ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช : รูปทรงลักษณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

รูปทรงลักษณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

                องค์พระบรมธาตุเจดีย์องค์เดิมสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1300 ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ลักษณะเจดีย์เป็นแบบศรีวิชัย ตามแบบฝีมือช่างลัทธิมหายาน พุทธเจดีย์ทำเป็นมณฑป ข้างในสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปส่วนยอดนั้นทำเป็นสถูปและมีเจดีย์เป็นบริวารทั้งสี่มุมเหมือนกับเจดีย์พระบรมธาตุเมืองไชยา สุราษฎร์ธานี ที่ปรากฏอยู่

                แต่ต่อมาล่วงเข้าสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ผู้เป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งชำรุดทรุดโทรม เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 1770 แต่มิได้ทำอันตรายแก่พระมหาธาตุองค์เดิม คงก่อสถูปแบบลังกาหุ้มเจดีย์องค์เดิมไว้ เหมือนแบบอย่างในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงบูรณะซ่อมสร้างพระปฐมเจดีย์โดยหุ้มครอบเจดีย์องค์เดิมไว้

                องค์พระมหาธาตุเจดีย์ที่บูรณะซ่อมสร้างขึ้นใหม่ ในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุนั้น คือ พระบรมธาตุเจดีย์ที่เราเห็นทุกวันนี้ องค์พระบรมธาตุตั้งอยู่กลางเจดีย์บริวาร 158 องค์ เป็นรูประฆังคว่ำเหมือนขันนำหรือโอ่งคว่ำ

                ตรงปากระฆังติดต่อกับพื้นกำแพงแก้ว ขนาดวัดโดยรอบตรงปากระฆังได้ 35 วา ส่วนสูงตั้งแต่พื้นดินถึงยอดสุดสูง 37 วา ความสูงระดับต่าง ๆ มีระยะดังนี้ ฐานชั้นล่างพื้นดินถึงกำแพงแก้วสูง 2 วา 2 ศอก ระยะนี้เป็นตีนธาตุ เรียกกันว่า วิหารทับเกษตรหรือพระระเบียงตีนธาตุ (พระศรีมหาราชา ได้ทรงปลูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1861) ยาวเท่ากันทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 18 วา 1 ศอก 5 นิ้ว ความกว้างเท่ากันทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 2 วา มีพระพุทธรูปเรียงรายอย่างสวยงามทั้ง 4 ด้าน คือ

                ด้านทิศเหนือ  มีพระยืน 15 องค์ พระนั่ง 9 องค์

                ด้านทิศตะวันออก  มีพระยืน 14 องค์ พระนั่ง 9 องค์

                ด้านทิศใต้  มีพระยืน 14 องค์ พระนั่ง 9 องค์

                ด้านทิศตะวันตก  มีพระยืน 11 องค์ พระนั่ง 10 องค์

                เป็นพระพุทธรูปที่สร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ ส่วนอาสน์พระมหาธาตุเจดีย์ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 5 วา 3 นิ้ว มีเศียรช้างยื่นออกมาจากฐานพระบรมธาตุเจดีย์คล้าย ๆ กับหัวคานรองรับพระมหาธาตุเจดีย์ไว้ มีจำนวน 22 เศียร

                ต่อจากวิหารทับเกษตรขึ้นไป เป็นพื้นกำแพงแก้ว กว้างยาวเท่า ๆ กันทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 12 วา 2 ศอก เป็นลานกว้าง บนกำแพงแก้วมีใบเสมาและรั้วเหล็กล้อมรอบ มีฉัตรบังสูรย์ กระดิ่งทำเป็นระฆังห้อยใบโพธิ์ เวลาลมพัดแกว่งไกวไปมากระทบมีเสียงดังกังวาลวังเวงอยู่เสมอ มีเจดีย์ 4 องค์ ตั้งอยู่มุมกำแพงแก้วทำเป็นซุ้มบรรจุพระพุทธรูป

                ตอนปากระฆังถึงปล้องไฉน ตรงปากระฆังซึ่งต่อจากพื้นกำแพงแก้วขึ้นไปถึงคอระฆังสูง 8 วา 1 ศอก ตั้งแต่คอระฆังขึ้นไปถึงปล้องไฉน ขนาดวัดโดยรอบ 11 วา สูง 6 วา 3 ศอก มีรูปพระสาวกยืนเวียนเป็นทักษิณาวัตรประนมมือ 8 องค์ มีนามดังนี้ คือ

                1.  พระอัญญาโกญทัญญะ เถระ

                2.  พระมหากัสป เถระ

                3.  พระสารีบุตร เถระ

                4.  พระอุบาลี เถระ

                5.  พระอานนท์  เถระ

                6.  พระควัมปฏิ เถระ

                7.  พระโมคคัลลาน เถระ

                8.  พระราหุล เถระ

                ต่อจากหน้าปล้องไฉน ถึงบัวคว่ำบัวหงายสูง 15 วา มีปล้องไฉน 25 ปล้อง ตั้งแต่บัวคว่ำบัวหงายถึงประทุมโกษ สูง 4 วา 2 ศอก ตั้งแต่ประทุมโกษถึงกรงแก้ว สูง 1 วา 3 ศอก รวม 6 วา 1 ศอก

