ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สัตว์โลกดึกดำบรรพ์สูญพันธุ์

 

 

สัตว์โลกดึกดำบรรพ์สูญพันธุ์

               

ครั้นเมื่อช่วงปลายยุคครีเทเซียส  (CRETACEOUS)  เมื่อประมาณ  ๖๕  ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว  ไดโนเสาร์มีขนาดใหญ่จึงได้สูญพันธุ์ไปจนหมดโลก  หลังจากที่ไดโนเสาร์สูญสิ้นพันธุ์ไปจากโลกถึง  ๖๐  ล้านปีแล้ว  โลกจึงปรากฏต้นตระกูลของมนุษย์วานรขึ้นเมื่อ  ๕  ล้านปี  มนุษย์วานรนี้ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องจนเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน  ไดโนเสาร์มีขนาดเล็กนั้นได้วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์สกุลต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งมีการค้นคว้าและได้ไดโนเสาร์ชนิดใหม่  (สัตว์เลื้อยคลาน) อีก  โดยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

               

ปัจจุบันได้มีการสำราจหาไดโนเสาร์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตจนทำให้มีการอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล  สภาพภูมิอากาศ และการะเบิดจากนอกโลก  (SUPEMOVE)  และอื่นอีกมากมาย  แต่ได้รับความสนใจและต่างมีเหตุผลที่พอรับฟังได้ คือ

 

@..ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากการชนโลกของดาวเคราะห์น้อย (Asteroidimpact)

ที่ทำให้เกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นจนฝุ่นละอองฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ม่านมืดบดบังแสงอาทิตย์  จนเป็นผลทำให้เกิดความมืดมิดและควาหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่เป็นเวลานานนับเดือนจนไดโนเสาร์นั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกได้  ด้วยเหตุที่มีสภาพแวดล้อมที่รุนแรงดังกล่าว

 

หลักฐานที่นำมาอ้างข้อสรุปนี้คือ  การพบธาตุ  อิริเดียม  (IRIDIUM)  จำนวนมากกว่าปกติในชั้นดิน

บาง ๆ  (CLAY)  ที่มีอายุอยู่ในช่วงลอยต่อระหว่างยุคครีเทเซียส  (CRETACEOUS) และ  (TERTIARY  (K-T  BOUNDARY)  ในบริเวณต่าง ๆ  ของโลก  นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าโลกนั้นเคยเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยที่แหลมในประเทศเมกชิโก  เรียกว่า  โครงสร้าง  CHICXULUB  ATRUCTURE 

 

๒.ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากการระบิดของภูเขาไฟในบริเวณที่ราบสูงเดคาน  (DECCAN)  ของ

ประเทศอินเดีย  (DECCAN  TRAPS  VOLCANISM)  ซึ่งถือว่าเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของการกำเนิดโลก  ด้วยเป็นการระเบิดที่รุนแรง  อันเนื่องมาจาก  MANTLE  PLUME  และHOTSPOT  ที่อยู่ใต้พื้นโลกจนทำให้เกิดลาวาชนิด  BASALTIC  (BASALTIC  LAVA)  จำนวนมหาศาลดันเปลือกโลกขึ้นมาแล้วไหลลงมาคลุมพิ้นโลก  มีพื้นที่ถูกลาวาคลุมมากกว่า  ๑  ล้านตารางไมล์  และมีความหนากว่า  ๑  ไมล์  จนเกิด  MANTLE  DEGASSING  ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์  และไอน้ำ  ถูกความร้อนจนระเหยขึ้นบนผิวโลกด้วยอัตราที่มากจนผิดปกติ  จนก่อให้เกิดชั้น  GREENHOUSE  GASES  ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน  จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลก  ทำให้ไม่มีการถ่ายเท  จนอุณภูมิสูงขึ้น  อันเป็นผลให้วัฏจักของคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนเปลี่ยนแปลงไป  จนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์

 

ส่วนสาเหตุที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์นั้นสันนิษฐานว่า   ไดโนเสาร์นั้นอาจจะสูญพันธุ์ไปจากสิ่งแวดล้อมบน

