ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  คัมภีร์โบราณต้นแบบของชีวิต

คัมภีร์โบราณต้นแบบของชีวิต

 

                คัมภีร์โบราณที่ถือว่าเป็นต้นแบบชีวิตของชาวอินเดียโบราณสมัยแรกนั้น  เรียกว่า  คัมภีร์

 

คัมภีร์ปุราณะ  เป็นเรื่องราวที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล  ถือเป็นสารานุกรมที่รวบรวมความรู้นานาประการของชาวฮินดูโบราณ  และสมัยกลางตั้งแต่ความรู้ทางศาสนาปรัชญาประวัติศาสตร์เรื่องราวของบุคคลสำคัญ ๆ  และพฤติกรรมของบ้านเมือง  ในปทานุกรมมอมรโทษ  ได้อธิบายถึงคัมภีร์ปุราณว่า  เป็นคัมภีร์  “ปัญจลักาณะ”  ที่มีเนื้อเรื่องประกอบด้วย  ความเป็นมาของเอกภพความพินาศและกลับมีเป็นขึ้นใหม่ของเอกภพ  ประวัติเทพเจ้าและทวยเทพ  การครองโลกของพรมนู  ๑๔  องค์  และประวัติของศูรยวงศ์  และจันทรวงศ์  คัมภีร์ปุราณนั้นเป็นคัมภีร์ที่ดำเนินเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของพระผู้เป็นเจ้าสามองค์  คือ  พระพรหม  พระวิษณุ  พระศิวะ  นับเป็น  “มหาปราณ”  มีจำนวน  ๑๘ เล่ม  (บางแห่งภาคผนวกของมหาปุราณนั้นมี  อุปปุราณอีก  ๑๘  เล่ม  คัมภีร์นี้มีประโยชน์สำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องชีวิตของชาวอินเดียโบราณ

               

คัมภีร์ภควิทคีตา  แปลว่า  เพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า  เป็นตอนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ  ซึ่งถือเป็นหัวใจปรัชญาของฮินดู  โดยพัฒนามาจากลัทธิภาควัต  มีคำฉันท์เป็นบทโศลก  ๗๐๐  บท  หลักธรรมคำสอนให้คนเลิกคิดว่า  ด้วยวิถีทางแห่งกายเป็นนักบวชว่า  ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะวรรณะ  หรืออาชีพใดก็ตาม  หากมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว  ก็ย่อมบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ทุกคน  และเป็นคัมภีร์ที่เน้นหนักถึงวัตรปฏิบัติทางหลักจริยธรรม  หรือหลักธรรมใดถ้าหากจาก  ความเมตตากรุณาของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว  กุศลผลบุญย่อมไม่บังเกิดขึ้นแต่ประการใด

 

                คัมภีร์อุปนิษัท  เป็นคัมภีร์ต่อท้ายคัมภีร์พระเวท  เป็นคำสอนลี้ลับที่ว่าด้วยหลักหรือคำสอนเกี่ยวกับ  ปรมาตมัน  ที่เชื่อว่าเป็นความจริง  นั้น  อาตมันหรือวิญาณของแต่ละชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของปรมาตมัน  จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างนับไม่ถ้วน  ด้วยเหตุที่กรรมคือการกระทำ  เมื่อหมดที่จะเวียนว่ายตายเกิดนับไม่ถ้วน  ต่อเมื่อหมดกรรมแล้ว  อาตมันทั้งหลายก็จะกลับคืนเข้าสู่  ปรมาตมัน

               

คัมภีร์ตันตระ  เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยคำสอนลึกลับ  เน้นหนักไปทางไสยศาสตร์หรือเวทมนต์คาถา  ส่วนมากจะปรากฏเป็นคำสนทนาระหว่างพระศิวะกับนางทุรคา  ผู้เป็นพระราชาว่าด้วยการสร้างโลก  ความพินาศของโลก  การบูชากราบไว้พระเจ้า  การบรรลุถึงสิ่งปรารถนาทุกประการ  โดยเฉพาะการบรรลุถึงอิทธิฤทธิ์ ๖  และวิธีเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้า  ๔  วิธีด้วยการบำเพ็ญสมาธิภาวนา  คัมภีร์ก่อให้เกิดลัทธิ  ศกดิ  คือ  ลัทธิลึกลับที่ใช้บูชาศักดานุภาพของเทพเจ้าฝ่ายหญิง  คือ  เจ้าแม่กาลี  หรือเทวี

