ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  โบราณศาสนา

 

โบราณศาสนา

               

สังคมสมัยโบราณเน้นการศึกษาจาก  คัมภีร์พระเวท  ซึ่งถือเป็นหลักฐานหรือโบราณศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาสันสกฤต  เป็นความรู้ทางศาสนาที่เป็นหัวใจชาฮินดู  ที่รวมปัญญาความคิดจากโบราณจารย์มาหลายชั่วอายุคน  ตกทอดสืบในความจำนับพันปี  ประกอบด้วยคัมภีร์  หลัก  ๓  ประเภท  คือ

 

·                          คัมภีร์สหิตาหรือมนตร  หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นชุมนุมบทสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า  บทสวดขับร้อง    มนต์หรือพระสูตรคาถาที่ใช้สำหรับพิธีบูชายัญ  โดยแต่งเป็นคำฉันท์

·                          คัมภีร์พราหมณะ  หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นความร้อยแก้ว  อธิบายความหมายของบทสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า  บัญญัติบทสวดให้เหมาะสมกับการใช้ในที่ใด  พรรณนาถึงที่มาของบทสีเสริญฝนส่วนที่เกี่ยวกับบูชายัญ  และยังได้อธิบายความหมายของพิธีนั้นด้วย

·                          คัมภีร์อารณยกะและอุปนิษัท  หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นประพันธ์ที่ว่าด้วยความคิดด้านปรัชญา  ความคิดเรื่องวิญญาณหรืออาตมัน  เรื่องพระเป็นเจ้า  โลก  และมนุษย์  บางตอนในคัมภีร์จะซ้ำกับคัมภีร์พราหมณ์

 

คัมภีร์เป็นโบราณศาสตร์เหล่านี้  ได้แพร่หลาย  ถ่ายทอดต่อกันไป  โดยเฉพาะคำภีร์สหิตาหรือมาตรนั้น 

ต่อมาโบราณาจารย์ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมจนคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น  พระเวททั้งสี่  เรียกว่า  คัมภีร์จตุเวท  ได้แก่

·                          สหิตา  ที่เป็นชุมชุมบทประพันธ์ว่าด้วยพระสูตรสำหรับใช้ในพิธีบูชายัญนั้นให้เรียกใหม่ว่า  ยชุรเวทสหิตา  และยังแบ่งออกเป็นสองสาย  กฤษณยชุรเวท  (ยชุรเวทดำ)  และศุกล  ยชุรเวท  (ยชุรเวทขาว)

·                          สหิตา  ที่เป็นชุมนุมบาประพันธ์ว่าด้วยบทสวดขับร้องนั้นให้เรียกใหม่ว่า  สามเวทสหิตา

·                          สหิตา  ที่เป็นชุมชนุมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่าง  นั้นให้เรียกว่า  อถรวเวทสหิตา  หรืออาถรรพเวท

 

คัมภีร์จตุรเวทนี้  แต่ละคัมภีร์นั้นต่างมี  คัมภีร์พราหมณะ  อารณยกะ  และอุปนิษัท  เป็นคัมภีร์บริวาร 

ซึ่งชาวฮินดูโบราณถือว่าเป็น  ศรุติ  คือสิ่งที่ได้ยินมาจากพระเป็นเข้า  เป็นข้อความที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษย์ทราบโดยผ่านฤาษีหลายคน  และจะสถิตสถาพรไปชั่วกาลนาน  จึงทำให้  คัมภีร์พระเวทนั้นเป็น  อเปารุเษย  แปลว่า  สิ่งที่ไม่ได้สร้างด้วยมนุษย์และมีความเป็นนิตย์ที่ยืนยงคงอยู่ตลอดกาล

               

ดังนั้นฤาษีที่ได้ฟังพระเวทนี่จากพระโอษฐ์ของพระผู้เป็นเจ้า จึงเรียกว่า  มนตรทรษฎา  แปลว่า  ผู้ที่ได้เห็นหรือได้รับมนตร์จากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง  ส่วนคัมภีร์ที่มนุษย์จดจำปฏิบัติต่อกันมาจนเป็นประเพณีนั้นเรียกว่า  คัมภีร์สมฤติ (คัมภีร์จากความจำของมนุษย์)  ประกอบด้วยโบราณศาสตร์ที่มนุษย์ต้องเรียนรู้  ดังนี้

               

