หน้าแรก แท็ก ข้อมูลทั่วไป

แท็ก: ข้อมูลทั่วไป

การเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน

ประเทศบรูไน ดารุสสลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2527     การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศบรูไนนั้น มีปัจจัยที่สนับสนุนอาจแยกได้เป็น 2 ประการ คือ 1)    ด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ แม้บรูไนจะเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อพิจารณาในแง่การพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อาจกล่าวได้ว่าการที่บรูไนเข้าร่วมในสมาคมอาเซียนจะยังประโยชน์ให้แก่บรูไนเป็นอย่างมาก เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ มีความพร้อมในเรื่องเศรษฐกิจสูงกว่าบรูไน สำหรับในด้านการเมืองและความมั่งคงนั้น บรูไนมีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า หลักการเกี่ยวกับการไม่แทรกแซงกิจการภายใน (non-interference) ของอาเซียน จะเป็นเครื่องค้ำประกันเสถียรภาพของบรูไนจากการแทรกแซงของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ 2)    ด้านสถานภาพในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นการยกฐานะของประเทศในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยเหตุที่บรูไนเป็นรัฐขนาดเล็กและเพิ่งได้รับเอกราชใหม่...

ความสัมพันธ์ไทยกับบรูไน

ความสัมพันธ์ทั่วๆไป ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไน ฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2526 ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและดำเนินด้วยดีมาโดยตลอด มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงอยู่เสมอ ทั้งสองฝ่ายมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่เคยมีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์และมักเป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียนและกรอบสหประชาชาติ ปัจจุบันมีคนไทยในบรูไน ฯ ประมาณ 9,500 คน โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพคนงานก่อสร้าง ลูกจ้างร้านขายปลีก ลูกจ้างอู่ซ่อมรถ ลูกจ้างในร้านอาหาร และค้าขาย ความสัมพันธ์ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนฯ มีความใกล้ชิดและดำเนินด้วยดีมาโดยตลอด มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงอยู่เสมอ ทั้งสองฝ่ายมีทัศนคติที่ดีต่อกัน...

ธงชาติและศาสนา

“บรูไนดารุสซาลาม” (แปลว่า นครแห่งสันติสุข) ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง) สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน   เพลงชาติบรูไน เพลงชาติเนอการาบรูไนดารุสซาลาม มีชื่อว่า อัลละห์ ปลิฮารากัน ซุลตัน (ภาษามลายู; อักษรยาวี:الله فليهاراكن سلطن; อักษรรูมี: Allah Peliharakan Sultan - ขอพระเจ้าทรงพิทักษ์องค์สุลต่าน) ประพันธ์เนื้อร้องเป็นภาษามลายูโดย เปงกิรัน...

ประเทศบรูไนเป็นอย่างไร

บรูไน (มาเลย์: Brunei) หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์: Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก มีเมืองบันดาร์เสรีเบกาวัน เป็นเมืองหลวงของประเทศ บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน) พื้นที่  5,769 ตร.กม. ที่ตั้ง อยู่ในเขตร้อน ฝนตกเกือบตลอดปี อุณหภูมิประมาณ 24 -32 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เขตร้อน อุดมด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ประชากร มีประมาณ 330,700 คน คนเชื้อชาติมาลายู 67.2 % คนจีน 15 %...

การคมนาคมขนส่ง

 การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ                 - ทางถนน  ถนนในพม่าส่วนใหญ่ ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้                 ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ ๑,๑๖๐ กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากมูเซถึงคุนหมิง ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ...

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า

ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน ตั้งแต่ที่มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า ประชาชนพม่าหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ จากที่ได้กล่าวมาเผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ เมื่อครอบครองดินแดนตอนใต้ของพม่าแล้ว  ชาวมอญ-พม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบตเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดียบังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย ยุคทองของมอญเริ่มที่ หงสาวดี หรือที่เรียกว่า พะโค (เมียนมาร์ออกเสียงแบ่กู) โดยพระเจ้าปยาอู...

ประเทศพม่าเป็นอย่างไร

พม่า หรือ เมียนมา มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554...

อัพเดทเรื่องเที่ยว