               

คัมภีร์พระไตรปิฎก  เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามี  ๓  ภาค  ได้แก่  วินัยปิฎกคือระเบียบข้อบังคับสำหรับพระภิกษุสงฆ์  สุตตันตปิฎก  คือพระธรรมเทศนา  คำสอนบรรยายต่าง ๆ  ที่ตรัสให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส  และอภิธรรมปิฎก  และคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ  ไม่เกี่ยวกับบุคคลหรือเหตุการณ์  เป็นคัมภีร์ของผู้ตื่นแล้ว  จากความเป็นจริงของโลก  พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า

                “มนุษย์จะหลุดพ้นเป็นอิสระจากสังสารวัฎ  คือการเวียนว่ายตายเกิดได้  ก็โดยการกำจัดเสียซึ่งกิเลสตัณหาหรือความทะยานอยาก  และโดยการมีไมตรีจิตต่อสรรพชีวิตทั้งปวง”

                แม้ว่าต่อมาพระพุทธศาสนาจะได้แยกออกเป็น  ๒  นิกาย  คือ

               

นิกายหินยานหรือเถรวาท  ซึ่งเป็นนิกายที่ถือตนเองว่ายึดมั่นอยู่กับคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า  โดยใช่บาลีภาษาบันทึกหลักธรรม  นิกายนี้ได้เผยแพร่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศที่มีดินแดนทางเหนือ  ได้แก่  ทิเบต  เนปาล  จีน  มองโกเลีย  เกาหลี  ญวน  และญี่ปุ่นจึงเรียกว่านิกายฝ่ายเหนือหรือ  อุตรนิกาย  ซึ่งเป็นพระสูตรต่าง ๆ  มากมาย  เช่น  คัมภีร์มหาวัสตุ  คัมภีร์สลิตวิศสูตร  คัมภีร์พุทธจริต  และที่สำคัญที่สุดคือ  คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร  ซึ่งยึดมีมั่นในแนวคำสอนว่า

 

                “พระพุทธองค์ทรงสถิตสถาพรอยู่กับสัตว์โลกชั่วปาวสานและทรงเป็นผู้ประมานวิมุตติภาพให้แก่ผู้ประพฤติดี  ปฏิบัติชอบ”  จึงทำให้พระพุทธศานานิกายมหินยานนี้มีแนวสอนที่ใกล้เคียงกับศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาอื่นที่ถือว่า  มีพระผู้เป็นเจ้าที่ยิ่งใหญ่

               

นอกจากคัมภีร์โบราณแล้ว  นักอักษรศาสตร์ในสมัยราชวงศ์คุปตะ  ได้นิยม  การแต่งกาย  หรือกาพย์  ที่เต็มไปด้วยท่วงทำนองและใช้ถ้อยคำที่ได้รับการประดิษฐ์อย่างไพเราะเพริศพริ้งแพรวพราว  จึงเกิดแต่งวรรณคดี  ขึ้นมากมายในความอุปถัมป์จากพระเจ้าแผ่นดิน

               

นอกจากมหากาพย์สำคัญดังกล่าวแล้ว  ยังมีงานของกาลิทาส  รัตนกวีโบราณที่มีชื่อเสียงในการแต่งโคลงขับร้องและบทละครอีก  ผลงานที่สำคัญนั้น  ได้แก่  มาลวิกาคนิมิต (ความรักของมาลวิกาและอัคนิ)  วิกรโมรวลี  (อุรวดี  ผู้ถูกพิชิตด้วยความกล้าหาญและศกุนตลา (แหวนที่หาย)  เป็นต้น

               

วรรณคดีสำคัญหลายเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความเชื่อของมนุษย์  เช่น  รฆุวงศ์กาพย์พรรณนาวงศ์พระรามกุมารสมภพ  บรรยายกำเนิดของขันธกุมาร  หรือการตืเกยะเทพเจ้าสงคราม  ฤตุสมหาร  บรรยาย  การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปของฤดูกาล  และเมฑทูต  ที่พรรณนาถึงท้าวกุเวร  เทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์  อุตตรามจริต  ของภวภูติ  ที่พรรณนาเรื่องราวตอนปลายของพระราม  รัตนาวลี  (สายสร้อยแก้วมณี)ของพระเจ้าหรรษ  คีตโกวิทท์ (เพลงของคนเลี้ยงวัว)  ของชัยเทวผู้เป็นราชาแห่งกาวีทั้งหลาย  เรื่องนี้เป็นกาพย์พรรณนาความรักอย่างดื่มด่ำของพระกฤษณะกับนางราธา  สาวเลี้ยงวัวแห่งมถุรา  หรรษจริต  ของพาณ   ที่พรรณนาชีวิตของจักรพรรดิหรรษ  ในวัยหนุ่ม  ในอินเดียโบราณตอนใต้นั้นมีกุราล  ของกวีติรุวัลลุวาร  พรรณนาสาระสำคัญเกี่ยวกับชีวิต  คือ  การแสวงหาปัญญา  ทรัพย์สินเงินทอง  และความสุข  ติรุวาจคัม  ของกวีมาณิกกระ  วาจคระ  ที่พรรณนาถึงพระศิวะ  ได้ดีที่สุดถึงกับมีคำกล่าวว่า  “ใครก็ตามที่ได้อ่านติรุวาจคัมแล้ว  ไม่เกิดศรัทธาปสาทะจนถึงกับน้ำตาไหลแล้ว  หัวใจของผู้นั้นจะต้องเป็นหัวใจหินแน่เทียว”  เป็นต้น  เป็นเรื่องทีถูกนำมาเป็นแนวทางของชีวิตให้เกิดความศรัทธาปละการปฏิบัติตามอย่าง

               

ส่วนนิทานที่เป็นบทเรียนใช้สอนกันได้หลายนั้นได้แก่  นิทานชาดกของพระพุทธศาสนานิทานปัญจตันตระหรือนิทาน  ๕  หมวด  นิทานหิโตปเทศ  ของชาวฮินดู  กถาสริตสาคร  (สาครแห่งนิทาน)ของพระพราหมณ์โสมเทว  นิทานเวตาล  ซึ่งนิทานเหล่านี้ได้มีอิทธิพลไปถึงยุโรป  ทำให้ปรากฏนิทานขึ้นด้านทิศตะวันตกอินเดีย  ปากีสถาน  คือนิทานอีสป  ของอีสป  ราชญ์ชาวกรก  นิทานสำหรับราตรี  บันเมิงทศวาร  ของบอคคาชิโอ  นิทานซานเตอเบอรี่  นิทานลา  ฟอนเต  นิทานแอนเดอรสัน  และนิทานของกริมม์  เป็นต้น

               

ในสมัยราชวงศ์คุปตะ  ระหว่าง  พ.ศ.  ๘๖๓ – พ.ศ.  ๑๐๓๓  นั้นได้เกิดตำรับตำราที่เป็นโบราณศาสตร์ขึ้นหลายแขนงได้แก่  ตำราตรรกศาสตร์  คณอรศาสตร์  ดาราศาสตร์  แพทยศาสตร์  นิติศาสตร์ และตำราธรรมศาสตร์  โดยเฉพาะคะชัมภีร์อรรถศาสตร์  ของเกาฏิลย  หรือ  จาณักยอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าจันทรคุปต์  แห่งราชวงศ์เมารายะ  (ก่อนคริสต์ศักราช  ๓๒๔-๑๘๗ปี)  ถือเป็นรากฐานกฎหมายสำคัญของชาวฮินดู  และมีอิทธิพลเผยแพร่ไปยังดินแดนอื่น ๆ  ด้วยต่างใช้ตำราต้นแบบปรัชญาและข้อกำหนดของสังคม  นับเป็นคัมภีร์โบราณศาสตร์ที่มีอิทธิพลในการใช้เป็นต้น  ตำรับของประเทศในดินแดนสุวรรณภูมิและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

