ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สัตว์ดึกดำบรรพ์ในไทย

 

สัตว์ดึกดำบรรพ์ในไทย

 

แผ่นดินของประเทศไทยหรือสุวรรณภูมิในอดีต  มีบริเวณของแผ่นดินเก่า  (ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ)  เกิดขึ้นในโลกยุคดึกดำบรรพ์  จึงทำให้เป็นบริเวณที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งธรณีวิทยาโดยเฉพาะแหล่งที่พบต้นไม้กลายเป็นหิน  แหล่งแร่ธาตุที่สำคัญมากมาย  และเป็นแหล่ง

ที่อยู่ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ประเภท  ไดโนเสาร์  จระเข้  และช้างดึกดำบรรพ์

 

การสำรวจทางธรณีวิทยาได้พบว่ามีสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่จำนวนมาก  ซึ่งถูกทับถมมานานจน

เป็นซากหินแข็งหรือซากดึกดำบรรพ์   (Fossil)  อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

 

ไดโนเสาร์ที่พบในไทย

               

แผ่นดินของประเทศไทยนั้น  พบว่ามีบริเวณที่เป็นแหล่งของสัตว์ดึกดำบรรพ์  ประเภทไดโนเสาร์  อาศัยอยู่มาก่อนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

               

ไดโนเสาร์นั้นเป็นชื่อเรียกของสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนโลกในยุคดึกดำบรรพ์  เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันมากมาย  ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมามีน้ำหนักมากมายกว่า  ๑๐๐  ตัน  สูงกว่า  ๑๐๐ ฟุต จนถึงขนาดเล็ก  ที่มีขนาดเล็กกว่าไก่  บ้างมีสี่ขา  บ้างมีสองขา  หรือวิ่งขาหลังสองขา  บางพวกกินพวกพืชเป็นอาหาร  บางพวกกินเนื้อสัตว์  มีทั้งเชื่องและดุร้ายตามแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

               

เมื่อประมาณ  ๒๒๕  ล้านปีนั้น  ไดโนเสาร์พวกแรกได้เกิดขึ้นในโลก  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกมีแผ่นดินติดต่อเป็นผืนแผ่นเดียวกัน  ไดโนเสาร์นั้นอยู่ในแผ่นดินผืนนี้และวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวถึง  ๑๖๐ ล้านปี  จนสามารถเดินทางกระจัดกระจายไปยังแผ่นดินภาคอื่น ๆ ของโลก  และสูญสิ้นพันธุ์ปลายในของยุคครีเทเซียส  เมื่อ  ๖๕  ล้านปีมาแล้ว  ส่วนต้นตระกูลของมนุษย์วานรนั้นพึ่งปรากฏในโลกเมื่อ ๕ ล้านปี  หลังจากไดโนเสาร์สิ้นไปจากโลกแล้ว  ๖๐  ล้านปี

               

ไดโนเสาร์นั้นเท่าที่สำรวจพบในโลกยุคปัจจุบันนั้นมีประมาณ  ๓๔๐  ชนิด  นักโบราณชีววิทยา  ได้แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น  ๒ กลุ่ม  โดยอาศัยความแตกต่างในกระดูกเชิงกรานคือ

 

·        พวกซอริสเซียน  (Saurischians)  ไดโนส์ประเภทมีกระดูกเชิงกรานแบบเดียวกับสัตว์เลื้อยคลาน

คือมีกระดูกพิวบิสและอิสเซียม  แยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง

 

·        พวกออร์นิธิสเซียน  (Ornithiscians)  ไดโนเสาร์ประเภทมีกระดูกเชิงกรานเป็นแบบนก  คือมี

กระดูกทั้งสองคือ  พิวบิส  กับอัสเซียม  ชี้ไปทางด้านหลัง

 

                ในระยะแรกของการศึกษาเรื่องไดโนเสาร์นั้นได้มีการค้นพบและศึกษาซากดึกดำบรรพ์  (Fossil) 

มาก่อนเมื่อ พ.ศ.  ๒๓๖๓ – ๒๓๗๓  โดยสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของอีกัวโนดอนและไฮลีโอซอรัส  ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีทั้งพืชแมลง  และสัตว์น้ำ  ต่อมาเมื่อมีการพบซากดึกดำบรรพ์  เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อ พ.ศ๒๓๘๔  (ค.ศ.๑๘๔๑)  ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าของประเทศอังกฤษ  โดยศาสตรจารย์  โอเวน  นั้นได้มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ขึ้นครั้งแรกสำหรับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่  ที่มีการพบซากดึกดำบรรพ์

               

ดังนั้น  “ไดโนเสาร์”  (DINOSAUR)  สัตว์ในโลกดึกดำบรรพ์จึงเป็นที่รู้จักกัน  มาจนถึงทุกวันนี้

