ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > สารานุกรมไทยฉบับย่อ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

เล่มที่ ๑๒ ดีดีที - ตั๋วแลกเงิน       ลำดับที่ ๒๐๑๑ - ๒๒๒๑       หน้า ๗๑๘๕ - ๗๘๔๘

            ๒๐๑๑. ดี.ดี.ที.  เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง เมื่อบริสุทธิ์เป็นผลึกเล็ก ๆ รูปเข็มสีขาว สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๑๗ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ มีผู้พบว่ามีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงได้ และเริ่มมีการผลิตใช้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๖           หน้า ๗๑๘๕
                ดี.ดี.ที.เป็นพิษภัยแรงต่อสัตว์จำพวกแมลงเนื่องจากไปทำลายระบบประสาท ดี.ดี.ที. เป็นพิษแก่คนและสัตว์อยู่บ้างกรณีที่กินเข้าไป หรือถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย เป็นจำนวนมาก ๆ        หน้า ๗๑๘๕
            ๒๐๑๒. ดีเดือด - บ้า  เป็นอาการแสดงของคนเสียจริต มีอาการคลุ้มคลั่งมาก เอะอะตึงตัง ทุบตีข้าวของ อาการเช่นนี้ อาจเกิดได้เป็นครั้งคราวมีระยะเวลาที่เป็นไม่นาน
                คำนี้บางทีใช้เรียกการกระทำของบุคคลที่ทำอะไรปัจจุบันทันด่วน ไม่ยั้งคิดโดยโทสะจริต มุทะลุไม่ฟังคำผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหาย            หน้า ๗๑๘๖
            ๒๐๑๓. ดีนาคราช - ต้น  เป็นใบต้นชนิดหนึ่ง เป็นเถา มีเกร็ดคล้ายเกร็ดงู สำหรับใช้ทายา ต้นไม้สกุลนี้บางครั้งใช้ปูพื้นที่มีน้ำแฉะ เพื่อช่วยซับน้ำให้แห้ง และเนื่องจากบางชนิดต้องแผ่ตัวเองออกได้ จึงกลายเป็นยารักษาโรค           หน้า ๗๑๘๗
            ๒๐๑๔. ดีบุก  เป็นธาตุโลหะชนิดหนึ่งมีสีขาวขาว คล้ายเงิน และมีสีเหลือง สีน้ำเงินปนนิด ๆ ตีแผ่หรือรีดเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ ทนต่อการเป็นสนิม หรือการผุผังสลายตัวโดยดิน ฟ้า อากาศ กรด และน้ำยาอื่น ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย มีคุณสมบัติเกาะจับผิวโลหะ สามารถผสมกับโลหะอื่น ๆ ได้แทบทุกชนิด
                ดีบุกที่เกิดในธรรมชาติ  ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบออกไซด์ แหล่งแร่ดีบุกของไทยส่วนมากอยู่ทางภาคใต้ และเป็นแหล่งสายแร่ ที่เป็นทางแร่มันคือ ได้มีการขุดแร่ดีบุกขึ้นมาใช้กว่า ๔๐๐ ปีแล้ว แร่ดีบุกบางแห่งเรียกเป็นตะกั่วป่า หรือตะกั่วทุ่ง เพราะลักษณะคล้ายตะกั่ว
                ในสมัยโบราณมนุษย์บังเอิญนำแร่ทองแดง ซึ่งมีดีบุกปนอยู่ในธรรมชาติมาถลุง เลยได้พบโลหะผสมเรียก บรอนซ์ เมื่อประมาณกว่า ๕๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้ส่วนผสมเป็นทองแดง ๙ ส่วน ดีบุก ๑ ส่วน นิยมทำโลหะผสมชนิดนี้ ใช้ทำอาวุธ เครื่องใช้สอย อนุสาวรีย์ รูปศิลปะต่าง ๆ พบว่าดีบุกบริสุทธิ์ ในลักษณะเป็นแผ่นใช้ในการห่อมัมมี่ เมื่อประมาณ ๕๐ ปี ก่อน พ.ศ.
                ปัจจุบันประโยชน์ส่วนใหญ่ของดีบุกคือ ใช้เคลือบโลหะอื่น เกิดอุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชนิดดีบุกขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ทำโลหะบัดกรี (ตะกั่วบัดกรี) ซึ่งหลอมละลายได้ง่าย           หน้า ๗๑๘๘
            ๒๐๑๕. ดีปลี - ต้น  เป็นไม้ล้มลุก อาศัยรากที่เกิดตามด้านล่างของลำต้น เกาะพยุงลำต้นขึ้นไปตามต้นไม้อื่น ใบเดี่ยว รูปลักษณะคล้ายใบพลู เมื่อขยี่ดมดูจะมีกลิ่นฉุน ดอกมีขนาดเล็กมาก ออกเป็นช่อแน่นทึบ ตามง่ามใบ ผลมีรสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารและเป็นสมุนไพรขับรก เวลาคลอด แล้วแก้โลหิตตกในการคลอด แก้ลม แก้หืดไอ และแก้เสมหะ รากมีรสเผ็ดร้อนใช้แก้พิษคุดทะราด           หน้า ๗๑๙๔
            ๒๐๑๖. ดีฝ่อ  เป็นกิริยาแสดงอาการกลัวของผู้ใดผู้หนึ่งที่แสดงว่ากลัวอย่างมากมายจนหมดสติ มักเรียกร่วมกับคำอื่น เป็นวลีว่า ขวัญหนีดีฝ่อ           หน้า ๗๑๘๔
            ๒๐๑๗. ดีหมี - ต้น  เป็นไม้ต้นใบผลัด ใบขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๕ เมตร เรียบยอด เป็นพุ่มทึบ ดอกเพศผู้สีขาวขนาดเล็ก ออกเป็นเรียวตามยาว ตามง่ามใบ เพศเมียจำนวน ๑ - ๒ ดอก มีความยาว ออกตามง่ามใบ ๒ พู หยักเว้าตามปลายผล เวลาแก่จัด ผลจะแตกตามรอบประสานสองซึก แต่ละซีกมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด           หน้า ๗๑๙๖
            ๒๐๑๘. ดึกดำบรรพ์ ๑ - ละคร  เป็นละครรำไทยแบบหนึ่ง ที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้น เป็นละครที่เลียนแบบละครโอเปร่าของฝรั่ง โดยตัวละครร้องเพลงเอง มีฉากเปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง
                ละครดึกดำบรรพ์แรกเล่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในการรับแขกเมืองที่เข้ามาเฝ้าในปีนั้น           หน้า ๗๑๙๗
            ๒๐๑๙. ดึกดำบรรพ์ ๒ - เล่นการ  เป็นการแสดงอย่างหนึ่ง ในพระราชพิธีอินทราภิเษกบางทีก็เรียกว่า "ชักมาดดึกดำบรรพ์" คือการแสดงเรื่องกวนเกษียรสมุทร ซึ่งตรงกับเรื่องในปางกูรมาวตาร ปางที่สองในนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่หก ได้เพิ่มชุบพระแสง ศัสตราวุธลงในน้ำอมฤต เหมือนพระราชพิธีสัจปาน คือทำน้ำนั้นเป็นน้ำสำหรับถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อจากนี้บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ก็กราบพระพรถวายบ้านเมือง แสนยานุภาพและส่วยสาอากร แด่พระมหากษัตริย์ เสมือนกระทำพระราชพิธีราชาภิเษกใหม่            หน้า ๗๒๐๔
            ๒๐๒๐. ดึงดูด - แรง  ในวิชาฟิสิกส์ แรงดึงดูด คือแรงระหว่างวัตถุสองก้อน ที่พยายามจะดึงให้วัตถุทั้งสองเข้าใกล้กัน หรือพยายามดันการแยกวัตถุทั้งสองให้ห่างออกไป
                แรงดึงดูดอาจเป็นผลการแรงมูลฐานหลายชนิด เช่น แรงโน้มถ่วงระหว่างสองจำนวนเป็นแรงดึงดูดเสมอ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า อาจเป็นแรงดึงดูด หรือแรงผลักก็ได้ นอกจากนี้ยังมีแรงนิวเคลียร์ ซึ่งมีค่ามากกว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้า             หน้า ๗๒๐๗
            ๒๐๒๑. ดุก - ปลา  เป็นปลาที่มีรูปร่าง และมีความเป็นอยู่ต่างกัน เหตุนี้ปลาดุกทะเลเมืองไทย พอจะแบ่งออกได้เป็นสองวงศ์ คือปลาดุกน้ำจืด กับปลาดุกทะเล
                        ๑. ปลาดุกน้ำจืด  เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหนวดสีคู่ แบ่งออกได้เป็น สองสกุล คือปลาดุกและปลาดุกลำพัน ในเมืองไทยมีปลาดุกน้ำจืดอยู่สามชนิด ที่รู้จักกันดีคือ ปลาดุกด้าน, ปลาดุกอุย และปลามด
                        ๒. ปลาดุกทะเล  มีอยู่สองชนิดที่พบในเมืองไทย ปรกติอาศัยอยู่ในทะเลไม่มีเครื่องช่วยหายใจ มักพบตามปากน้ำใหญ่ ๆ บางทีก็จับได้ในน้ำจืด           หน้า ๗๒๐๘
            ๒๐๒๒. ดุริยางค์  ในสมัยโบราณหมายถึง เครื่องบรรเลงประเภท ตี เป่า ได้แก่ วงปี่พาทย์ แต่ปัจจุบันได้ขยายความหมาย กว้างขวางออกไป จนใช้หมายถึงเครื่องบรรเลงได้ทั่วไป ไม่ว่าเครื่อง ดีด สี หรือตี เป่า            หน้า ๗๒๑๓
           ๒๐๒๓. ดุริยางค์ศิลป์  หมายถึง ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์  เป็นการทำเสียงเพลงที่บรรเลงนั้น บังเกิดมีชีวิตขึ้น ผู้ใดฟังเกิดอารมณ์สะเทือนใจไปตามอารมณ์นั้นได้           หน้า ๗๒๑๕
            ๒๐๒๔. ดุษฎีบัณฑิต  คือ ปริญญาเอก หรือปริญญาสูงสุด           หน้า ๗๒๑๖
            ๒๐๒๕. ดุษฎีมาลา  เป็นชื่อเหรียญสำหรับศิลปะวิทยา ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประเภทหนึ่ง (ดูเครื่องราชอิสริยาภรณ์ - ลำดับที่ ๑๑๑๑)           หน้า ๗๒๑๖
            ๒๐๒๖. ดุสิดาราม - วัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองบางกอกน้อย ต.บางยี่ขัน อ.บางกอกน้อย จ.กรุงเทพฯ เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดเสาประโคน           หน้า ๗๒๑๖
            ๒๐๒๗. ดุสิต ๑  อำเภอใน จ.กรุงเทพฯ            หน้า ๗๒๒๕
            ๒๐๒๘. ดุสิต ๒  เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่สี่ แห่งฉกามาพจร มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง เป็นที่เกิดแสง เป็นที่อยู่ระหว่างพวกโพธิสัตว์ พระพุทธปิดก พระพุทธมารดาแสงท่าบ ผู้วิเศษอื่น ๆ เป็นแดนแห่งความสุข เป็นที่สถิตแห่งปวงเทพเจ้า ผู้มีความยินดี และมีความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์ ภาพในเทพนคร มีปราสาทวิมานอยู่สามวิมานคือ รัตนวิมาน กนกวิมาน และรัชตวิมาน
                ทวยเทพผู้สถิตในสวรคค์ชั้นดุสิตมีความรู้เรื่องบุญกุศล เป็นอย่างดี มีจิตยินดีต่อการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนายิ่งนัก ทุกวันธรรมสวนะจะมีเทวสันนิบาติ เพื่อฟังธรรมเสนอมิได้ขาด ท้าวสันดุสิตเทวราช ทรงเป็นเทพเจ้าผู้พหูสูตร เป็นผู้รู้ธรรม ของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก อีกประการหนึ่ง ตามปรกติสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นที่สถิตแห่งเทพบุตรผู้เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งจักตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ท้าวสันดุสิต จึงอัญเชิญให้เป็นองค์แสดงธรรม           หน้า ๗๒๒๕
            ๒๐๒๙. ดุสิตมหาปราสาท - พระที่นั่ง  เป็นพระมหาปราสาทองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เป็นมหาปราสาทจตุรมุขเจ็ดชั้น เป็นปราสาทก่ออิฐก่อปูนองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
                ภายนอกองค์พระที่นั่งมีกำแพงแก้วล้อมสามด้าน มีประตูด้านเหนือสามประตู ด้านตะวันออกสองประตู ด้านตะวันตกหนึ่งประตู เป็นประตูยอดมณฑป ประดับกระเบื้องเคลือบสี หน้าพระที่นั่งมีทิมคตสองหลัง เบื้องหลังพระที่นั่งสรรเขื่อนเพชร เป็นแนวกำแพงกับเขตระหว่างพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน
                พระที่นั่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า สมเด็จพระอัครมเหสีและบางโอกาส ก็โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระศพพระบรมราชวงศ์บางพระองค์ด้วย ในระหว่างที่มิได้มีการประดิษฐานพระบรมศพ ก็ได้ใช้พระที่นั่งสำหรับประกอบการพระราชพิธีและการพระราชกุศลต่าง ๆ            หน้า ๗๒๒๙
            ๒๐๓๐. ดูเหว่า - นก  มีขนาดเล็กกว่านกกระปูด และกา แต่หางยาวกว่า ตัวผู้สีดำทั่วตัว ตัวเมียมีน้ำตาลแก่ มีลายสีขาวแทบทั่วตัว นกดุเหว่ามักส่งเสียงร้องดัง "ดูเวา ดูเวา" เราจึงให้ชื่อตามเสียงที่ร้องว่า นกดูเหว่า ซึ่งมักร้องตอนจวบสว่าง และตอนเช้า
                นกดูเหว่าทำรังไม่เป็น ตัวเมียมักชอบไปแอบวางไข่ไว้ในรังกา ฉะนั้น จึงผสมพันธ์ วางไข่ในฤดูที่กาทำรัง คือในหน้าหนาว สี่ไข่นกดูเหว่า คล้ายกับสีไข่กา คือสีเทาแกมเขียว แต่ขนาดเล็กกว่า บ้างครั้งนกตัวผู้บินไปล่อกา ให้ขับไล่ตามปล่อยให้ตัวเมียเข้าไปวางไข่ในรังกา กาจะกกและฟักไข่จนออกมาเป็นตัวและเลี้ยงดูลูกนกดูเหว่า เหมือนกับลูกของตัวจนสอนบินได้จึงแยกกันไป            หน้า ๗๒๓๙
            ๒๐๓๑. เดชอุดม  อำเภอใน จ.อุบลราชธานี ภูมิประเทศตอนเหนือและตอนกลางเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำนา ตอนตะวันออกและตอนใต้ ติดต่อกับภูเขาพนมดงรัก เป็นที่สูงเป็นเนินเป็นโคกดินแดงมีเขาเล็ก ๆ ตอนตะวันตกเป็นเนินเป็นโคกมีที่ราบบ้าง
                อ.เดชอุดม เดิมเป็นบ้านเรียกว่า บ้านโดยใหญ่ ยกเป็นเมืองเดชอุดม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ ตั้งอยู่ในอำเภอปัจจิมเดช ต่อมายุบเมือง เดชอุดม เหลือเพียง อ.ปัจจิมเดช ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ตั้งเป็น อำเภอขึ้นใหม่เรียก อ. เดชอุดม            หน้า ๗๒๓๙
            ๒๐๓๒. เดชาดิศร - กรมสมเด็จพระ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้านายมั่ง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๖ ได้ทรงกำกับกรมพระอารักษณ์ตั้งแต่ในรัชกาลที่สอง จนตลอดพระชนมายุ ได้กำกับกรมนา ในรัชกาลที่สี่ สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๒ พระชันษา ๖๗ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลเดชาติวงศ์ ณ อยุธยา           หน้า ๗๒๔๑
            ๒๐๓๓. เดโช ๑ - พญา  เป็นชื่อแม่ทัพใหญ่ของขอม ชื่อนี้สมเด็จกรมพระยานริสรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงเป็นผู้ขยายขึ้น แต่เดิมพงศาวดารเหนือใช้ว่า "ขอมดำดิน"
                บทบาทของพญาเดโชในเรื่องพระร่วงมีอยู่ว่า เมื่อนักคุ้ม ข้าหลวงพระเจ้าพันธุมสุริยวงศ์รายงานเรื่องความเฉลียวฉลาด ของพระร่วงเจ้าเมืองละโว้คนใหม่ พระเจ้าพันธุมฯ ทรงเห็นว่าควรกำจัดเสียแต่ต้น เมื่อพญาเดโชเป็นผู้รับหน้าที่มาจับพระร่วง เมื่อมาถึงเมืองละโว้ปรากฏว่า พระร่วงหนีไปอยู่ที่เมืองสุโขทัย พญาเดโชจึงปลอมตัวเป็นคนไทย และลอบไปอย่างลึกลับ ประหนึ่งว่าแทรกแผ่นดินไป จึงเรียกว่า ขอมดำดิน เมื่อไปถึงกรุงสุโขทัย แล้วไปพบพระร่วง เป็นภิกษุอยู่ไม่รู้จักจึงเข้าไปถามหาพระร่วง พระร่วงรู้ว่าเป็นขอมปลอมมาจึงไปบอกให้โยมวัดมาจัดการ พญาเดโชถูกส่งตัวกลับไปเมืองขอม            หน้า ๗๒๔๒
            ๒๐๓๔. เดโช ๒ - พระยา  เป็นราชทินนามย่อของออกญา หรือพระยาสีหราชเดโชโชย สมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการ ฝ่ายทหาร มีกองทัพใหญ่สังกัดอยู่แยกเป็นสองกองทัพ คือกองทัพเดโชและกองทัพท้ายน้ำ กองทัพเดโชมีออกญาสีหราชเดโชไชย คือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เป็นแม่ทัพฝ่ายขวา กองทัพท้ายน้ำมีออกญาท้ายน้ำ ถือศักดินา ๑๐.๐๐๐ ไร่ เป็นแม่ทัพฝ่ายซ้าย
                ข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่ายทหารได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเดโช สืบต่อมาตั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๑๑) ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี ขุนเหล็กยกทัพไปตีพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๗ มีพระยาสีหราชเดโชไชย เป็นแม่ทัพหน้า กองทัพไทยรุกไปทางเหนือของพม่า แล้วล้อมเมืองพุกามไว้ได้ พระยาสีหราชเดโชไชย เห็นว่าพม่าไม่ออกรบ กลางแปลงก็คุมพลเข้าปล้นค่ายพม่าได้ชัยชนะเนื่อง ๆ พวกพม่าทำกลอุบายแกล้งทำเป็นทิ้งค่ายหนีไป พระยาสีหราชเดโชไชยไม่รู้ว่าเป็นกลอุบาย คุมพลถลำล่วงเข้าไปในค่าย พม่าล้อมจับได้ แต่ก็สามารถแก้ไขชิงเอาค่ายได้ในที่สุด
                ในสมัยรัตนโกสินทร บรรดาศักดิพระยาสีหราชเดโช ได้มีสืบต่อม เช่น นายพลโทพระยาสีหราชเดโชไชย (โต บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ และนายพลเอกพระยาสีหราชเดโชไชย (แย้ม ณ นคร) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
                ในหนังสือพจนานุกรมข้าราชการ ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๑๔๘๐ มีชื่อพระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) มียศทหารเป็นนายพลโท           หน้า ๗๒๔๓
            ๒๐๓๕. เด่นชัย  อำเภอใน จ.แพร่ ภูมิประเทศเป็นที่ราบมีป่าและเขา อ.เด่นชัยแรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ ขึ้น อ.สูงเนิน ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘            หน้า ๗๒๔๘
            ๒๐๓๖. เดอ ลามอตลองแบรด์  เป็นชื่อหัวหน้าคณะบาทหลวงฝรั่งเศสชุดแรก ที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๕ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงให้การต้อนรับคณะสอนศาสนาด้วยดี และอนุญาตให้สั่งสอนศาสนาได้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๐๗ บาทหลวงปัลลู พระราชาคณะแห่งเฮลิโอพร้อมด้วยบาทหลวงอีกสี่คน ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา บาทหลวงเดอ ลาบอตลองแบรด์และบาทหลวงปัลลู เห็นพ้องกันว่า กรุงศรีอยุธยาเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่คริสตศาสนาในตะวันออกไกล ยิ่งกว่าเมืองใดๆ เพราะเมืองไทยเป็นศูนย์กลางการค้าขายติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ในเแหลมอินโดจีน ญี่ปุ่น และรัฐต่าง ๆ ในอินเดีย สะดวกในการบริหารและควบคุมคณะมิชชันนารีในประเทศใกล้เคียงที่สำคัญคือรัฐบาลไทยไม่กีดกันศาสนาอื่น ทั้งยังให้เสรีภาพพวกศาสนายิ่งกว่าประเทศใด ๆ ทางตะวันออก
                บาทหลวงเดอลาบอต ลองแบรด์ จึงทำรายงานเสนอสันตปาปา และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในภาคตะวันออกและส่งบาทหลวงปัลลูเดินทางกลังไปยุโรป เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๘ เพื่อขอให้สันตปาปาและพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราชสาสน์มาเจริญทางพระราชไมตรีกับ กรุงศรีอยุธยา สันตปาปาเห็นชอบด้วย ได้แต่งตั้งบาทหลวง เดอลาบอต ลองแบรด์ พระราชาคณะแห่ง เบริท ดำรงตำแหน่งสังฆราชในเมืองไทย และบรรดาประเทศใกล้เคียงที่มิได้อยู่ในอำนาจปกครองของรัฐบาลสเปน และโปร์ตุเกส เมื่อบาทหลวงปัลลูเดินทางกลับจากทวีปยุโรปในปี พ.ศ.๒๒๑๖ ได้นำพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และสาสน์ของสันตปาปา เดลมองดูที่ ๙ เข้ามากราบสมเด็จพระนารายณ์ฯ ด้วย บาทหลวงทั้งสองเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ กราบพระราชสาสน์ และสาสน์อย่างราชทูตเป็นครั้งแรก
                บาทหลวง เดอ ลาบอต ลองแบรด์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๒           หน้า ๗๒๔๘
            ๒๐๓๗. เดิมบางนางบวช  อำเภอใน จ.สุพรรณบุรี ภูมิประเทศทางทิศตะวันตกเป็นที่ดอน เป็นป่าทึบและเขาโดยมาก นอกนั้นเป็นที่ราบ
                อำเภอนี้แต่เดิมเรียก เดิมบาง ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ เป็นคนละอำเภอกับ อ.นางบวช ในปี พงศ.๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อ อ.บางบวช เป็น อ.สามชุก และเปลี่ยนชื่อ อ.เดิมบาง เป็น อ.เดิมบางนางบวช           หน้า ๗๒๕๒
            ๒๐๓๘. เดียนเบียนฟู - เมือง  ชื่อไทยว่า เมืองแถง ตั้งอยู่ใกล้พรมแดนลาว เมืองนี้เคยเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นสิบสองจุไท ตอนใต้ในขณะที่ประทับของพ่อขุนบรม ซึ่งเป็นกษัตริย์ไทยองค์แรก ในสมัยที่ชนชาติไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไท
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ หลังจากที่ไทยได้ปราบขบถเจ้าอนุแห่งเมืองเวียงจันทน์ แล้วก็ได้ยกกองทัพไปขับไล่ญวนให้ออกไปจากเมืองแถง และมอบหมายให้เจ้านครหลวงพระบาง ซึ่งขึ้นต่อไทยในขณะนั้น เป็นผู้ดูแลปกครองเมืองแถง แต่เจ้านครหลวงพระบางไม่ได้แต่ตั้งผู้ใดไปครองเมืองแถงเลย ญวนจึงกลับเข้ามามีอำนาจในแคว้นสิบสองจุไทอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๘๕ เป็นต้นไป
                ในปี พ.ศ.๒๔๐๓ พวกลื้อ ได้ยกทัพมาจากสิบสองปันนาเข้าโจมตีแคว้นสิบสองจุไท เจ้าเมืองหนีไปพึ่ง เจ้านครหลวงพระบาง แล้วช่วยกันขับไล่ลือออกไป จากแคว้นสอบสองจุไทได้ ส่วนเมืองแถงก็ถูกพวกลื้อรุกราน เช่นกัน พวกลื้อขับไล่ขุนบางญวนกลับไปหมด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๓ พวกผู้ไท ก็สามารถขับไล่พวกลื้อออกไปจากเมืองแถงได้
                ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ พวกป่องก่อขบถขึ้นที่เมืองแถง เจ้าเมืองถูกฆ่าตาย ยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๔๑๕ ญวนได้ส่งคนมาปกครองเมืองแถง ในปีเดียวกันพวกฮ่อ ได้ยกมายึดเมืองแถง เจ้านครหลวงพระบางยกกำลังไปขับไล่ ฮ่อออกไป พ.ศ.๒๔๑๙ ญวนตั้ง พ่อค้าจีนคนหนึ่งให้เป็นเจ้าเมืองแถง
                ในปี พ.ศ.๒๔๒๑ ญวนได้ส่งกองทัพมาช่วยบุตรเจ้าไลปราบฮ่อธงเหลืองในแคว้นสิบสองจุไท ท้าวไลมอบเมือง ที่ตีได้จากฮ่อเมือง ให้แก่ญวน ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ท้าวไลให้บุตรชายชื่อคำฮุยมาครองเมืองแถง ญวนตั้งให้เป็นที่บางเบียน
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ฝรั่งเศสมีนโยบายจะใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางไปสู่ตลาดการค้าที่ยูนนาน ก็ยึดญวนใต้ไว้ได้ ในปี พ.ศ.๒๔๐๕ ยึดแบ่งจากไทยในปี พ.ศ.๒๕๐๖ แล้วกำหนดเขตปฏิบัติการของคนต่อไปในลาวเหนือ ซึ่งรวมแคว้นสิบสองจุไทไว้ด้วย
                พวกฮ่อได้ยกเข้ามาปล้นสะดมหัวเมืองลาวในปี พ.ศ.๒๔๑๘, ๒๔๒๘ และ ๒๔๒๘ ตามลำดับ หมื่นไวยวรนารถได้ยกกองทัพไปปราบฮ่อ และจัดการปกครองแคว้นสอบสองจุไท และหัวเมืองอื่นๆ ทางลาว เมื่อปราบพวกฮ่อในหัวพับทั้งห้าทั้งหก เรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพไปเมืองแถง ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ แต่งตั้งพระสวามิภักดิ์สยามเขตเป็นเจ้าเมืองแถง
                ฝ่ายฝรั่งเศสประสงค์จะรวมแคว้นสิบสองจุไทไว้กับจักรวรรดิ์อินโดจีน จึงพยายามหาหลักฐานว่าดินแดนดังกล่าว เป็นของญวนเพื่อฝรั่งเศสจะได้สืบสิทธิญวนต่อไป ได้แต่งตั้งให้นายปาวีเป็นผู้ช่วยกงสุล ประจำหลวงพระบาง แล้วให้ตรวจตราภูมิประเทศในลาวเหนือเพื่อทำแผนที่
                พวกฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองแถงแล้วยกมาปล้นเมืองหลวงพระบางจากนั้นก็ยกทัพกลับเพราะได้ข่าวว่า กองทัพฝรั่งเศสจากตังเกี๋ยยกมายังลุ่มแม่น้ำดำ
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจ้าหมื่นไวยวรนาถ) เป็นแม่ทัพยกไปปราบ ฮ่อใหม่โดยให้ไปรักษาเมืองหลวงพระบาง และช่วยแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือแต่ทางฝรั่งเศสได้ส่งกองทหาร เข้ายึดครองเมืองแถงเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๐ ก่อนที่กองทัพไทยจะยกไปถึง
                ในต้นปี พ.ศ.๒๔๓๑ ฝรั่งเศษอ้างว่าดินแดนของฝรั่งเศสมีอาณาเขตไปจดแม่น้ำโขง และขอสงวนเสรีภาพทุกประการในดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองแถงจึงอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศสโดย พฤตินัยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๑ และต่อมาไทย ไทยต้องลงนามในสัญญาฉบับวันที่ ๓ ตุาลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ยกดินแดนบนฝั่งชายแม่น้ำโขงรวมแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส
                หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โฮจิมินห์ประกาศญวนเป็นเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอม จึงเกิดการรบที่เมืองเตียนเบียนฟู กองทัพฝรั่งเศสเลือกเมืองเดียนเบียนฟู เป็นที่มั่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ แต่ถูกพวกเวียตมินต์ตีแตกในวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗
                ฝรั่งเศสได้มอบภาคเหนือของญวนให้อยู่ในความปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามตามความ ตากลงแห่งเมืองเจนีวา เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ โดยใช้แม่น้ำไฮ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เส้นขนานที่ ๑๗ เป็นเส้นกันเขตแดน           หน้า ๗๒๕๔
            ๒๐๓๙. เดียรถีย์  มีคำนิยามว่า "นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล" เป็นคำกลางที่ทางพุทธศาสนาใช้ เรียกนักบวชอื่น ๆ บางทีท่านเดิมอัญญะ ซึ่งแปลว่า อื่น เข้าไปข้างหน้าเป็นอัญญเดียรกีย์ ก็มี
                พวกเดียร์ถีย์ในสมัยพุทธกาลมีอยู่มากมาย และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เรียกตามชื่อลัทธิก็มี เรียกตามชื่อสำนักก็มี และเรียกตามลักษณะอาการ หรือพรตที่ประพฤติปฏิบัติก็มี แยกออกเป็นประเภทๆ ได้ คือ
                    ฤาษี  แปลว่าผู้เห็น คือ เห็นสัจธรรม ผู้แสวงหา คือ แสวงหาคุณธรรม เป็นคำในภาษาสันสกฤตตรงกับ อิสิ ในภาษาบาลี เป็นนักบวชประเภทอยู่ในป่า จัดเป็นนักบวชพวกธรรมของอินเดีย
                        ดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญพรต เป็นนักบวชประเภทนุ่งขาว
                        มุนี แปลว่า ผู้บำเพ็ญโมเนยปฏิบัติ คือ ถือความวิเวก สงบ สงัด ไม่พูดจากับใคร
                        ปริพาชก แปลว่า ผู้เร่ร่อน ไม่ค่อยอยู่ประจำที่มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
                        อาชีวก แปลว่า ผู้เลี้ยงชีพ มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยทั่วไปเป็นนักบวชในศาสนาเชนนิกายหนึ่ง
                        อเจลก แปลว่า ผู้ไม่นุ่งผ้า ใช้เรียกนักบวชในศาสนาเชนนิกายทิกับพร
                        นิคันถะ คือ นิครนถ์แปลว่าผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดเป็นชื่อเรียนับวชในศาสนาเชน
                        ชฎิล แปลว่า ผู้ไว้ผม นิยมเกล้าเป็นชฎา นับถือการบูชาไฟ
                        มณทกะ แปลว่า ผู้มีศรีษะโล้น
                        เครุยะ แปลว่า ผู้นุ่งขาวห่มขาว เห็นจะเป็นพวกชีผ้าขาว
                        เคคัณติกะ แปลว่า ผู้ถือไม้เท้าสามหัว ผ้าจะเป็นพวกฤาษี
                        เทวธัมมิกะ แปลว่า ผู้นับถือพระผู้เป็นเจ้า คือพราหมณ์พวกนับถือพระพรหม ว่าเป็นผู้สร้างโลก
                        ภิกขุหรือภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ คือถือการขออาหารเป็นอาชีพ
                        คำว่าเดียรถีย์ แปลว่า ทางน้ำ ฝั่งน้ำ ในทางศาสนาหมายถึงลัทธิ เพราะเป็นที่ข้ามไปสู่สุคติ ในพระวินัยปิฎก มีว่าถ้าเดียรถีย์คนใดต้องการจะบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อทดสอบดูว่าผู้นั้นมีความเลื่อมใสจริง เสียก่อนจึงอนุญาตให้บวชได้ วิธีดังกล่าวเรียกว่า ติตถิยปริวาส อนึ่ง การภิกษุในพระพุทธศาสนารูปใด ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ต่อมาเกิดกลับใจขอบวชในพระพุทธศาสนาอีก ท่านห้ามมิให้บวชเด็ดขาดเพราะถือเป็นอภัพบุคคล คือ ผู้ขาดคุณสมบัติของผู้จะบวชอย่างหนึ่ง            หน้า ๗๒๖๓
            ๒๐๔๐. เดือน  เป็นช่วงเวลาที่กำหนดโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ไปในท้องฟ้า การกำหนดเดือนอาศัยการดู เสียงของดวงจันทร์ เริ่มนับช่วงเวลาตั้งแต่เดือนดับ ถึงเดือนดับอีกครั้งหนึ่งเป็นหนึ่งเดือน เดือนระบบจันทรคติมี ๒๙.๕๓๑๐๕๘๙ วันใช้ในการคำนวณของดาราศาสตร์           หน้า ๗๒๖๗
            ๒๐๔๑. เดือย  เป็นผลของพันธุ์หญ้าล้มลุกขนาดสูง ต้มเดือยมีลำต้น และใบคล้ายข้าวโพด ผิดกันที่ใบสั้นกว่า สูงประมาณ ๑.๕ - ๒.๐ เมตร
                ลูกเดือยบางพันธุ์มีเปลือกหนาแข็ง และมีสีต่าง ๆ จึงเหมาะสำหรับใช้ทำเครื่องประดับร่างกายเพื่อความสวยงาม ของสตรี เช่น ทำเป็นประคำ ตุ้มหู และกล่าวว่า มีสรรพคุณทางรักษาโรคต่าง ๆ            หน้า ๗๒๖๙
            ๒๐๔๒. แดง ๑ - ทะเล  เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย เป็นแอ่งกราเบน มีรูปร่างแคบยาว ล้อมรอบด้วยแผ่นดินเกือบทุกด้าน ทางตะวันออกคือ คาบสมุทรอาหรับ เป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเซีย ทางตะวันตกเป็นทวีปแอฟริกา
                ทะเลแดงทอดตั้งทางตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ ยาว ๒,๒๙๔ กม. ตอนกว้างสุด ๓๔๔ กม. ตอนแคบสุด ๓๒ กม. เรียกว่า ช่องแคบ บาบ เอล แมนเดบ ที่ทางตอนเหนือสุดมีคาบสมุทรซีนาย ยื่นเข้ามาทำให้เกิดเป็น อ่าวแคบๆ สองอ่าว อ่าวทางตะวันตกเรียกว่า อ่าวสุเอซ ซึ่งติดต่อกับทะเลเมดิเตอเรเนียน ใต้ทางคลองสุเอซ อ่าวสุเอซ กว้างเฉลี่ย ๒๙ กม. ยาว ๓๓๖ กม. ทางตะวันตกของคาบสมุทรซีนายเป็นอ่าวอะกาปา ความกว้างเฉลี่ย ๑๖ กม. ยาว ๑๘๙ กม. ตอนใต้สุดของทะเลแดงคือ ช่องแคบ บาบ เอล เเมนเดบ ซึ่งติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียโดยผ่านทางอ่าวเอเดน           หน้า ๗๒๖๙
            ๒๐๔๓. แดง ๒ - แม่น้ำ  อยู่ในเวียดนามเหนือเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเวียดนาม ตอนเหนือยาวประมาณ ๑,๑๗๐ กม. ยอดน้ำอยู่ห่างจากทะเลสาบเออไฮมาทางใต้ อยู่ในมณฑลยูนนาน ทางภาคใต้ของประเทศจีน ไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้ เข้าเขตเวียดนามตอนเหนือ ผ่านเมืองเลากาย เวียดตรี ซอนเต และฮานอย แล้วไหลลง อ่าวตังเกี๋ย
                ที่ปากแม่น้ำแดงมีดินดอนสามเหลี่ยม เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ
                แม่น้ำแดงมีสาขาอยู่สอบสายคือ แม่น้ำดำ  ไหลมาบรรจบจากทางใต้ใกล้เมืองกวางตรี กับแม่น้ำแกม ไหลมาบรรจบทางเหนือ           หน้า ๗๒๗๒
            ๒๐๔๔. แดง ๓ - ลม  เป็นคำไทยโบราณ เรียกลมพายุแรงๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย สาเหตุที่เรียกว่า ลมแดง เพราะจะสังเกตเห็นท้องฟ้าสีแดงจัด ก่อนเกิดพายุเสมอ           หน้า ๗๒๗๓
            ๒๐๔๕. แดง ๔ - มด  เป็นมดชนิดหนึ่งทำรังอยู่บนต้นไม้ โดยใช้ใบไม้หลายใบมาเชื่อมต่อกัน ห่อหุ้มเป็นรัง การที่เรียกกันว่า มดแดง เพราะตัวมดมีสีแดงปนสีส้มตลอดทั้งตัว โดยทั่วไปมดเหล่านี้เป็นมดงานทำหน้าที่เฝ้ารักษารัง และหาอาหารเลี้ยงดูรัง ทางภาคเหนือเรียกมดชนิดนี้ว่า มดส้ม และนิยมเก็บตัวมากิน หรือปรุงแทนน้ำส้มใส่อาหาร           หน้า ๗๒๗๔
            ๒๐๔๖. แดง ๕ - ปลา  จัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน หมายถึง ปลาไม่มีเกร็ด ตัวแบนข้าง หัวต่ำ มีหนวด ๒ คู่           หน้า ๗๒๗๖
            ๒๐๔๗. แดนลาว - ทิวเขา  เริ่มต้นที่เมืองเปาชาน และเมืองชางนิงในประเทศจีน เป็นทิวยาวลงไปทางทิศใต้ และคงอยู่ในประเทศจีน ๖๑๐ กม. ด้วยเข้าใกล้เขตพม่า ทิวเขาจะหักไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อยจนเข้า และข้ามเขตประเทศพม่า ทิวเขายังคงยาวไปทางใต้จนถึงเขา (ดอย) ผ้าห่มปก๑ รวมอยู่ในเขตประเทศพม่า ๑,๐๐๐ กม.
                ทิวเขานี้ เมื่อถึงเขา (ดอย) ผ้าห่มปก๑ แล้วจะทอดตัวไปทางทิศตะวันตก และเป็นเส้นเขตแดนระหว่าง ประเทศไทยกับพม่า จนถึงเขาลูกหนึ่งอยู่ห่างจากช่องเมืองแหงไปทางทิศตะวันตก ๘ กม. แล้วจะมีทิวเขาจากทิศใต้ ขึ้นมาร่วม เรียกว่า "ทิวเขาถนนธงชัย" (ดูถนนธงชัย - ลำดับที่...) รวมทิวเขาแดนลาวเป็นแนว แบ่งเขตประเทศไทยยาว ๑๒๐ กม.            หน้า ๗๒๗๘
            ๒๐๔๘. โดม  ในทางสถาปัตยกรรม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๐ หมายถึง หลังคาส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่มีลักษณะ โค้งกลมคล้ายผลส้มผ่าครึ่ง อาจสรุปวัตถุประสงค์ได้สองประการคือ
                    ๑. เป็นการพัฒนาในเรื่องโครงสร้างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
                    ๒. เป็นวิวัฒนาการในการใช้วัสดุก่อสร้าง เพื่อแก้ปัญหาที่จะสร้างหลังคาให้กว้างใหญ่ โดยใช้สิ่งของรองรับที่ กินเนื้อที่น้อยที่สุด
                กรีกและโรมันนิยมการสร้างอาคารหลังคาโดม เพื่อประโยชน์ในการให้ได้เนื้อที่กว้างขวาง และได้แสงสว่างจากช่องหน้าต่าง ซึ่งเรียงรายอยู่รอบๆ ส่วนที่เป็นหลังคาโดม
                สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป สถาปนิกได้นำหลังคาแบบโดมเข้ามาประยุกต์กับศิลปะการก่อสร้างอาคาร แบบใหม่            หน้า ๗๒๗๙
            ๒๐๔๙. โด่ไม่รู้ล้ม - ต้น  เป็นพันธุ์ไม้ต้นเล็ก ตามท้องถิ่นภาคกลางมีชื่อว่า "หญ้าไก่นกคุ่ม" ต้นสูง ๓๐ - ๕๐ ซม. มีใบแข็ง, ยาว, หัว ใบออกสลับกัน แต่อยู่ชิดกันจึงดูคล้ายกับว่าใบทั้งหมดงอกจากโคนต้น ช่อดอกเป็นหัวกลมแบนโต สีขาวถึงชมพู
                รากใช้เข้ายาสมุนไพร ใช้เป็นยาถ่าย ยาอาเจียน ฯลฯ            หน้า ๗๒๘๐
            ๒๐๕๐. โดรณ  มีคำนิยามว่า (แบบ) ซุ้มประตูซุ้ม เสาต้าย เสาค่าย เสาระเนียด
                โดรณที่หมายถึงเสาค่าย หรือเสาระเนียด ต้องปักชิดกันมากเพื่อเป็นกำแพง หรือรั้วป้องกันได้
                โดรณ ที่หมายถึงเสาต้ายนั้นคือเสาที่ปักได้ ตามไฟในเวลากลางคืน
                โดรณที่หมายถึงซุ้มประตู ที่สร้างขึ้นชั่วคราว อาจจะสร้างด้วยไม้ ดอกไม้หรืออื่นๆ เพื่อเป็นเกียรติยศในการ ต้อนรับบุคคลสำคัญหรือเป็นการเฉลิมฉลองในงานใดงานหนึ่งตามประเพณี           หน้า ๗๒๘๑
            ๒๐๕๑. ไดนาโม  เป็นชื่อรวมที่ใช้เรียกเครื่องกลไฟฟ้าที่ทำงาน โดยการหมุนเพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า มอเตอร์ไฟฟ้า หรือเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า            หน้า ๗๒๙๓
            ๒๐๕๒. ไดนาไมต์  เป็นของผสมชนิดหนึ่งใช้เป็นวัตถุระเบิดอย่างร้ายแรง มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของส่วนผสม โดยทั่วไปแล้วไดนาไมต์ เป็นของผสมระหว่างไนโตรกลีเซอรีนกับ ดิบซิลิเกตชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ดีเซลกูร์ แทนที่จะใช้ดินซิลิเกต อาจจะใช้เยื่อไม้แทนก็ได้
                อัลเฟรดโนเบลได้พบไดนาไมต์ในปี พ.ศ.๑๔๐๓
                ไดนาไมต์เป็นสารที่ไม่เสถียร แล้วมักจะเกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีกรดอยู่           หน้า ๗๒๙๔
            ๒๐๕๓. ไดโนเสา  เป็นสัตว์โบราณพวกหนึ่งมีรูปร่างคล้ายเหี้ย แต่มีขนาดใหญ่คล้ายเหี้ยยักษ์ มีคอและหางยาวและมีหัวเล็ก มีสมองเล็ก บางชนิดมีเกร็ดบนหลังเป็นรูปต่างๆ บางชนิดมีคล้ายกับเขาวัวแหลม หรือมีคล้ายนอแรด บางชนิดมีกิ่งก้านเขานอประดับหัวมาก บางชนิดมีกระบังหลังคลุมท้ายทอย บางชนิดมีสันตัวขึ้นบนหัว พวกที่กล่าวทั้งหมดกินพืชเป็นอาหาร และสืบพันธุ์โดยการวางไข่
                ไดโนเสามีในโลกในสมัยราว ๑๙๐ ล้านปีมาแล้ว และมีอยู่ในโลกจนถึงราว ๑๒๐ ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยที่ยังไม่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
                ต่อมาถึงสมัยราว ๑๒๐ ล้านปีมานี้จึงเกิดมีไดโนเสาชนิดที่มีฟันสำหรับกัดและกินเนื้อสัตว์อื่นๆ ไดโนเสาชนิดหลังนี้พากันกัดฆ่าทำลายไดโนเสาชนิดอื่น จนไดโนเสาหลายชนิดสูญพันธุ์หมดไปจากโลกในระะยะต่อมา           หน้า ๗๒๙๖


ต.

                ๒๐๕๔. ต.พยัญชนะตัวที่ยี่สิบเอ็ดของพยัญชนะไทย นับเป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวที่สองของวรรคที่สี่ ใช้เป็นตัวสะกด แต่มักใช้ในคำที่มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต ในภาษาไทยจัดเป็นพยัญชนะอโฆษะ คือมีเสียงไม่ก้องและออกเสียงเช่นเดียวกับตัว ด. เป็นพยัญชนะเกิดที่ฟันเรียกว่าทันตชะ และมีเสียงระเบิด นอกจากนี้ยังเป็นสิถิล - อโฆษะคือ เสียงเบาและไม่ก้อง           หน้า ๗๓๐๓
            ๒๐๕๕. ตกมัน - ช้าง  ช้างที่โตเป็นหนุ่มแล้ว บางคราวมีน้ำมันไหลเยิ้มออกจากรูของต่อมซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างตากับรูหู ในระยะที่น้ำมันไหลเยิ้มออกมานี้ นิสัยของช้างมักเปลี่ยนเป็นดุร้าย ทำร้ายช้างอื่น และทำลายสร้างความเสียหายอื่น ๆ ควาญช้างหรือคนเลี้ยงช้างต้องคอยสังเกตุ ถ้าเห็นมีน้ำมันไหลจากรูต่อมผิดสังเกตแล้ว ต้องรีบตกปลอกข้อเท้า และล่ามไว้กับหลักให้มัน
                สาเหตุของการตกมันยังไม่ทราบแน่ชัด ช้างตัวผู้บางตัวมีน้ำมันไหลเยิ้มจากต่อมดังกล่าว แต่ช้างนั้นก็คงหากินอยู่ในโขลงตามปกติ ช้างพังบางทีก็มีน้ำมันไหลจากต่อมเช่นกัน และมีอาการหงุดหงิดใช้งานยาก มักไม่รุนแรงและเป็นอยู่ไม่นานก็หายไปเอง            หน้า ๗๓๐๔
            ๒๐๕๖. ตงซิว  เป็นชื่อเทศกาลหนึ่งของจีน เรียกกันทั่วไปว่า "เทศกาลไหว้พระจันทร์" ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด แห่งจันทรคติของจีน เหตุที่เรียกว่า ตงซิว เพราะเทศกาลนี้อยู่กลางฤดูใบไม้ร่วง
                เมื่อถึงเทศกาลนี้ บรรดาชาวจีนจะจัดหาขนมนานาชนิด และเครื่องสำอางค์มาไหว้พระจันทร์ โดยเฉพาะสตรีจะอธิษฐานขอให้เกิดในภพหน้า มีรูปงามดั่งเช่นนางฟ้าในดวงจันทร์            หน้า ๗๓๐๕
            ๒๐๕๗. ตจปัญจกรรมฐาน  มีคำนิยามว่า "กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอากรมีหนังเป็นที่ห้าเป็นอารมณ์ คือกรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ตั้งแต่ผมไปถึงหนัง เป็นห้าอย่าง"
                ส่วนของร่างกายห้าอย่าง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เมื่อว่าตามธรรมที่เป็นอารมณ์ของสมถภาวนา หรือสมถกรรมฐานที่ท่านแสดงไว้ ๔๐ อย่าง ตจปัญจกรรมฐาน ก็คือ กายคตาสติ กรรมฐานในอนุสติ ๑๐ ที่ท่านสอนให้พิจารณากายแยกออกเป็นส่วน ๆ จัดเป็นหมวด หมวดละ ๕ อาการบ้าง ๖ อาการบ้าง รวมได้ ๓๑ ส่วน หรือ ๓๒ ส่วน เรียกว่า อาการ ๓๑ บ้าง อาการ ๓๒ บ้าง (อาการ ๓๑ ตามบาลี อาการ ๓๒ ตามอรรถคถา โดยเพิ่มมันสมองเข้าไปด้วย
                เมื่อว่าตามสมถภาวนา คือ วิธีอบรมจิตให้สอบจากนิวรณ์แล้ว ตวปัญจกรรมฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่กามฉันท์ ซึ่งมีปรกติให้รักสวยรักงาม กรรมฐานนี้มีปรกติให้เห็นน่าเกลียด เห็นโสโครก ผู้มาบรรพชาย่อมได้รับสอนกรรมฐานนี้ไว้ก่อน จากพระอุปัชฌายะ ให้พึงยึดรักษาอารมณ์นั้นไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ และเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาต่อไป เหมือนดังได้รับมอบศัตราวุธ ไว้สำหรับต่อสู้กับข้าศึก คือ กามฉันท์ อันจะทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ พวกภิกษุจึงเรียกกรรมฐาน มูลกรรมฐาน
                กรรมฐานนี้เป็นประโยชน์แก่คนที่มีกามฉันท์เป็นเจ้าเรือน หรือเรียกว่าราคะจริต มีอนิสงส์ไม่ให้ข้องอยู่ในกายตน และกายผู้อื่น            หน้า ๗๓๐๗
            ๒๐๕๘. ตถาคต  เป็นพระนามพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง การนี้ทรงพระนามนี้นั้น เพราะเหตุแปดประการคือ
                        ๑. เพราะพระองค์เสด็จมาเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทุก ๆ พระองค์
                        ๒. เพราะพระองค์เสด็จดำเนินไป เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ๆ นั้น
                        ๓. เพราะพระองค์ทรงหยั่งรู้และเข้าใจลักษณะแห่งความจริง
                        ๔.เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมที่แท้จริงตามความเป็นจริง
                        ๕.เพราะพระองค์ทรงรู้ทรงเห็นความจริง
                        ๖. เพราะพระองค์ทรงกล่าวตามความเป็นจริง
                        ๗. เพราะพระองค์ทรงกระทำดังที่พระองค์ทรงเห็นหรือที่ทรงตรัสนั้น
                        ๘. เพราะพระองค์ทรงเป็นใหญ่ยิ่งกว่าสรรพสัตว์ในโลกทั้งปวง            หน้า ๗๓๑๒
            ๒๐๕๙.  ต้น  (คำว่า -, ในศัพท์ทหารเรือใหญ่) ตำแหน่งที่ขึ้นต้น ต้น คือ ต้นเรือ ต้นหน ต้นปืน ต้นตอร์ปิโด ต้นกล ต้นเด่นนั้น "ต้น" หมายถึง หัวหน้า หรือหัวหน้าแผนก
            ในภาษาไทยโบราณ "ต้น" นี้ที่ใช้อยู่สองประการ ซึ่งไม่เหมือนกันคือ ถ้าใช้ตามหลังคำอื่น แปลว่าอย่างเอก เช่น เรือนต้น เรือต้น เครื่องต้น ช้างต้น ม้าต้น ชีตน เป็นต้น ถ้าไว้หน้าคำอื่น ความหมาย ต เปลี่ยนเป็น "หัวหน้า" เช่น ต้นห้อง ต้นกุญแจ คำว่า "ต้น" ในตำแหน่งทหารเรือ น่าจะมาจากความหมายในประการหลัง            หน้า ๗๓๑๗
            ๒๐๖๐. ต้นกล  หัวหน้าช่างกล (ดูต้น-ลำดับ ที่ ๒๐๕๘ ประกอบ)            หน้า ๗๓๒๔
            ๒๐๖๑. ต้นเรือ รองผู้บังคับการเรือ (ดูเรือ-ลำดับที่ ๒๐๕๘ ประกอบ)             หน้า ๗๓๒๔
            ๒๐๖๒. ต้นหน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายเดินเรือ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการเดินเรือตลอดจนเครื่องมือในการเดินเรือทั้งปวง (ดูต้น - ลำดับที่ ๒๐๕๘ ประกอบ)            หน้า ๗๓๒๕
            ๒๐๖๓. ตน - เต่า (ดูจะละเม็ด๑ ลำดับที่ ๑๒๙๗ ประกอบ) เป็นชื่อเต่าทะเลชนิดหนึ่ง เป็นเต่าขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก กระจายพันธ์อยู่ในเขตร้อน หรือใต้เขตร้อน
                กระดองของเต่าชนิดนี้บางเหมือนกระดองเต่ากระ เหมาะที่จะทำเครื่องประดับ ไข่เต่าตนุเหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารมาก             หน้า ๗๓๒๕
            ๒๐๖๔. ตบ - ผัก  เป็นพันธุ์ไม้น้ำชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามคูคลอง ท้องร่อง ที่น้ำค่อนข้างนิ่ง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลำต้นเล็กๆ จะเรียกเหง้าก็ได้ ฝังจมอยู่ในโคลนเลน แล้วส่งหน่อขึ้นมา ทุกหน่อที่งอกจะมีกาบใบหุ้มมิดชิด ตอนปลายสุดตรงของก้านใบ
                มีพันธุ์ไม้วงศ์เคียงข้างผักตบ แตกต่างสกุลกัน และเป็นของต่างประเทศเรียกว่า ผักตบชวา เป็นไม้น้ำ ลอยตามฝั่งได้ เจริญรวดเร็ว กลายเป็นวัชพืชที่สร้างความยุ่งยากแก่พืชน้ำ            หน้า ๗๓๒๕
            ๒๐๖๕. ตบะ ๑  โดยรูปคำแปลว่า ความเร่าร้อนหรือความเผาพลาญ หมายถึง วิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัว มีมาแต่สมัยพระเวท (ฤคเวท) จนถึงสมัยอุปนิษัท
                ในชั้นเดิมคือ ในสมัยพระเวทตอนต้น การบำเพ็ญตบะยังจัดอยู่ในขั้นของพิธีกรรม ที่เรียกว่า ยัญ ได้แก่การเซ่นสรวงบูชา เป็นการทำอย่างเคร่งเครียด และพยายามมาก เป็นการทรมานกายอยู่ในตัว เพื่อให้เทพเจ้าเห็นใจให้ความกรุณาให้ความสำเร็จ ในสิ่งที่ร้องขอ ในตอนปลายสมัยพระเวท การบำเพ็ญตบะเป็นไปในทางบังคับเทพเจ้า ทำให้เทพเจ้าเร่าร้อน จนต้องอำนวยผลให้แก่ผู้บำเพ็ญตบะ
                ต่อมาในสมัยอุปนิษัท นอกจากหวังเพื่อฤทธิ์อำนาจแล้ว ยังหวังประโยชน์เพื่อคติธรรมด้วย เป็นการย่างตนเอง ย่างกิเลสให้เหลือแต่ความบริสุทธิ์ เพื่อจะได้เข้าถึงพรหม ความคิดนี้เกิดมาจากเรื่องกรรม เพื่อจะใช้กรรมชั่วที่ตนทำไว้ คือรับกรรมเสียทันที เพื่อไม่ต้องรับความทรมานไปในภายหน้า อีกประการหนึ่งและเห็นกันว่ากิเลสเครื่องเศร้าหมองใจทั้งหลาย ก็เนื่องมาจากความผาสุขของร่างกาย ทางที่จะดับความปรารถนานี้ คือ ทรมานร่างกายเสียเอง กิเลสก็จะหมดไป เรื่องการทรมานร่างกาย ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "อัตตกิลมถานุโยค" ยังมีหลักปฏิบัติทางศาสนา ที่คู่กับตบะอีกอย่างหนึ่งในยคุ อุปนิษัทคือ โยคะ (ดูโยคา - ลำดับที่...)