                ตอนระยะนี้ได้จัดทำความประณีตบรรจงมาก เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก โดยได้หุ้มทองคำเหลืองอร่าม ความหนาขนาดใบลาน รอยเชื่อมระหว่างแผ่นใช้หมุดตอกย้ำไว้ ส่วนที่หุ้มด้วยทองคำยังมีสิ่งของทองรูปพรรณนานาชนิด เช่น แหวน กำไล ตุ้มหู สร้อย นาฬิกาเรือนทอง พระพุทธรูป และของมีค่าอื่น ๆ อีกมาก ผูกร้อยด้วยเส้นลวดทองคำติดอยู่โดยรอบพระมหาธาตุเจดีย์ ตั้งแต่กรงแก้วไปถึงยอดสูงสุด สูง 3 ศอก และตอนระยะกรงแก้วนี้ได้ประดิษฐ์ทำด้วยความประณีตบรรจงอย่างสูงส่งยิ่งนัก

                ตรงยอดสุดทำหม้อทองคำโตขนาดฟองไข่ไก่ตั้งหงายไว้บนกำไลหยกรองรับน้ำฝนอยู่บนยอดสุด เมื่อน้ำฝนน้ำค้างตกเต็มอยู่ภายในเวลากลางวันลมแดดแผดเผาเป็นไอกระจายไปทั่วทิศ ไม่ผิดอะไรกับพระพุทธมนต์ เมื่อคราวที่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์? ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ กำจัดไข้ห่าที่เมืองไพสาลี

                นับเป็นสิริมงคลมิ่งขวัญของประชาชน ที่ได้เข้ามานมัสการสักการบูชาองค์พระบรมธาตุภายในเขตพุทธมณฑลยิ่งนัก ภายในหม้อทองคำทำเป็นคันธงห้อยใบโพธิ์ทอง และมีดอกไม้ไหว (ดอกไม้ไหวนี้ประดิษฐ์ด้วยกระดาษบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง เอาลวดเล็ก ๆ ขดทำเป็นก้านไหว ๆ ) ทำด้วยกระดุมเพชร (เป็นของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พร้อม ณ นคร) ปักไว้ในหม้อทั้ง 4 ทิศ 4 ดอก

                ใต้กรงแก้วทำเป็นพานสัมฤทธิ์เกลี้ยง ๆ มีกลีบพานยื่นออกมาทั้ง 4 ทิศ ๆ ละกลีบ รองรับอยู่กลางพานทะลุดัดให้ผายออกตามชอบ พาน 4 อัน รอบปลายกระพุ่มบัว ซึ่งเรียกว่ากรงแก้ว ลวดทองแดง 4 อันนั้น สวมลูกแก้วโตเท่าผลหมากสุก อันละ 16 ดวง รวม 4 อัน 64 ดวง ส่วนอีกอันหนึ่งเป็นแก่นกลาง สวมดอกแก้ว 9 ดวง ซึ่งหมายถึง ผล 4 มรรค 4 นิพพาน 1 ในพานสัมฤทธิ์นั้นมีดวงแก้วผนึกต่างสีอีกหลายดวง (ดวงแก้ว พระยานาค ซึ่งพรานพรหมสุรียะเก็บไว้แล้วนำไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ตามตำนานรวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย) ถักด้วยลวดลายทองแดงผูกติดไว้เป็นแก่นกลางระหว่างซี่กรง 4 ช่องนั้น มีตะกรุดและลูกประคำศิลาร้อยด้วยลวดทองคำผูกเป็นตาข่ายกั้นไว้โดยรอบ

                ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ภายในองค์พระบรมธาตุเจดีย์มีสระใหญ่ กว้างยาวด้านละ 8 วา ลึก 5 วา รองด้วยศิลาแผ่นใหญ่ ข้าง ๆ ก่อยึดด้วยปูนเพชรทั้ง 4 ด้าน และภายในสระใหญ่ ยังมีสระเล็ก อยู่กลางสระใหญ่อีกสระหนึ่งหล่อด้วยปูนเพชร กว้างยาว 2 วา ลึก 2 วา สระนี้บรรจุด้วยน้ำพิษพระยานาคอยู่ทั้งสระ ภายในสระมีแม่ขันทองคำลอยอยู่ภายในขันบรรจุผอบทอง ซึ่งมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ประดิษฐานอยู่ ที่มุมสระทั้ง 4 มีตุ่มใหญ่ 5 ตุ่ม บรรจุทองคำเต็มหนักขนาด 38 คนหาม ตั้งอยู่ทุกมุมสระอยู่ในภายพระบรมธาตุเจดีย์เป็นสิ่งลึกลับอัศจรรย์ตลอดมา จนตราบเท่าทุกวันนี้

 

รูปทรงลักษณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของรูปทรงลักษณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์