ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เที่ยวไปชมไป

เที่ยวไปชมไป มุ่งสู่อิสาน ขึ้นเหนือ



| หน้าแรก | | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

อุทยานแห่งชาติภูพาน

            อุทยานแห่งชาติภูพาน เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ และเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ ๗ มีพื้นที่ประมาณ ๖๖๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๑๖,๐๐๐ ไร่  อยู่ในเขตสองจังหวัดคือ จังหวัดสกลนครในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอพรรณานิคม อำเภอภูพาน และอำเภอกุดบาก และจังหวัดกาฬสินธุ์ ในเขต อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง และอำเภอกุฉินารายณ์
            ป่าเขาภูพาน หรือที่เรียกกันว่าป่าเขาชมพูพาน สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นภูเขาหินปูนมีความสูง เฉลี่ยประมาณ ๕๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ตามสันเขา และไหล่เขาบางแห่งเป็นทุ่งหญ้า บางบริเวณมีหินโผล่พ้นระดับดิน มีความสวยงามตามธรรมชาติ และบางแห่งเป็นหน้าผาสูงชัน ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรังขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป มีไม้พลวง ไม้เหียง ไม้ส้าน ไม้เต็ง ไม้รัง เป็นพันธุ์ไม้สำคัญ มีป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของป่าเต็งรัง มีป่าดงดิบขึ้นอยู่ตามบริเวณลำห้วย ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่ และหวายต่าง ๆ บริเวณทุ่งหญ้าอันกว้างขวางมีหญ้าเพ็ก หญ้าคา และหญ้าคมบาง ขึ้นอยู่ทั่วไป สัตว์ป่าที่สำรวจพบมีอยู่ประมาณ ๑๖๐ ชนิด เช่น ช้างป่า หมูป่า กระต่ายป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะมด กระรอกบิน ไก่ป่า และนกมากกว่า ๗๐ ชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำของลำธาร และลำห้วยต่าง ๆ ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำอูน เช่น ห้วยหินลาด ห้วยปุ่น ห้วยโคก ห้วยม่วง ห้วยเลา ห้วยหินปูน ห้วยอีคอน และห้วยวังปลา เป็นต้น
            มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และน่าสนใจอยู่เป็นอันมาก แต่การเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งกระจายกันอยู่ในพื้นที่ของอุทยาน ฯ ต้องใช้เวลามาก หลายแห่งรถเข้าไปไม่ถึง ต้องใช้วิธีเดินไปตามทางเดินชม และศึกษาธรรมชาติ พอประมวลได้ดังนี้
         ผานางเมิน อยู่ใกล้กับที่ทำการอุทยาน ฯ ห่างออกไปประมาณ ๑๐๐ เมตร มีทางรถเข้าไปเกือบถึงบริเวณหน้าผา ผานางเมินเป็นแนวหน้าผาทอดตัวไปทางทิศตะวันตก เป็นจุดชมทิวทัศน์ได้ไกลออกไปทางด้านทิศตะวันตก และเหมาะที่จะไปชมดวงอาทิตย์ตกตอนเย็นได้ดีมาก บริเวณกว้างใหญ่พอสมควร เหมาะแก่การพักผ่อน ชมทิวทัศน์ และตั้งค่ายพัก มีสิ่งอำนวยความสดวกของอุทยาน ฯ พอสมควร