คัมภีร์เวทางค์  (เวท +องค  หมายถึงแขนขาหรือส่วนประกอบของเวท)  หรือเรียกอีกชื่อว่า  สูตร  เป็นคัมภีร์ที่มี  ๖  วิชา  ได้แก่

 

·                          วิชาออกเสียง  เรียกว่า  ศึกษา

·                          วิชาแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์  เรียกว่า  ฉนทส

·                          วิชาไวยากรณ์  เรียกว่า  วยากรณ์

·                          วิชาที่ว่าด้วยที่มาของศัพท์  เรียกว่า  นิรุกต

·                          วิชาดาราศาสตร์  เรียกว่า  โชยติษ

·                          วิชาพิธีกรรม  รียกว่า  กลป

 

 

การศึกษาวิชาออกเสียงและวิชาแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์  นั้นจำเป็นสำหรับการเรียกอ่าน

พระคัมภีร์  ส่วนวิชาดาราศาสตร์  และวิชาพิธีกรรม  นั้นสำหรับนำเอาความรู้นี้ไปใช้ในพิธีบูชายัญ  คัมภีร์เวทางค์นี้มีลักษณะสำคัญ  คือ  การเก็บเอาใจความมาย่อเป็นสูตรสั้น ๆ  แล้วให้คำอรรถาธิบายประกอบโดยละเอียด  เพื่อให้สะดวกแก่การท่องจำ  เมื่อท่องจำสูตรได้ก็มักจะจำคำอธิบาย  โดยละเอียดได้เช่นกัน  จึงพากันเรียกชื่อว้า  “สูตร”

·                          วิชาแพทยศาสตร์  เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์ฤคเวท  เรียกว่า  อายุรเวท

·                          วิชายิงธนู  เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์ชุรเวท  เรียกว่า  ธนุรเวท

·                          วิชาดนตรีและขับร้อง  เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์สามเวท  เรียกว่า  คานธรวเวท

·                          วิชาใช้อาวุธ  เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์อถรวเวท

 

คัมภีร์ประเภทนี้โบราณาจารย์ได้เพิ่มให้อีกเป็น  ๒  วิชาเป็นวิชาก่อสร้าง  เรียกว่า  สถาปตยเวท และวิชา

ศิลปวิทยา  เรียกว่า  ศิลปะศาสตร์

         

การศึกษาในอินเดียโบราณนั้นนอกจากเรียนคัมภีร์จตุรเวท  (คือพระเวททั้งสี่ได้แก่  คัมภีร์ฤคเวท  คัมภีร์ชุรเวท  คัมภีร์สามเวทและคัมภีร์อถวเวทหรือถรรพเวท)  แล้วยังต้องเรียก  คัมภีร์เวทางค์และคัมภีร์อุปเวทอีก  นอกจากนี้ยังมีการแต่งมหกาพย์ที่ยิ่งใหญ่ และคัมภีร์สำคัญที่ต้องเรียนต่อไปอีก  เช่น

               

มหากาพย์  เป็นบทประพันธ์ประเภทกาพย์  ที่ใช้เรื่องราวปรัมปราเล่าสืบต่อกันมา  เรียกว่า  อิติหาส  (อิติ+หา+อาส  แปลว่า  เป็นเช่นนั้นจริง  หมายถึงวิชา  ประวัติศาสตร์นั่งเอง)  ได้แก่

               

มหากาพย์รามายณะ  จึงเป็นมหากาพย์ชิ้นแรกของโลกที่รจนาโดย  ฤาษีวาลมีกิ  แต่งจำนวน  ๒๔,๐๐๐  โศลก  มีทั้งหมด  ๗  กานฑ (กัณฑ์)  หรือ  ๗  ตอน  เป็นเรื่องราวของพระรามและนางสีดา  รามายณ  แปลว่า  การไปของราม  ซึ่งหมายถึงการเดินบุกรุกป่าดงของพระรามในการติดตามนางสีดา  นั่งเอง  ต่อมาเรื่องราวนี้ได้แผยแพร่ไปในเอเชียอาคเนย์  จึงวรรณคดีเรื่องนี้ในหลายชาติ  เช่น  อินโดนีเซีย  มลายู  กัมพูชา  ลาว  พม่า  และไทย  สำหรับไทยนั้นได้แต่งเติมและสร้างเรื่องใหม่ให้เหมาะกับขนบธรรมเนียมฝ่ายกรุงศรีอยุธยาในชื่อว่า  รามเกียรติ์  ที่ใช้การแสดงโขน  ถ่ายทอดเรื่องราว