                ๒. ในทางพระพุทธศาสนา ตบะมีความหมายหลายอย่าง คือ หมายถึง อินทรียสังวร คือการสำรวม-อินทรีย์หก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ควบคุมความรู้สึกที่เป็นปฏิกิริยาต่อการรับรู้ ทางอายตนะต่าง ๆ ให้เป็นไปแต่ในทางที่ดีงามไปให้กิเลสเข้าครอบงำ ประการหนึ่ง
                    ตบะ หมายถึง ความเพียร (อันเป็นความเพียรชอบที่เรียกว่า สัมมาวายะมะ เป็นองค์หนึ่งในอริยมรรค มีองค์แปดประการคือ - เพิ่มเติม)
                    ตบะ หมายถึง ขันติ คือ ความอดทนที่จะดำรงตนอยู่ในทางอันจะไปสู่จุดหมายของตนอย่างแน่แน่ มั่นคง จบบรรลุความสำเร็จประการหนึ่ง
                    ตบะ หมายถึง อธิจิต คือการฝึกจิตอย่างสูง หรือข้อปฏิบัติทั้งหลายในฝ่ายสมาธิ
                    ตบะในพระพุทธศาสนาจึงหมายถึงการเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ตัดความกังวลในการแสวงหาสิ่งปรนปรือความสุขแก่ตนเอง ให้เหลือน้อยที่สุด ให้เหลือเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ เพื่อจะได้มุ่งอุทิศและจะสั่งตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ ของตน ซึ่งได้แก่ บำเพ็ญ สมณธรรม ฝึกอบรมจิต            หน้า ๗๓๒๖
            ๒๐๖๖. ตรรกศาสตร์, ตรรกวิทยา - วิชา  เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผลอันเป็นหลักกลาง, นำไปใช้กับวิชาอะไรก็ได้ทั้งสิ้น
                ปัจจุบันได้มีผู้พยายามที่จะขยายขอบเขตของตรรกศาสตร์คลุมไปถึงวิชาคณิตศาสตร์ คือถือว่าวิชาคณิตศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของตรรกศาสตร์
                วิชาตรรกศาสตร์มีวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ที่จะใช้หลักเกณฑ์ในการใช้เหตุผล คำว่า "เหตุผล" ในวิชาตรรกศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่นำมายืนยันความจริง หรือยืนยันความคิดเห็นอันใดอันหนึ่ง เมื่อเราเชื่อว่าข้อความหนึ่งเป็นจริง และมีอะไรบางอย่างมาสนับสนุน ก็เรียกได้ว่าความเชื่อนั้นมีเหตุผล สิ่งที่เรานำมาสนับสนุนความเชื่อของเรานั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรก เราเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นความจริง เพราะยอมรับความจริงบางอย่างอยู่แล้ว วิธีนี้เรียกวิธี นิรนัย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ วิชาคณิตศาสตร์ อีกประเภทหนึ่งเราเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าเป็นความจริง เพราะอาศัยประสบการณ์ของเราหรือของผู้อื่น วิธีนี้เรียกว่าวิธี อุปนัย เป็นวิธีที่ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์            หน้า ๗๓๓๕
            ๒๐๖๗. ตรอน  อำเภอขึ้น จ.อุตรดิตถ์ ภูมิประเทศทางทิศตะวันออกเป็นที่ดอน  มีป่าไม้เบญจพรรณ และภูเขา ทางทิศตะวันตกเป็นที่ลุ่ม ทำนาได้
                อ.ตรอน เดิมตั้งที่ว่าการที่ ต.บ้านแก่ง ต่อมาย้ายมาตั้งที่ ต.วังแดง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑             หน้า ๗๓๓๘
            ๒๐๖๘. ตระ - เพลง  เป็นเพลงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ในสมัยโบราณบรรเลงด้วยวงปีพาทย์อย่างเดียว และเป็นเพลงในจำพวกที่เรียกว่า "เพลงครู" เพราะก่อนที่นักดนตรีจะเรียนร้องเพลงตระ จะต้องทำพิธีไหว้ครู และครูผู้เป็นประธาน จับมือตีเป็นการครอบประสิทธิประสาทเสียก่อน แล้วจึงจะต่อและบรรเลงประเภทตระต่าง ๆ ได้
                เพลงตระ มีอยู่สองประเภท คือเพลงตระในอัตราสองชั้น กับเพลงตระในอัตราสามชั้น
                      เพลงตระอัตราสองชั้น  ใช้กันเป็นเพลงหน้าพากย์ คือบรรเลงประกอบกิริยาต่าง ๆ ในการบรรเลงประกอบโขนละคร หรือประกอบกิริยาสมมุติในการพิธีต่าง ๆ  เช่น พิธีไหว้ครู เป็นต้น เพลงตระเหล่านี้มีชื่อต่าง ๆ ตามกิริยาที่ประกอบบ้าง เป็นนามเทพเจ้าที่ประสงค์จะเคารพบูชาเพื่ออันเชิญบ้าง
                      เพลงตระอัตราสามชั้น  ใช้บรรเลงในชุดโหมโรงเย็น หรือโหมโรงในการแสดงมหรสพต่าง ๆ ก่อนเพลงรัวสามลา เพลงตระประเภทนี้มีมากมายหลายตระ และมีชื่อต่าง ๆ กัน            หน้า ๗๓๓๘
            ๒๐๖๙. ตระการพืชผล  อำเภอขึ้น จ.อุบลราชธานี ภูมิประเทศตอนเหนือ และตอนตะวันออกเป็นที่ดอน และเป็นป่าทึบ ตอนกลางเป็นที่ราบ ตอนใต้และตอนตะวันตก เป็นที่ลุ่ม
                อ.ตระการพืชผล เดิมเป็นเมืองชื่อเป็น พนานิคม ตั้งอยู่ที่ ต.พนา ต่อมายุบเป็น อ.พนานิคม แล้วย้ายไปตั้งที่ ต.ขุหลุ ยังคงเรียกชื่อเดิม ภายหลังซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ขุหลุ ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๒ เปลี่ยนชื่อเป็น อ.พนานิคม ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ เปลี่ยนชื่อเป็น อ.ตระการพืชผล            หน้า ๗๓๔๑
            ๒๐๗๐. ตรัง ๑ - พระยา  เป็นกวีมีชื่อเสียงคนหนึ่ง ในรัชกาลที่หนึ่ง และรัชกาลที่สอง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เป็นพระยาตรัง ในรัชกาลที่สอง ได้แต่งโคลงนิราศไว้เรื่องหนึ่งเรียกว่า "นิราศพระยาตรัง" พวกกวีแต่ก่อนยกย่องกันเข้าไว้ในตำรา กับแต่งโคลงดั้นยอพระเกียรติรัชกาลที่สอง ไว้อีกเรื่องหนึ่ง ต่อมาได้พบ เพลงยาวนิราศพระยาตรัง แต่งเมื่อครั้งไปวางตราเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง
                สำนวนพระยาตรังแต่งกลอนสู้แต่งโคลงไม่ได้ งานด้านกวีนิพนธ์ของพระยาตรังเท่าที่ปรากฎคือ
                    ๑. โคลงนิราศดาบเสด็จลำน้ำน้อย เป็นนิราศประเภทดั้น ตอนต้นแต่งเป็นแบบโคลงดั้นบาทกุญชร ตอนปลายแต่งแบบโคลงดั้นวิวิธมาลี
                    ๒. โคลงนิราศถลางหรือนิราศพระยาตรัง เป็นโคลงสี่สุภาพ แต่งในรัชกาลที่สอง คราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ไปรบพม่าที่มาตีเมืองถลาง ในปี พ.ศ.๒๓๕๒
                    ๓. โคลงดั้นยอพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                    ๔. โคลงกระทู้เบ็ดเตล็ด แต่งไว้ ๑๗ บท และมีโคลงกลอีกสองชนิด ที่แต่งแสดงแบบไว้คือ โคลงกล"กรนารายณ์ "สามบท และ"นารายณ์กางกร" หกบท
                    ๕. เพลงยาว สำนวนแต่งพอประมาณ ไม่ถึงขั้นดี            หน้า ๗๓๔๓
            ๒๐๗๑. ตรัง ๒  จังหวัดภาคใต้ อาณาเขตทิศเหนือจด จ.นครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจด จ.พัทลุง ทิศใต้จด จ.สตูล และตกทะเลในช่องแคบมะละกา
                จังหวัดตรัง มีแม่น้ำตรังเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ในแถบนั้น เรือกลไฟขนาดระวาง ๓๐๐ หรือ ๔๐๐ ตัน เขาไปได้ถึง อ.กันตัง
                    ภูมิประเทศ  พื้นที่แบ่งออกเป็นสามตอน คือตอนเหนือ ซึ่งติดต่อกับเขาบรรทัดเป็นที่เนินสูง ๆ ต่ำ ๆ มีที่ราบอยู่ระหว่างเนินและตามลุ่มน้ำ มีป่าไม้ใหญ่ ๆ ตอนกลาง เป็นที่ลาดต่อเนื่องมาจากตอนเหนือ พื้นที่เป็นที่ราบดินแดง เหมาะแก่การเพาะปลูก ตอนใต้ เป็นที่ราบต่ำริมทะเล เพาะปลูกได้ นอกนั้นเป็นป่าไม้และทะเล
                    จังหวัดตรัง มีเกาะใหญ่น้อยงาม ๆ หลายแห่ง มีถ้ำและรังนกตามเกาะเหล่านั้น
                    จังหวัดตรัง เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ในบรรดาหัวเมืองปักษ์ใต้ ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนี้เป็นเมืองขึ้นเมืองนครฯ พญาศรีธรรมาโศกราช ทรงตั้งขึ้นพร้อมกับหัวเมืองอื่น ๆ สักสิบเอ็ดหัวเมือง เรียกว่า เมืองขึ้นสิบสองนักษัตร ในส่วนเมืองตรังว่าเป็นเมืองนักษัตรปีมะเมีย ถือตราม้า
                    จังหวัดตรัง ในรัชกาลที่สามตั้งอยู่ใน ต.ควนธานี ริมแม่น้ำตรัง ต่อมาราวปี พ.ศ.๒๔๓๕ จึงย้ายไปตัวเมืองไปอยู่ที่ อ.กันตัง ถึงปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้ย้ายไปอยู่ที่ ต.ทับเที่ยง อ.บางรัก คือ อ.เมืองตรังปัจจุบัน          หน้า ๗๓๔๗
            ๒๐๗๒. ตรังกานู  เป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในแหลมมลายู ปัจจุบันใช้เรียกชื่อรัฐหนึ่ง ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแหลมมลายู ทิศเหนือและทิศตะวันออกตกทะเลจีนใต้ ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดรัฐปาหัง ทิศตะวันตกจดรัฐกลันตัน มีพื้นที่ประมาณ ๘,๐๘๘ ตารางกิโลเมตร
                ก่อนที่ตรังกานูจะตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ นั้น ตรังกานูเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาก่อน แต่เดิมตรังกานูเป็นเมืองเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับเมืองปัตตานี เคยตกอยู่ในปกครองของอาณาจักรศรีวิชัยของไทย และของมะละการะหว่างที่ตกอยู่ในปกครองของมะละกา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นั้น ตรังกานูเริ่มรับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว ครั้นถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าเมืองปัตตานีได้รับกำลังอุดหนุนจากเมืองยะโฮร์ สามารถตั้งตนเป็นเมืองใหญ่ขึ้น ต่อมาเจ้าเมืองยะโฮร์ก็ให้ตุวันมาโชผู้เป็นน้องเขยไปเป็นเจ้าเมืองตรังกานู หลังจากนั้นตุวันมาโชและพี่ชายไปตีเมืองกลับตันได้เมืองกลับตัน จึงแยกมาขึ้นกับเมืองตรังกานู
                ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองปัตตานีได้ พระยาตรังกานูจึงจัดทำต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการมาทูลเกล้า ฯ ถวาย ขอเป็นเมืองประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพ ฯ ด้วย
                ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๓๒ - ๒๓๓๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดให้ยกเมืองสงขลามาขึ้นตรงก่อกรุงเทพ ฯ พระองค์ก็โปรด ฯ ให้เจ้าเมืองสงขลากำกับหัวเมืองหน้าแขก รวมทั้งตรังกานูและปัตตานีด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๕๘ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด ฯ ให้เมืองนครศรีธรรมราชกำกับเมืองไทรบุรี และกลันตัน ซึ่งไม่ประสงค์จะขึ้นกับเจ้าเมืองตรังกานูต่อไป
                ครั้นถึง ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ อังกฤษเริ่มขยายอำนาจเข้ามาในแหลมมลายู อังกฤษได้ส่งนาย เฮนรี เบอร์นี มาทำสนธิสัญญากับไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙ มาตราหนึ่งในสนธิสัญญานี้รับรองความเป็นเจ้าอธิราชของไทยเหนือตรังกานู ไทรบุรี และกลับตัน
                ในปี พ.ศ.๒๔๐๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรหัวเมืองปักษ์ใต้ พระยาตรังกานู ได้ถือโอกาสเข้าเฝ้า ฯ ถวายสิ่งของตามธรรมเนียม นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระเจ้าแผ่นดินไทยเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ถึงเขตแดนมลายู และในปี พ.ศ.๒๔๐๔ กรมการเมืองตรังกานู ได้เข้ามาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ตามพระราชประะเพณี โดยสุลต่าลมะหมุดดินทางมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จออกรับแขกเมืองอย่างใหญ่ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่สุลต่าลมะหมุด ฝ่ายสุลาต่าลมะหมุดได้ถวายน้องหญิงต่างมารดา ชื่อ ตนกูสุปิย อายุ ๒๓ ปี ให้รับราชการในพระบรมมหาราชวัง
                สุลต่านมะหมุด เป็นสุลต่านนอกบัลลังก์แห่งลิงา ถูกฮอลันดาปลดออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองลิงา ในปี พ.ศ.๑๔๐๐ จึงพาครอบครัวไปอยู่ที่สิงคโปร์ หลังจากกลับจากกรุงเทพ ฯ ไม่นานก็ได้คบคิดกับหวันอาหมัด (น้องชายบันดาหราเจ้าเมืองปาหัง) ซึ่งหลบหนีมาอยู่ที่เมืองตรังกานู วางแผนรบกับบันดาหราเจ้าเมืองปาหัง พระยาตรังกานู เกรงว่าไทยจะยกกองทัพมาช่วยสุลต่านมะหมุด จึงไปขอความช่วยเหลือจากสิงคโปร์ เพื่อต่อต้านไทยแต่ไม่สำเร็จ ในเวลาเดียวกันปันดาหรา เจ้าเมืองปาหังก็ฟ้องร้องไปยังเจ้าเมืองสิงคโปร์ ทางสิงคโปร์มีหนังสือมายังเซอร์โรเบิร์ต ชอม เบอร์ก กงสุลประจำกรุงเทพ ฯ ให้ต่อว่ารัฐบาลไทย และขอให้ไทย พาตัวสุลต่าลมะหมุดออกไปจากตรังกานู เมื่อทางไทยแจ้งว่าสุลต่านมะหมุดมิใช่คนบังคับไทย แต่ไทยก็จะส่งเรือไปรับมากรุงเทพ ฯ คงขอให้รอหมดหน้ามรสุมก่อน สิงคโปร์เข้าใจว่าไทยบ่ายเบี่ยงจึงส่งเรือปืนสองลำไปเมืองกัวลา ตรังกานูยื่นคำขาดให้สุลต่านมะหมุดออกจากตรังกานูไปกรุงเทพ ฯ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง เมื่อไม่ได้รับคำตอบจึงเข้าโจมตีเมืองตรังกานู เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้รัฐบาลไทยไม่พอใจ จึงมีหนังสือไปยังเสนาบดีว่าการต่างประเทศ ที่กรุงลอนดอน มีผลทำให้เจ้าเมืองสิงคโปร์ถูกเรียกตัวกลับ และเปลี่ยนเจ้าเมืองใหม่
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ อังกฤษซึ่งดำเนินนโยบายไม่แทรกแซงในมลายูเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๑๕ จึงเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ โดยได้เข้าไปแทรกแซงในดินแดนแห่งนี้ ระว่างปี พ.ศ.๒๔๑๗ - ๒๔๓๑ รัฐต่าง ๆ ทางภาคใต้ของไทยก็ตกไปอยู่ใต้อิทธิพลของอังกฤษ เช่น เปราะ สลังงอ เนกรีเซมบิลัน และปาหัง และหลังปี พ.ศ.๒๔๓๘ รัฐทั้งสี่นี้ก็ได้เข้าเป็นสหพันธรัฐมลายู
                ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๓๖ - ๒๔๓๗ ฝรั่งเศสสนใจจะขุดคอคอดกระ ส่วนรัสเซียก็มีโครงการจะขอสัมปทานบนเกาะภูเก็ตหรือบริเวณใกล้เคียง เพื่อตั้งสถานีถ่านหิน ทำให้อังกฤษเกิดความกังวลจึงเตือนไทย มิให้ยกสัมปทานในดินแดนของไทย ในมลายูให้แก่ชาติยุโรปโดยไม่ปรึกษาอังกฤษ ยังผลให้มีการเจรจาและลงนามในอนุสัญญา ไทย - อังกฤษ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๐ อนุสัญญานี้ถือเป็นความลับ เพราะบรรจุใจความเป็นทำนองต่อต้านเยอรมนี และเป็นเชิงท้าทายฝรั่งเศส เพราะไทยสัญญาว่าจะไม่ยกสิทธิใด ๆ เหนือดินแดนหรือเกาะทางตอนใต้ของเมืองบางสะพาน ให้แก่มหาอำนาจใด ๆ ส่วนอังกฤษก็สัญญาว่า จะช่วยเหลือไทยต่อต้านมหาอำนาจที่สาม ซึ่งพยายามจะเข้าไปแสวงหาอาณานิคม หรือสร้างอิทธิพลในดินแดนดังกล่าว และยืนยันความเป็นเจ้าประเทศราชของไทย เหนือรัฐบาลมลายูรวมทั้งตรังกานูด้วย
                ไทยกับอังกฤษได้ลงนามในสนธิสัญญาต่อกันเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๒ รัฐบาลไทยยอมโอนอำนาจการปกครองดูแลเหนือรัฐตรังกานู กลันตัน ไทรบุรี ปะลิส และเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษก็ยอมเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และอำนาจศาลกงสุลให้แก่ไทย
                ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ตรังกานูก็เข้าร่วมอยู่ในสหพันธรัฐมลายู ตรังกานูจะมีกรณีพิพาทกับ กลันตันเกี่ยวกับตำบล เบอสุต ซึ่งตัวอยู่ตรงพรมแดนทางเหนือ ระหว่างสองรัฐ และเนื่องจากตรังกานูไม่มีถนน หรือทางรถไฟเชื่อมดินแดนอื่น ๆ ในแหลมมลายู ตรังกานูจึงถูกตัดขาดจากมลายูตะวันตก ซึ่งได้รัการพัฒนา            หน้า ๗๓๕๒
            ๒๐๗๓. ตรัน วัน ตรี  เป็นชายญวน รับราชการอยู่ ณ ราชสำนักวงศ์เหงียนที่เมืองเว้ โดยขึ้นต่อองเชียงสือ ในปี พ.ศ.๒๓๐๘ เมื่อจักรพรรดิ์วูววงสิ้นพระชนม์ เสนาบดีตรวงฟุกโลน ถือโอกาสถวายราชสมบัติแก่โอรสผู้เยาว์องค์หนึ่ง และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ
                เวีดนามในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๓ แบ่งออกเป็นสองอาณาจักร ส่วนเหนือประกอบด้วยตังเกี๋ย และอันหนำ ตอนเหนือเขตนี้อยู่ในอำนาจของขุนนางตระกูลตรินห์ เป็นผู้สำเร็จราชการในนามของจักรพรรดิ์ ราชวงศ์เล เมืองหลวงอยู่ที่ฮานอย อาณาจักรได้ประกอบด้วยอันหนำตอนใต้ ซึ่งญวน ได้ยึดจาก จามและโคจินจีน ซึ่งญวนยึดจากเขมร ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ กับปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ อาณาจักรนี้อยู่ในความปกครองของตระกูลเหงียน ซึ่งประกาศแยกตัวออกอจากอาณาจักรเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๔๓ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์เหงียน เมืองหลวงอยู่ที่เมืองเว้
                ในปี พ.ศ.๒๓๑๖ ได้เกิดขบถขึ้นในอาณาจักรใต้ เริ่มที่ตำบลไตเซิน หัวหน้าเป็นพี่น้องตระกูลเหวียนสามคน เข้ายึดเมืองที่ขบถได้ ในขณะเดียวกันตระกูลมัก ก็ถือโอากาสเข้ายึดเมืองเว้ ในขณะที่กองทัพเหวียนยกมาปราบขบถที่ กีนอน เจ้าราชวงศ์เหวียนส่วนมากจึงพากันอพยพลงมาที่เมืองไซ่ง่อน องเชียงซุน อนุชาองค์หนึ่งของจักรพรรดิ์เวียนได้หลบหนีเข้ามากรุงธนบุรี
                ตวัน วัน ตรี ได้ติดตามองเชียงสือมาเมืองไซ่ง่อนด้วย และได้ร่วมต่อต้านทัพขบถ ซึ่งติดตามมาโจมตีเมืองไซ่ง่อน และยึดเมืองไซ่ง่อนได้ถึงสามครั้ง ครั้นปี พ.ศ.๒๓๒๖ องเชียงสือได้หนีมาพึ่งไทย รวมทั้ง ตวัน วัน ตรี ด้วย
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดให้ยกกองทัพไปช่วยองเชียงสือ ตีเมืองคืนถึงสองครั้ง ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ และ ๒๓๒๗ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่ายขบถไตเซินสามารถปราบปรามตระกูลตรินห์ได้ จักรพรรดิราชวงศ์เล หลบหนีไปประเทศจีน พวกขบถจึงยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด
                ในปี พ.ศ.๒๓๓๐ องเชียงสือ พร้อมด้วย ตวัน วัน ตรีได้หลบหนีกลับไป โคจิมจีนและปราบปรามขบถไตเซินลงได้ องเชียงสือสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ์แห่งเวียดนาม มีพระนามว่ายาลอง ณ เมือง เว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕        หน้า ๗๓๖๗
            ๒๐๗๔. ตรัยตรีงศ์ ๑ - เมือง  ตั้งอยู่ใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนานกับแม่น้ำ ยาว ๘๔๐ เมตร กว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร ปัจจุบันยังมีกำแพงคูเมือง มีประตูเมืองด้านละหนึ่งประตู มีวัดอยู่สองวัดอยู่ในกำแพงเมือง คือ วัดเจ็ดยอดและวัดพระปรางค์ นอกกำแพงเมือง ด้านตะวันออกมีวัดพระธาตุ
                เดิมที่ตั้งเมืองตรัยตรึงษ์เป็นเมืองอยู่แล้ว ชื่อเมืองแปบ แต่เป็นเมืองร้าง ผู้สร้างนั้นในหนังสือตำนานสิงหนวดิกุมารว่าได้แก่ พระองค์ชัยสิริ ซ้ำอพยพหนีข้าศึกจากเมืองชัยปราการ ลงมาทางใต้ เมื่อปี พ.ศ.๑๕๔๗            หน้า ๗๓๗๐
            ๒๐๗๕. ตรียตรึงศ์ ๒  สวรรค์ชั้นที่สอง แห่งสวรรค์หกชั้นฟ้าที่พระอินทรครอง นอกจากเรียกว่า ตรัยตรีวงศ์ แล้ว ยังเรียกดาวดึงส์บ้าง ตรีทศบ้าง หรือไตรทศบ้าง (ดูดาวดึงส์ - ลำดับที่ ๑๙๘๑ ประกอบ)           หน้า ๗๓๗๓
            ๒๐๗๖. ตรา  คือเครื่องหมายที่มีลวดลายและทำเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ตราพระครุฑพ่าห์ สำหรับเป็นเครื่องหมาย สำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์
                คำตรานี้ ถ้าเป็นราชาศัพท์เรียกว่า พระราชสัญจกร คือพระตราสำหรับใช้ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน            หน้า ๗๓๗๓
            ๒๐๗๗. ตราขุนพล  เป็นรูปกากบาทที่เอาปูนแดงเขียนที่ก้นหม้อตาลซึ่งเป็นหม้อที่ทำขึ้นโดยเฉพาะ สำหรับใส่น้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลมะพร้าว แล้วเขียนเป็นวงกลมเล็ก ๆ อีกสองวง แล้วเอาไปสวมบนปลายไม้ปักไว้ที่หน้าบ้าน หรือตรงเชิงบันได จะขึ้นเรือนหันก้นหม้อที่มีตราขุนพลออกทาง บอกให้เห็นชัดเพื่อป้องกันผีห่า (อหิวาตกโรค) โดยเฉพาะตามมติโบราณถือว่า พวกผีภัย ผีเลว เป็นผีอันธพาล ผีพวกนี้แม้เราจะเอาใจไหว้อย่างไรก็ไม่วายทำความเดือดร้อนให้ จึงต้องหาทางป้องกันไว้ เช่น ผูกตะกรุดพิสมรและคาดผ้าประเจียดลงเอายันต์ตลอดจนคาถาอาคม วงด้ายสายสิญจน์ หรือปักเฉลงไว้ตามเขตบริเวณบ้าน ปิดเลายันต์ไว้ที่ประตู เป็นต้น            หน้า ๗๔๑๗
            ๒๐๗๘. ตราจอง  คือหนังสือใบอนุญาต ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้จับจองที่ดิน มีกำหนดเวลาให้ผู้รับอนุญาตทำประโยชน์ภายในสามปี นับแต่วันได้รับตราจอง
                ที่ดินตามใบอนุญาตให้จับจองนี้โอนกันไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดไปยังทายาทโดยธรรมโดยทางมรดกเท่านั้น            หน้า ๗๔๑๘
            ๒๐๗๙. ตราชู  เป็นเครื่องชั่ง มีฐานสำหรับใส่ของที่ชั่งสองข้าง คำตราชูนั้น อาจมาจากภาษาเปอร์เซียก็ได้ คำนี้ในภาษามลายูก็มี ภาษาเปอร์เซียก็มี
                ตราชู นอกจากจะใช้เป็นเครื่องชั่งแล้ว ยังมีความหมายไปในทำนองว่า เที่ยงตรง หรือยุติธรรม จึงนำมาใช้เป็นตราของกระทรวงยุติธรรม เรียกว่า ตราพระดุลพ่าห์            หน้า ๗๔๒๐
            ๒๐๘๐. ตราด  จังหวัดภาคตะวันออก มีอาณาเขตทิศเหนือจด จ.จันทบุรี และประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกจดทิวเขาบรรทัด ซึ่งแบ่งเขตแดนประเทศไทย กับประเทศกัมพูชา ทิศใต้ตกทะเลในอ่าวไทย ทิศตะวันตกจด จ.จันทบุรี และตกทะเลในอ่าวไทย ภูมิประเทศเป็นป่าราวครึ่งหนึ่ง ตอนเหนือเป็นที่สูงและป่าทึบ ตอนกลางเป็นที่ราบ ราวสองในสามเป็นป่าราวหนึ่งในสาม ตอนใต้เป็นที่ราบชายทะเล
                ตราดเป็นเมืองขึ้นกรมท่า ด้วยเหตุที่อยู่ต่อแดนเขมร จึงเป็นเมืองหน้าศึกทางด้านนั้น จ.ตราด ได้ตกอยู่ความครอบงำของฝรั่งเศสครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ ถึงปี พ.ศ.๒๔๕๐            หน้า ๗๔๒๒
            ๒๐๘๑. ตราแดง เป็นหนังสือสำหรับที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานออกให้เจ้าของนา เพื่อประโยชน์ในการเก็บอากรค่านา หรือเก็บเงินหางข้าวค่านา ที่ทำได้ผลดีมาก
                หนังสือชนิดนี้ ออกให้สำหรับที่นาในท้องที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) อ่างทอง สุพรรณบุรี และลพบุรี ข้าหลวงเดินนาเป็นเจ้าหน้าที่ทำตราแดง ออกให้แก่เจ้าของที่นา สำหรับเก็บเงินค่านา เก็บตามจำนวนที่ดินในตราแดงนั้น            หน้า ๗๔๒๕
            ๒๐๘๒. ตราพญา - พระเจ้า  เป็นเจ้าเมืองพะโค เป็นพันธมิตรกับพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ต่อมาได้คิดร้ายต่อพระเจ้าฟ้ารั่วจึงถูกประหาร            หน้า ๗๔๓๐
            ๒๐๘๓. ตราภูมิ  มีคำนิยามว่า  "หนังสือคู่มือสำหรับคุ้มส่วยสาอากร และการเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น" เกี่ยวเรื่องตราภูมินี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงมีประกาศไว้เป็นใจความว่า แต่ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดพระราชทานตราภูมิคุ้มห้ามให้กับไพร่หลวง แด่หมู่ฝีพายเรือพระที่นั่ง ฯลฯ ช่างลางหมู่โขลงรามัญดั้งทองดาบสองมือ อาสาจามกองทะเล ฯลฯ ทหารรักษาพระองค์ล้อมพระราชวัง ให้คุ้มค่าน้ำ ค่าตลาด สมพักศรได้เพียงราคาตำบลหนึ่ง ภายหลังมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ พระราชทานตราภูมิให้กับไพร่หลวงทุกหมู่ทุกกรม            หน้า ๗๔๓๐