         

ดังนั้นคัมภีร์ต้นแบบของมนุษย์นี้นอกจากความเชื่อทางศาสนาแล้ว  ยังคัมภีร์สำคัญที่เป็นหลักของการปกครองบ้านเมืองหรืออาณาจักร  คือ

               

คัมภีร์ธรรมศาสตร์  ถือเป็นคัมภีร์หลักว่าด้วยหลักกฎหมาย  จารีตประเพณีและสิทธิหน้าที่ของคนในสังคมฮินดู  ถูกนำไปใช้มนการสร้างบ้านเมืองโบราณคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดนั้นคือ  คัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมนูและคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของ  ยาชญวลกย

                หลักคัมภีร์ที่เน้นเนื้อหาสาระสำคัญคือ  หลักความประพฤติ  และปฏิบัติ  เรียก  อาจาร  อำนาจตุลาการ  เรียก  วยวหาร  และการลบล้างความผิดเรียก  ปรายศจิตต  กล่าวกันว่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์นี้  ฤาษีจำนวน  ๑๘  ตน  (มีบางแห่งจำนวนระบุต่างกัน)  ได้ช่วยกันรจนาได้กำหนดอำนาจพระผู้เป็นเจ้าดลใจให้  ต่อมาการได้ยอมรับนับถือว่าเป็นคัมภีร์ที่มีอิทธิพลเหนือระบบกฎหมายของประเทศนั้น

               

คัมภีร์อรรถศาสตร์  แปลว่า  วิชาว่าด้วยการแสวงหาผลประโยชน์ตำราที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ  ตำราอรรถศาสตร์ของเกาฏิลย  หรือ  จาณกย  (วิษณุคุปต์)  ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระเจ้าจันทรคุปต์เมารย  (เป็นพระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช)เมื่อศตวรรษที่ ๔  ก่อนคริสต์ศก  กาฏิลย  ผู้เกิดในตะกูลพรามหณ์  บิดามารดาตั้งชื่อว่า  วิษรุคุปต์  เหตุทีเป็นชาวเมืองจาณัก  จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  จาณักย์  ในสมับโบราณเป็นผู้ที่มีปรีชาสามารถ  มีชั้นเชิงในทางการเมืองหาตัวจับได้ยาก  ชาวอินเดียขนานนามว่าเป็น  MACHIAVLLI  ของอินเดียในสมัยหนึ่งได้ตั้งตำบลจาณักยปุรีไว้เพื่อแสดงถึงปรากฏการณ์นี้

               

ดังนั้น  “โบราณศาสตร์”  นั้นเป็นตำรับตำราที่เกิดขึ้นในสมัยแรก  เป็นศาสตร์ที่มีบทบาทตำคัญต่อราชบัลลังก์และอาณาจักร  ใช้ปกครองดูแลกำหนดชะตาเมือง  ตลอดจนการเสริมอำนาจบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่เป็นเจ้าชีวิต  และอาณาประชาราษฎร์ประสบแต่ความสุขร่มเย็นเป็นสุข  แผ่พระเดชานุภาพให้ไพศาลไปทั่วสารทิศตลอดไป

               

วิทยาการที่เป็นโบราณศาสตร์นั้นเริ่มต้นมา  จากอิทธิพลของศาสนาฮินดู  ศาสนาพุทธ  และศาสนาพราหมณ์  ด้วยเหตุนี้ชื่อพระโบราณาจารย์จึงมีตำแหน่งสูงส่งเป็นที่ยกย่อง  ในดินแดนสุวรรณภูมิโดยเฉพาะอาณาจักรสยามนั้นปรากฏชื่อโบราณาจารย์อยู่บนศิลาจารึกสมัยสุโขทัยว่า  “ปู่ครู”  หรือ  ในเอกสารสมัยอยุธยาว่า  พระราชครู  หรือ  พระโหราธิบดี  ซึ่งไม่แจกต่างไปจากตำแหน่งสำคัญปรากฏในประเทศอื่น ๆ  ที่พากันรับเอาศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนาไปเป็นหลักในการศึกษาและสั่งสอนอาณาประชาราษฎร์