         ถ้ำเสรีไทย  อยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ ที่ไปสู่ตัวจังหวัดสกลนคร โดยมีทางแยกออกไปทางซ้ายมือลึกเข้าไปเล็กน้อยเส้นทางลาดยางอย่างดี สุดเส้นทางที่รถจะเข้าได้แล้ว มีทางเดินเท้าลงไปยังหุบเขาข้างล่าง ประมาณ ๓๐๐ เมตร จะข้ามลำห้วยซึ่งน้ำจะแห้งในฤดูแล้ง จากลำห้วยจะมีทางเดินไปบนลานหินสูงขึ้นไปตามลำดับ อีกประมาณ ๒๐๐ เมตร ก็จะถึงถ้ำเสรีไทยซึ่งปากถ้ำมีขนาดไม่ใหญ่นัก ถ้ำแห่งนี้เมื่อครั้งสงครามมหาเอเซียบูรพา พวกเสรีไทยได้ใช้เป็นแหล่งสะสมอาวุธ เพื่อต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น ยังมีร่องรอยการขุดแต่งเพื่อใช้เป็นที่หลบภัย
         ผาเสวย  อยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ทางซ้ายของเส้นทางหลวง หมายเลข ๒๑๓ เมื่อมุ่งหน้าไปสู่จังหวัดสกลนคร เป็นหน้าผาที่หันออกไปทางด้านทิศตะวันตก อยู่บริเวณใต้สุดของอุทยาน ฯ เป็นจุดชมวิวธรรมชาติที่สวยงาม ณ ผาแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกร จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้เสด็จมาประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน ชาวบ้านจึงเรียกว่า ผาเสวย
         จุดดูนกแก้วมดแดง  เป็นจุดที่อยู่เหนือผาเสวยขึ้นมาทางที่ทำการอุทยาน ฯ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร อยู่เข้าไปทางด้านซ้ายของทางหลวง เป็นจุดที่มีนกอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น นกขุนแผน นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระเบื้องผา ฯลฯ

         น้ำตกคำหอม  อยู่ทางซ้ายของทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ ที่มุ่งเข้าสู่สกลนคร อยู่เลยถ้ำเสรีไทยไปเล็กน้อย และอยู่ใกล้พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีชื่อเสียงของจังหวัดสกลนคร และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของจังหวัดใกล้เคียง จะมีน้ำมากในฤดูฝน

         สะพานหินธรรมชาติ  อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ ที่มุ่งเข้าสู่สกลนคร ประมาณ ๕ กิโลเมตร มีทางลูกรังแยกไปทางซ้ายมืออีกประมาณ ๑.๗ กิโลเมตร อยู่เลยถ้ำเสรีไทยไปทางเหนือ มีลักษณะเป็นสะพานหินที่เชื่อมต่อ ระหว่างหินสองกลุ่ม มีความกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร ยาวประมาณ ๘ เมตร ข้างใต้สะพานเป็นเวิ้งถ้ำกว้างขวาง ใช้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลกตาอย่างหนึ่ง

        น้ำตกปรีชาสุขสันต์  ตั้งอยู่ทางด้านเหนือสุดของเขตอุทยาน ฯ ทางเข้าอยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒ จากสกลนครไปอุดรธานี เป็นน้ำตกที่มีลักษณะพิเศษ คือเป็นลานหินที่ลาดเอียงประมาณ ๓๐ - ๔๐ องศา ยาวประมาณ ๑๒ เมตร มีน้ำไหลผ่านแผ่นหินนี้ตลอดทั้งแผ่นเสมอกัน เหมือนกระดานลื่นธรรมชาติ

        พระธาตุภูเพ็ก  อยู่ทางด้านเหนือสุดของเขตอุทยาน ฯ ระดับเดียวกันกับน้ำตกปรีชาสุขสันต์ ทางเข้าอยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒ จากสกลนครไปอุดรธานี เป็นพระธาตุเก่าแก่สมัยขอมมีอำนาจ ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ที่ระดับความสูงประมาณ ๕๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล สร้างด้วยศิลาแลงในลักษณะเทวาลัย ภายในมีพระพุทธรูปโบราณที่เพิ่งขุดค้นพบ