            ๒๐๘๔. ตราสัง  มีคำนิยามว่า "มัดศพ ผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ" การมัดศพที่เรียกกันว่าตราสังมีพิธีทำต่าง ๆ กัน ในรายละเอียดแล้วแต่เกจิอาจารย์ ตามหนังสือประเพณีทำศพฉบับหอสมุดแห่งชาติมีความว่า เมื่อได้จัดการแต่งตัวศพเรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นศพผู้ดีเขาทำถุงผ้าขาวสวมศีรษะ สวมมือทั้งสองข้างแล้วให้ถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน แล้วสวมเท้า แล้วเอาด้ายดิบเส้นขนาดนิ้วก้อยทำเป็นบ่วงสวมคอบ่วงแรก บ่วงที่สองมัดรอบหัวแม่มือ และข้อมือทั้งสองข้างให้ติดกัน บ่วงที่สามรัดรอบหัวแม่เท้า และข้อเท้าทั้งสองข้างให้ติดกัน เรียกว่า ตราสังหรือดอยใน
                เมื่อเสร็จแล้วห่อด้วยผ้าขาวยาวสองชาย ชายผ้าทั้งสองอยู่ทางศีรษะสำหรับขมวดเป็นก้นหอยแล้วมัดด้วยด้ายดิบขนาดนิ้วมือ มัดขึ้นมาเป็นเปราะ ๆ แล้วมารีดกับชายผ้าที่ขมวดเป็นก้นหอยอยู่บนศีรษะให้แน่น
                การตราสังศพ เห็นจะเป็นประเพณีเก่าแก่สืบมาแต่โบราณ ดังมีกล่าวถึงอยู่ในเรื่องลิลิตพระลอ            หน้า ๗๔๓๕
            ๒๐๘๕. ตราสารเครดิต  เป็นคำที่ใช้ในวงการธุรกิจ และธนาคาร หมายถึง เอกสารที่ต้องการชำระเป็นเงิน ตราสารเครดิตจะต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ แสดงคำมั่นสัญญาจะจ่ายเงิน หรือแสดงคำสั่งให้จ่ายเงิน ตราสารเครดิตประกอบด้วยเอกสารหลายประเภท อนึ่งตราสารเครดิตนี้ อาจแบ่งเป็นประเภทเปลี่ยนมือได้ และประเภทเปลี่ยนมือไม่ได้             หน้า ๗๔๓๗
            ๒๐๘๖. ตรีกะ  เป็นระบบปรัชญาอินเดียระบบหนึ่ง ท่านวสุคุปตะเป็นผู้ตั้งขึ้น เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เคยเจริญรุ่งเรือง อยู่ในบรรดาผู้นับถือ ลัทธิไศวะทางแคชเมียร์ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็เสื่อมไป ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ถือกันว่าแตกสาขามาจากลัทธิไศวสิททานตะ
                หลักปรัชญาสำคัญของระบบปรัชญานี้มุ่งแสดงว่า การรู้แล้วหรือการเข้าถึงพระศิวะเป็นความรู้ขั้นสูงสุด เพราะพระศิวะ เป็นสภาพอันแท้จริงของสากลจักรวาล          หน้า ๗๔๓๘
            ๒๐๘๗. ตรีกาย  คือกายสามของพระพุทธเจ้า ตามความเห็นของพุทธศาสนิกฝ่ายมหายาน กายสามนั้นคือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรยานกาย
                    ธรรมกาย  คือพระกายอันเป็นสาระ หรือภาวะอันสำคัญของความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นภาวะที่จะเข้าสู่ความรู้แจ้ง คือ โพธิ (หรือหมายถึง นิพพาน) ของบรรดาพระพุทธเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งได้แก่ ตัวพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบและทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ ได้แก่ ธยานีพุทธ มีห้าพระองค์คือ พระไวโรจนะ (พระผู้รุ่งเรือง) พระอักโษกยะ (พระผู้ไม่หวั่นไหว) พระรัตนสัมภวะ (พระผู้ประเสริฐ) พระอมิตาภะ (พระผู้ทรงรัศมีหาที่สุดมิได้) พระอโมฆสิทธิ (พระผู้ทรงความสำเร็จอันไม่ตกหล่น)
                    สัมโภคกาย  คือพระกายแห่งความบันเทิง (บันเทิงสุขจากความสำเร็จ) เป็นพระกายทิพย์ (อันเกิดจากความสำเร็จนั้น) มีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป ที่พระพุทธเจ้าย่อมสำแดงปรากฏให้เห็นแก่หมู่พระโพธิสัตว์ ได้แก่ ธยานีโพธิสัตว์ มีห้าพระองค์คือ พระสมันตภัทร (พระผู้ทรงความดีเป็นสากล) พระวชิรปาณี (พระผู้ทรงวชิระ) พระรัตนปาณี (พระผู้ทรงรัตนะ) พระปัทมปาณี (พระผู้ทรงดอกบัวองค์เดียวกับพระอวโลกิเตศวรของอินเดีย หรือกวนอิมของจีน) พระวิศวปาณี (พระผู้ทรงอาวุธ)
                    นิรยานกาย  คือพระกายอันเนรมิตบิดเบือนขึ้น ได้แก่ ร่างกายที่ประกอบด้วยขันธ์ห้า คือร่างกายของมนุษย์ ซึ่งพวกศากมุนี (โคดม)  สำแดงลักษณะอันแท้จริงของพระองค์ ให้ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย ได้แก่ มานุสพุทธ มีห้าพระองค์คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป พระโคดม (ศากยมุนี) พระเมตไตรย            หน้า ๗๔๓๙
            ๒๐๘๘. ตรีกูฎ ๑  เป็นชื่อภูเขาใหญ่ในลังกาทวีป ซึ่งคัมภีร์มหาภารตะ และรามายณะกล่าวว่าเป็นที่ตั้งเมืองลังกา            หน้า ๗๔๔๗
            ๒๐๘๙. ตรีกูฎ ๒  ชื่อภูเขาสามยอดลูกหนึ่งมีลักษณะดุจก้อนเสา ยอดทั้งสามเหมือนกับคีมคีบเชิงเขาพระสุเมรุไว้ ระหว่างยอดทั้งสามเป็นที่ตั้งของอสูรพิภพ            หน้า ๗๔๔๘
            ๒๐๙๐. ตรีโกณมิติ  เป็นชื่อวิชาเกี่ยวกับการวัดรูปสามเหลี่ยมต่าง ๆ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างด้านมุม และพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ถ้ารูปสามเหลี่ยมนั้นอยู่บนระนาบ เรียกว่า ตรีโกณมิติระนาบ ถ้าอยู่บนผิวทรงกลมเรียกว่า ตรีโกณมิติทรงกลม ในวิชานี้ถือเอาอัตราส่วนของด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ในระนาบเป็นหลัก
                เนื่องจากค่าของอัตราส่วนเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของมุนแหลม เราเรียกฟังก์ชั่นเหล่านี้ว่า ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ สำหรับมุมแหลม
                เนื่องจากหน่วยในการวัดมุมที่นิยมใช้มีอยู่สองหน่วยคือ วัดเป็นองศา และราเดียน เราอาจเปลี่ยนมุมจากหน่วยองศาเป็นราเดียน หรือตรงกันข้ามได้
                การแก้รูปสามเหลี่ยมนี้เรานำไปใช้ประโยชน์ในการรังวัดที่ดิน หาส่วนสูงของภูเขา หาความกว้างของแม่น้ำ การสร้างทาง การสร้างอุโมงค์จากคนละข้างของภูเขา มาบรรจบกัน การหาระยะในแนวราบ และแนวดิ่งของวัตถุในที่สูงเมื่อการวัดระยะทางโดยตรงทำไม่ได้ ส่วนวิชาตรีโกณมิติทรงกลมนั้น มีประโยชน์มากในวิชาดาราศาสตร์
                วิชาตรีโกณมิติเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับวิชาเรขาคณิต คือในสมัยอิยิปต์ และบาบิโลน และเจริญขึ้นในสมัยกรีก ปโตเลมีค้นพบกฎเกณฑ์ทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยการพิสูจน์ทางเรขาคณิต ชาวฮินดูและชาวอาหรับ นำเอาวิชาพีชคณิตมาใช้ในการคำนวณทางตรีโกณมิติ การพบลอการีทึมของ จอห์น เนเบียร์ (พ.ศ.๒๐๙๓ - ๒๑๖๐) ช่วยให้การคำนวณแก้รูปสามเหลี่ยมทำได้ง่ายขึ้น            หน้า ๗๔๔๘
            ๒๐๙๑. ตรีชฎา  เป็นชื่อนางรากษสีในเรื่อง รามเกียรติ์เป็นชายาของพญาพิเภก เป็นน้องสะใภ้ของทศกัณฐ์ และเป็นแม่ของนางเบญจาย            หน้า ๗๔๕๓
            ๒๐๙๒. ตรีชวา  เป็นชื่อพันธุ์ไม้ที่กล่าวอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกกุมภกัณฑ์ว่า เป็นพันธุ์สมุนไพรหนุมานไปเก็บจากภูเขาพระสุเมรุ นำมาใช้เป็นยารักษาพระลักษมณ์ ที่ถูกหอกโมกขศักดิ์คู่กันกับต้นสังกรณี            หน้า ๗๔๕๕
            ๒๐๙๓. ตรีทศ ๑  ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง เทวโลกอันเป็นที่เกิดของเทวดา และหมายถึง เทพที่อยู่ในเทวโลก เทวโลกดังกล่าวได้แก่ เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เรียกว่า ตรีทศบ้าง ไตรทศบ้าง (ดูดาวดึง - ลำดับที่ ๑๙๘๑ ประกอบ)
                ส่วนที่หมายถึง เทพ คือเทวดา ๓๓ องค์ รวมทั้งพระอินทร์กับเทพสหจร ซึ่งอยู่ในชั้นดาวดึงส์ด้วยกัน แต่ยกพระอินทร์เสีย           หน้า ๗๔๕๖
            ๒๐๙๔. ตรีทศ ๒  เป็นชื่อหมู่เทวดาของอินเดียหมู่หนึ่งมีจำนวน ๓๓ องค์ ประจำอยู่ในชั้นฟ้าชั้นอากาศ และชั้นพื้นดินชั้นละ ๑๑ องค์            หน้า ๗๔๖๑
            ๒๐๙๕. ตรีทูต ๑  เป็นผู้แทนคนที่สาม การแต่งตั้งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานมาแล้ว
                ประเพณีไทยแต่โบราณ ยศราชทูตไม่มีสูงต่ำแบบฝรั่ง ทูตคงเป็นคณะสามคนเรียกว่า ราชทูต อุปทูต และตรีทูต นับเป็นทูตด้วยกันทั้งสามคน            หน้า ๗๔๖๔
            ๒๐๙๖. ตรีทูต ๒ - อาการ  หมายถึง อาการแสดงระยะสุดท้ายของผู้ป่วยที่เป็นมา บอกให้ทราบว่าความตายกำลังใกล้เข้ามา            หน้า ๗๔๖๘
            ๒๐๙๗ ตรีโทษ - ไข้  ทางแพทย์แผนโบราณว่าเป็นไข้ที่เกิดจากการที่มีสามธาตุ คือ วาต ปิตตะ และเสลดไม่ปรกติ ทางโบราณถือว่าสามธาตุดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญของร่างกาย ถ้าสามอย่างนี้เป็นปกติร่างกายก็เป็นปรกติมีสมดุล ถ้าไม่สมดุลอย่างใดมากหรือน้อยไป หรือบกพร่องร่างกายก็จะไม่ปรกติ ไม่สบาย             หน้า ๗๔๖๙
            ๒๐๙๘. ตรีนวินทุ  เป็นชื่อราชฤาษีตนหนึ่ง ซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุ มีธิดาหลายตน ตนหนึ่งชื่ออิฑาวิทา ได้เป็นชายาพระประชาปัตย์ ต่อมาได้มีบุตรในรามเกียรติ์เรียกว่า ลัสเตียน            หน้า ๗๔๗๐
            ๒๐๙๙. ตรีนิติ  คือพระเจ้าหรือพระบิดา พระบุตรหรือพระเยซู และพระจิตหรือพระวิญญาณูบริสุทธิ์ เป็นสามภาวะ แต่ละภาวะเป็นพระเจ้าสมบูรณ์ในตนเองเสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระบิดาทำให้เกิดพระบุตร พระจิตเนื่องมาจากพระบิดา และพระบุตร ทั้งสามจึงเท่ากับหนึ่ง หรือหนึ่งเท่ากับสาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตรีเอกานุภาพ เป็นคตินับถือในคริสต์ศาสนา
                ความเชื่อเรื่องตรีนิติหรือตรีเอกานุภาพ เนื่องจากคำสอนหลายตอนในการประชุมสังคายนาศาสนาคริสต์ ที่กรุงคอนสแตนดิโนเบิ้ล เมื่อปี พ.ศ.๙๒๕ ประกาศให้คริสต์ศาสนิกชนทุกนิกายยอมรับนับถือเสมอกันหมด แต่มีบางนิกายไม่ยอมรับ เช่น พวกยูนิเตเรียน
            ๒๑๐๐. ตรีบูร  โดยทั่วไปหมายความหลายอย่างคือ
                        ๑. เมืองที่มีป้อมค่ายสามชั้น
                        ๒. ชื่อของพานาสูร เพราะเป็นผู้ครองเมืองสามเมือง ชื่อเต็มว่า ตรีบุราสูร
                        ๓. ชื่อเมืองในสวรรค์ชั้นฟ้าเมืองหนึ่ง
                        ๔. ชื่อรัฐหนึ่งของประเทศอินเดีย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย            หน้า ๗๔๗๕
            ๒๑๐๑. ตรีปกัน, ตรีปักกัน - ยักษ์  เป็นลูกท้าวกุเวรนุราช ผู้เป็นพญาราษสแห่งเมืองกาลวุธ กับนางเกศินี ในคราวพระรามเดินดงครั้งที่สอง โดยมีพระลักษมณ์กับหนุมานตามเสด็จไปด้วย ตรีปกันประพาสป่าไปรบ เกิดรบกันต้องศรพระลักษมณ์ตาย            หน้า ๗๔๗๖
            ๒๑๐๒. ตรีปวาย  เป็นชื่อพิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกกันเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ทำในวันแรมค่ำหนึ่งถึงแรมห้าค่ำ เดือนยี่
                ต่อจากวันแรมค่ำหนึ่ง เดือนยี่ หลังจากทำพิธีรับพระนารายณ์แล้วก็ทำพิธีตรีปวาย ในสถานพระนารายณ์แห่งเดียว ตลอดจนถึงวันแรมห้าค่ำ เดือนยี่ จึงแห่พระนารายณ์อีกครั้งหนึ่งเป็นการส่งพระนารายณ์ เป็นอันเสร็จในวันนี้              หน้า ๗๔๗๙
            ๒๑๐๓. ตรีบุรัม  เป็นชื่ออสูรหรือยักษ์ตนหนึ่งในเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครโสพัส มีฤทธิ์อำนาจมาก แต่เกรงพระนารายณ์ จึงไปตั้งกองกูณฑ์ทำพิธีกรรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำสรภู เพื่อขอพรพระอิศวรให้ตนมีฤทธิ์เดช แม้พระนารายณ์ก็ปราบไม่ได้
                ตรีบุรัม ได้รับพรแล้วก็กำเริบใจ เที่ยวก้าวร้าวไปทั่วสวรรค์ทั้งหกชั้นฟ้า พวกเทวดาจึงพากันไปฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงให้ไปเชิญพระพรหม และพระนารายณ์ลงมาเตรียมทำศึกกับตรีบุรัม พร้อมแล้วยกกองทัพไปล้อมนครโสพัสไว้ พระอิศวรแผลงศร ซึ่งมีลูกศรทำด้วยกำลัง พระนารายณ์ยิงตรีบุรัมสามครั้ง แต่ลูกศรไม่ยอมไปเพราะพระนารายณ์บรรทม เมื่อพระอิศวรทิ้งศรลง แล้วทราบทูลให้ทราบเหตุ พระอิศวรจึงใช้พระเนตรที่สาม คือตาไฟสังหารตรีบุรัม            หน้า ๗๔๘๑
            ๒๑๐๔. ตรีพลัม  เป็นทหารยักษ์ในกองทัพกุมภกรรณกับกองทัพมูลพลัมในเรื่องรามเกียรติ์ ในกองทัพกุมภกรรณตรีพลัมถูกสุรเสนฆ่าตาย            หน้า ๗๔๘๔
            ๒๑๐๕. ตรีมูรติ  คำว่าตรีมูรติ แปลว่า แบบสามหรือรูปสาม คือรูปสามของเทวะในศาสนาพราหมณ์
                เทวะซึ่งเป็นมูรติของพราหมณ์ แยกความนับถือออกเป็นสองตอน ตอนแรกในสมัยพระเวท ชาวอารยันนับถือเทวะสามองค์อยู่บนพื้นโลก บนอากาศและในสวรรค์ เรียงตามลำดับคือ อัคคี (ไฟ) วายุ (ลม) และสูรยะ (ดวงอาทิตย์) เป็นตรีมูรติ
                ล่วงสมัยต่อมาประมาณ ๕๗-๖๓ ปีก่อน พ.ศ. เป็นสมัยฮินดูแท้ ชาวอารยันมีความเชื่อถือในรูปใหม่เกี่ยวกับดวงวิญญาณ เป็นสังสารวัฏ คือความเวียนว่ายตายเกิดจนจวบถึงโมกษะ (ความหลุดพ้น) สภาวะของโลก และชีวิตเป็นไปตามอำนาจของเทวะสามองค์ เป็นตรีมูรติ คือ พรหม ผู้สร้างโลก วิษณุหรือนารายณ์ ผู้รักษาโลก และศิวะหรืออิศวร ผู้ทำลายโลก
                ชาวอินเดียบางนิกาย นับถือเทวะแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน แต่บางนิกายนับถือรวมกันทั้งสาม ในเมื่อเทวะทุกองค์ อวตารมาจากเทวะองค์เดียว การแสดงภาพเทวะอันเป็นตรีมูรติ จึงทำเป็นรูปเทวะมีร่างเดียวแต่มีเศียรเป็นสาม            หน้า ๗๔๘๗
            ๒๑๐๖. ตรีเมฆ  เป็นชื่ออสูรหรือพญายักษ์ตนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ว่าเป็นอัยกาของรามสูรและเป็นโอรสของพญาตรีเศียร เป็นนัดดาทศกัณฐ์ นับเนื่องในสกุลพญายักษ์ ฝ่ายสุริยวงศ์อยู่เมืองมัชวารี ถูกหนุมานสังหารด้วยตรีเพชรเศียรขาดตาย            หน้า ๗๔๙๐
            ๒๑๐๗. ตรียัมปวาย  เป็นชื่อพิธีพรหมณ์ฝ่ายได้กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า กระทำในเดือนยี่ ขึ้นเจ็ดค่ำ ตอนเช้าและเก้าค่ำตอนเย็น             หน้า ๗๔๙๓
            ๒๑๐๘. ตรีวิกรม  เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ในปางวามนาวตาร ตรีวิกรม หมายถึง ย่างสามก้าว หมายถึง สามเวลาแห่งวัน คือเวลาพระอาทิตย์แรกขึ้น (เช้า) เวลาพระอาทิตย์อยู่กลางท้องฟ้า (เที่ยง) และเวลาพระอาทิตย์ตก (ค่ำ)
                อีกนัยหนึ่งกล่าวว่า พระวิษณุย่างสามก้าวนี้กินเนื้อที่ทั่วสากลจักรวาล คือก้าวแรกเหยียบลงบนโลก ก้าวที่สองเหยียบบนบรรยากาศ และก้าวที่สามเหยียบลงบนสวรรค์ชั้นฟ้า           หน้า ๗๕๐๓
            ๒๐๐๙. ตรีเวณี  คือสบน้ำสามสาย หมายถึง ท่าประยาคในปัจจุบันที่เมืองอัลลหาบาท ซึ่งเป็นที่แม่น้ำคงคากับแม่น้ำยมมาไหลบรรจบกัน และเชื่อกันว่าแม่น้ำสรัสวดี (ปัจจุบัน เรียกแม่น้ำสรสูติ) ซึ่งไหลมาทางใต้ดินก็มาบรรจบกัน ณ ที่นี้ด้วย จึงเรียกว่า ตรีเวณี และคือเป็นท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นที่ล้างบาปของพวกฮินดู           หน้า ๗๕๐๘
            ๒๐๑๐. ตรีศังกุ  เป็นกษัตริย์แห่งสุริยวงศ์พระองค์หนึ่ง ครองนครศรีอโยธยา เรื่องราวของกษัตริย์องค์นี้ปรากฎอยู่ในหนังสือหลายเล่มที่สำคัญคือ รามายณะ วิษณุปุราณะ และหริวงศ์            หน้า ๗๕๑๐
            ๒๐๑๑. ตรีเศียร  เป็นชื่อ อสูรหรือพญายักษ์ตนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ว่าเป็นโอรสของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เป็นชนกของพญาตรีเมฆ ครองกรุงมัชวารี มีพี่น้องร่วมอุทรหกตน คือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ทูษณ์ ขร และนางสำมะนักขา ถูกพระรามสังหารด้วยศรพรหมาสตร์            หน้า ๗๕๑๕
            ๒๐๑๒. ตรีเอกานุภาพ  (ดูตรีนิติ - ลำดับที่ ๒๐๙๙)            หน้า ๗๕๑๖
            ๒๐๑๓. ตรุษ  คือเทศกาล คือ คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณี เพื่อทำบุญ และรื่นเริงในท้องถิ่นเมื่อเวลาสิ้นปี กำหนดวันตามจันทรคติ เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสี่ จนถึงวันขึ้นค่ำ เดือนห้า คู่กับสงกรานต์ ซึ่งกำหนดวันตามสุริยคติตามปรกติ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน            หน้า ๗๕๑๖
            ๒๐๑๔. ตรุษจีน ๑ - ต้น  เป็นพันธุ์ไม้ครึ่งต้นครึ่งเลื้อย เป็นไม้พันธุ์ต่างประเทศ ที่มีผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย และเผอิญผลิดอกสะพรั่ง ในช่วงระยะเวลาเทศกาลตรุษจีน จึงได้ชื่อว่าตรุษจีน            หน้า ๗๕๒๘
            ๒๐๑๕. ตรุษจีน ๒ - ประเพณี  เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของจีน ตามประเพณีของจีนนั้น วันสิ้นปีตรงกับวันแรม ๒๙ หรือ ๓๐ ค่ำ เดือนสิบสอง (ตามจันทรคติจีน) ในวันนั้นชาวจีนจะจัดหาอาหารเพื่อไหว้เจ้า เช่น บรรพบุรุษ ตอนกลางคืนทุกคนในครอบครัวจะนั่งล้อมวงกินอาหารกัน เรียกว่า ล้อมรอบเตาไฟ คืนนั้นต่างไม่ยอมหลับยอมนอนเพื่อเฝ้าให้ปีเก่าผ่านพ้นไป ผู้ใหญ่จะจัดหาเงินทองใส่ซองสีแดงเพื่อแจกลูกหลาน บรรดานายจ้างก็เตรียมเงินบำเหน็จประจำปีแจกลูกน้อง เป็นการอวยพรขอให้ได้โชคลาภในปีใหม่
               วันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทุกครัวเรือนจะประดับประดาด้วยกระดาษสีแดง เขียนคำอวยพรต่าง ๆ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ชุดใหม่ที่งดงาม เมื่อพบกันก็จะต้องกล่าวคำอวยพรแก่กัน และมีข้อห้ามว่าไม่ควรกล่าวคำอัปมงคล
                ชาวจีนเชื่อถือกันว่าทุกครัวเรือนจะมีเทวดาประจำอยู่ ทำหน้าที่บันทึกความดี และความชั่วของทุกคนในครอบครัว พอถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบสองของทุกปี เทวดาประจำครัวจะสรุปผลพฤติกรรมของทุกคนในครอบครัวในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อนำขึ้นทูลต่อประมุขแห่งเทวดา เพื่อพิจารณาผู้ใดทำความดีจะให้ผลดีแก่ผู้นั้น ผู้ใดทำความชั่วก็ให้ผลร้าย ดังนั้น ในวันเทวดาประจำครอบครัวจะเดินทางไปสู่สวรรค์ ชาวจีนจะทำอาหารเซ่นไหว้ เป็นการเลี้ยงส่ง และเทวดาองค์ดังกล่าวจะกลับจากสวรรค์ มาทำหน้าที่ของตนต่อไปในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ของปีถัดไป ดังนั้น ชาวจีนจึงมักถือวันนี้เปิดร้านทำธุรกิจการค้าเป็นวันแรกของปีใหม่           หน้า๗๕๒๙
            ๒๑๑๖. ตละแม่ท้าว  เป็นบุตรีพระเจ้าช้างเผือก (พระยาอู่) ร่วมบิดาเดียวกันกับพระยาน้อย (มังสุระมณีจักร) ลักลอบได้เสียกับพระยาน้อย แล้วเกรงพระราชอาญา จึงพากันหนีไปอยู่เมืองตะเกิง แต่ถูกจับได้ระหว่างทาง โปรดให้จำไว้ทั้งสองคน ภายหลังได้รับโปรด ฯ ยกโทษให้ ทั้งสองอยู่ด้วยกันจนเกิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อพ่อลาวแก่นท้าว
                ต่อมาพระยานตรีได้หนีจากเมืองพระโคไปเมืองตาเกิง เพื่อตั้งตัวและได้นางเม้ยมะนิก แม่ค้าขายแป้งน้ำมันมาเป็นพระสนม เมื่อพระเจ้าช้างเผือกสวรรคต พระยาน้อยก็ได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองพระโคไว้ได้ แล้วปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่าพระเจ้าราชาธิราช กำหนดให้ตละแม่ท้าวเป็นมเหสีฝ่ายขวา และเม้ยมะนิกเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย            หน้า ๗๕๓๑
            ๒๑๑๗. ตละแม่ศรี   เป็นราชบุตรีของพระเจ้าช้างเผือก ร่วมบิดาเดียวกับพระยาน้อย และตละแม่ท้าว ณ เมืองเมาะตะมะ
                เมื่อพระเจ้าช้างเผือกออกไปคล้องช้าง สมิงพระตะบะผู้รักษาเมืองคิดขบถ พระเจ้าช้างเผือกจึงไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพะโค ก่อนหน้านั้นพระเจ้าช้างเผือก ได้แต่งบรรณาการพร้อมกับตละแม่ศรี ไปกราบพระเจ้าเชียงใหม่ ขออย่าได้ยกทัพมาช่วยสมิงพระตะบะ ตามที่สมิงพระตะบะร้องขอไป ทางพระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้ยกมา
                เมื่อเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว พระเจ้าช้างเผือกจึงมีหนังสือกับบรรณาการไปถวายพระเจ้าเชียงใหม่ ขอตละแม่ศรีคืนแล้วให้ตกแต่งกับสมิงราหู          หน้า ๗๕๓๔
            ๒๑๑๘. ตลับ - หอย  หอยตลับมีอยู่สองชนิด ชนิดที่นำมาใช้ทำตลับกัน จึงเรียกกันว่า หอยตลับ อีกชนิดหนึ่งขุดรูอาศัยอยู่ใต้ผิวทราย หอยนี้กินได้ แต่มักใช้เป็นอาหารหมู และทำเป็นปุ๋ย            หน้า ๗๕๓๖
            ๒๑๑๙. ตลาดเงิน  คำนี้อาจนำมาใช้ได้ในความหมายต่าง ๆ กันตามทรรศนะของผู้ใช้ และตามทรรศนะของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
                ตลาดเงิน หมายถึงกลไกซึ่งทำให้เกิดดุลยภาพขึ้น ระหว่างอุปสงค์ต่อเงินและอุปทานของเงิน           หน้า ๗๕๓๗
            ๒๑๒๐. ตลิ่งชัน  เขตขึ้นกรุงเทพ ฯ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เดิมเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอตลิ่งชัน            หน้า ๗๕๔๑
            ๒๑๒๑. ตวัษตฤ  เป็นชื่อเทพศิลปินองค์หนึ่งในคัมภีร์พระเวท ว่ามีรูปร่างสง่างามมาก สามารถแปลงเพศได้ต่าง ๆ นานา สามารถออกแบบรูปได้ทุกอย่าง เป็นเทพที่มีความชำนาญในการก่อสร้างมาก เป็นผู้สามารถชุบชีวิตและทำชีวิตให้ยั่งยืนนานได้ เป็นเทพผู้สร้างและคุ้มครองสัตว์โลกทั้งหลาย เป็นเทพผู้สร้างสวรรค์ โลกมนุษย์และสิ่งทั้งหลาย ครั้งเหตุนี้จึงเชื่อกันว่า เป็นเจ้าแห่งจักรวาล เป็นผู้พิทักษ์ เป็นนายกแห่งเทวโลกองค์แรก            หน้า ๗๕๔๓
            ๒๑๒๒. ต่อ - ตัว  เป็นแมลงพวกหนึ่ง คล้ายกับตัวแตนมาก สังเกตุความแตกต่างที่ขนาดของลำตัว ถ้าลำตัวยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ขึ้นไป เรียกว่า ตัวต่อ เล็กกว่านี้เรียกว่า ตัวแตน            หน้า ๗๕๔๔
            ๒๑๒๓. ต้อ - โรค  เป็นโรคที่เกิดที่ตา ทำให้ตาพิการมองอะไรไม่เห็นชัดเจน จนกระทั่งทำให้ตาบอดได้ โรคต้อมีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ คือ
                    ๑. ต้อเนื้อ  พบได้บ่อยและมากที่สุดในคนไทย แต่เป็นชนิดที่ไม่ร้ายแรงมีอันตรายน้อย มักพบในหมู่คนที่ทำงานตรากตรำ ตาถูกแดด ถูกลม และฝุ่นละอองอยู่เสมอ เป็นโรคของเยื่อตาขาว เนื่องจากการอักเสบทำให้งอกหนาตัวขึ้น มองดูเป็นก้อนเนื้อรูปสามเหลี่ยม ส่วนยอดงอกลามเข้าหากระจกตา แรก ๆ เป็นมักไม่มีอาการอะไรมาก นอกจากมีอาการตาแดง และเคืองตาบ้าง เมื่อลุกลามเข้ากระจกตา จะมีอาการมากขึ้น ถ้าคลุมถึงส่วนกลางของกระจกตาจะบังรูม่านตา ทำให้ผู้ป่วยมองไม่เห็นได้
                    ต้อเนื้อในระยะเริ่มแรก รักษาได้ง่ายมาก โดยหยอดหรือป้ายตาด้วยยาจำพวกสเตรอยด์ ถ้าลุกลามเข้าไปในกระจกตาแล้ว ควรทำการผ่าตัดลอกก้อนเนื้อออกเสีย
