึงทำใกล้บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีความอุดมศมบูรณ์กว่าบริเวณอื่น  จนเอื้ออำนวยต่อการเกษตรกรรมเลี้ยงชุมชนที่เกิดขึ้นได้  อีกทั้งยังได้อาศัยลำน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อไปยังพื้นที่ตอนในกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วย

               

บริเวณนี้เชื่อว่า  น่าจะเป็นแหล่งของชุมชนมนุษย์ในยุคนั้น  และได้มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดียมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่  ๑๐  ชุมชนโบราณนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขาคาและบริเวณวัดเบิกเขาโพรง  สำรวจพบเครื่องมือเขาหินขัด  เครื่องมือของมนุษย์ก่อนประวัติศาสาตร์ที่มีอายุราว  ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐  ปี  พบแหล่งโบราณคดี จำนวนมากอยู่กระจายตามลุ่มแม่น้ำในเขตอำเภอสิชลและอยู่กันหนาแน่นในท้องที่ตำบลสำเภา  ตำบลฉลอง  ตำบลเทพราช

               

ชุมชนมนุษย์ที่เขาคา-สิชลเหล่านี้  ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและสร้างวัฒนธรรมของตนเองสืบทอดต่อมาจนถึงยุคเริ่มประวัติศาสตร์  มาจนมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดีย

                ด้วยเหตุนี้เองในพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๘  บริเวณดังกล่าวนี้  จึงมีวัฒนธรรมและคติความเชื่อทางศาสนาของอินเดียเข้ามาสู่ชุมชนแห่งนี้  โดยพ่อค้าและพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่  นับเป็นแหล่งอารยธรรมอินเดียเกิดขึ้นครั้งแรก  (ที่สำรวจพบ)  ในบริเวณดังกล่าว  จากการสำรวจได้พับว่าแหล่งโบราณวัตถุและโบราณสถานเหล่านั้นเป็นเทวสถาน  ที่สดแงถึงคติ  ความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย  โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้า

               

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔  นั้น  ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายมีความเจริญมากพบหลักฐานว่าชุมชนโบราณอยู่ในบริเวณนี้ได้ขยายตัวไปทางตอนใต้ตลอดแนวลำน้ำ  เช่น  ชุมชนวัดนาขอมที่ร้างอยู่  บริเวณนี้ได้พบว่ามีการตั้งเทวาลัยเป็นจำนวนมากทั้งที่อยู่บนเนินเขาและที่ราบ  ขณะนั้นพุทธสถานของชุมชนชาวพุทธได้เกิดขึ้นบริเวณที่ราบเท่านั้น

               

ดังนั้นเขาคาจึงเป็นเขาที่ถูกเลือกสำหรับสร้างเทวสถาน  เพื่อเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวเทพ  เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ลัทธิศิวนิกาย  คือใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐ์ฐานศิวลึงค์ตามคัมภีร์ศิวปุราณะเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาทำเลของเทวสถานเป็นต้นแบบศาสนาพราหมณ์ในไทยแห่งนี้ต่อไป

               

เขาคา  นี้เป็นเขาลูกโดด  ยาวประมาณ    เมตร  กว้างประมาณ  ๓  เมตร  ยอดเขา  มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  ๗๒ เมตร  เชิงเขาด้านใต้มีลักษณะที่เรียกว่าด้านเหนือเล็กน้อย  บนยอดเขามีเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่  ห่างออกไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  ๕๐ เมตร  มีแม่นำไหลผ่านเขาคาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ  คือ  คลองท่าทน  มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหลวง  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพระสุเมรุตามอย่างภูเขาหิมาลัยในอินเดีย  เขาคาจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์และเป็นที่อยู่อาศัยของพราหมณ์  ซึ่งพบร่องรอยอาคารสถาปัตยกรรมตามแนวสันเขารวมทั้งหมด  ๔  แห่ง  สระน้ำ  ๓  แห่ง  และมีโบราณสถานดัดแปลงจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติอยู่สุดเนินเขาทางด้านเหนืออีก ๑ แห่ง  เชื่อว่าเป็นชุมชนของชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายตามที่ราบของเขาคา  ด้วยพบหลักฐานทางคดีเป็นจำนวนมาก  เช่น  เนินโบราณสถาน  สระน้ำโบราณ  พบคิวลึงค์  และชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม  เช่น  ฐานเสา  ธรณีประตู  กรอบประตู  เป็นต้น  เขาคานี้มีสองยอด  ยอดหนึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาบนตะพักเขาที่สูง  ๗๐  เมตร  ยอดทางเหนือสูงประมาณ  ๑๙๕  เมตร  ทั้งสองยอดนี้มีโบราณสถานอยู่เรียงรายตามสันเขา  โบราณสถานบนเขามี  ๕ หลัง  พบว่ามีบ่อรูปสี่เหลี่ยม  ทำบ่อน้ำมนต์  และท่อโสมสูตรในอาคารหลังใหญ่  กว้าง  ๑๗  เมตร