               

โบราณศาสาตร์หรือวิทยาการจากอารยะธรรมอินเดียโบราณนั้น  ได้ถูกนำมาเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิหรือแหลมอินโดจีน  ซึ่งตั้งอยู่คาบสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้นั้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๓  ตรงกับสมัยอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรทวาราวดี

               

ดังนั้นในพุทธศตวรรษที่ ๖  นั้น  คัมภีร์มิลินทปัญหา  ได้กล่าวถึงวิทยาการสำคัญที่ถูกว่านำมาเผยแพร่นั้นว่า

                “ดูรานะ  กุมาร  ไตรเพทนั้นมี  ๓  ประการ  และวิชาที่อาจารย์บอก  นอกคัมภีร์ไตรแพทนั้น  เรียกว่า  ศิลปศาสรตร์”

               

ศิลปะศาสตร์ที่ถูกยกย่องว่า  เป็นศิลปะศาสตร์ที่เป็นของโลกนั้นมีอยู่  ๑๘  ประการ  เป็นวิทยาการที่มีพื้นฐานในเรื่อไสยศาสตร์และโหราศาสตร์  ในแนวทางของคัมภีร์ที่เกิดจากพระเวทของพราหมณ์ของพุทธศาสนา  มาจากแหล่งอารยะธรรมโลกตะวันออกคือแม่น้ำสินธุได้แก่ 

 

๑.  สูติ  เป็นวิชฟังและอ่าน  ทีสามารถอ่านความหมายของเสียงสัตว์ทุกชนิด  โดยเฉพาะการเข้าใจใน

      สำเนียงภาษาต่าง ๆ  ที่มนุษย์พูดขึ้น  ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องสูติในสมัยพุทธกาลนั้นคือ  พระเจ้า

      พิมพิสารกษัตริย์แคว้นมคธ

       สัมมติ  เป็นวิชาว่าด้วยการกำเนิดและชื่อของภูเขา  ต้นไม้และสิ่งอื่น ๆ  วิชานี้ได้พัฒนาการเป็นคัมภีร์ปริศนาสั้น ๆ  เกี่ยวกับสรรพนามและจิต

       สังขยา  เป็นวิชาคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะที่พิเศษ คือ  สามรถเรียงลำดับตัวเลข  เพื่อให้เกิดลวดลาย  เรียกว่า  เลขกล  วิชานี้ได้พัฒนามาเป็นคัมภีร์ตรีนิสิงเห

       โยโค  เป็นวิชาวิศกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  ในสมัยโบราณของประวัติศาสตร์เปอร์เซีย  มีผู้จบวิชานี้สามารถประดิษฐ์ม้ากลหรือม้ายนต์ใช้ในการศึกสงคราม  และครุฑยนต์  ในสมัยกาล  มีการปราสาทโกกนุท  ซึ่งสร้างเป็นปราสาทรูปดอกบัวที่สร้างเหมือนลอยอยู่กลางท้องฟ้า  โดยพระโพธิราชกุมาร  พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร  แก่งแคว้นมคธ  ได้สร้างขึ้นและเป็นความรู้ในวิชานี้

       นิติ  นิติศาสตร์  ที่มีความหมายถึงการที่เป็นครูที่สั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลาย

        วิเสสิกา  เป็นวิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์  ที่มีความหมาย  การรู้เลี้ยงดูฝูงชนให้เป็นสิริมงคล  อันหมายถึง  การปกครองดูแลอาณาประชาราษฎร์ให้มีความสมบูรณ์พูนสุข

       คณิกา  เป็นวิชาดาราศาสตร์  ที่หมายถึงการรู้นับนักขัตฤกษ์  รู้เรื่องดวงดาว  คณิกา  มาจากคำว่า  คณะ  แปลว่า  กลุ่มหรือหมู่  หมายถึงกลุ่มดาว  ที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและปรากฏการณ์ธรรมชาติ

       คัมธัพเพท  เป็นวิชาดุริยางค์  และนาฏกรรม  เพื่อเรียนรู้ดนตรีและการร่ายรำสำหรับอาการใช้ในพุทธกาลนี้  หมอชีวกโกมารภัจจ์  เป็นผู้รู้วิชานี้