                    ๒. ต้อกระจก  เป็นโรคของแก้วตา โดยที่แก้วตาที่เคยใสกลับขุ่น หรือเป็นฝ้าทึบทำให้แสงผ่านเข้าไปไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยมองไม่เห็น
                    การรักษาโดยการผ่าตัดเอาแก้วตาที่ขุ่นฝ้าออก แล้วให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาต้อกระจก
                    ๓. ต้อหิน  เป็นโรคต้อที่มีอันตรายมากที่สุด เพราะทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้ โดยไม่รู้ตัว ต้อหินเกิดจากมีความดันภายในลูกตาสูงขึ้นผิดปรกติ จนทำให้มีอันตรายต่ออวัยวะภายในลูกตา เช่น ประสาทตาเป็นต้น
            ต้อหินมีหลายชนิด เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ กัน สำหรับรายที่เกิดในคนชรามักไม่มีอาการรุนแรง เพียงแต่ลานสายตาค่อย ๆ แคบเข้า ๆ และสายตาค่อย ๆ มัว ที่ละน้อย จนในที่สุด ลานสายตาแคบมากและในที่สุดตาบอดสนิท
                    ๔. ต้อข้าวสาร  เป็นโรคต่ออีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่กระจกตา เกิดจากการอักเสบทำให้ผิวของกระจกตามีก้อนนูนสีเทาปนขาว ลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสารติดอยู่ที่กระจกตา อาจเป็นก้อนเดี่ยว ๆ หรือหลายก้อนก็ได้
                    ๕. ต้อตาปู เกิดภายหลังที่กระจกตามีการอักเสบ หรือเป็นแผลเปื่อยอยู่นาน ๆ จนกระจกตาบางส่วนเกิดบางลง และความดันภายในลูกตา จะดันเอากระจกตาส่วนบางนั้นปูดออกมา ลักษณะคล้ายตาของปู ซึ่งเป็นอาการสุดท้ายว่าลูกตาจะแตกปะทุ และทำให้อวัยวะในลูกตาพร้อมที่จะทะลักออกมาได้ ผู้ป่วยมีอาการปวดตามาก ต้องรับการผ่าตัดควักลูกตาออกก่อนที่จะเกิดการปะทุ            หน้า ๗๕๕๐
            ๒๑๑๗. ต๊อก - ไก่  (ดูไก่ต๊อก - ลำดับที่ ๖๕๕)            หน้า ๗๕๕๓
            ๒๑๑๘. ตอง - ปลา  เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีรูปร่างแบนอย่างใบตอง            หน้า ๗๕๕๓
            ๒๑๑๙. ตองกง- หญ้า  เป็นหญ้าขนาดใหญ่ สูงราว ๔ เมตร ใบกว้าง ที่เกาะไหลหลำใช้ห่อข้าว ทำขนม และในบางท้องถิ่น เช่น ชวาใช้ปลูกต่างรั้ว หรือ ทำเป็นฉากกั้น ยอดหรือไปอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ชาวมลายูเรียกว่าไผ่อ้อ และหญ้าไผ่            หน้า ๗๕๕๓
            ๒๑๒๐. ต้องเต  เป็นชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง เด็กหญิงมักชอบเล่นมากกว่าเด็กชาย
                สนามเล่นใช้ขีดเส้นบนพื้นให้ชัดเจนกว้างประมาณ ๑ - ๒ เมตร ยาวประมาณ ๔ - ๕ เมตร แบ่งความยาวออกเป็นช่วงเรียกว่า ตาราง ๕ ถึง ๘ ช่วง มีตาเดี่ยวสลับกับตาคู่ ปลายสุดเป็นตาหัวกะโหลกซึ่งจะอยู่ถัดจากด่านสุดท้ายขึ้นไป
                การเล่นมีฝ่ายละคนจะมีกี่ฝ่ายก็ได้ การเริ่มเล่นให้มีการทอดเบี้ยไปที่ตาหัวกะโหลก ผู้ที่ทอยได้ใกล้ที่หมายที่สุดเป็นผู้ได้เริ่มเล่นก่อน ผู้ที่ทอดได้ห่างออกไป ก็จะได้เข้าเล่นในลำดับต่อไป ๆ กันไป
                ผู้เล่นจะยืนอยู่นอกเส้นเริ่ม แล้วทอยเบี้ยลงในตาแรก ซึ่งเป็นตาเดียวแล้วเขย่ง (เหยียบพื้นด้วยเท้าข้างเดียว) ลงในตาเดียว และกระโดดคร่อม (เหยียบพื้นด้วยเท้าสองข้างพร้อมกัน) ลงในตาคู่ตามลำดับไปจนถึงตาคู่ที่อยู่ถัดจากตาหัวกะโหลกลงมา จากนั้นให้กระโดดกลับหลังในตาคู่เดิม แล้วจึงทวนกลับมาจนถึงตาที่ทอยเบี้ยกับลงเก็บเบี้ยแล้วกระโดดต่อมาจนออกนอกเส้น หลังจากนั้นจึงทอยเบี้ยในตาต่อไป และเล่นต่อไปตามลำดับ จนทอยไปถึงตาหัวกะโหลก ต้องกระโดดไปถึงตาคู่ที่อยู่ใต้ตาหัวกะโหลก ก่อนเก็บเบี้ยให้กระโดดกลับหลังแล้วย่อตัวลงเก็บเบี้ย โดยใช้มือลอดหว่างขา และไม่ให้ส่วนใดของร่างกายสัมผัสพื้น แล้วกระโดดทวนกลับออกมา
                เมื่อผู้เล่นปฏิบัติได้ครบทุกตาก็จะได้บ้าน "ซึ่งจะเริ่มจากตาที่อยู่ใกล้เส้นเริ่มที่สุด แล้วจึงต่อออกไปตามลำดับ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะเหยียบบนตานั้นด้วยเท้าคู่ส่วนอื่น จะต้องกระโดดข้ามไป และเหยียบได้เฉพาะตาที่ยังไม่มีเจ้าของ
                การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าตาต่าง ๆ จะถูกยึดครองหมด ผู้ที่ได้บ้านมากกว่าเป็นผู้ชนะไปตามลำดับ           หน้า ๗๕๕๓
            ๒๑๒๑. ตองแตก - ต้น  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร ใบเป็นแบบใบเดี่ยว ออกสลับกันไป ช่อดอกเรียงสั้น ๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกอยู่คนละช่อ ผลยาว ๐.๕ - ๑.๐ ซม. เวลาแก่จะแตกออกเป็น ๓ - ๔ เสี่ยง มีเมล็ด ๓ - ๔ เมล็ด            หน้า ๗๕๕๖
            ๒๑๒๕. ตองยี  เป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในประเทศพม่า อยู่ห่างจากเมืองเชียงรายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๑๐ กม. ภูมิประเทศเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่ในที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๔๘๔ เมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง            หน้า ๗๕๕๖
            ๒๑๒๖. ต้องสู้  เป็นกะเหรี่ยงสาขาหนึ่ง ซึ่งในสมัยโบราณมีเมืองดั้งเดิมชื่อสะเทิม เมืองสะเทิมอยู่ติดอ่าวเมาะตะมะ            หน้า ๗๕๕๗
            ๒๑๒๗. ตองเหลือง - ข่า  ผีตองเหลืองก็เรียก หมายความว่า คนป่าของใบไม้แห้งโยงไปถึงที่พัก ซึ่งใช้กิ่งไม้ติดใบปักลงบนดิน เมื่อใบไม้เหล่านั้น เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือ แห้งแล้วก็พากับลงทิ้งไป
                ข่าตองเหลือง ท่องเที่ยวไปตามแดนภูเขาใกล้ยอดน้ำป่าสัก และในตำบลเปลี่ยวของ จ.น่าน และ จ.แพร่ พวกนี้ไม่ยอมให้คนเห็นบ่อยนัก            หน้า ๗๕๕๘
            ๒๑๒๘. ตองอู  เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในประเทศพม่า มีแม่น้ำสะโตงไหลผ่าน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ เกตุมดี เป็นเมืองเก่าตั้งขึ้นตั้งแต่ครั้งราชวงศ์ พุกามเป็นใหญ่ในพม่า ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๓๐ ตองอูก็ตกเป็นหัวเมืองออกของกรุงอังวะ ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เกิดการแก่งแย่งชิงอำนาจในเมืองพม่า ระหว่างพวกไทยใหญ่ทางตอนเหนือ กับกรุงอังวะทางตอนกลาง และกรุงหงสาวดี อาณาจักรมอญทางตอนใต้
                ขณะที่กรุงอังวะ และกรุงหงสาวดีกำลังเสื่อมอำนาจลง เมงกินโยได้ถือโอกาสตั้งตัวเป็นอิสระที่เมืองตองอู ในปี พ.ศ.๒๐๒๙ ได้ราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสิริชัยสุระ ในปี พ.ศ.๒๐๗๐ พวกไทยใหญ่ยึดกรุงอังวะได้ ชาวพม่าจึงอพยพหลบหนีมาอยู่ที่เมืองตองอู เป็นอันมาก ตองอูได้กลายเป็นศูนย์กลางของชาวพม่าแห่งใหม่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำสะโตง
                พระเจ้ามหาสิริชัยสุระ สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๓ ราชบุตรพระนามว่า มังตรา ได้ครองราชย์ สืบต่อมาทรงพระนามว่า พระเจ้าตะแบงชะเวตี้ ได้อาศัยบุเรงนองเป็นแม่ทัพสำคัญ ได้ยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีได้เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๒ แล้วย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี ให้สังคะสุ บิดาของบุเรงนองครองเมืองตองอู ต่อมาได้ยกทัพไปตีเมืองเมาะตะมะได้ ยังผลให้หัวเมืองมอญอื่น ๆ ได้แก่ เมาะลำเลิง จนถึงเมืองทะวายเข้ามาอ่อนน้อมด้วย
                พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ทรงมีนโยบายที่จะรวมพม่าและมอญเข้าเป็นชาติเดียวกัน ทรงเคารพยกย่องประเพณีมอญ สมานน้ำใจพวกมอญ และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ หลังจากนั้นได้ยกทัพ ทัพขึ้นไปตอนกลางของพม่า เพื่อรวมหัวเมืองพม่าเข้าด้วยกัน ทรงตีเมืองแปรได้ในปี พ.ศ.๒๐๘๕ ตีเมืองพุกามอันเป็นราชธานีพม่าแต่โบราณได้ในปี พ.ศ.๒๐๘๗
                ในสมัยที่ราชวงศ์ตองอูมีอำนาจนี้เอง พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกราน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ เป็นการทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช และยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๐๙๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
                พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๓ อาณาจักรพม่าก็แตกแยกเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง สมิงสอดตุเข้ายึดหงสาวดี ตั้งตนเป็นกษัตริย์ฟื้นฟูราชวงศ์มอญ บุเรงนองไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองตองอู ในที่สุดบุเรงนองก็สามารถปราบปรามได้หมด แล้วตั้งกรุงหงสาวดี เป็นราชธานีพม่าดังเดิมเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๖ ดังนั้น พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงนับว่าเป็นกษัตริย์พม่า แห่งราชวงศ์ตองอูโดยปริยายด้วย
                พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะ ได้เมืองนาย เมืองหลวงของไทยใหญ่ และเลยมาตีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีเมืองขึ้น ถึง ๕๗ หัวเมืองไว้ในอำนาจ แล้วยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ จากนั้นได้ยกทัพไปตีอาณาจักรล้านช้างในปี พ.ศ.๒๑๑๗ หลังจากนั้นก็มีดำริที่จะไปตีเมืองยะไข่ แต่พระองค์สวรรคตเสียก่อนในปี พ.ศ.๒๑๒๔ มังชัยสิงห์ ราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูเริ่มเสื่อมลง
                ในปี พ.ศ.๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงประกาศอิสระภาพ และทรงมีชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ.๒๑๓๕ จากนั้นในปี พ.ศ.๒๑๓๘ ได้ทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดี แต่ตีเมืองไม่ได้ จึงได้ยกไปอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๑๔๒ พระเจ้าตองอูทูลให้พระเจ้าหงสาวดีถอยไปตั้งมั่นที่เมืองตองอู เมืองหงสาวดีถูกพระเจ้ายะไข่ปล้น และเผาเมือง ก่อนที่กองทัพสมเด็จพระนเรศวร ฯ จะยกไปถึง สมเด็จพระนเรศวร ฯ ยกทัพตามไปตีถึงเมืองตองอู แต่ตีไม่ได้เนื่องจากขาดแคลนเสบียงอาหาร
                พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงนอง ถูกนัดจินหน่อง ราชบุตรพระเจ้าตองอูลองปลงพระชนม์ที่เมืองตองอู พม่าก็ตกอยู่ในสภาพระส่ำระสายอีก ราชวงศ์ตองอูได้ใช้กรุงอังวะเป็นราชธานีดังเดิมในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พวกมอญได้ตั้งตนเป็นอิสระที่กรุงหงสาวดี แล้วยกทัพไปตีกรุงอังวะ จับพระมหาธรรมราชาธิบดี ไปยังกรุงหงสาวดีแล้วปลงพระชนม์เสีย ราชวงศ์ตองอูก็สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๔            หน้า ๗๕๕๙
            ๒๑๒๙. ต่อม  เป็นอวัยวะประกอบด้วยกลุ่มเนื้อที่มีความแตกต่าง ในลักษณะความสลับซับซ้อนในเชิงประกอบได้มาก และมีขนาดแตกต่างกันไป ต่อมทั้งหลายมีหน้าที่เหมือนกันคือ สร้างและขับสารบางอย่างออกมา ทั้งชนิดที่ร่างกายนำเอาไปใช้ประโยชน์ หรือที่ร่างกายขับถ่าย เพื่อกำจัดออกไปจากร่างกาย ต่อมแบ่งออกได้เป็นสองพวก คือ
                    ๑. ต่อมมีท่อ  ต่อมพวกนี้เมื่อสร้างสารอะไรออกมาแล้ว มีท่อนำเอาสารนั้น ๆ ออกจากต่อมได้แก่ ต่อมน้ำลาย ต่อมเหงื่อ เป็นต้น
                    ๒. ต่อมไร้ท่อ  เมื่อสร้างสารอะไรแล้วไม่มีทางออกต้องอาศัยหลอดเลือดรอบ ๆ ต่อมนั้น นำเอาออกจากต่อมไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่ต้องการใช้ ได้แก่ ต่อมหมวกไต ต่อมไธรอยด์ เป็นต้น
                สิ่งที่ต่อมไร้ท่อสร้างขึ้นมานี้เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งเป็นสารเคมีต่าง ๆ กันไปแล้วแต่ชนิดของต่อมไร้ท่อ สารเคมีนี้มีประโยชน์สำหรับช่วยให้อวัยวะของร่างกายบางแห่งทำงานได้ดียิ่งขึ้น            หน้า ๗๕๖๖
            ๒๑๓๐. ต้อยตริ่ง  เป็นชื่อเพลงไทยเพลงหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นจากเพลงพื้นเมืองเป็นเพลงอัตราสองชั้น ที่มีสำเนียงเป็นลาว บทร้องของเดิมขึ้นต้นว่า "สาวเอยจะบอกให้ พี่จะไปเอกา แดเดียวเปลี่ยววิญญาณ์ เชิญแก้วตาได้ปราณี "
                ภายหลังได้มีผู้นำทำนองเพลงนี้ไปใช้ในกรณีอื่น และเปลี่ยนบทร้องให้เข้ากับกรณีนั้น ๆ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ ได้มีผู้แต่งทำนองดนตรีขึ้นเป็นอัตราสามชั้น เรียกว่า เพลงต้อยตริ่งสามชั้น ใช้บรรเลงกันมาจนปัจจุบันนี้
            ๒๑๓๑. ต้อยติ่ง - ต้น  เป็นไม้พื้นเมืองของไทย ชอบขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นและกิ่งเมื่ออ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ ๆ รูปไข่กลับ ดอกสีม่วงสลับสีขาว ออกเป็นกระจุกข้าง ๆ ง่ามใบ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกยอดแหลมยาวประมาณ ๑ ซม. เมื่อแก่จัดหรือถูกน้ำจะแตกออกเป็นสองซีกตามยาว เมล็ดเมื่อถูกน้ำจะพองและเหนียวเป็นเมือก สมัยโบราณชาวบ้านใช้ใบตำพอกรักษาแผลฝีหนอง
                ต้อยติ่งอีกชนิดหนึ่ง รู้จักกันแพร่หลายกว่าชนิดแรก ต้นสูงประมาณ ๓๐ ซม. เมล็ดเหมือนชนิดแรก สมัยโบราณชาวบ้านใช้เมล็ดพอกแผลฝีหนอง           หน้า ๗๕๖๘
            ๒๑๓๒. ต้อยตีวิด  เป็นนกในหนังสือหรือวรรณคดี ชาวบ้านเรียกกันตามเสียงว่า นกกระแตแต้แวด และเพื่อเรียกรวม ๆ กันในหมู่สกุลเดียวกันก็มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า นกกระแต ในเมืองไทยมีอยู่สามชนิด คือ นกกระแตแต้แวด นกกระแตหนา และนกกระแตหัวเทา
                นกต้อยตีวิด มีขนาดตัวโตกว่านกกิ่งโครง หัวคอและอกเป็นสีดำ ขนคลุม หูขาว มีแผ่นหนังรอบตา โคนปากแดง เท้าสีเหลือง หลังและปีกสีไพร ชอบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ เดินหากินบนพื้นดินที่โล่งเตียน มีทั่วทุกภาคในประเทศไทย และเอเซียตอนใต้            หน้า ๗๕๖๙
            ๒๑๓๓. ตอร์ปิโด  เป็นอาวุธทางเรือชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายบุหรี่ ซิการ์ ซึ่งเมื่อยิงหรือปล่อยลงน้ำแล้ว จะวิ่งไปใต้น้ำในทิงทาง และระดับความลึกที่กำหนดไว้ ด้วยแรงขับเคลื่อนภายในตัวเอง ถ้าชนเป้าหมายดินระเบิดที่บรรจุไว้ที่ส่วนหัวของตอร์ปิโด จะระเบิดทำลายเป้าหมายด้วยกำลังดันของน้ำ อันเกิดจากการระเบิดนี้
                อำนาจการทำลายของระเบิดใต้น้ำสูงกว่าการระเบิดเหนือผิวน้ำ เนื่องจากอากาศธาตุจากการระเบิดระดับน้ำ ให้แยกออกเป็นโพรง เมื่อหมดอำนาจการระเบิด น้ำจะยุบตัวกลับ ก่อให้เกิดแรงกระแทกอย่างรุนแรง เป็นปฎิภาคกับระดับลึก และเรียกการระเบิดในลักษณะนี้ว่า ตอร์ปิโด            หน้า ๗๕๗๑
            ๒๑๓๔. ต่อใส้ - ต้น  เป็นต้นไม้ขนาดกลางไม่ทิ้งใบ มักพบตามป่าดงดิบ และตามที่ชุ่มชื้น ในแบบใบเดียวหนา ออกดอกเป็นคู่ ๆ เรียกได้ฉากกับตามกิ่ง ช่อดอกออกตามง่ามใบสั้น มีดอกแน่นดูเป็นกระจุก ผลเล็กกลมมีเมล็ด            หน้า ๗๕๗๗
            ๒๑๓๕. ตะกร้อ  เป็นชื่อของอุปกรณ์การเล่นกีฬาอันเก่าแก่ของไทยชนิดหนึ่ง ลูกตะกร้อใช้หวายที่จักเป็นเส้นเล็ก ๆ ตามขนาดที่ต้องการ สานให้เป็นลูกกลมมา ตาโปร่งโดยรอบภายในกลวง ขนาดวัดโดยรอบได้ ๓๕ - ๔๕ ซม. หนัก ๑๔๐ - ๑๖๐ กรัม
                ในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่างนิยมการเล่นตะกร้อกันเป็นเวลานานมาแล้ว เช่น พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
                สมาคมกีฬาสยามได้ดัดแปลงกีฬาแบดมินตันมาใช้กับวิธีเล่นตะกร้อ และให้ชื่อว่าตะกร้อข้ามตาข่าย และเล่นเป็นกีฬาประจำชาติประเภทหนึ่ง ตั้งแต่ก่อน ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ต่อมาอีก ๑๕ ปี มาเลเซียได้ดัดแปลงไปเล่นบ้าง แต่เล่นแบบกีฬาวอลเลย์บอล
                ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ และ ๒๕๐๔ ประเทศไทยได้พยายามเสนอให้มีการแข่งขันในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๑ และ ๒ แต่ไม่สำเร็จ แต่พอแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๓ ซึ่งมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ ข้อเสนอของมาเลเซียเป็นผล กติกาการแข่งขันส่วนใหญ่ยึดถือตามแบบมาเลเซีย และเรียกเกมส์นี้ว่า เซปักตะกร้อ สำหรับประเทศไทย ได้แบ่งการเล่นและจัดการแข่งขันออกเป็นหกประเภท คือ ตะกร้อเตะทนวงเล็ก ตะกร้อเตะทนวงใหญ่ ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย เซปักตะกร้อ และตะกร้อพลิกแพลง หรือตะกร้อส่วนบุคคล           หน้า ๗๕๗๘
            ๒๑๓๖. ตะกรับ ๑ - กก (หญ้า)  เป็นกกชนิดหนึ่ง ต้นสูง ๑ - ๑.๕๐ เมตร ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบแคบและยาว ช่อดอกใหญ่มีก้านยาว ดอกสีน้ำตาลบางแห่งใช้กกชนิดนี้สานเสื่อ          หน้า ๗๕๘๙
            ๒๑๓๗. ตะกรับ ๒ - ปลา  เป็นปลาสกุลเล็กที่มีรูปร่างเหมือนปลากะพง จัดอยู่ในพวกปลาหมอช้างเหยียบ เป็นปลาน้ำจืดมีอยู่ตลอดในลำน้ำของประเทศไทย          หน้า ๗๕๓๙
            ๒๑๓๘. ตะกรุด กะตุด กะตรุด  เป็นแผ่นโลหะที่แผ่แล้วม้วนกลม ๆ ลงคาถาอาคมใช้เป็นเครื่องราง          หน้า ๗๕๙๑
            ๒๑๓๙. ตะกวด  เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในวงศ์เหี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดกลาง เล็กกว่าจระเข้ ส่วนมากมีขนาดยาวประมาณ ๑ - ๒ เมตรเศษ เหี้ยทุกชนิดมีลิ้นยาว และปลายลิ้นแยกเป็นสองแฉก คล้ายลิ้นงู มีหางยาวและแข็งแรง สำหรับว่ายน้ำ และสำหรับต่อสู้ศัตรู มีเล็บแหลมโค้งคมใช้ปีนต้นไม้ได้เร็วมาก ไข่เป็นฟองสีขาวยาว ๆ ฝังไว้ใต้ดินร่วนซุยปล่อยให้ฟักและเลี้ยงตัวเอง
                ตะกวดในประเทศไทยมีอยู่ห้าชนิด คือ ตะกวดหรือแลน เหี้ย ตุ๊ดตู่ เห่าช้าง และแลนดอนหรือตะกวดดอน        หน้า๗๕๙๑
            ๒๑๔๐. ตะกัง  เป็นโรคลมชนิดหนึ่งที่มีอาการปวดศรีษะเวลาเช้า ๆ โรคลมตะกังนี้ไม่พบคำอธิบายในตำราโบราณ          หน้า ๗๕๙๘
            ๒๑๔๑. ตะกั่ว ๑  เป็นโลหะชนิดหนึ่งมีสีเงินหรือเทาอมฟ้า มีความมันวาวแบบโลหะเด่นชัด เนื้ออ่อนรีดเป็นแผ่นหรือใช้มีดตัดเฉือนได้
                ตะกั่วเป็นโลหะหนักเป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่เลว มีสมบัติทนทานต่อการผุกร่อนจึงใช้เป็นตัวเคลือบหรือฉาบได้ดี         หน้า ๗๖๐๐
            ๒๑๔๒. ตะกั่ว ๒  เป็นแร่ที่เกิดตามธรรมชาติในรูปสารประกอบ แร่ตะกั่วที่สำคัญซึ่งนำมาถลุงเอาโลหะตะกั่วมาใช้มีอยู่สามชนิดคือ แร่กาลีนา แร่เซรุสไซต์ และแร่แองกลิไซด์
                โลหะตะกั่วใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางได้แก่
                    ๑. ผสมโลหะอื่น ๆ ทำโลหะผสมต่าง ๆ ใช้ในการบัดกรี ใช้หล่อทำตัวพิมพ์ ฯลฯ
                    ๒. ใช้ทำผงตะกั่วแดง และเหลือง ที่เรียกกันว่า "เสน" สำหรับเป็นสีเคลือบ
                    ๓. ใช้ทำแผ่นแบตเตอรี่ ทำหัวกระสุน ทำตุ๊กตาเครื่องยนต์
                    ๔. ใช้หุ้มสายเคเบิล ฉาบเหล็กและเหล็กกล้า ทำท่อน้ำประปา
                    ๕. สารประกอบตะกั่วยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย
                โทษของตะกั่ว คือ เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไม่ถ่ายออก แต่จะสะสมพอกพูนมากขึ้นจนเกิดเป็นพิษแก่ร่างกายทุกส่วน โดยเฉพาะระบบประสาท ทางเดินอาหาร และโรคเลือดบางชนิด คือร่างกายจะซูบซีด การย่อยอาหารผิดปรกติ เบื่ออาหาร มีอาการจุกเสียดในท้อง ปวดท้องและท้องผูกแทรก สุขภาพเสื่อมโทรมเริ่มจากนิ้วมือและข้อ และลามไปที่ไหล่กับขา นอกจากนี้ยังมีผลต่อไตด้วย ระบบจักษุจะตีบตาย สายตาสั้นหรือบอดได้ ๆ            หน้า ๗๖๐๑
            ๒๑๔๓. ตะกั่วทุ่ง อำเภอขึ้น จ.พังงา ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เป็นเนินและเขา ลาดลงไปทางทะเล
                อ.ตะกั่วทุ่ง เป็นเมืองเก่าคู่กับเมืองตะกั่วป่า แต่เป็นเมืองเล็กในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เคยถูกพม่าย่ำยี ยุบเป็นอำเภอเมื่อจัดการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล         หน้า ๗๖๐๔
            ๒๑๔๔. ตะกั่วป่า  อำเภอขึ้น จ.พังงา ภูมิประเทศโดยมากเป็นเขาและป่า และที่ลุ่มมีแร่ดีบุก
                อ.ตะกั่วป่า เดิมเป็นเมืองเก่า มีฐานะเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดตะกั่วป่า อยู่ทางฝ่ายทะเลตะวันตก มีชาวอินเดียมาตั้งภูมิลำเนาเป็นบ้านเมืองมาก่อน ยังมีโบราณสถานแต่ครั้งนั้นปรากฎอยู่ เป็นท่าเรือของพวกชาวอินเดีย สำหรับเดินบก ข้ามแหลมมลายูเมืองไชยา และเวียงสระ
                ก่อนปี พ.ศ.๒๔๗๕ จ.ตะกั่วป่า จึงเปลี่ยนชื่อ อ.ตลาดใหญ่เป็น อ.ตะกั่วป่า ครั้นยุบ จ.ตะกั่วป่า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงเปลี่ยนชื่อ อ.ตลาดใหญ่เป็น อ.ตะกั่วป่า        หน้า ๗๖๐๖
            ๒๑๔๕. ตะกาง  เป็นเครื่องมือใช้สำหรับจับจระเข้ โดยใช้เบ็ดขนาดใหญ่ ผูกด้วยเชือกที่เหนียว โตพอที่จระเข้จะกัดไม่ขาด ไว้ที่ปลายเบ็ด เชือกนี้ยาวพอประมาณที่จะใช้การได้ แล้วเอาปลายอีกข้างหนึ่งไปผูกติดกับปล้องไม้ไผ่ขนาดใหญ่ให้ลอยน้ำเป็นทุ่น
                เหยื่อที่ใช้เกี่ยวกับตะกางมักใช้สัตว์ที่ตายแล้ว และลอยทิ้งไว้ตอนกลางคืน เมื่อจระเข้ติดตะกางตอนเช้าก็จะเห็นลูกลอยเป็นทุ่นอยู่         หน้า ๗๖๑๓
            ๒๑๔๖. ตะกู  เป็นชื่อที่คนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย ใช้เรียกไม้กระทุ่ม เนื้อไม้สีขาวแกมเหลือง เนื้อสม่ำเสมอละเอียดปานกลาง อ่อนเบา ไม่ทนทาน โดยทั่วไปใช้ทำลัง และเครื่องเรือน          หน้า ๗๖๑๔
            ๒๑๔๗. ตะเกียง  เป็นชื่อภาชนะใส่น้ำมัน มีใส้สำหรับจุดให้มีแสงสว่างมีรูปต่าง ๆ บางชนิดก็มีหลอด คำว่าตะเกียงน่าจะเกิดทีหลังคำว่าโคม ในหนังสือเก่าเท่าที่พบมีแค่คำว่าโคม ในพจนานุกรมเก่า ๆ เช่น อักขราภิธานศรันท์ของหมอบรัดเล ซึ่งพิมพ์แมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๖ มีคำตะเกียงปรากฏอยู่          หน้า ๗๖๑๕
            ๒๑๔๘. ตะเกียบ  เป็นเครื่องมือใช้บริโภคอาหารของชาวจีน สันนิษฐานว่า เริ่มมีในประเทศจีนมานานกว่า ๓,๐๐๐ ปี แต่เดิมนั้นทำด้วยไม้ไผ่ ต่อมามีการทำด้วยงาช้าง และพลาสติก          หน้า ๗๖๑๙
            ๒๑๔๙. ตะแกรง  เป็นเครื่องจักรสานสำหรับร่อนสิ่งของ หรือสำหรับช้อนกุ้ง ปลา เป็นต้น          หน้า ๗๖๒๐
            ๒๑๕๐. ตะโก - ต้น เป็นไม้ขนาดกลางมีสองชนิดคือ
                    ๑. ตะโกสวน, มะพลับ  เป็นไม้ไม่ทิ้งใบ สูง ๑๕ - ๒๕ เมตร โคนต้นมีพูบ้าง เปลือกบาง สีดำคล้ำ ใบแบบใบเดี่ยวเรียงเป็นสองแถวตามกิ่ง ดอกมีเกสรตัวผู้ และตัวเมียแยกอยู่คนละดอก ผลรูปกลม ผิวเป็นมันสุก สีเหลืองส้ม เมล็ดฝังอยู่ในเนื้อที่เป็นยางเหนียว