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
            บนเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ ก่อนเข้าสู่ตัวจังหวัดสกลนคร เป็นเส้นทางที่พาดผ่านแนวอุทยานแห่งชาติภูพาน ทางด้านทิศตะวันออกเกือบตลอดแนว นอกจากจุดที่น่าสนใจในเขตอุทยาน ฯ ดังกล่าวแล้ว ยังผ่านพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ซึ่งอยู่ติดกับอุทยาน ฯ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ขึ้นไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสกลนครประมาณ ๓๐ กิโลเมตร แยกซ้ายออกไปจากเส้นทางเล็กน้อย ผ่านประตูพระตำหนักชั้นนอก เมื่อไปถึงประตูพระตำหนักชั้นในจะมีกองรักษาการณ์อยู่ ผู้เข้าไปชมพระตำหนักจะต้องแลกบัตรประจำตัวเพื่อรับบัตรผ่านเข้าไปชมภายในบริเวณพระตำหนัก ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. เป็นต้นไป ภายในบริเวณพระตำหนักมีไม้ใหญ่ และไม้ดอกเป็นจำนวนมากที่ให้ร่มเงา และความงามให้ชมได้ทั่วบริเวณ ผู้ที่นำรถไปจะมีลานจอดรถอยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ให้อย่างพอเพียง
สู่ตัวเมืองสกลนคร
            เลยพระตำหนักภูพานไปตามเส้นทางหลวงสายเดิม สู่สกลนครไม่มากนัก จะพบหลักกิโลเมตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่กว่าเสาหลักกิโลเมตรธรรมดา ประมาณ ๓ เท่า ตรงบริเวณนั้นถนนจะเลี้ยววนเป็นโค้งไปมาเป็นรูปตัว S และมีลานจอดรถให้ชมบริเวณนั้น ซึ่งมีแปลงไม้ดอกปลูกไว้งดงาม

         พระธาตุเชิงชุม   เมื่อถึงตัวจังหวัดสกลนคร สิ่งแรกที่ควรกระทำคือ ไปนมัสการพระธาตุเชิงชุม ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดเชิงชุมวรวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ใกล้หนองหาร ในตัวเมืองสกลนคร มีประวัติว่า พระเจ้าภิงคาระได้สร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทที่ภูเข้าน้ำลอดเชิงชุม อันเป็นที่ชุมนุมรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ในภัทรกัป คือ พระพุทธเจ้านามพระกกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมน พระพุทธเจ้าพระนามกัสสป และพระโคตมนีพุทธเจ้า จึงได้ชื่อว่าพระธาตุเชิงชุมที่ ๑ องค์พระธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยมสูง ๒๔ เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง ส่วนที่เป็นอยู่ปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ครอบองค์เดิมไว้ ไม่ปรากฏว่าสร้างสมัยใด ประตูด้านทิศตะวันออกเชื่อมติดกับพระวิหาร ภายในพระวิหารประดิษฐานหลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร

        พระธาตุนารายณ์เจงเวง  ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองประมาณ ๖ กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่สมัยเดียวกันกับพระธาตุเชิงชุม แต่ศิลปะการก่อสร้างผิดไปคนละแบบ องค์พระธาตุสร้างด้วยศิลาแลงเป็นปรางค์แบบขอม ส่วนที่เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงก้อนขนาดใหญ่ องค์เจดีย์มีรูปทรงสี่เหลี่ยม มีประตูและซุ้มประตูด้านละประตู ภายใต้ซุ้มข้างบนสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกด้านขด มุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร รายละเอียดดูได้จากเรื่องพระธาตุในกลุ่มศาสนา
       หนองหาน  การไปชมหนองหานที่ใกล้ที่สุดก็คือจุดที่อยู่ห่างจากพระธาตุเชิงชุมไม่มาก หนองหานเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปีมีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๑๕๐ ตารางกิโลเมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ รองลงจากบึงบรเพ็ด ในภาคกลาง และกว๊านพะเยา ในภาคเหนือ
            จากตัวเมืองสกลนครใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๒๓ มุ่งไปสู่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโลเมตร แวะไปนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญที่สุดของภาคอีสาน

| หน้าแรก | | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์