โลกไม่เอื้ออำนวยการดำรงชีวิตอยู่  โดยเฉพาะ  อาหารเป็นพิษ  และเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรงในทุกพื้นที่ทั่วโลก

                ดังนั้นไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์ไปจากโลก  เนื่องจากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงดังกล่าวขึ้นบนพื้นโลกในยุคเตอร์ติอารี  เมื่อประมาณ  ๖๕-๒.๕  ล้านปีมาแล้ว

               

เมื่อพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง  ร่างของไดโนเสาร์จึงถูกทับถมไปกับดิน  ส่วนที่เป็นเนื้อหนังก็พุหลุดไปตามสภาพ  จึงเหลืออยู่แต่ส่วนที่แข็ง  คือ  กระดูก  และฟัน  ที่ถูกหินดินโคลนทรายถูกทับถมอยู่นับล้านปีจนเป็นซากดึกดำบรรพ์

               

ในชั้นดินของโลกที่เป็นโคลนทรายในยุคดึกดำบรรพ์นั้น  ได้ทับถมไดโนเสาร์แล้วอัดแน่นจนเป็นหินและผนึกแผ่นในชั้นหินธรรมชาติ  ดังนั้น  เมื่อพื้นผิวโลกมีการปรากฏตัวตามธรรมชาติ  จึงมีการยกชั้นหินบางส่วนให้สูงขึ้น  แล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินจากความร้อนของดวงอาทิตย์  จากความเย็นของน้ำแข็ง  ฝน  และลม  ในที่สุดได้ทำให้ชั้นที่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่นั้นถูกดันขึ้นมาบนพื้นโลก  จนซากดึกดำบรรพ์นั้นปรากฏขึ้นในพื้นที่บางส่วนให้นักสำรวจโลกดึกดำบรรพ์และนักธรณีวิทยาได้ค้นพบและทำการศึกษาเรื่องนี้ขึ้น

               

การทับถมในครั้งนั้นได้เกิดอย่างรวดเร็วจนโคลนทรายพากันไหลเข้ากลบร่างของสัตว์ดึกดำบรรพ์  เช่น  ไดโนเสาร์ให้ตายในทันที  โครงกระดูกก็จะปรากฏเรียงรายอยู่อุดมสมบูรณ์ในตำแหน่งที่ถูกโคลนทรายกลบ

               

แต่ถ้าหากการทับถมนั้นเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ  คือ  โคลนทรายค่อย ๆ  ไหลทำให้ไดโนเสาร์ไม่ตายในทันที  ก็จะมีการดิ้นรนก่อนตายทำให้โครงกระดูกมีโอกาสที่จะอยู่กระจัดกระจายแล้วยังไปปะปนไปกับโคลนหินดินทรายด้วย

               

ด้วยเหตุที่โคลนทรายนั้นมีแร่ธาตุต่าง ๆ  เช่น  แคลไซด์  เหล็กซัลไฟต์และซิลิก้า  เมื่อมีการทับถมบนร่างของไดโนเสาร์ก็จะซึมเข้าสู่เนื้อ  กระดูก  แล้วเข้าไปอุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่  จนทำให้กระดูกนั้นแกร่งขึ้น  จนสามารถรับน้ำหนักของหินดินทรายที่ทับถมกันต่อมาภายหลังได้ดี  เมื่อทับถมนานวันนับล้าน ๆ ปี  เช่นนี้  ด้วยเหตุมีอาการของออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนช่วยในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปถึงซากของไดโนเสาร์ได้  นานวันไดโนเสาร์ก็จะกลายเป็นสภาพจากกระดูกแข็งเป็นหินโดยธรรมชาติ  เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคงอยู่ในลักษณะเดิมให้ได้ศึกษา  เมื่อมีการค้นพบตำแหน่งของซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ  ๖๕  ล้านปีนี้  สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงให้เป็นหินแข็งของไดโนเสาร์นั้นคือ  ฟัน  ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดจึงคงสภาพเดิมอยู่

               

สำหรับโครงกระดูกของไดดนเสาร์นั้น  แม้ว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดเข้าไปกัดกร่อนทำลายกระดูกและทั้งลักษณะของกระดูกไว้เป็นโพรงก็ตาม  ได้มีการค้นพบว่าโพรงเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เปรียบเสมือนแม่พิมพ์  ที่ทำให้เก็บร่องรอยอื่น ๆ  ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี  กล่าวคือ  เมื่อมีแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ในโพรงนั้นก็ทำให้เกิดรอยรูปหล่อของรอยผิวหนัง  ที่ทำให้ได้ข้อมูลเรื่องผิวหนังของกระดูกไดโนเสาร์ด้วย

               

บางแห่งพบว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้เคยถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันจนกลายเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์

               

การสำรวจได้มีการพบรอยเท้าของไดโนเสาร์อยู่บนพื้นหิน  ซากดึกดำบรรพ์นี้เดิมเป็นดินโคลนที่มีร่องรอยเท้าของไดโนเสาร์  เมื่อมีการทับถมนานวันก็มีการรักษารอยเท้านั้นไว้ตามธรรมชาติของการอัดแน่นของดินหินทราย  ซึ่งทำให้เรียนรู้ถึงชนิดของไดโนเสาร์  ลักษณะของการเดินของสัตว์ขนาดใหญ่นี้ว่า  เดิน  ๒  ขา  เดิน  ๔  ขา  ด้วยอาการเชื่องช้าหรือว่องไว  อยู่เป็นกลุ่มหรืออยู่ตัวเดียว

               

นอกจากนี้บางแห่งยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์  ในส่วนอื่น ๆ เช่น  มูลที่ถ่ายทิ้งเรียก  คอบโปร์ไลท์  ที่ทำให้รู้ถึงขนาดและลักษณะของลำไส้  ไข่ที่ทำให้ไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่  บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดใด

               

บางแห่งพบโครงกระดูกอยู่ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง  จึงได้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดมี  การดูแลและการฟักไข่ด้วยตัวเอง

               

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์บกที่มีชีวิตอยู่ในโลกดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ  ๒๔๕ – ๖๕  ล้านปีมาแล้ว คือ  ช่วงยุคตรีเอซิค (TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเซียส   (CRETACEOUS)  ดังนั้น  ซากดึกดำบรรพ์จึงพบอยู่ในชั้นหินตระกอนที่สะสมบนพื้นดินในช่วงยุคตรีเอซิค  (TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเซียส  (CRETACEOUS)   วึ่งเป็นชั้นหินในยุคเมโสโซอิก  (MESOZOIC

               

สำหรับเรื่องราวดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยนั้น  เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยา  ได้พบว่าแผ่นดินในประเทศไทยนั้นมีชั้นหิน  เมโสโซอิก  (MESOZOIC)  โผล่ขึ้นมาตามบริเวณที่ราบสูงโคราช  ที่ราบสูงภาคอีสานบางแห่งในภาคเหนือและภาคใต้  ชั้นเหล่านี้ประกอบด้วยชั้นหินดินดาน  หินทรายแป้ง  หินทรายและหินกรวดมน  ซึ่งส่วนมากเป็นหินสีน้ำตาลแดง  ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและหินยิบซั่มอยู่ด้วย  เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกว่า  ชั้นหินตะกอนแดง  (RED  BED)  หรือกลุ่มหินโคราช

               

หินกลุ่มโคราชนี้  มีความหนากว่า  ๔,๐๐๐  เมตร  ดังนั้นจึงทำให้ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์  และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ  จึงมีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมาย  เช่นภูเวียง  ภูพาน  และภูหลวง  เป็นต้น  ถือเป็นแหล่งที่อยู่ไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์

               

ดังนั้น  การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์จากการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรุนแรง  ทำให้เปลือกโลกปกคลุมรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้ศึกษาข้อมูลในปัจจุบัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สัตว์โลกดึกดำบรรพ์สูญพันธุ์

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์