        ติกิจฉา  (บางแห่งเขียนเตกิจฉา)  เป็นวิชาแพทย์  สำหรับรักษาอาการใช้ในพุทธกาลนี้  หมอชีวกโกมารภัจจ์  เป็นผู้รู้วิชานี้

๑๐    อนุเพเพทหรืออนุเวท  เป็นวิชาการรู้ยิงธนู  หมายถึงการฝึกไพรพลกำลังเพื่อควบคุมอานุภาพในการใช้อาวุธทำการสู้รบทุกชนิดให้สามารถประหารได้มากที่สุด  สมัยนั้นธนูเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุด

 

อาวุธขนาดใหญ่นั้นคือ  เครื่องยิงไปข้างหน้ามีลักษณะทำเหมือนธนูหรือหน้าไม้ขนาดใหญ่  มีสัณฐานเหมือนงาช้าง  น้ำหนักมาก  จึงต้องใช้กำลังคนที่แข็งแรงจำนวนนับพันคนขึ้นไปจึงสามรถยิงเครื่องนี้  เมื่อยิงได้แล้วจะเป็นอาวุธที่ยิงเข้าไปร้อยผู้คนที่เรียงกันได้จำนวนมากเหมือนเข็มร้อยไข่มุกหรือดอกไม้  มีความรวดเร็วโดยผู้ตายไม่รู้สึกว่าถูกยิง

               

วิชานี้ได้เรียนรู้คู่กับนีติและวิเวสิกา  ดังนั้นผู้เรียนรู้วิชานีติ  เวเสสิกาและอนุเพทนี้จึงมีชื่อเรียกรวมว่าวิชา  นีติประภาศิต  มีความหมายว่า  วิชานี้เป็นอำนาจที่ทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ในพุทธกาลผู้ที่มีวิชา  นี้คือ  พันธุลมัลลบุตร  (ท้าวพันธุมเสน )  มหาเสนาบดีแห่งแคว้นมคธ

๑๑.  ปราณา  เป็นวิชาประวัติศาสตร์วรรณคดี  ที่รู้ตำแหน่งสถานที่ประวัติศาสตร์  รู้เรื่องดึกดำบรรพของ มนุษย์   เป็นวิชาแสดงตำแหน่งต่าง ๆ  ในชาดก  ในพุทธกาลนั้นพระพุทธเจ้าได้เล่าถึงอดีตของเมืองกุสินารา  (ในมหาปรินิพพานสูตร)  ภายหลังทีประเพณีการแต่งคัมภีร์เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์และเรื่องโบราณ  ได้แก่  ชินกาลมาลี  มูลศาสตร์  มหาวงศ์  เป็นต้น

๑๒. โชติสา  เป็นวิชาโชติศาสตร์  หรือโหราศาสตร์  ที่นำดวงดาวมาใช้พยากรณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลก

๑๓. มายา  เป็นวิชาความรู้ที่มีความหมายว่า  รู้ว่านี่เป็นแก้ว  นี่ไม่ใช่แก้ว  เป็นวิชาของสุนทรียศาสตร์ที่รู้ลึกซึ้ง  รู้ในมายาของสรรพสิ่งว่า  ของจริงของแท้หรือแขนงไม่แท้จริง คือ  การมองรู้ดูออกในจริตมายาของสรรพสิ่งบนโลก  (ในมหาเวสสันดรว่า  เป็นวิชาพิชัยสงคราม)

๑๔. เหตุ  เป็นวิชาตรรกะ  ที่เรียนรู้การรู้จักเหตุ  รู้จักผลที่เกิดขึ้น  ซึ่งน่าจะหมายถึงวิชาเหตุผล หรือ  วิทยาศาสตร์  (แต่มหาเวสสันดรว่า  เกตุ  หมายถึงการพูด)