                    ๒. ตะโกนา เป็นไม้ขนาดเล็กสูง ๑ - ๕ เมตร เปลือกสีดำคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
                คนไทยนิยมเอาต้นตะโกนามาปลูกตกแต่งเป็นพุ่มรูปต่าง ๆ แต่สมัยโบราณ          หน้า ๗๖๒๐
            ๒๑๕๑. ตะโก้  เป็นชื่อขนมอย่างหนึ่ง มีหน้าคล้ายขนมถ้วย มีลักษณะเป็นชิ้นหรือเป็นแท่งสี่เหลี่ยม โดยทั่วไปมีสองชนิดคือ ตะโก้ถั่ว และตะโก้แป้งข้าวเจ้า          หน้า ๗๖๒๒
            ๒๑๕๒ ตะโกก - ปลา เป็นชื่อปลาที่แพร่หลายมากชื่อหนึ่งมีอยู่ห้าสกุล แต่สกุลหนึ่งนั้นเป็นปลาหลังเขียวและเป็นปลาน้ำเค็ม ส่วนอีกสี่สกุลเป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน          หน้า ๗๖๒๔
            ๒๑๕๓. ตะขบ - ต้น  ใช้เรียกชื่อพันธุ์ไม้สองชนิดที่ผลมีรูปลักษณะและสีสันคล้ายกันมาก
                ตะขบไทย เป็นไม้พันธุ์ใหญ่มีหนามเป็นแท่ง ยาวแหลมและแข็ง ผลกลมแป้นสีม่วงแดง และจะเข้มจนเกือบดำ เมื่อสุกงอม เนื้อในคล้ายวุ้น รสหวาน บริโภคได้
                ตะขบขี้นก หรือตาขบฝรั่ง เป็นพรรณไม้ขนาดกลางไม่มีหนาม ใบรูปกระสวยกลาย ๆ แต่โคนตัดมีขนคลุมทั่วไป ดอกสีขาวเล็กออกตามซอกใบ เมื่อเป็นผลก้านจะยาวออก ผลกลมเล็กเมื่อสุกสีม่วงแดงแก่ เนื้อในเป็นเมือกปนกับเมล็ดซึ่งมีขนาดเล็ก รสหวาน บริโภคได้         หน้า ๗๖๒๗
            ๒๑๕๔. ตะขาบ เป็นสัตว์ประเภทคลานบนพื้นดินประเภทหนึ่ง ซึ่งมีร่างกายแบ่งเป็นหัวและลำตัว ลักษณะลำตัวยาวแบนแบ่งเป็นปล้อง ๆ มีจำนวนตั้งแต่ ๑๕ - ๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขาหนึ่งคู่ หัวมีลักษณะค่อนข้างกลมแบน มีหนวดยาวพอมองเห็นชัดอยู่หนึ่งคู่ ที่ปากมีกรามหนึ่งคู่ มีฟันสองคู่ ส่วนอวัยวะที่เรียกว่าเขี้ยวนั้น ความจริงเป็นขาคู่แรกยึดติดกับลำตัวปล้องแรก เขี้ยวมีลักษณะสั้น และแข็งแรงมีปลายแหลมโค้งงอเข้าหากัน สามารถใช้กัดแทนปาก และปล่อยน้ำพิษซึ่งเกิดจากต่อมหรือถุงน้ำพิษที่อยู่บริเวณโคนขานั้นได้          หน้า ๗๖๒๘
            ๒๑๕๕. ตะเข็บ  เป็นสัตว์ประเภทเดียวกับตะขาบ แต่เรียกแยกจากตะขาบโดยถือเอาชนิดที่มีขนาดเล็กเป็นสำคัญ เช่น ขนาดยาวต่ำกว่า ๕ - ๖ ซม. ลงไป บางคนได้รวมเอาแมงดาเข้าไปไว้ในพวกตะเข็บด้วย พวกตะเข็บ หรือแมงดาหลายชนิด นอกจากจะเปลี่ยนสีแล้ว ยังมีเม็ดสะท้อนแสงในลำตัวทำให้ตัวมีแสงเรือง ๆ จึงให้ชื่อว่า แมงคาเรือง กล่าวกันว่าชอบอาศัยอยู่ในหูคน           หน้า ๗๖๓๐
            ๒๑๕๖. ตะโขง  เป็นจระเข้ชนิดหนึ่งที่มีปากยาว จึงชอบเรียกกันว่า จระเข้ปากปลากระทุงเหว
                ตะโขงมีอยู่สองชนิด คือ ตะโขงอินเดีย และตะโขงไทย ตะโขงอินเดียมีขนาดใหญ่กว่าตะโขงไทยและมีปากยาวกว่า กับมีฟันมากกว่า            หน้า ๗๖๓๒
            ๒๑๕๗. ตะคร้อ - ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐ - ๓๐ เมตร ลำต้นมักเป็นปุ่มปุ่ม และคดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมสีเขียวทึบ ใบเป็นใบประกอบก้านหนึ่งมีใบย่อย ๒ - ๓ คู่ ดอกออกเป็นพวงสีเหลืองอ่อน ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลกลมออกสีน้ำตาลเมื่อแห้ง เนื้อหุ้มเม็ดเป็นเยื้อใส สีส้ม บริโภคได้ รสหวานอมเปรี้ยว เปลือกเป็นยาแก้โรคท้องร่วง น้ำมันในเม็ดแก้โรคผมร่วง          หน้า ๗๖๓๓
            ๒๑๕๘. ตะครอง - ต้น  เป็นไม้ในสกุล และวงศ์เดียวกับพุทรา เป็นไม้พุ่มกิ่งเลื้อย ลำต้นและกิ่งมีหนาม         หน้า ๗๖๓๔
            ๒๑๕๙. ตะคริว  เป็นโรคเส้นลมชักกระตุกมีอาการเจ็บปวดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหดตัวแบบหนึ่งของกล้ามเนื้อ แล้วเกิดความเจ็บปวดขึ้นที่กล้ามเนื้อนั้น การหดตัวนั้นเกิดขึ้นเอง และค้างอยู่ ตะคริวอาจเป็นกับกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่ง หรือหลาย ๆ มัดก็ได้ พบอยู่ในกล้ามเนื้อแขน ขา หรือที่หน้าท้อง การเกิดตะคริวส่วนมากจะเกิดโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า และเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน         หน้า ๗๖๓๔
            ๒๑๖๐. ตะเคียน - ต้น  เป็นไม้ขนาดสูงใหญ่ไม่ทิ้งใบ สูง ๒๐ - ๔๐ เมตร ใบแบบเดี่ยวรูปไข่ ถึงรูปปลายหอก ช่อดอกออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาว หอม ผลเล็กปานกลางมีปีกยาวสองปีก สั้นและเล็กสามปีก
                เนื้อไม้สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อละเอียดปานกลาง ทนทานมาก ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน และส่วนที่ต้องการความแข็งแรง นิยมทำมาดเรือโกลน ทำเรือ ชันใช้ทำน้ำมันรักษา เปลือกใช้ทำน้ำฝาด         หน้า ๗๖๓๗
            ๒๑๖๑. ตะไคร้  เป็นพันธุ์ไม้ประเภทหญ้าจำพวกหนึ่งที่มีลำต้นเป็นเหง้าสั้น ๆ แล้วแตกหน่อเกิดเป็นกอใหญ่ แต่ละหน่อสูง ๕๐ - ๗๐ ซม. ตอนโคนพองเพราะมีกาบใบ ซึ่งค่อนข้างหนาหุ้มทับ ปะปนกันแน่น ตอนยอดเรียว และใบบางเป็นแถบยาว ทางคล้าย ๆ กับต้นหญ้าคา เป็นพันธุ์ที่มีน้ำมันหอมระเหยแทรกอยู่ทั่วทั้งต้นและใบ ที่รู้จักกันทั่วไปมีสองชนิดคือ ตะไคร้แกง และตะไคร้หอมหรือตะไคร้แดง
                ตะไคร้แกง  มักใช้ในการปรุงแต่งอาหาร ตะไคร้ชนิดนี้ไม่ใคร่ออกดอก
                ตะไคร้หอม  ต้นใหญ่กว่าตะไคร้ธรรมดา มักมีสีแดง เมื่อโตเต็มที่เกิดดอกออกเป็นช่อเป็นพันธุ์ที่มีน้ำมันหอมระเหยมาก นิยมกลั่นเอาน้ำมันเรียกว่า "น้ำมันตะไคร้ " ใช้ในการทำเครื่องสำอางค์ และยาฆ่าแมลงบางชนิด        หน้า ๗๖๓๗
            ๒๑๖๒. ตะเฆ่  เป็นเครื่องทุ่นแรงชนิดหนึ่ง ใช้ลากเข็นของหนัก มีรูปเตี้ยและมีล้อตั้งแต่ ๒ - ๔ ล้อ สำหรับใช้เคลื่อนไหวเวลาลากเข็นของหนักไปบนพื้นดิน          หน้า ๗๖๓๙
            ๒๑๖๓. ตะนอย - มด  เป็นมดขนาดโตไล่เลี่ยกับมดแดง อาศัยอยู่บนพื้นดิน ช่วยขุดรูอยู่และอยู่กันเป็นฝูง เป็นมดที่มีพิษ โดยมีเหล็กในที่ก้น สามารถต่อยและทำความเจ็บปวดให้แก่ผู้ถูกต่อยได้มาก มีอยู่หลายสกุลด้วยกัน
                มดตะนอย มักออกหาเหยื่อโดยการออกไปเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๕ - ๖ ตัว มักเดินเป็นแถวเรียงหนึ่งติดตามกันไป เมื่อพบเหยื่อจะรุมกันต่อยจนเหยื่อตาย แล้วช่วยกันลากเข้ารัง          หน้า ๗๖๔๐
            ๒๑๖๔. ตะนาวศรี  เป็นชื่อเทือกเขาที่อยู่ระหว่างเขตแดนไทยกับพม่า และเป็นชื่อแม่น้ำเมือง และแคว้นในพม่า
                    ๑. เทือกเขาตะนาวศรี  เป็นเทือกเขาต่อเนื่องไปทางทิศใต้ของเทือกเขาถนนธงชัย เริ่มต้นจากบริเวณใกล้เคียงกับยอดน้ำของลำน้ำแควน้อย แล้วมีทิศทางไปทางใต้ตามแนวเส้นแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศพม่า จนถึงประมาณเส้นรุ้ง ๑๐ องศา ๔๙ ลิบดาเหนือ และเส้นแวง ๙๘ องศา ๕๗ ลิบดาตะวันออก ทิวเขานี้จึงเข้ามาอยู่ในเขตไทย และเป็นแนวเขตจังหวัดชุมพร กับจังหวัดระนอง รวมความยาวของเทือกเขานี้ ๘๓๔ กม.
                    ๒. แม่น้ำตะนาวศรี  เป็นแม่น้ำในพม่ามีความยาวประมาณ ๔๔๘ กม. ประกอบด้วยแควสองสาย ซึ่งมียอดน้ำอยู่ในสาขาทิวเขาตะนาวศรีที่อยู่ในพม่า แควสายหนึ่งไหลมาจากทางเหนือ อีกสายหนึ่งไหลมาจากทางใต้บรรจบกันประมาณกึ่งกลางทาง ไหลขนานไปกับเส้นกันเขตแดนไทย - พม่า จนถึงเมืองตะนาวศรี
                    ๓. แคว้นตะนาวศรี  เป็นแคว้นทางภาคใต้ของพม่า มีรูปร่างเรียวยาว ตั้งต้นจากที่ราบตอนปลาย ลำแม่น้ำสาละวิน ตอนที่ทิวเขาถนนธงชัย เชื่อมต่อกันตอนใต้ของทิวเขากะเหรี่ยง แล้วกินอาณาเขตลงไปทางใต้ระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับเส้นเขตแดนไทย - พม่า จนถึงแหลมวิกตอเรีย รวมความยาวจากเหนือไปใต้ ๖๕๐ กม. อาณาบริเวณของแคว้นนี้ยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มเกาะมะริด ในทะเลอันดามัน
                    ๔. เมืองตะนาวศรี  เป็นเมืองสำคัญในเขตจังหวัดมะริด ในแคว้นตะนาวศรี ตั้งอยู่ในแนวเส้นรุ้งใกล้เคียงกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของไทย อยู่ห่างจากเมืองมะริดซึ่งตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตะนาวศรี ๖๐ กม. และห่างจากเมืองทวายซึ่งอยู่ทางเหนือประมาณ ๒๕๐ กม.
                ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยได้แผ่อำนาจครอบคลุมถึงเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าเลอไทย หัวเมืองมอญได้ก่อขบถ พระเจ้าเลอไทยส่งกองทัพไปปราบปรามแต่ไม่สำเร็จ หัวเมืองมอญรวมทั้งเมืองตะนาวศรี ถือโอกาสตั้งแข็งเมืองมาแต่ครั้งนั้น
                ตะนาวศรีได้กลับมาเป็นเมืองขึ้นของไทยอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เมืองตะนาวศรีเป็นเมืองสำคัญทางการค้าของไทย กับประเทศในมหาสมุทรอินเดีย
                นับตั้งแต่ไทยเริ่มทำสงครามกับพม่าเมื่อ ปี พ.ศ.๒๐๘๑ แล้ว ทั้งสองชาติต่างต้องการที่จะได้เมืองตะนาวศรี และมะริดไว้ในครอบครอง เมื่อพม่าทำสงครามกับอังกฤษครั้งแรกระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๖๙ อังกฤษยึดได้เมืองยะไข่และแคว้นตะนาวศรีตามสนธิสัญญายันคาโบ แคว้นตะนาวศรีตกเป็นของอังกฤษ
                ถึงแม้ว่าตะนาวศรีจะเป็นเมืองเดิมของมอญแต่ก็ตกเป็นเมืองขึ้นทั้งของไทยและพม่า สลับกันเรื่อยมา พลเมืองของตะนาวศรีจึงประกอบด้วยชนหลายชาติด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นมอญแต่ก็มีพวกพม่า กะเหรี่ยงไทยใหญ่ รวมทั้งชาวมอญที่มีเชื้อสายไทยรวมอยู่ด้วยเป็นอันมาก          หน้า ๗๖๔๒
            ๒๑๖๕. ตะบันไฟ  เป็นเครื่องจุดไฟชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์อย่างไม้ขีดในปัจจุบัน มีใช้แพร่หลายในหลายภาคของประเทศไทย แต่เรียกต่างกันตามภาษาถิ่น คือ ภาษาภาคเหนือเรียกว่า "ไฟยัด" หรือ "บอกยัด" ภาคใต้เรียก "ไฟตบ" ภาคกลางแถวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า "ไฟอัด"
                เครื่องจุดไฟแบบนี้เพิ่งมาเลิกนิยมกัน หลังสงครามโลกครั้งที่สาม แต่ยังมีผู้ใช้อยู่บ้างในบางท้องถิ่นของภาคใต้
                ส่วนประกอบของตะบันไฟมีกระบอก ลูกตะบัน เชื้อเพลิงหรือปุย ขี้ผึ้งทารูกระบอกและลูกตะบันเพื่อให้ลื่น         หน้า ๗๖๔๙
            ๒๑๖๖. ตะบูน  เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางไม่ทิ้งใบ พบขึ้นตามป่าชายทะเลที่ดินเป็นโคลนและตามริมแม่น้ำที่น้ำเค็มขึ้นถึง มีอยู่สองชนิดคือ
                ตะบูนขาว  สูงประมาณ ๗ - ๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม โคนต้นเป็นพู เปลือกบาง สีน้ำตาลแกมแดง แตกสะเก็ดเป็นแผ่นบาง ๆ รากหายใจไม่มี ใบเป็นแบบใบผสม มี ๑ - ๒ คู่ ช่อดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบมักสั้นกว่าใบ ดอกเล็กมากสีขาว ผลรูปกลมขนาดส้มโอ ผิวสีน้ำตาล
                ตะบูนดำ  มีขนาดเล็กกว่าตะบูนขาว ลำต้นมักตรง เปลือกสีน้ำตาลแก่หนา แตกสะเก็ดเป็นร่อง ๆ โคนต้นเป็นสีชมพู พุ่มเรือนยอดแคบแลดูแน่นทึบ มีรากหายใจแทงโผล่ขึ้นเหนือโคลนรอบ ๆ โคนต้น           หน้า ๗๖๕๔
            ๒๑๖๗. ตะเบ็งชเวตี้  เป็นพระนามพระเจ้าแผ่นดินพม่า แห่งราชวงศ์ตองอู (ดูตองอู - ลำดับที่ ๒๑๒๘ ประกอบ)           หน้า ๗๖๕๕
            ๒๑๖๘. ตะแบก - ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง ๑๕ - ๓๐ เมตร ลำต้นเป็นพูสูง เปลือกอ่อนเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยวส่วนใหญ่ติดเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ช่อดอกเป็นพวงโต ๆ สีม่วงปนชมพูออกตามปลาย ๆ กิ่ง ผลกลมรีแก่จัดแยกเป็นเสี่ยง ๆ ภายในมีเมล็ดที่มีปีกเรียงซ้อนกันอยู่ เนื้อไม้เรียบละเอียด เลื่อยผิวตกแต่งง่าย ใช้ทำพื้นและฝาบ้านในร่ม เปลือกใช้เป็นยาแก้โรคท้องร่วง รากใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย
                ตะแบกมีสามชนิดคือ ตะแบกเกรียบ ตะแบกใหญ่ และตะแบกนา        หน้า ๗๖๕๘
            ๒๑๖๙. ตะแบง - ต้น  เป็นต้นไม้ทิ้งใบขนาดกลางถึงใหญ่ บางท้องถิ่นเรียกไม้ชนิดนี้ว่าเหียง ยางเหียง เหียงพลวง ฯลฯ ตะแบงมีลำต้นกลมเปลา สูงประมาณ ๒๐ - ๓๐ ซม. มักแตกกิ่งเฉพาะตอนปลาย ๆ ต้นทำให้เรือนยอดดูเป็นพุ่มกลม ๆ ใบแบบใบเดี่ยว ออกสลับกัน ช่อดอกเป็นช่อสั้นออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบตอนปลาย ๆ กิ่ง ดอกดูงามดีมีกลิ่นหอม สีขาวชนชมพู ผลกลมเกลี้ยง สีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ ซม. มีปีกยาวสองปีก
                เนื้อไม้สีน้ำตาล เช่นเดียวกับเนื้อไม้พลวง ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง อาคารบ้านเรือนทั่วไป          หน้า ๗๖๕๙
            ๒๑๗๐. ตะพัด - ปลา  พบในไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ที่จังหวัดตราด ขนาดโต ยาว ๙๐ ซม. หนักราว ๗.๒ กก. เนื้อปลามีรสดี แม่ปลาจะฟักไข่ในปาก          หน้า ๗๖๖๐
            ๒๑๗๑. ตะพั้น  เป็นชื่อของโรคที่เกิดแก่เด็กอ่อนอย่างหนึ่ง ทำให้มีการชักมือเท้ากำ เกิดขึ้นได้จากเหตุหลายประการ          หน้า ๗๖๖๑
            ๒๑๗๒. ตะผาก, กระผาก, ปีก - ปลา อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีหนวดสี่เส้น สีโดยทั่วไปเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและสถานที่ จากเหลืองทองถึงเขียวเจือสีเงิน          หน้า ๗๖๖๒
            ๒๑๗๓. ตะพานหิน  อำเภอ ขึ้น จ.พิจิตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำนา อ.ตะพานหิน เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓          หน้า ๗๖๖๓
            ๒๑๗๔. ตะพาบน้ำ  เป็นสัตว์คล้ายเต่า กระดองบนและกระดองล่างไม่มีกระดูกเป็นแผ่นใหญ่ ๆ แต่มีหนังหุ้มแทน นิ้วยาว คีบข้างหน้ามีแผ่นพังผืดกว้าง ใช้สำหรับว่ายน้ำ มีเล็บเพียง ๑ - ๓ เล็บ คอหดได้มิดในกระดอง แต่สามารถยึดคอได้ยาวมาก
                ตะพาบน้ำทุกชนิดอยู่แต่ในน้ำจืด ขุดรูเป็นโพรงไว้ อาศัยโดยยึดคออันยาวเหยียดขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ โดยตัวไม่ต้องออกจากโพรง และจะคอยอยู่นิ่ง ๆ เช่นนั้น เพื่อคอยพุ่งหัวออกไปฮุบเหยื่อ ที่ว่ายไปมาหน้าโพรงนั้น เวลาน้ำในบึงหนองเหือดแห้งในฤดูแล้ง ตะพาบน้ำทำโพรงอยู่ใต้ดินได้นานจนกว่าฝนจะมา
                การดูชนิดของตะภาพน้ำมักถือเอาลักษณะกระดูกหัวเป็นหลัก ลักษณะภายนอกที่เห็นด้วยตาง่าย ๆ แบ่งตะพาบน้ำได้เป็นห้าชนิดคือ ตะพาบน้ำธรรมดา ตะพาบหัวทู่ ตะพาบหลังสายกะรัง ตะพาบหลังยาว และตะพาบหลังวงแหวนหรือตะพาบน้ำสี่วง         หน้า ๗๖๖๕
            ๒๑๗๕. ตะเพียน - ปลา  เป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักกันดีและนิยมบริโภคกันมานานแล้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน ปลาตะเพียนมีอยู่มากทั้งชนิด และปริมาณและยังจัดได้ว่ามากที่สุดในบรรดาปลาน้ำจืด ทั้งหลายของเมืองไทย เป็นปลาที่อดทนต่อดิน ฟ้า อากาศดี ไม่ชอบอยู่เป็นฝูง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ชอบกินพืชเป็นอาหาร
                ลักษณะรูปร่างมีลำตัวแบนข้างมีหนวดสั้น ๆ ๑ - ๒ คู่ มีเกล็ดสีขาวเงิน หางแฉก ส่วนมากปลาตะเพียนมักมีสีขาว ปลาตะเพียนมีหลายชนิดด้วยกัน บางชนิดอาจมีชื่ออื่น ๆ ต่างกันอีก เช่น ตะเพียนขาว ตะเพียนทอง ตะเพียนหางแดง และตะเพียนทราย เป็นต้น         หน้า ๗๖๗๐
            ๒๑๗๖. ตะโพน  เป็นเครื่องดนตรีไทยอย่างหนึ่งในประเภทประกอบจังหวะ จำพวกขึ้นหน้าด้วยหนังสองหน้า ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุนหรือไม้ที่มีน้ำหนักเบา เช่น ไม้กระท้อน ทำเป็นท่อนกลม กลางป่องตัดหัวท้าย เหมือนไข่ไก่ตัด ยาวประมาณ ๔๕ ซม. ขุดให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังทั้งสองหน้าด้วยหนังลูกวัว ตรงขอบหนังที่ขึ้นหน้ามีหนังพันตีเกลียวเส้นเล็ก ๆ ถักโดยรอบเรียกว่า "ไส้ละมาน" มีหนังตัดเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "หนังเรียด" ร้อยในช่องถักของไส้ละมาน ขึงไปมาระหว่างหน้าทั้งสอง หุ้มรอบตัวตะโพนจนแลไม่เห็นเนื้อไม้ สำหรับโยงเร่งเสียง ตรงกลางตัวตะโพนใช้หนังเรียดพันหลาย ๆ รอบ พองามเรียกว่า "รัดอก" ตรงรัดอกด้านบนทำเป็นหูด้วยหนังสำหรับหิ้ว หน้าตะโพนทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน หน้าหนึ่งใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กว้างประมาณ ๒๕ ซม. เรียกว่า "หน้าเท่ง" อีกหน้าหนึ่งเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๒ ซม. เรียกว่า "หน้าปัด" มีเท้าทำด้วยไม้สูงพอสมควร
                โดยปรกติตะโพนบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ มีหน้าที่กำกับจังหวะ "หน้าทับ" และเป็นเครื่องนำให้กลองทัดตี การตีนำกลองทัดนี้เรียกว่า "ท้า" ในการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการแสดงโขนละคร ตะโพนมีหน้าที่สำคัญมาก จะเป็นหัวใจของการรำ จะต้องตีให้เข้ากับท่ารำอย่างสนิทสนมทุก ๆ ท่า
                ตะโพนมอญ  รูปร่างลักษณะเหมือนกับตะโพน (ไทย) ทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ตัวหุ่นไม่ป่องตรงกลาง เพียงแต่ป่องนิด ๆ ตรงใกล้หน้าใหญ่          หน้า ๗๖๗๔
            ๒๑๗๗. ตะเภา ๑ - ลม  เป็นคำไทยโบราณใช้เรียกลมชนิดหนึ่ง ซึ่งพัดมาจากทางทิศใต้ขึ้นไปทางเหนือ ในกลางฤดูร้อน ลมนี้เป็นลมพัดพาเรือใบบรรทุกสินค้าจากเมืองจีนเข้ามาสู่อ่าวไทย ในระยะเวลาดังกล่าวด้วยเรือดังกล่าวชาวบ้านเรียกว่า เรือสำเภา หรือเรือตะเภา จึงเรียกชื่อลมไปตามชื่อเรือ ลมสำเภาหรือลมตะเภา          หน้า ๗๖๗๗
            ๒๑๗๘. ตะเภา ๒ - ไก่  ไก่ตะเภามีหางสั้นและแผ่กว้างที่ฐาน เหนียงสั้นและกลม รูปร่างอ้วนใหญ่ ไก่ตะะเภามีแหล่งเดิมอยู่ในเมืองจีน เข้าใจว่าคงเป็นกวางตุ้ง          หน้า ๗๖๗๙
            ๒๑๗๙. ตะเภา ๓ - ปลา  เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสีกรุด มีรูปร่างค่อนข้างป้อม หน้าผากทู่ ครีบหลังติดกันเป็นอันเดียว เส้นข้างตัวมี ๘๘ - ๑๐๐ เกร็ด เมื่อยังเล็กอยู่มีแถบยาวไปตามตัวสอง - สามแถบ ครั้นโตขึ้นแถบนั้น จะเปลี่ยนไปกลายเป็นจุด         หน้า ๗๕๗๙
            ๒๑๘๐. ตะเภา ๔ - หนู  เป็นหนูชนิดหนึ่ง ขนปุกปุยไม่มีหาง ดูเผิน ๆ คล้ายหนู ตัวป้อม หูสั้น ขาสั้น หางไม่ยาว มีลายและสีต่าง ๆ กันมาก เรานำมาเลี้ยงเพื่อใช้ทดลองในทางการแพทย์          หน้า ๗๖๘๐
            ๒๑๘๑. ตะเภา ๕ - อ้อย เป็นอ้อยชนิดหนึ่งมีลำใหญ่พองในระหว่างข้อที่ไม่ยาวนัก เนื้อเปราะ          หน้า ๗๖๘๐
            ๒๑๘๒. ตะเภาแก้ว  เป็นชื่อนางในวรรณคดีเรื่องไกรทอง เป็นบุตรสาวเศรษฐีในเมืองพิจิตรคู่กับตะเภาทอง ผู้เป็นพี่สาว (ดูไกรทอง - ลำดับที่ ๖๖๕ ประกอบ)           หน้า ๗๖๘๑
            ๒๑๘๓. ตะเภาทอง  เป็นชื่อลูกสาวเศรษฐีเมืองพิจิตร เป็นพี่สาวของตะเภาแก้ว (ดูไกรทอง - ลำดับที่ ๖๖๕ ประกอบ)           หน้า ๗๖๘๖
            ๒๑๘๔. ตะมอย - ฝี  เป็นฝีที่เกิดจากการอักเสบโดยเชื้อจำพวก สแตไฟโลคอกคัส แดงปลายนิ้วส่วนด้านหน้ามือ การอักเสบดังกล่าวเริ่มโดยมีสิ่งแหลม ๆ เช่น หนามตำ ที่ปลายนิ้วมือ และนำเชื้อโรคเข้าไปภายในแล้วเจริญงอกงามเกิดหนองขึ้น ในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นที่ที่ไม่มีทางให้หนองไหลออก ทำให้หนองคั่งอยู่ในบริเวณนั้น ก่อให้เกิดอาการปวดอย่างมาก ๆ อาการปวดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับและมีความรุนแรง
                ถ้าตรวจดูที่ปลายนิ้วมือ จะพบว่าปลายนิ้วบวม แข็งตึง กดเจ็บ มีลักษณะสีแดง กระดิกนิ้วจะรู้สึกเจ็บมาก ต้องรีบรักษาทันที มิฉะนั้น จะลุกลามลึกลงไปถึงกระดูกนิ้วมือ อาจทำให้เกิดกระดูกอักเสบได้          หน้า ๗๖๘๗
            ๒๑๘๕. ตะรังกะนู  (ดูตรังกานู - ลำดับที่ ๒๐๗๒)           หน้า ๗๖๘๘
            ๒๑๘๖. ตะรังตัง  เป็นชื่อใช้เรียกพันธุ์ไม้มีพิษที่ทำให้เกิดระคายเคืองเป็นผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อนขึ้น กับผิวเนื้อหนังของมนุษย์เมื่อถูกสัมผัส ในเมืองไทยเรียกกันว่า ตะรังตังช้าง เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีใบค่อนข้างใหญ่ ที่ขอบมีหนามแหลม เมื่อตำผิวเนื้อแล้วจะคายพิษทำให้เกิดเป็นผื่นคัน และปวดแสบปวดร้อน
                อีกชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ตะรังตังกวาง เป็นไม้เถา มีขนแข็งคลุมทั่วทั้งต้น เมื่อถูกผิวหนังเข้าแล้วจะเป็นผื่นคันทันทีเช่นกัน          หน้า ๗๖๘๘
            ๒๑๘๗. ตะลิงปลิง - ต้น  เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ ๓ - ๑๐ เมตร ใบมักเห็นเหลือเป็นกระจุกที่หลายกิ่งเท่านั้น เป็นแบบใบผสมออกสลับกันมีใบย่อยราว ๕ - ๑๘ คู่ รูปใบย่อยเรียวโค้งถึงรูปปลายหอก ช่อดอกแตกหลายแขนงค่อนข้างสั้น ออกเป็นกระจุกตามใกล้แผลใบเก่าตามกิ่งแก่ และตามลำต้นจนเกือบถึงดิน ดอกเล็กสีแดงม่วง ผลมีรูปและขนาดล้ายแตงกวาขนาดเล็ก มักดูเป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ผิวสีเขียว รสเปรี้ยว ผลตะลิงปลิงใช้ตำน้ำพริก และทำเป็นของหวานแช่อิ่ม          หน้า ๗๖๘๘
           ๒๑๘๘. ตะลีตะลาน  เป็นมดขนาดปานกลาง เป็นมดที่วิ่งได้เร็ว และมีความว่องไวกว่ามดทั่วๆ ไป ในประเทศไทยมดนี้มีอยู่หลายชนิดด้วยดัน เป็นมดไม่มีพิษ ไม่กัดคน          หน้า ๗๖๘๙
            ๒๑๘๙. ตะลุง - หนัง  เป็นมหรสพอย่างหนึ่ง ที่แสดงรูปด้วยหนัง เป็นที่นิยมกันมาก ในจังหวัดภาคใต้ของไทย จนถือได้ว่าเป็นมหรสพประจำภาคใต้ เช่นเดียวกับมโนราห์ มีแบบแผนการแสดงดังนี้
                ตัวหนัง  ใช้หนังวัว และฉลุสลักให้เป็นตัวแสดงในเรื่อง เช่น พระราม พระลักษณ์ ทศกัณฐ์ และอุปกรณ์ประกอบเรื่อง เช่น ต้นไม้ ราชรถ มีลายกระหนกสอดแทรก
                คนเชิดหนัง  โดยปรกติเป็นเจ้าของคณะซึ่งเชิดหนังเอง ร้องและเจรจาเอง เรียกกันว่า นายหนัง
                โรง ปลูกยกพื้นสูงพอเหมาะกับสายตาคนอื่นดู เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าขึงจอซึ่งทำด้วยผ้าขาว ทาบริมแดงโดยรอบ ด้านข้างและด้านหลังกั้นฝามิดชิด คนเชิดหนัง นักดนตรี และคณะผู้แสดงอยู่ในโรงทั้หมด
                ดนตรี  มีปี่ ๑ เลา ทับ (หรือโทน) ๑ คู่ ฆ้องคู่ (ภาคใต้เรียกโหม่ง) กลอง (ขนาดย่อม) ฉิ่งและฉาบ โทน (ปัจจุบันทางภาคใต้ทำเป็นรูปคล้ายกลองแขกแต่ขนาดสั้น) ฆ้องคู่
                อุปกรณ์การแสดง  มีต้นกล้วยตัดหัวท้ายวางทอดภายในด้านล่างของจอต้นหนึ่ง สำหรับปักธูปเวลาแสดง และอีกสองต้นวางชิดฝาผนังด้านข้างทั้งสอง สำหรับมัดรูปที่เตรียมไว้แสดง โคมไฟสองดวงห้อยห่างจากจุดประมาณ ๓๐ ซม.