               

นอกจากนี้ยังมีกาพย์ที่สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าโดยเฉพาะพระราม  (พระนารายร์อาตาร)  โดยพรรณนาชีวประวัติและยกย่องคุณความดีอีกหลายเล่ม  เช่น  กาพย์รฆุวงศ์  ของรัตนกวี  กาลิทาส

               

มหากาพย์มหาภารตะ  มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่มีแต่งเป็นฉันท์โดยฤาษีเวทวยาสหรือกฤษณ  ไทวปายน  แต่งจำนวน  ๑  แสนโศลกมีทั้งหมด  ๑๘  บรรพ  (ปรว)  หรือประมาณ  ๒๒๐,๐๐๐  บรรทัด  เนื้อเรื่องเป็นพรรณนาถึงการทำสงครามที่คับเคี่ยวกันระหว่างพี่น้องสองตระกูลคือตระกูลเการพ  (โกรพ)  กับตระกูลปาณฑล  ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน  คือท้าว  ภรต(โอรสท้าวทัศยันต์กับนางศกุนตลา)  เพื่อแย่งชิงราชสมบัติหรือแย่งกันปกครองแผ่นดิน  ซึ่งเป็นเรื่องราวของประเทศต่างๆ  ทุกแห่ง  แต่ฮินดูถือว่ามหาภารตะนี้  คือสงครามระหว่างฝ่ายธรรมมะที่ชนะอธรรม  ณ  ทุ่งกุรุเกษตร  ต่างสู้รบนานถึง  ๑๘  วันต่างสูญเสียรี้พลมากมายจนเป็น  “มหายุทธ”  ที่ดุเดือดบ้าคลั่งสงคราม  เรื่องนี้เกิดก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ  ๕๐๐ ปี  นับเป็นงานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่รวบรวมเรื่องปรัมปรา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  และนานาปรัชญาจากหุเทวนิยม  เทวนิยม  เอกนิยม  ที่เต็มไปด้วยพลังทางสร้างสรรค์  นอกนั้นยังใช้เป็นธรรมศาสตร์  อรรถศาสตร์  นิติศาสตร์และโมกศาสตร์  มหากาพย์นี้มีโศลกยกย่องว่า    “สิ่งใดที่อยู่ในมหากาพย์นี้  สิ่งนั้นอาจมีให้เห็นในที่อื่นได้  แต่สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในมหากาพย์นี้  สิ่งนั้นย่อมมาหาไม่ได้เลยในที่แห่งอื่น”

               

ในมหากาพย์มหาภารตะเรื่องนี้  ปรากฏมีชื่อ  พระอาจารย์โทรณะ  ว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมในศิลปะทั้งหลาย  รวมทั้งวิชการรณรงค์สงครามด้วย  ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าชายทั้งหลายต้องศึกษาและเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ผู้นี้ทั้งสิ้น  ผู้รจนาได้แต่งกาพย์หริวงศ์  เพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระกฤษณะผู้เชี่ยวชาญฮินดูเคาระนับถือว่า  เป็นอวตารปางหนึ่งของของพระวิษณุเทพเจ้า  จนมีชื่อเรียกว่า  พระคัมภีร์พระเวทที่  ๕  อีกชื่อหนึ่ง

               

ศรียวาหระลาล  เนห์รู  ประธานาธิบดีอินเดียได้พูดถึง  มหากาพย์สองเล่มนี้ใน  “พบถิ่นอินเดีย” ว่า 

                “ข้าพเจ้าไม่รู้จักหนังสือเล่มใดที่ไหนจะมีอิทธิพลเหนือจิตใจของมวลชนอย่างต่อเนื่อง  และแผ่ไพศาลมากเท่ากับหนังสือสองเล่มนี้  แม้หนังสือนี้จะมีอายุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์  หนังสือสองเล่มนี้ยังสร้างพลังอย่างจริงจังในวิถีชีวิตของประชาชนชาวอินเดีย”

 

สังคมชีวิตของอินเดียโบราณ  จึงมุ่งเน้นการศึกษาศาสตร์และพระคัมภีร์ต่าง ๆ  มากมาย

สำหรับการสร้างอาณาจักรให้มั่นคง  โดยยึดความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการศาสนามาใช้ครองตนครองแผ่นดินสร้างอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

ต่อมามหากาพย์สองเล่มนี้ได้เข้ามามีบาบาทสำคัญในการสร้างอาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม โบราณศาสนา

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์