                คำว่าไดโนเสาร์นี้หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะน่ากลัวมาก  (มาจากการมีลักษณะใหญ่โตมาก)  โดยนำคำมาจากภาษากรีก  คือ  คำว่าไดโน  (DEINOS)  ปลว่าน่ากลัวมาก  และคำว่าซอรอส  (SAURUS)  หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน

               

การศึกษาซากดึกดำบรรพ์  (Fossil)  ในประเทศไทยนั้น  ได้มีการศึกษามาก่อนแล้ว  คือมีการสำรวจพบและรายงานเรื่องซากดึกดำบรรพ์หรือ  ฟอสซิล   (Fossil)  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  โดยมีรายงานเรื่องฟอสซิลปลาจากภาคเหนือของสยาม  โดย  E.ANDERSSON ค.ศ.๑๙๒๖ ต่อมาก็มีรายงานพบช้างมาสสโตดอน ที่เหมืองลิกไนต์ แม่เมาะโดย KOENIGSWALD ค.ศ. ๑๙๕๙ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้แก่ ฮิบโปโปเตมัส และควายบูบาลุส จากนครสวรรค์ โดย LEKHAKUL ET.AL. ค.ศ. ๑๙๖๙ และฟันช้างไดโนเทอเรียมที่อำเภอปง โดย SICKENBERG ค.ศ. ๑๙๗๑ เป็นต้น แต่ไม่มีการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL) อย่างจริงจัง สำหรับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ การศึกษาวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยกรมทรัพยากรธรณี ได้เกิดขึ้นเนื่องจาก นายสุธรรม แย้มนิยม จากโครงการสำรวจแร่ยูเรเนียมฯ ได้สำรวจพบกระดูกไนโดเสาร์ขนาดใหญ่ท่อนหนึ่ง (เป็นชิ้นแรก) ที่ภูประตูตีนม้า ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดข่อนแก่น และได้รับความร่วมมือจากนักโบราณชีววิทยา ชาวฝรั่งเศสซึ่งสนใจและตรวจสอบวิจัย เมื่อศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ที่พบชิ้นนี้แล้ว จึงทำให้รู้ว่าเป็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ซอโรพอต พวกกินพืชเดิน ๔ เท้า คอยาวหางยาวมีความยาว ประมาณ    ๑๕ เมตร ข้อมูลการพบดังกล่าว เป็นรายงานจากการค้นพบไดโนเสาร์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาเมื่อ

 

พ.ศ. ๒๕๒๒ คณะสำรวจธรณีวิทยาภาคอีสาน โดน ดร.วราวุธ สธีธร นางจุรา อิงควัติ นายนเรศ สัตยา

รักษ์ และคณะ ได้สำรวจพบซากไดโนเสาร์และจระเข้ ในพื้นที่หลายแห่ง ทำให้ฝรั่งเศสส่งคณะสำรวจฯโดย ดร.ฟิลิป จองเวียร์ ดร.อีริค บุพโต ดร.เลียวนาร์ค กินสเบอร์ก และดร.มิเชล มาร์แตงได้เข้ามาร่วมสำรวจของไทยจัดตั้งเป็นคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส โดยเริ่มเก็บตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่พบในประเทศไทยจาดพื้นที่หลายแห่งโดยเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือ

 

                พ.ศ.๒๕๒๓ คณะสำรวจฯได้พบซากดึกดำบรรพ์ของ ส่วนหัวของสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำของสัตว์ตระกูลสเจโกซีฟาเลียน อายุประมาณ ๒๒๐ ล้านปี ที่เขื่อนจุฬาลงกรณ์กร จ. ชัยภูมิ พบกรามจระเข้ขนาดใหญ่ อายุประมาณ ๑๖๐ ล้านปี ที่ จ. หนองบัวลำภู เป็นจระเข้ชนิดใหม่ตั้งชื่อว่า ซูโนซูคัส ไทยแลนด์ดิคัส (SUNOSUCHUS THAILANDDICUS)

 

พ.ศ. ๒๔๒๔ คณะสำรวจฯ โดยการนำของนายเชิงชาย ไกรคงได้สำรวจบริเวณ ภูเพียงอีกครั้งได้พบซากดึกดำบรรพ์ของกระดูกท่อนขาของไดโนเสาร์ ขนาดใหญ่ ๒ ท่อนท่อนยอดของภูประตูตีนหมา และยังพบฟันของไดโนเสาร์และฟันของสัตว์อื่นๆ หลายชนิด เช่น จระเข้ ปลา และกระดองเต่า

 

                ทำให้ปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๕ นั้นคณะสำรวจฯ ได้พบซากดึกดำบรรพ์ของกระดูกชิ้นหนึ่งของไดโนเสาร์ฝั้งอยู่ในชั้นหินครั้นเมื่อทำการขุดต่อจึงพบกระดูกของไดโนเสาร์จำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในชั้นหิน นับเป็นการเริ่มต้นของการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ขึ้นครั้งแรกโดยการนำของดร.วราวุธ สธีธรและคณะ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สัตว์ดึกดำบรรพ์ในไทย

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์