                เรื่องที่แสดง  สมัยโบราณแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว ปัจจุบันในภาคใต้แสดงเรื่องประเภทเทพนิยายที่แต่งขึ้นใหม่ แต่ในภาคกลางแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว
                วิธีแสดง  ภาคใต้เริ่มเอาหนังตัวใดตัวหนึ่งหรือรูปต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น ปักทาบจอไว้ แล้วดนตรีก็บรรเลงโหมโรง จนกว่าจะถึงเวลาแสดง จึงเอารูปตัวนั้นเข้า เริ่มแสดงด้วยออกรูปฤษีซึ่งถือเป็นครู จากนั้นจึงออกรูปพระอิศวร ทรงโคอุสุภราช ต่อไปเปลี่ยนเป็นตัว "หน้าบท" เป็นภาพมนุษย์หนุ่มแต่งกายอย่างละครรำ สวมกรอบหน้า ผู้เชิดกล่าวคำบูชาครูบาอาจารย์ ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธ์ เป็นคำกลอน จากนั้นหนังตัวอำมาตย์ตัวหนึ่ง โดยมากมักจะใช้ตัวที่มีชื่อเมือง หรือขวัญเมืองออกมาบอกเรื่องราวที่จะแสดงตอนเหล่านี้เรียกว่าเป็นตอนเบิกโรง จากนั้นจึงจะเริ่มแสดงเรื่องต่าง ๆ โดยจับเรื่องตั้งแต่ตั้ง "เมือง" เป็นต้นไป
                ถ้าจะแสดงเรื่องรามเกียรติ์ก็มีวิธีเบิกโรงอยู่สองแบบแบบหนึ่ง อย่างที่กล่าวมาแล้ว อีกแบบหนึ่ง เบิกโรงด้วยแสดงชุด จับลิงหัวค่ำ คือการต่อสู้ระหว่างลิงขาวกับลิงดำ  สำหรับทางภาคกลางเบิกโรงด้วย "เบิกหน้าพระ" และ "จับลิงหัวค่ำ" เริ่มต้นด้วยปักหนังตัวฤาษีไว้กลาง มีภาพพระอิศวร พระนารายณ์ ท่าแผลงศรอยู่สองข้างแล้วผู้เชิดจึงพากย์ไว้เทพเจ้าและเอาหนังตัวพระอิศวร พระนารายณ์ ประลองฤทธิ์กัน ตอนนี้เรียกว่า เบิกหน้าพระ ต่อจากนั้นจึงแสดงชุดจับสิงหัวค่ำโดยเชิดตัวลิงดำ และลิงขาว ออกกันคนละทีแล้วจีงพบและรบกัน ลิงขาวจับลิงดำได้ จะนำไปฆ่า ไปพบพระฤษีได้ขอชีวิตไว้แล้วปล่อยตัวไป
                หนังตลุงภาคใต้ในจังหวัดที่เป็นไทยอิสลามเรียก "วายังกุลิต" การแสดงก็คล้ายคลึงกันหากแต่ใช้ภาษามลายู เป็นพื้นและเครื่องดนตรีบางอย่างก็มีรูปร่างลักษณะผิดแปลกกันไปบ้าง
                ส่วนหนังตลุงของมลายูนั้น การแสดงก็คล้ายคลึงกับของไทย และแสดงเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งเข้าใจว่าจะถอดแบบไปจากไทย จึงเรียกว่า "วายังเซียม"
                คำว่าตะลุง นี้นอกจากจะเป็นชื่อหนัง ซึ่งเป็นมหรสพอย่างหนึ่งแล้ว ในสมัยโบราณยังมักเรียกอาณาจักรภาคใต้ว่า "เมืองตะลุง"          หน้า ๗๖๙๐
            ๒๑๙๐. ตะลุ่ม  มีคำนิยามว่า "ภาชนะสำหรับใส่ของแทนถาดหรือพาน"
                ตะลุ่มกับพานต่างกันคือ ตะลุ่มมีเชิง ส่วนถาดไม่มีเชิง ตะลุ่มกับพาน ต่างกันที่ตรงมีขอบบนหรือปาก ตะลุ่มเป็นโค้งงุ้ม เข้าไปข้างใน แต่ปากพานไม่โค้งเช่นนี้ แต่จะโค้งผายออกนอก
                เดิมตะลุ่มเป็นของใช้ประจำวัด เสมือนเป็น "สำรับ" ของพระสงฆ์ ตามปรกติใช้กับ โอ เพื่อให้ใช้เกื้อกูลกับบาตร
                ตะลุ่มมีหลายขนาดทั้งรูปทรงกลมและทรงเหลี่ยม ชาวบ้านทั่วไปไม่ใช้ตะลุ่มเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านเหมือนถาดและพาน จะมีใช้บ้างตามวังเจ้านาย และตามบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บ้านคหบดีผู้มีฐานะ ทางเมืองเขมร และทางแถบเมืองจันทบุรีของไทยเรียกตะลุ่มว่า เตียบ ตะลุ่มนั้นจะใช้มากในกรณีที่เกี่ยวกับพระสงฆ์
                การใช้ตะลุ่มได้มีมาแต่โบราณ การผลิตตะลุ่มสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้มีการประดับมุกแล้ว          หน้า ๗๖๙๘
            ๒๑๙๑. ตะลุ่มโปง - เพลง  เป็นเพลงไทยของเก่ามีครบทั้งสามอัตรา โดยเฉพาะอัตราชั้นเดียวกับ สองชั้น เป็นเพลงที่ใช้ร้องประกอบการแสดงละคร และบรรเลงมโหรีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
                ชื่อเพลงที่ตั้งว่า "ตะลุ่มโปง" นั้นท่านผู้แต่งคนแรกอาจตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำบลหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ก็เป็นได้ เพราะมีวัดหนึ่งอยู่ใกล้กับบ้านดอนกำยานชื่อวัดตะลุ่มโปง
                เมื่อเกิดการแสดงลิเกขึ้นในสมัยรัชการที่ห้า เพลงตะลุ่มโปงชั้นเดียวได้เป็นเพลงหนึ่งที่ใช้ร้องเป็นประจำอยู่ในการแสดงลิเกคู่กับเพลงหงส์ทอง         หน้า ๗๗๐๓
            ๒๑๙๒. ตะลุมพุก - ปลา  เป็นปลาอยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว เวลาจะวางไข่จะเข้ามาในน้ำจืด ในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์          หน้า ๗๗๐๕
            ๒๑๙๓. ตะเลง เป็นชื่อที่ใช้เรียกชาติมอญอีกชื่อหนึ่ง ชนชาติมอญนับเป็นศัตรูคู่แข่งแย่งความเป็นใหญ่กับชนชาติพม่ามาเป็นเวลาช้านาน ในที่สุดชนชาติมอญเป็นฝ่ายแพ้และต้องตกอยู่ในปกครองของพม่าเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้พวกพม่าจึงเรียกชนชาติมอญว่า "ตะเลง" โดยให้ความหมายว่า ผู้ที่ถูก (พม่า) เหยียบย่ำ หรือผู้แพ้
                มีบางท่านสันนิษฐานว่า คำตะเลงน่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า ไตลิงคะ ว่าในสมัยโบราณชาวกลิงค์จากอินเดียเคยอพยพข้ามทะเล ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายฝั่งของประเทศพม่า ซึ่งในสมัยโน้นเป็นประเทศมอญ มีภาษาอยู่ในตระกูลทราวิท         หน้า ๗๗๐๖
            ๒๑๙๔. ตะเลงพ่าย  เป็นชื่อวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิดชิโนรส สมเด็จพระสังฆราช วรรณคดีเรื่องนี้แต่งเป็นลิลิต มีเนื้อความตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระนเรศวร ฯ ตะเลงพ่ายมีลีลาการแต่งในทำนองมหากาพย์ คือ สรรเสริญวีรกรรมของวีรกษัตริย์ไทย         หน้า ๗๗๑๒
            ๒๑๙๕. ตะไล  เป็นดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งมีปีกเป็นวงกลม ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ข้างในกระบอกบรรจุด้วยดินปืน ซึ่งทำขึ้นเองจากดินประสิวและถ่านไม้ นิยมทำร่วมกับดอกไม้ไฟชนิดอื่น ๆ เช่น จรวด กรวด หรือตรวด (บ้องไฟหรือบั้งไฟ) อ้ายตื้อเป็นต้น ในงานเทศกาลต่าง ๆ หรือ เป็นการบูชา และว่าตะไลเป็นคำภาษามอญ          หน้า ๗๗๑๒
            ๒๑๙๖. ตักโกละ  คำตักโกละปรากฎอยู่ในหนังสือของปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเขียนขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ว่าเป็นศูนย์การค้าที่สำคัญ ในภาคเอเซียอาคเนย์ ชื่อนี้ได้ปรากฎอยู่ เช่นกับในคัมภีร์มหานิทเกส ภาษาบาลีซึ่งแต่งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๘ และในหนังสือมีลินทปัญหา ซึ่งแต่งขึ้นในระยะเดียวกัน นอกจากนั้น จึงปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่เมืองตันชอร์ ทางภาคใต้ของอินเดียในระหว่าง พ.ศ.๑๕๗๓ - ๑๕๗๔ ว่าเป็นสถานที่ซึ่งพระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑ แห่งอาณาจักรโจฬะ ทางภาคใต้ของอินเดียร ทรงยกทัพเรือมาปราบปรามได้
                คำว่าตักโกละ มีผู้แปลว่าตลาดกระวาน และกล่าวว่าตรงกับอำเภอตะกั่วป่า จ.พังงา บนฝั่งทะเลตะวันตกทางภาคใต้ของไทย ที่เกาะคอเขาตรงข้ามอำเภอตะกั่วป่า ได้ค้นพบลูกปัดและเศษเครื่องถ้วยชาม และที่ อ.ตะกั่วป่า ก็ได้ค้นพบประติมากรรมศิลาขนาดใหญ่ แสดงถึงฝีมือช่างอินเดียภาคใต้ในสมัยราชวงศ์ปัลละวะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พร้อมกับศิลาจารึกภาษาทมิฬ ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓        หน้า ๗๗๑๙
           ๒๑๙๗. ตั๊กแตน เป็นแมลงพวกหนึ่ง เป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ ปากเป็นแบบกัดและเคี้ยวกิน ตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่บนบก มีรูปร่างคล้ายคลึงกับตัวโตเต็มไวมาก
                ชื่อที่ใช้เรียกตั๊กแตนในภาคต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปตามสำเนียงในท้องถิ่น มีการแบ่งตั๊กแตนออกไปหลายพวกหลายเหล่า และให้ชื่อต่าง ๆ กัน ได้แก่ตั๊กแตนหนวดสั้น ตั๊กแตนผี ตั๊กแตนขาแดง ตั๊กแตนขาลาย ตั๊กแตนข้าว ตั๊กแตนปาทังกา  ตั๊กแตนหิน ตั๊กแตนตำข้าว ตั๊กแตนกิ่งไม้และตั๊กแตนใบไม้ ตั๊กแตนหนวดยาว ตั๊กแตนใบอโศก ตั๊กแตนดอกหญ้า          หน้า ๗๗๑๙
            ๒๑๙๘. ตักสิลา  เป็นชื่อนครหลวงของแคว้นคันธาระแห่งอินเดียโบราณ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป ตัวเมืองตั้งอยู่ใกล้ภูเขามูรี บนพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำเชลุม ปัจจุบันเหลือแต่ทรากปรักหักพัง
                ในสมัยโบราณนครตักสิลา เป็นที่ชุมทางสายสำคัญถึงสามสาย สายที่หนึ่งมากจากฮินดูสถานและจากภาคตะวันออกของอินเดีย โดยเริ่มต้นจากนครปาฎลีบุตร ผ่านไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจักรวรรดิ์เมารยะ สายที่สองตั้งต้นจากเอเซียตะวันตกผ่านนครบักเตรีย กาบิสี และปุษกลาวดี ผ่านแม่น้ำสินธูมาสิ้นสุดที่นครตักสิลา สายที่สามตั้งแต่แคว้นกัษมีระ ผ่านมาทางที่ราบระหว่างหุบเขาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองศรีนครในปัจจุบันมาถึงที่ราบหริปุระตรงไป ยังนครตักสิลา
                ตักสิลาสมัยที่ยังรุ่งเรืองเคยเป็นราชอาณาจักร มีอาณาเขตทิศเหนือจดเทือกภูเขากัษมีระ ทิศตะวันตกจดแม่น้ำสินธู ทิศตะวันออกจดแม่น้ำเชลุม ทิศใต้จดแม่น้ำเชนาบและปันชนาด
                ในวรรณคดีโบราณของอินเดีย คัมภีร์รามายณะกล่าวว่า พระภรตราชโอรสพระนางไกยเกยี (สี) ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของพระรามได้ทรงสร้าง นครตักสิลาขึ้น และให้พระโอรสไปครอง คัมภีร์มหาภารตกล่าวว่า พระเจ้าชนเมชัยกรีธาทัพไปตีนครตักสิลาได้ ตักสิลาน่าจะมีอายุพอ ๆ กับนครพาราณสี ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันปี
                พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ทรงกรีธาทัพเข้าบุกอินเดียในปี พ.ศ.๒๑๖ และตีได้เมืองตักสิลา และก่อนจะทรงยกทัพออกจากอินเดียก็ได้ทรงตั้งนายทหารชื่อ ฟิลิป อยู่ควบคุมดูแลตักสิลา
                ประมาณปี พ.ศ.๒๒๖ กองทัพของจันทรคุปต์ก็สามารถขับไล่กองทัพกรีกที่เหลืออยู่ในอินเดียออกไปจนหมด และเริ่มต้นจักรวรรดิ์เมารยะ เมื่อพระเจ้าจันทรคุปต์สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๒๕๔ พินทุสาร ราชโอรสขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ส่งเจ้าชายอโศก ราชโอรสไปปกครองตักสิลาเมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ส่งเจ้าชายนกุละ ราชโอรสไปปกครองตักสิลา
                เมื่อพระภิกขุเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ไปสืบศาสนาในอินเดียระหว่างปี พ.ศ.๑๑๗๒ - ๑๑๘๘ นครตักสิลากำลังอยู่ในยุคที่เสื่อมโทรมและในที่สุดก็ดับสูญไป
                ตักสิลาสมัยรุ่งเรืองมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการมาก วรรณคดีพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีชาดกได้พูดถึงตักสิลาบ่อย ๆ ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษามาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล อาจารย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาการเรียกกันว่า อาจารย์ทิศาปาโมกข์ แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในทิศ วิชาที่สอนกัน มีไตรเพทและศิลปศาสตร์ ๑๘ อย่าง           หน้า ๗๗๓๕
            ๒๑๙๙. ตัง  คือยางไม้ที่ผสมกับสิ่งอื่นๆ แล้วทำให้เหนียว ใช้สำหรับดักนกและสัตว์เล็ก ๆ ยางไม้นั้นนิยมใช้ยางโพ ยางมะเดื่อ ยางขนุน ยางลั่นทม แล้วนำมาประสมกับน้ำมันยางที่ข้น          หน้า ๗๗๔๒
            ๒๒๐๐. ตังเกี๋ย  ๑. ชื่อเมืองหลวงของราชวงศ์ตั้งฮั่น และราชวงศ์อื่น ๆ อีกหลายราชวงศ์ ตั้งอยู่ที่เมือกลกเจี๋ยง
                    ๒. ชื่อดินแดนในเมืองไคฮง (ไคฟง) ในมณฑลฮ่อหนำ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงสมัยปลายราชวงศ์ถัง เมืองไคฮงมีชื่อเสียงมาก ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ผู้ว่าราชการเมืองไคฮงชื่อ เปาบุ้งจิง (เปาบุ้นจิ้น) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถมากในการปกครอง ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม (ดูเปาบุ้นจิ้น - ลำดับที่...)
                    ๓. ดินแดนในฮานอย ตามประวัติศาสตร์จีนเรียกเมืองนี้ว่า เกาจี้ สมัยที่ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนตั้งเป็นจังหวัดตังเกี๋ย มีอาณาเขตจดประเทศจีน
                    ๔. ชื่ออ่าวอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง แถบบริเวณเกาะไหหลำ และแหลมหลุ่ยจิวจดเวียดนาม
                    ๕. ชื่อเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ภาษาจีนเรียกว่า ตังเกี๋ย ภาษาไทยเรียกว่า โตเกียว
                    ๖. ชื่ออ่าวในนครโตเกียวประเทศญี่ปุ่น      หน้า ๗๗๔๓
            ๒๒๐๑. ตังจิ้น  เป็นชื่อราชวงศ์หนึ่งของจีน แบ่งออกเป็นสองยุค ยุคแรกเรียกว่า ไซจิ้น ยุคหลังเรียกว่า ตั้งจิ้น (ดูจิ้น - ลำดับที่ ๑๔๐๖ ประกอบ)          หน้า ๗๗๔๕
            ๒๒๐๒. ตั๋งโต๊ะ  เป็นชื่อบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน เป็นนายทหารในรัชสมัยพระเจ้าหวังตี่แห่งยุคตั้งฮั่น (ดูตั้งฮั่น - ลำดับที่ ๒๒๐๐ ประกอบ) ถึงรัชสมัยพระเจ้าเหล่งตี่ได้เลื่อนยศเป็นนายพลและเป็นข้าหลวงมณฑลเป่งจิว เมื่อพระเจ้าเหล่งตี่ สวรรคต พวกขันทีถือโอกาสกุมอำนาจการปกครองไว้ ตั๋งโต๊ะปราบพวกขันทีได้สำเร็จ แล้วสถาปนาพระเจ้าเหี้ยงตี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาตนเองเป็นอัครมหาเสนาบดี ตั๋งโต๊ะเป็นบุคคลที่ประพฤติมิชอบ เป็นที่เดือดร้อนแก่บรรดาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน จึงมีกลุ่มข้าราชการทั้งทหาร และพลเรือนยกกองทัพมาปราบ ตั๋งโต๊ะได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเฉียงอัน มณฑลเซียมไซ พร้อมทั้งนำตัวพระเจ้าเหี้ยงตี่ไปเป็นประกัน และมีดำริจะครองราชย์เสียเอง อ่วงยุ่ง (อ้องอุ้น) จึงคิดอุบายให้นางเตียวเสี้ยนผู้เลอโฉมไปมอบตัวเป็นนางบำเรอแก่ตั๋งโต๊ะ และให้ลิโป้ลอบสังหารตั๋งโต๊ะได้สำเร็จ         หน้า ๗๗๔๕
            ๒๒๐๓. ตั้งฮั่น  เป็นชื่อราชวงศ์หนึ่งของจีน (พ.ศ.๕๖๘ - ๗๖๓) นับเป็นยุคหลังของราชวงศ์ฮั่นโดยที่ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็นสองยุค ยุคแรกเรียกว่าไซฮั่น ยุคหลังเรียกว่า ตั้งฮั่น ราชวงศ์ไซฮั่นสิ้นสุดลงเมื่อขุนนางผู้หนึ่งเป็นขบถเข้ายึดราชบัลลังก์ ต่อมาเล่าสิ่วซึ่งสืบสกุลจากกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นสามารถปราบขบถได้ จึงสถาปนาตนขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ตั้งฮั่น แล้วย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองลกเอี๋ยง ในมณฑลฮ่อหนำ
                ราชวงศ์ตั้งฮั่นมีกษัตริย์รวม ๑๒ องค์ องค์แรกคือ พระเจ้ากวงบู้ พระนามเดิมว่า เล่าสิ้ว องค์สุดท้ายคือพระเจ้า เหี้ยงตี่ ครองราชย์ได้ ๓๐ ปี โจผี บุตรโจโฉบังคับให้พระองค์สละราชบัลลังก์ รวมระยะเวลาครองราชย์ของราชวงศ์ตั้งฮั่น ๑๙๖ ปี          หน้า ๗๗๔๖
            ๒๒๐๔. ตัณหา โดยรูปคำแปลว่า ความอยาก ความโลภ ได้แก่ ความอยาก ความโลภในอารมณ์ โดยความได้แก่ความปรารถนา ความดิ้นรน ความเสน่หา ความอยากได้อย่างแรงที่เรียกว่า ทะยาน ว่าดิ้นรนในอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมดาที่เกิดกับใจ
                ตัณหาเมื่อจัดตามประเภทอารมณ์ดังกล่าว จึงเป็นตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัทตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา ไผฏฐัพตัณหา และธัมมตัณหา
                ตัณาหาทั้ง ๖ นี้ เมื่อว่าโดยอาการที่เป็นไปในอารมณ์แบ่งเป็นสามอย่าง คือ
                    ๑. กามตัณหา ได้แก่ ความอยากในกาม คืออารมณ์ที่น่าใคร่ น่าติดใจ ความอยากได้ในกามธาตุ หรือกามภพ (ดูภพ - ลำดับที่ ...ประกอบด้วย)
                    ๒. ภวตัณหา ได้แก่ ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่ โดยประกอบด้วยภวทิฐิ หรือสัสตทิฐิ คือเห็นว่าอารมณ์หรือตนหรือโลกเป็นของเที่ยง ยั่งยืนเสมอไป ความอยากเป็นอยู่ในภพที่เกิดด้วยอำนาจความอาลัย และความอยากเกิดในภพที่ปรารถนาต่อไป ความอยากเป็นนั้นเป็นนี่ สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย อีกอย่างหนึ่งได้แก่ความอยากในรูปธาตุ และอรูปธาตุ หรือรูปภพและอรูปภพ
                    ๓. วิภวตัณหา ได้แก่ ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่โดยประกอบด้วยอุจเฉกทิฐิ คือเห็นว่าอารมณ์หรือตนหรือโลกเป็นของสูญ
                เมื่อว่าโดยพิศดาร ตัณหานั้นมีถึง ๑๐๘ อย่าง          หน้า ๗๗๔๗
            ๒๒๐๕ ตัตวศาสตร์  เป็นวิชาที่ว่าด้วยสาเหตุและกฏของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราเรียกว่าปรัชญาเป็นเรื่องที่นักปรัชญาชาวอินเดียสำนักต่าง ๆ ได้ศึกษาค้นคว้ามาทุกยุคทุกสมัย ได้แต่งหนังสือบรรยายไว้มากมายใช้ชื่อต่างๆ  กัน แต่มีคำว่าตัดวะนำหน้า
                 ในปรัชญาสางขยะกล่าวถึงตัตวะไว้ว่ามี ๒๕ อย่าง ในปรัชญาเชนกล่าวถึงตัตวะไว้ว่ามี ๒ ก็มี ๕ ก็มี และ ๗ ก็มี ในพุทธปรัชญากล่าวถึงตัตวะ ๖ หรือธาตุ ๖ คือมโนธาตุ อากาศธาตุ และวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
                สรุปความว่า ตัตวะหรือหลักการนี้คือ สัจธรรม สภาวธรรม หรือความจริงขั้นสูงสุดเกี่ยวกับคน โลก และพระเจ้า หรืออมฤดภาพ ซึ่งเป็นเนื้อหาของอภิปรัชญานั้นเอง         หน้า ๗๗๕๐
            ๒๒๐๖. ตักยศึกษา  เป็นการศึกษาแบบที่นิยมกันในหลายประเทศในทวีปยุโรป เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
                มีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากการฟื้นฟูวิชาความรู้ตามแบบมนุษยธรรมในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ และการปรับปรุงสังคม และคริสต์ศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และ ๒๒ การฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่เดิมมีความมุ่งหมายที่จะสอนให้ความรู้ภาษา และวรรณคดีกรีก และลาตินภายหลังปรากฏมุ่งสอนภาษา และวรรณคดีดังกล่าวแคบเข้าตามแบบสำนวนโวหารของซิเซโร การปฏิรูปศาสนาก็กำหนดคำสั่งสอน และวิธีสอนไว้ในวงจำกัดเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีผู้สนใจในการศึกษา เสาะแสวงหาวิชาความรู้ที่จะฝึกฝนให้สติปัญญาแตกฉาน จึงได้ริเริ่มศักยศึกษาขึ้น ซึ่งเป็นแบบที่มีจุดประสงค์สอนเนื้อหาอย่างแท้จริงของวิชาความรู้ โดยใช้เหตุผลหรือประสาทสัมผัสได้ดีกว่า โดยอาศัยความจำ และประเพณีนิยม ตักยศึกษาแบ่งออกเป็นสามสาขาคือ ตักยธรรม เกี่ยวกับมนุษยธรรม ตักยธรรมเกี่ยวกับสังคม และตักยธรรมเกี่ยวกับประสาทสัมผัส        หน้า ๗๗๕๓
            ๒๒๐๗. ตัน  เป็นชื่อมาตราชั่งน้ำหนักของอังกฤษและอเมริกัน มาตราตันตามที่ใช้กันมี สามอย่างคือ ลองตัน ชอร์ตตัน และเมตริกตัน
                ลองตัน  เท่ากับ ๒,๒๔๐ ปอน์ด เทียบมาตราเมตริก เท่ากับ ๑๐๑๖.๐๖ กก.ในประเทศไทยการค้าดีบุกซึ่งติดต่อกับทางมาเลเซียใช้ลองตันเท่ากับ ๑๖.๘ หาบ หาบหนึ่งเท่ากับ ๖๐.๔๘ กก.