               

ลักษณะของคิวลึงค์ตามคัมภีร์ปุราณะที่พบอยู่บนเขาคานั้น  ส่วนล่างสุดเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหมายถึงพรหมภาค  ตรงกลางศิวลึงค์นั้นเป็นรูปแปดเหลี่ยมหมายถึง  วิษณุภาค  และสุดบนสุดของศิลลึงค์เป็นรูปกลมมนต์หมายถึง   รุทรภาค  นอกจากศิวลึงค์แล้วพบหลักฐานโยนีเป็นจำนวนมากมีฐาน  ๙-๑๒  เซนติเมตร  มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔

               

เทวสถานนี้แม้จะสร้างเป็นเทพเจ้าของลัทธิไศวนิกายแล้ว  ยังพบมีการประดิษฐานไวษณพนิกายควบคู่ไปด้วยกัน  ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘  ได้พบว่ามีร่องรอยหลักฐานของชุมชนชาวพุทธฝ่ายมหายาน  ได้เข้ามาตั้งหลักฐานอยู่ใกล้ ๆ  แหล่งที่เคยเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์แห่งนี้  ต่อมากลุ่มชาวพุทธได้ทำการดัดแปลงเทวสถานของพราหมณ์แห่งนี้เป็นพุทธสถานแทน

               

บริเวณแหล่งศาสนาพราหมณ์แห่งนี้   เมืออาณาจักรตามพรลิงค์  (เมืองนครศรีธรรมราช)  เจริญรุ่งเรือง  ผู้คนที่อยู่ชุมชนแห่งนี้จึงพากันอพยพไปอยู่ที่ศูนย์กลางแห่งใหม่ และนำพาเอาวิทยาการต่าง ๆ  ของพรหมอินเดียที่ถูกถ่ายทอดสู่ชุมชนนั้นมาเผยแพร่ต่อไป  ต่อมาวิทยาการเหล่านั้น  ได้มีบทบาทสำคัญในสังคมไทย  โดยเฉพาะ  วิชาโหราศาสตร์และคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์

               

อาณาจักรตามพรลิงค์ต่อมาได้กลายเป็นแหล่งอารยธรรมของอินเดียโบราณที่บรรดาพ่อค้าและพราหมณ์ได้เดินทางเข้ามาครั้งแรก  ก่อนที่จะมีคณะสมณทูตจากพระเจ้าอโศกมหาราชา  แห่งอินเดีย  นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้ามาประกาศเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ

               

เมื่อพุทธศาสนาได้เผยแพร่ในดินแดนแถบนี้อย่างเป็นทางการ  โดยมีสมณทูตจากพระเจ้าอโศกามหาราช  จึงทำอาณาจักรต่าง ๆ  พากันยอมรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นหลักของการครองอาณาจักร  กล่าวคือ  เมื่อมีการสร้างเจดีย์  (พระบรมธาตุ)  ขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองตามพรลิงค์  (เมืองนครศรีธรรมราช)  และพระปฐมเจดีย์  (เมืองนครปฐม)  ขึ้นเท่ากับเป็นการประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นหลักของอาณาจักรแห่งนี้  ดังนั้นบ้านเมืองโบราณต่าง ๆ  ก็พากันหันมานิยมนับถือพุทธศาสนาขึ้นเป็นหลักของอาณาจักรแห่งนี้  ดังนั้นบ้านเมืองโบราณต่าง ๆ  ก็พากันหันมานิยมนับถือพระพุทธศาสนาและพากันสร้างพุทธสถานขึ้นในดินแดนของตน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การตั้งศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิศาสนาพราหมณ์ที่ตามพรลิงค์

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์