ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อุทยานประวัติศาสตร์ของไทย

สุโขทัย
ศรีสัชนาลัย
พระนครศรีอยุธยา
พนมรุ้ง
 
กำแพงเพชร
ศรีเทพ
พิมาย
เมืองสิงห์
พระนครคีรี
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

| หน้าแรก |

ระเบียงคด

เป็นกำแพงชั้นในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมือนกับกำแพงชั้นนอก มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ ซึ่งอยู่ตรงกับซุ้มประตูใหญ่ของกำแพงชั้นนอก ระเบียงทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ยาว ๘๐ เมตร  ด้านทิศเหนือและทิศใต้ยาว ๗๒ เมตร ภายในระเบียงคดมีทางเดินทะลุถึงกันโดยตลอดกว้าง ๒ เมตรเศษ หลังคามุงด้วยหินทรายสีแดงเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม

บรรณาลัย
 
ตั้งอยู่ใกล้กับซุ้มประตูกำแพงชั้นนอกด้านทิศตะวันตก สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงขนาดกว้าง ยาว ด้านละประมาณ ๒๖ เมตร ลักษณะคล้ายธรรมศาลาที่อยู่ภายนอกปราสาท คือมีระเบียงล้อมรอบและระเบียงผ่านกลาง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และคงจะใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวของกษัตริย์ และผู้ตามเสด็จ เพื่อมาประกอบพิธีทางศาสนา หรืออาจจะใช้เป็นที่เก็บสรรพตำรา

สระ
 
มีอยู่หลายสระ ทั้งภายในและภายนอก บริเวณปราสาท สระที่อยู่ภายในบริเวณปราสาทมีอยู่สี่สระ อยู่ที่มุมลานชั้นนอก สระเหล่านี้สันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำที่สำคัญของอินเดียทั้งสี่ คือ แม่น้ำคงคา ยมนา สินธุ และพรหมบุตร ซึ่งถือว่าไหลมาจากแดนสวรรค์ นำไปแม่น้ำดังกล่าวเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อาบแล้วชำระบาปได้ ดังนั้นน้ำในสระเหล่านี้จึงใช้ในพิธีทางศาสนา

กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท
 
สร้างด้วยหินทรายสีแดง และใช้ศิลาแลงเป็นรากฐาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านทิศเหนือและทิศใต้ กว้างประมาณ ๒๒๐ เมตร ด้านตะวันออกและตะวันตก ยาวประมาณ ๒๗๘ เมตร สูงประมาณ ๘ เมตร มีซุ้มประตูที่กำแพงแต่ละด้านทั้งสี่ทิศ ซุ้มประตูด้านทิศใต้เป็นด้านหน้าของศาสนสถาน 
หน้าซุ้มประตูทำเป็นสะพานนาค ยาวประมาณ ๓๒ เมตร กว้างประมาณ ๔ เมตรสูงประมาณ ๒.๕๐ เมตร มีบันใดลงสู่พื้นดินแยกออกเป็นสามทาง เชิงบันใดมีรูปสิงห์ตั้งอยู่
ธรรมศาลา (คลังเงิน)

อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของซุ้มประตูด้านใต้ ตัวอาคารสร้างจากหินทรายและศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๒๖ เมตร ยาวประมาณ ๓๕ เมตร โบราณวัตถุที่ยังอยู่ภายในอาคารแห่งนี้ในระดับความลึกต่าง ๆ กันได้แก่ หม้อดินเผาเคลือบสมัยลพบุรี กระดิงสำริด กำไรสำริด พระพุทธรูปและเทวรูปสำริด แม่พิมพ์พระดินเผา หินบดยา เครื่องประดับกายทำด้วยทองคำสีดอกบวบ เป็นแหวนและสายสร้อย ฐานรูปเคารพทำด้วยหินทราย
การที่ได้ชื่อว่าธรรมศาลา สันนิษฐานว่าที่นี่อาจจะใช้เป็นที่สาธารณะของคนทั่วไป และอาจจะใช้เป็นสถานที่พยาบาลคนเจ็บป่วย รวมทั้งใช้ทำพิธีทางศาสนา ส่วนที่เรียกว่าคลังเงินนั้น เนื่องจากได้มีผู้พบเหรียญสำริดจำนวนหนึ่ง ตัวเหรียญด้านหนึ่งทำเป็นรูปครุฑหรือหงส์ อีกด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรโบราณ จึงได้เรียกว่าคลังเงินตั้งแต่นั้นมา
ธรรมศาลานี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระชัยวรมันที่ ๗ เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายประการ บ่งให้เชื่อได้เช่นนั้น

เมรุพรหมทัต
 
เป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๙ เมตร สูงประมาณ ๓๐ เมตร บนเนินดินเป็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๙ เมตร ยาวประมาณ ๑๓ เมตร สูงประมาณ ๗ เมตร สร้างด้วยอิฐ  นิยายพื้นเมืองมีว่า สถานที่นี้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพท้าวพรหมทัต สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา

กำแพงและประตูเมือง
 
กำแพงเมืองพิมาย เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๓๖๕ เมตร ยาวประมาณ ๑,๐๓๐ เมตร อยู่ในพื้นที่ที่เกือบจะมีลำน้ำล้อมรอบ ตัวกำแพงสร้างเป็นคันดิน ประตูเมืองมีสี่ประตู สร้างด้วยศิลาแลง ประตูด้านทิศใต้นี้เรียกว่าประตูชัย เป็นด้านหน้าของศาสนสถาน


| หน้าแรก | บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์