                ชอร์ตตัน  เท่ากับ ๒,๐๐๐ ปอน์ด เทียบมาตราเมตริกเท่ากับ ๙๐๗.๒๐ กก.
                เมตริกตัน  เท่ากับ ๑,๐๐๐ กก. เทียบมาตราอังกฤษเท่ากับ ๒,๒๐๔.๖ ปอน์ด
                ตันมีที่ใช้เกี่ยวกับเรือ คือ น้ำหนักบรรทุกของเรือซึ่งเรียกว่า "ระวาง" น้ำหนักบรรทุกของเรือมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคิดทั้งลำเรือตลอดหมด กำหนดว่า ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุตเท่ากับ ๑ ตัน อีกอย่างหนึ่งคิดหักส่วนที่เป็นเครื่องจักร หม้อน้ำ ห้องคนประจำเรือ ฯลฯ ออก เหลือแต่ที่บรรทุกสินค้าอย่างเดียวกำหนดว่า ๔๐ ลูกบาศก์ฟุตเท่ากับ ๑ ตัน ระวางเรือที่เรียกเป็นตัน คิดอย่างระวางบรรทุกสินค้านี้ วิธีกำหนดมักถือเอาน้ำหนักตัวเรือเป็นเกณฑ์ คือตัวเรือน้ำหนักเท่าไร น้ำหนักบรรทุกหรือระวางโดยมากตกประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเรือ ตันเกี่ยวกับระวางบรรทุกสินค้านี้ พูดอีกนัยหนึ่งก็ว่าคิดทางวัด คือคิดเป็นลูกบาศก์ฟุต ไม่ได้คิดทางชั่งน้ำหนัก ตันระวางเรือดังกล่าวเรียกกันว่า ชิปปิ่งตัน
                ในวงการค้าข้าวเมืองไทย มีคำนวณอัตราเทียบเกี่ยวกับเกวียนไว้ เฉพาะดังนี้
                    ๑ เกวียน = ๑๖ หาบ ข้าวเปลือก = ๒,๑๓๓ ๑/๓ ปอนด์ = ๙๖๘ กก. = ๒๒ หาบปลายข้าว
                    = ๑.๓๑ ตัน = ๑,๓๓๐ กก. = ๒๓ หาบข้าวสาร = ๑.๓๗ ตัน = ๑,๓๙๑ กก.
                    เกวียนโรงสี = ๒๔ หาบ = ๑.๔๖ ตัน = ๑,๔๘๘ กก.
                    เกวียนโรงสีคิด ๘๒ ถัง ถังละ ๔๐ ปอนด์
                    ๑ กระสอบ = ๑๐๐ กก. = ๖ ถัง กับ ๕ ลิตร ถังละ ๒๐ ลิตร          หน้า ๗๗๕๙
            ๒๒๐๘. ตันตรยาน  ลัทธิตันตระหรือนิกายฝ่ายซ้ายของศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่เกิดขึ้นในตอนหลัง โดยรับเอาลัทธิตันตระของศาสนาฮินดูมาดัดแปลงผสมผสานกับหลักความเชื่อ และหลักปรัชญาของมหายาน เพื่อแข่งขันกับลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู
                คำว่า ตันตระแปลกันหลายนัยด้วยกัน ต้นกำเนิดของลัทธิฮินดู ตันตระจริง ๆ ไม่มีใครรู้แน่นอน ได้แต่สันนิษฐานกัน บางพวกเชื่อว่าเผ่าชนโบราณเผ่าหนึ่งเรียกว่า วราตยะ นำเข้ามาในอินเดีย พวกนี้เข้ามาทางทิศตะวันตกเฉียงหนือ และตั้งรกรากอยู่ทางทิศตะวันออก คืออาณาบริเวณที่เป็นแคว้นพิหาร และเบงกอลปัจจุบัน ในคัมภีร์มนูศาสตร์ กล่าวว่า พวกลิจฉวี และมัลละ ก็สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่านี้ บางท่านว่า ชนเผ่าทิเบต พม่า และมอญ - เขมร ก็สืบมาจากชนเผ่านี้ พวกนี้นำเอาลัทธิบูชาแบบบาปิโลนติดมาด้วย
                ร่องรอยของลัทธิตันตระปรากฎอยู่ทั่วไปตามเส้นทางแถบพรมแดนที่ชนพวกนี้อพยพมา คือจากอาฟกานิสถาน และแคชเมียร์เรื่อยมา ตามเส้นพรมแดนตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอุตร ประเทศจนถึงแคว้นเบงกอล และอัสลัมตะวันออก พวกอารยันในสมัยโบราณเรียกดินแดนเหล่านี้ว่า ดินแดนของพวกอนารยันไม่นับถือศาสนาพราหมณ์ แต่นับถือผีสางตามแบบตน
                ต่อมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ชาวฮินดูพวกหนึ่งได้ปรับปรุงความเชื่อถือ ศาสนาเดิมของตน ให้ผิดแปลกออกไปจากเดิม โดยนำเอาลัทธิของพวกอนารยัน ในบริเวณดังกล่าวนี้มาผสม และได้ตัดความเชื่อถือเดิมบางประการทิ้งไปเสีย เช่น เลิกพิธีบูชาแบบของพราหมณ์ ถือตามลัทธิบูชาของคนพื้นเมืองนี้ คือฆ่าสัตว์บูชายัญ นำโลหิตสัตว์ที่ฆ่าไปบูชาเทพเจ้าในเทวาลัย เลิกใช้ภาษาสันสกฤต ใช้ภาษาพื้นเมืองเป็นภาษาสวดมนต์ในพิธีแทนมีพิธีแห่เทวรูป และแสดงลัทธิอย่างแสดงละคร ในเทวาลัยก็จัดให้มีหญิงแพศยาไว้ประจำ เรียกว่า เทพทาสี พิธีที่ประกอบในเทวาลัยนั้น ยิ่งหยาบช้า ลามกได้เท่าไหร่ก็ถือว่าเป็นที่พอใจของมหาเทพ และมหาเทพีเท่านั้น
                หลักปฎิบัติที่ขาดไม่ได้ของพวกตันตระคือ ดื่มน้ำเมา กับเนื้อสัตว์ พร่ำมนต์ให้เกิดความกำหนัด ทำท่ายั่วยวนและเสพเมถุน หลักปฏิบัติดังกล่าวนี้กระทำกันในที่มืดหรือกลางคืน จึงเรียกว่า กาลจักร
                พุทธมหายานในบริเวณนั้นค่อย ๆ รับเอาความเชื่อในเรื่องตันตระเข้ามาผสมกับความเชื่อเดิมมากขึ้น ตามลำดับ จนเกิดพุทธตันตระขึ้น พวกมหายานด้วยกันถือว่าพวกนี้เป็นพวกสัทธรรมปฏิรูป คือ พวกนอกรีดนอกรอย เป็นพวกฝ่ายซ้ายและกล่าวคัดค้านโต้แย้ง แต่พวกนี้กล่าวว่า หลักธรรมแบบนี้สามัญชนรู้ไม่ได้ พระไวโรจนพุทธเจ้าเทศนาไว้ในวัชรธรรมธาตุมณเฑียร ต่อมานาคารชุนได้ไปเปิดกรุพระะธรรมลึกลับนี้ ออกมาเปิดเผย แต่เปิดเผยเฉพาะบางคนเท่านั้น เพราะหลักธรรมนี้ลี้ลับจึงเรียกลัทธินี้ว่า คุยหยาน
                ชื่อของพุทธตันตระมีอีกสองชื่อตามลักษณะของหลักปรัชญา และพิธีกรรม เพราะเหตุที่ลัทธินี้มีหลักปรัชญาที่สูงเหนือธรรมชาติมีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีอะไรต้านทานได้เหมือนสายฟ้าจึงเรียกลัทธิว่า วัชรยาน และเพราะเหตุที่ลัทธินี้ถือการสวดมนต์คาถาถือเอาการบูชา และเลขยันต์เป็นพิธีกรรมที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์จึงให้ชื่อว่า มนตรยาน
                เมื่อพุทธตันตระยาน แพร่หลายออกไป ปรากฏว่าได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ จากกษัตริย์ราชวงศ์ปาละเป็นอย่างดี ทำให้คำสอนของลัทธิพุทธตันตระพัฒนา และรวมตัวขึ้นเป็นพุทธศาสนาตามแบบทางการในยุคนั้น ซึ่งมีหลักคำสอนผสมกันระหว่าง ปรัชญาปารมิตา ของมาธยมิกะกับตันตระของฮินดู สถาบันศึกษาหลายแห่งได้เปิดสอนลัทธินี้กันอย่างแพร่หลาย เช่นที่นาลันทา โอทันตปุรี วิกรมศิลา ชัคคทละ และโสมรูปะ
                ต่อมาภิกษุที่สำเร็จการศึกษาจากนาลันทาและสำนักศึกษาพุทธตันตระอื่นๆ ก็เผยแพร่ลัทธิออกไปนอกประเทศ เช่น คุรุปัทมสมภพ จากนาลันทา เข้าไปเผยแพร่ในทิเบต จนเกิดเป็นลัทธิลามะขึ้น ศุภกรสิงห์ ได้ไปเผยแพร่ถึงประเทศจีน ในแผ่นดินพระเจ้าถังเฮี้ยงจง และได้แปลคัมภีร์มหาไวโรจนสูตร ออกสู่ภาษาจีนด้วย และได้ถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่ อิกเห็ง ซึ่งเดิมเป็นสานุศิษย์สำนักนิกายเซน ต่อมาได้เป็นคณาจารย์ใหญ่ในจีนได้แต่งอรรถกถาขยายความ ไวโรจนสูตรถึง ๒๐ ผูกซึ่งถือเป็นคัมภีร์สำคัญของลัทธินี้
                คณะสงฆ์ญี่ปุ่นเริ่มสนใจ โกโบะไดชิ ได้เดินทางมายังประเทศจีน และนำลัทธิมนตรยานกลับไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น เรียกว่า ชินกุงอน เป็นนิกายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระเจ้าจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นด้วย
                ในประเทศไทย มนตรยาน หรือวัชรยานได้แพร่เข้ามาในสมัยสุโขทัย - เชียงแสน สองระยะคือ ราว พ.ศ.๑๓๐๐ - ๑๙๐๐ และราว พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ จึงมีการนับถือพระพุทธรูปในฐานะของขลัง              หน้า ๗๗๖๑
            ๒๒๐๙. ตันตระ  เป็นชื่อคัมภีร์ของตันตระยาน หรือลัทธิตันตระ ทั้งที่เป็นฮินดูตันตระและพุทธตันตระมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ที่มีรายชื่อปรากฏมีอยู่เพียง ๖๔ คัมภีร์
                พวกฮินดูตันตระเชื่อว่าคัมภีร์ทางศาสนาของอินเดียนั้นมีสี่ชนิด ซึ่งพระศิวะให้แก่มนุษย์เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย คือ คัมภีร์พระเวทสำหรับสัตยยุค คัมภีร์สัมฤติ สำหรับไตรดายุค คัมภีร์ปุราณะสำหรับทวาปรยุค และคัมภีร์อาคมหรือคัมภีร์ตันตระสำหรับกลียุค
                คัมภีร์ตันตระเท่าที่มีอยู่เกือบทั้งหมดแต่งขึ้นทีหลัง คือเล่มที่เก่าแก่ที่สุด แต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือ ๑๓ เล่มที่สำคัญ เช่น คุยหสมาส ของพุทธตันตรยาน แต่งขึ้นราว พ.ศ.๑๑๙๓ คัมภีร์มัญชูศรีมูลกัลปะ แต่งราว พ.ศ.๑๒๙๓ ส่วนคัมภีร์ฮินดูตันตระที่สำคัญที่สุดคือ รุทระ - ยามล แต่งราว พ.ศ.๑๕๐๐         หน้า ๗๗๖๙
            ๒๒๑๐. ตับหยงเปรียก  เป็นชื่อท่าเรือกรุงจาร์กาตา เมืองหลวงของประเทศอินโดเนียเซียเป็นทางออกของสินค้าจากภาคตะวันตกของเกาะชวา และสถานีการค้าใหญ่แห่งหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียตะวันออก          หน้า ๗๗๗๐
            ๒๒๑๑. ตับ ๑  เป็นต่อมต่อมหนึ่งของระบบการย่อยอาหาร เป็นต่อมที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับสดจะมีสีน้ำตาลปนแดงเนื้อแน่นบิดไปมาได้แต่เปราะ ทำให้ฉีกขาดได้ง่าย
                ปรกติตับจะมีตำแหน่งคงที่อยู่ทางส่วนบนด้านขวาของช่องท้อง มีกระบังลมเป็นขอบเขตทางด้านบน มีกระดูกซี่โครงกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง อยู่ทางด้านหน้าด้านข้าง และด้านหลัง มองจากด้านหน้าจะเห็นตับแบ่งออกเป็นสองกลีบ
                ตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่มากมายหลายชนิด มีหน้าที่เป็นต่อมขับวัตถุออกจากตับเข้าสู่ลำใส้แล้วออกไปจากร่างกาย เช่น น้ำดี วัตถุบางชนิดที่ใช้วนเวียนอยู่ในร่างกาย โดยไม่ขับออกไป คือเมื่อใช้แล้วก็อาศัยตับทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงลักษณะและส่วนประกอบ กลับมาใช้อีก ตับทำให้เกิดน้ำดี แล้วขับเข้าสู่ลำใส้ประมาณวันละครึ่งถึงหนึ่งลิตร
                เซลล์ตับกักเก็บน้ำตาลจากเลือดโดยเปลี่ยนเป็นกลัยโคเจ็น เช่นเดียวกับกรดแอมมิโน จะถูกกักเก็บจากเลือดโดยเปลี่ยนเป็นโปรตีน นอกจากนั้น ยังกักเก็บไขมัน วิตามิน
                เนื่องจากอาหารที่กินบางครั้งไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ตับจึงมีหน้าที่เปลี่ยน และดัดแปลงกลับไปมาระหว่างวัตถุที่ผ่านสู่ตับ ทำให้สามารถส่งวัตถุเหมาะกับความต้องการของร่างกาย ยิ่งกว่าดูดซึมจากลำใส้ผ่านหลอดเลือดดำปอร์ตัล เช่น ถ้าอาหารที่กินส่วนใหญ่เป็นโปรตีน เกือบไม่มีพวกคาร์โบไฮเดรตเลย เซลล์ตับจะเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรต ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงเป็นปรกติ การเปลี่ยนอีกแแบหนึ่งคือ ไขมันที่ดูดซึมจากลำใส้เข้าสู่กระแสเลือดในลักษณะเป็นหยดเล็ก ๆ จะถูกเซลล์ตับทำให้แตกแยกออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของไขมัน ส่วนที่แยกออกจะไปรวมกับโคลีน และฟอสฟอรัสทำให้เกิดสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อที่หุ้มตัวเซลล์
                การเปลี่ยนและดัดแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การทำให้วัตถุที่เป็นพิษที่ดูดซึม จากลำใส้หรือที่เกิดภายในร่างกาย ซึ่งถ้าปล่อยหมักหมมไว้จะเกิดเป็นอันตรายเช่น การเกิดแอมโมเนียจากการเมตาโบลิซัมของกรดแอมมิโน แอมโมเนียจะทำให้เกิดเป็นอันตราย เมื่อถึงจุดเข้มข้นระดับหนึ่ง เซลล์ตับจะกันไม่ให้ถึงระดับความเข้มข้นนั้น โดยเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นยูเรียซึ่งเป็นวัตถุไม่เป็นพิษ ยูเรียจะขับออกทางไต
                โปรตีนในเลือดส่วนใหญ่จะทำขึ้นโดยเซลล์ตับ
                เนื่องจากคนกินอาหารตามปรกติวันละสามครั้ง ฉะนั้น การดูดซับน้ำตาล ไขมัน และกรดแอมมิโน จึงแตกต่างกันมากในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง แต่ร่างกายก็ยังคงได้รับวัตถุที่ต้องการโดยสม่ำเสมอ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งนี้ต้องอาศัยการควบคุมโดยเซลล์ตับ เมื่อมีการดูดซึมน้ำตาลเข้าไปมาก เซลล์ตับจะเก็บน้ำตาลไว้เป็นกลัยโคเจน ขณะที่น้ำตาลได้ถูกใช้โดยร่างกายระหว่างเวลาอาหารซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง เซลล์ตับจะเปลี่ยน กลัยโคเจนที่เก็บไว้เป็นกลูโคสส่งเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดปรกติอยู่เสมอ
                ถือว่าดับเป็นอวัยวะสำคัญมากของร่างกาย อาจมีหน้าที่มากกว่า ๑๐๐ อย่าง          หน้า ๗๗๗๑
            ๒๒๑๒. ตับ ๒ - เพลง  เป็นคำที่ใช้เฉพาะในวงการดนตรีและขับร้องเพลงไทย ซึ่งหมายถึง การนำเอาเพลงหลาย ๆ เพลงมาขับร้องหรือบรรเลงติดต่อกันซึ่งจะต้องมีหลักเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็นสองอย่างคือ
                    ๑. ตับเรื่อง ใช้เฉพาะเพลงที่ต้องมีร้อง จะมีดนตรีรับหรือไม่มีก็ได้ เพลงต่าง ๆ ที่นำมาร้องและบรรเลงติดต่อกันไปนั้น บทที่ร้องจะต้องมีเนื้อเรื่องเป็นเรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ ฟังได้เป็นเรื่องเป็นราวติดต่อกัน ส่วนทำนองเพลงต่าง ๆ จะลึกลับกันอย่างไร ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ มีประสงค์อยู่อย่างเดียวแต่เนื้อเรื่องในบทร้องเท่านั้น เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ ตับพรหมมาสตร์ และตับอิเหนาตอนบวงสรวง
                    ๒. ตับเพลง วิธีเรียบเรียง เพลงต่าง ๆ เข้าตับถือทำนองเพลงเป็นสำคัญ คือเพลงจะต้องมีอัตราเดียวกัน เป็นเพลงประเภทเดียวกัน และมีทำนองเป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ติดต่อกันได้โดยสนิทสนม เช่น ตับลมพัดชายเขา ซึ่งมีเพลงลมพัดชายเขา เพลงลมหวน เพลงแขกมอญช้าง และเพลงเหรา
                การเรียบเรียงเพลงแบบ "ตับเพลง" นี้ถ้าเป็นการบรรเลงมโหรี ในสมัยโบราณมักเรียกว่า "เรื่อง" เรียกรวม ๆ ว่า เพลงเรื่องมโหรี และใช้ชื่อเพลงอันดับแรกเรียกเป็นชื่อเรื่อง เช่น เพลงตับเรื่องนางกราย ก็มีเพลงนางกราย นางเยื้อง สร้อยต่าน นาคเกี่ยวพระสุเมรุ พระรามตามกวาง พระราม (คืน) นคร พระรามเดินดง        หน้า ๗๗๘๘
            ๒๒๑๓. ตับเต่า ๑  เป็นชื่อเรียกพันธุ์ไม้ประเภทดอกสองชนิด และประเภทเห็ดชนิดหนึ่ง พันธุ์ไม้ดอกนั้นเป็นประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว หนึ่งชนิดมีลักษณะเป็นลอยเหนือผิวน้ำ ที่ลำต้นกลม ๆ ขนาดประมาณ ๓ มม. มีไหลออกไปเรื่อย  ใบเกิดเป็นกระจุกตามรอบต้น หรือใบช่อที่เกิดรากหยั่งลงใต้ผิวน้ำ ดอกออกตรงกอใบนั้น มีสีขาวลอยเหนือผิวน้ำ ใบใช้บริโภคได้
                อีกประเภทหนึ่งเป็นประเภทใบเลี้ยงคู่ เป็นพันธุ์ไม้ลอยเหนือน้ำเหมือนกัน ลำต้นเล็ก แตกแขนงได้ ใบกลมออกตรงกัน ดูเห็นเป็นคู่ รากเป็นฝอยย้อยลงใต้ผิวน้ำ ดอกสีม่วงอ่อนมีขนาดเล็ก
                ส่วนพันธุ์ไม้จำพวกเห็ด เป็นพวกเห็ดมีดอกใหญ่ ก้านกลมใหญ่ และกระจังรูปร่างคล้ายร่ม        หน้า ๗๗๙๑
            ๒๒๑๔. ตับเต่า ๒ - กล้วย  กล้วยศาสนาก็เรียก กล้วยสกุลนี้มีน้อยชนิด มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ปลูกกัน เป็นกล้วยเล็ก โตเร็วและงดงาม สูงประมาณ ๓ - ๖ เมตร มีลำต้นประกอบเป็นกาบใบตามธรรมชาติ แยกจากต้นเป็นหน่อ และเกิดรวมเป็นกอ เป็นต้นไม้พื้นเมืองของเนปาล ที่พระพุทธเจ้าประสูติ         หน้า ๗๗๙๒
            ๒๒๑๕. ตับเป็ด  เป็นชื่อเรียกหินชนิดหนึ่งในบริเวณที่มีพลอย ที่จังหวัดจันทบุรี ลักษณะหินผิวเป็นมันสีเทาแก่ เกือบดำดูคล้ายตับเป็ด พลอยที่พบเคยพบติดอยู่ในหินตับเป็ดก็มี จึงสันนิษฐานว่า พลอยที่นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหินตับเป็ดนั่นเอง
                ในทางวิชาการหินตับเป็ดคือ หินบะซอลต์ ซึ่งเป็นหินอัคนีชนิดหินภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดหรือแมกมา ภายในโลกที่พลุ่งขึ้นมาสู่ผิวโลกแล้วไหลเป็นลาวา ปกคลุมพื้นที่บริเวณนั้น         หน้า ๗๗๙๓
            ๒๒๑๖. ตับเหล็ก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในท้องหมู อยู่ใต้ชายโครงซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดโลหิตแดงที่ใช้ไม่ได้ ในคน และสัตว์ เรียกม้าม (ดูม้าม  ลำดับที่ ...) มีลักษณะแบนยาวทอดตามแนวตั้ง มีความสัมพันธ์อยู่กับกระเพาะอาหาร
                ตับเหล็กติดต่อกับกระเพาะอาหารอย่างหลวม ๆ ตับเหล็กนี้หุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้องโดยตลอด ตับเหล็กทำหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดงที่ใช้ไม่ได้แล้วสะสมเหล็กเอาไว้ จึงเรียกอวัยวะนี้ว่าตับเหล็ก ตับเหล็กอาจพบได้อีกหนึ่งตับเป็นตับเหล็กเสริม         หน้า ๗๗๙๔
            ๒๒๑๗. ตับอ่อน  เป็นอวัยวะอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ จัดเป็นต่อมสำคัญต่อมหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร มีกำเนิดเจริญเติบโตออกมาจากลำใส้  แต่เนื่องจากต้องมาทำหน้าที่พิเศษโดยเฉพาะ จึงมีรูปร่างและส่วนประกอบภายในแตกต่างไปจากลำใส้มากมาย ตับอ่อนตั้งอยู่ในช่องท้องข้างหลังกระเพาะอาหาร อยู่หน้ากระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๑ และ ๒ รูปร่างคล้ายค้อน แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนหัว ส่วนลำตัวหรือส่วนกลาง และส่วนหาง
                ส่วนหัวขนาดใหญ่ที่สุดสอดแน่นอยู่ภายในส่วนโค้งของลำไส้เล็ก ส่วนหางยาวยื่นไปทางข้างซ้ายจนจดม้าม ตับอ่อนมีขนาดยาว ๑๒ - ๑๕ ซม. กว้างประมาณ ๓ ซม. ลักษณะนิ่ม สีเหลืองปนเทาหรือแดง
                ตับอ่อนจัดเป็นต่อมชนิดผสม ประกอบด้วยกลีบเล็ก ๆ จำนวนมาก มีเรื่องเกี่ยวพันหลวม ๆ ช่วยยึดให้รวมกันเป็นกลีบใหญ่ แต่ละกลีบใหญ่กลีบหนึ่ง ๆ จะมีท่อเล็ก ๆ  ลำเลียงน้ำย่อยที่สร้างจากต่อมเหล่านั้น ไหลลงสู่ท่อใหญ่ ท่อใหญ่นี้ทอดตามความยาวของตับอ่อน จากส่วนหางไปจนถึงส่วนหัว กว้างประมาณ ๓ มม. เรียกว่า ท่อตับอ่อน ตามธรรมดาท่อนี้จะเชื่อมกับท่อน้ำดีตอนก่อนจะเปิดเข้าสู่ดุโอดีนัม
                ในเนื้อตับอ่อนจะพบตัวต่อมเล็ก ๆ ที่หลังน้ำย่อย ซึ่งสามารถย่อยได้ทั้งโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต น้ำย่อยนี้จะถูกขับออกมาเมื่ออาหารตกถึงกระเพาะอาหาร เพื่อคอยช่วยย่อยอาหาร         หน้า ๗๗๙๕
            ๒๒๑๘. ตั๋ว  มีบทนิยามว่า "บัตรแสดงสิทธิของผู้ใช้" เข้าใจว่ามาจากคำในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า ตัว
                คำตัวนี้มีหลายความหมาย ความหมายที่น่าจะเกี่ยวกับคำว่าตั๋วในภาษาไทยมีว่า กระดาษเป็นแผ่น ๆ ที่ใช้ในการจดรายการหรือเรื่องราวต่าง ๆ ต่อมาความหมายได้ขยายไปถึงใบแผ่นร่ายการหรือบัตรด้วย         หน้า ๗๘๐๐
            ๒๒๑๙. ตั๋วเงิน  ปรากฏหลักฐานว่า เพิ่งมีขึ้นเป็นทางการในการร่างประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๖๖)
                มนุษย์เรารู้จักใช้ตั๋วเงินมาแต่โบราณกาล โดยมากอ้างว่าเริ่มขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยคนยิวเป็นต้นคิดขึ้นใช้ในการชำระหนี้ การค้ากับผู้ที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อไม่ต้องส่งเงินตราข้ามประเทศไปชำระหนี้ เพียงแต่เขียนในคำสั่งให้ลูกหนี้ของตนซึ่งอยู่ถิ่นเดียวกับผู้ขายสินค้าให้จ่ายเงินแก่ผู้ขายสินค้าก็ชำระหนี้ค่าสินค้ากันได้ ทำให้เกิดความสะดวก และไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในการส่งเงินให้แก่กัน
                คำว่าตั๋วเงิน ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีอยู่สามประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค
                เนื่องจากตั๋วเงินเป็นตราสารที่ใช้แทนเงินตราได้ ในระหว่างคู่กรณีที่สมัครใจโอน และรับโอนตั๋วเงินแทนการโอนและรับโอนเงินตรา กฎหมายจึงบัญญัติให้มีการโอนกรมสิทธิ ในตั๋วแลกเงินกันได้เป็นทอด ๆ วิธีโอนตั๋วเงินจะต้องทำอย่างไรนั้น แล้วแต่ประเภทของตั๋วเงิน โดยปรกติอาจโอนให้กันได้ด้วย การสลักหลังตั๋วเงินแล้วส่งมอบให้ผู้รับโอน       หน้า ๗๘๐๐
            ๒๒๒๐. ตั๋วเงินคลัง  ตาม พ.ร.บ. ตั๋วเงินคลัง พ.ศ.๒๔๘๗ ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารเปลี่ยนมือชนิดหนึ่ง มีข้อความแสดงสิทธิของผู้ทรงในอันที่จะได้รับชำระเงิน จำนวนแน่นอน ณ สถานที่และวันที่กำหนดไว้
                ตาม พ.ร.บ. ตั๋วเงินคลังได้บัญญัติไว้ว่า ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงินมาใช้บังคับแก่ตั๋วเงินคลังโดยอนุโลม
                ตั๋วเงินคลังเป็นเครื่องมือที่กระทรวงการคลัง อาจใช้สำหรับกู้ยืมเงินอันที่กำหนดใช้คืนไม่เกินหนึ่งปี แต่ตามปรกติกระทรวงการคลังจะออกตั๋วเงินที่มีกำหนดเวลาใช้เงินเพียง ๖๓ วัน นับแต่วันที่ออกตั๋ว         หน้า ๗๘๐๔
            ๒๒๒๑. ตั๋วแลกเงิน  คำว่า "ตั๋วแลกเงิน" เพิ่งมีใช้เป็นทางการในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชยบรรพ ๓ ฉบับแรก ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๔๖๘ ได้ให้บทนิยามตั๋วแลกเงินไว้ว่า "หนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายเงินสั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน"
                ตั๋วแลกเงินย่อมโอนกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วให้ผู้รับสลักหลัง ผู้รับสลักหลังที่ได้รับมอบตั๋วมาแล้ว ก็เป็นผู้ทรงคือเป็นเจ้าหนี้ และผู้ที่ลงลายมือชื่อสลักหลังก็ตกเป็นลูกหนี้ตามเนื้อความแห่งคำสลักหลังของตน
                เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงินในวันใด ผู้ทรงตั๋วต้องนำตั๋วไปยื่นให้ผู้จ่ายหรือผู้รับรองใช้เงินในวันนั้น มิฉะนั้น ผู้สั่งจ่ายผู้สลักหลังและคู่สัญญาคนอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิดนอกจากผู้รับรองก็จะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามตั๋ว      หน้า ๗๘๐๘

| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์