๑๕. วันตา  เป็นวิชากสิกรรม  ที่รู้จักเลี้ยงโค  กระบือ  รู้จักการเพาะปลูกพืช  รู้จักการทำนาทำไร่  รวมทั้งการรู้จักการวิเคราะห์พืช  ให้เกิดผลภายในชั่วคืนด้วย  ในพุทธกาลนั้นพระพุทธเจ้าได้สังเคราะห์ต้นมะม่วงจากเมล็ดมะม่วงภายในชั่วคืนเดียว  ก่อนแสดงยมกปาฏิหาริย์  (ในมหาเวสสันดรว่า  มันตา  แปลว่า  การรู้มนต์เสกเป่า

๑๖.  ยุทธสา  เป็นวิชาสู้รบที่เอาชัยชนะ  เรียกว่า  คัมภีร์พิชัยสงคราม

๑๗. ปาสัณฑา  เป็นวิชาการสู้รบที่เอาชัยชนะ  เรียกว่า  คัมภีร์โลกโวหาร

๑๘. ฉันทสา  เป็นวิชาผูกบทกลอน  กาพย์  โครง  ที่เรียกว่า  คัมภีร์โลกโวหาร

 

วิทยาการคือ  ศิลปะศาสตร์  ๑๘  ประการนี้ถือว่า  ศาสตร์แห่งตักกสิลา  ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ใหญ่ของ

อินเดียโบราณ  และได้ถูกนำออกไปประกาศเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ  พร้อมกับศาสนา  โดยให้ศาสนาพราหมณ์  ฮินดู  และพระพุทธศาสนา  ประเด็นที่น่าศึกษาต่อไปก็คือ  เส้นทางการเดินของโบราณศาสตร์ชั้นสูงของอินเดียโบราณดังกล่าวนี้  ได้เดินทางเข้ามาดินแดนสุวรรณภูมิได้อย่างไร

               

ใน  พ.ศ.๑๒๖๐-๑๒๘๔  นั้น  พระวัชนโพธิ  และคณะสงฆ์ที่เดินทางมาจากอินเดียใต้เพื่อประกาศพุทธศาสนาและเผยแพร่ธรรมในดินแดนสุวรรณภูมิถึง  ๒๔  ปีนั้น  นอกขากสถาปนาพระบรมธาตุและพุทธศาสนาแล้ว  ยังได้นำวิทยาการศิลปศาสตร์ ต่างๆเผยแพร่ในดินแดนนี้ด้วยจึงทำให้วิชาความรู้จากอารยะธรรมอินเดียโบราณมีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิต่อเนื่องมาจนเป็นแหล่งธรรมของพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ดังกล่าวแห่งหนึ่ง

               

เมืองอูทอง  ในดินแดนสุวรรณภูมิได้รับอารยะธรรมจากอินเดีย  ชนชั้นปกครองของเมืองนี้จึงเรียนรู้คัมภีร์สำคัญทั้งฝ่ายศาสนาฮินดู-พราหมณ์ได้แก่  มหากาพย์  ๒  เรื่อง  โดยเฉพาะมหาภารตะกับรามายณะ  และฝ่ายพระพุทธศาสนา  ได้แก่พระประสูติ  และชาดกต่างๆในพุทธศาสนา  และสาระความรู้จากคัมภีร์เหล่านี้ได้มีอิทธิพลต่อการสร้างศาสนสถาน  ดังปรากฏจารึกภาพปูนปั้น  พระนามกษัตริย์  และชื่อเมือง  ชื่อสถานที่สำคัญ 

ตามชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายฮินดู-พราหมณ์สืบต่อมา

               

การคัดเลือกวิทยาการต่างๆจากอินเดียโบราณมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมินั้น  เดิมใช้ภาษาสกฤตของนิกายสรรวาสติกวาท  ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนานิกายเหรวาทจากสิงหลทวีป  (ศรีลังกา)  ได้เข้ามาเผยแพร่และมีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้  จึงทำให้การคัดลอกตำราเปลี่ยนจากภาษสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีแทน  ด้วยเหตุนี้ในสมัยอยุธยานั้น  วิทยาการที่เคยคัดลอกภาษาสันสฤตนั้น  จึงถูกคัดลอกเป็นภาษาบาลีมากขึ้น

               

สมัยอยุธยาเมื่อครั้งแผ่นดินกระเจ้าประสาททอง  (พ.ศ. ๒๑๗๓ ๒๑๙๘)  นั้นได้มีการนำเอาตำราวิทยาการโบราณคือตำราไสยศาสตร์และตำราโหราศาสตร์  มาเผาทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานของความงมงาย  ที่เห็นว่าเป็นสิ่งร้ายความล้าหลังของผู้คนในชาติ  เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพระองค์นี้เดิมเป็น  ออกญาศรวรวงศ์  (พระยาศรีวรวงศ์)  ต่อมได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์  พระโอรสสมเด็จพระเอกาทศรถแล้ว  ตั้งให้  พรินทราชา  พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมส่วนตนนั้นเป็น  เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์  ภายหลังนั้นได้การยึดอำนาจจาก  สมเด็จพระเชษฐาธิราช  พระโอรสของพระเจ้าทรงธรรมแล้วสถาปนาตนขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงเป็นเหตุให้เจ้านายฝ่ายราชวงศ์นั้นขัดเคืองใจอยู่  ดังนั้นการที่มีการสั่งเผาตำราต่าง ๆ  นั้นอันเนื่องจากกลัวบุตรหลานที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์  โดยเฉพาะบุตรที่เป็นขุนศึกษาพระนเรศวร และสมเด็จพระเกกาทศรถจะใช้ตำราไสยยาศาสตร์และโหราศาสตร์นั้นมาแก้แค้น  โดยทำอาถรรพ์ทำคุณไสยทำลายล้างพระองค์  จึงได้มีการเผาทำลายตำรานั้นเสียจนหมดสิ้นจะใช้ตำราไสยศาสตร์และโหราศาสตร์อันเป็นโบราณ      

 

ครั้งหลังสุดเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าข้าศึกเข้าตีเอาพระนครได้ใน  พ.ศ.  ๒๓๑๐  นั้น  กรุงศรีอยุธยามาเผาทำลายเมือง  จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้บรรดาวิทยาการต่าง ๆ  ที่นำมาจากอินเดียโบราณเข้ามาเผยแพร่ตามศาสนาและยังหลงเหลืออยู่บ้างในอาณาจักรสยามนั้น  ดุถูกทำลายไปพร้อมกันด้วย

           

สรุปแล้ว  ตำราที่เป็นโบราณศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในสมัยอยุธยานั้น  ได้ถูกทำลายไปเกือบหมดสิ้น  และที่ยังคงเหลือและยังนำมาใช้กันนั้น  เป็นคุมภีร์ในพุทธศาสนา  ที่มีการคัดลอกต่อ ๆ  กันสำหรับใช้สั่งสอนเรียนอยู่ตามวัด  ตามสำนักเรียนของครูอาจารย์  ด้วยเหตุนี้ตำรา  ตำนานและโบราณศาสตร์  จึงมีการจดจำโดยครูบาอาจารย์ที่เหลืออยุ่  ภายหลังได้มีการคัดลอกและแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสิททร์นั้น  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดรวบรวมตำราต่าง ๆ  และแต่งขึ้นเพื่อจารึกรักษาไว้เป็นสำนักเรียนที่วัดโพธิ์  คือวัดพระเชตุพนฯ  อยู่จนปัจจุบันนี้

               

การสร้างเมืองและการควบคุมอาณาจักรให้สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงนั้นนอกจากการใช้โบราณศาสตร์เป็นวิทยาการความรู้แล้ว  หลักศาสนานั้นเข้ามาสร้างแนวทางของการอยู่ร่วมกันด้วยความเชื่อ  ซึ่งมีทั้งความเชื่อพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์  และหลักธรรมตามพุทธศาสนาที่เข้ามาเผยแพร่ในครั้งแรก

               

ภายหลังศาสนาอื่น ๆ  เช่น  ศาสนาอิสลาม  ศาสนาคริสดัง  ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค  นิกายโปรแตสแตนส์  นั้นได้เผยแพร่เข้ามาและมีบทบาทสำคัญกับดินแดนสุวรรณภูมิ  เช่นเดียวกัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม คัมภีร์โบราณต้นแบบของชีวิต

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์