ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช : "เมืองท่า มหานครแห่งคาบสมุทรทะเลใต้


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

 

เมืองท่า มหานครแห่งคาบสมุทรทะเลใต้

 

                เมื่อการเดินเรือค้าขายระหว่างสองฝั่งมหาสมุทร ขอบข่ายการเดินเรือขยายกว้างไกลออกไป ชาวอินเดีย  อาหรับ  เปอร์เซีย  จากแถบดินแดนทะเลตะวันตก เดินทางมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวจีน จากดินแดนทะเลตะวันออก คาบสมุทรคั่นระหว่างน่านน้ำทั้งสองฝ่าย มีอ่าวที่เหมาะแก่การนำเรือเข้าจอดเทียบท่า เพื่อหลบพายุฝนหน้ามรสุมทั้งทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมขนส่งสินค้าที่สะดวก

                บริเวณที่เป็นอ่าวจอดเรือจะเกลายเป็นชุมชนและคนท้องถิ่นอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ เป็นเมืองท่าที่สำคัญ เช่น พังงา  ตะกั่วป่า  กระบี่  และพังงาทางฝั่งทะเลตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย

                ส่วนทางฝั่งตะวันออกแถบอ่าวบ้านดอน บนสันทรายที่ทอดยาวขนานกับฝั่งทะเลในเขตนครศรีธรรมราช มีที่ราบกว้างใหญ่จึงการขยายตัวของชุมชนมากขึ้นกลายเป็นเมืองท่าค้าขายขนาดใหญ่ในยุคแรก ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณอ่าวบ้านดอน เมืองไชยา ต่อมาเมื่อตามพรลิงค์เติบโตขึ้นมีเจ้าผู้ครองนครที่มีความ สามารถ คือพระเจ้าศรีธรรมโศกราช นครตามพรลิงค์จึงเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับเมืองต่าง ๆ

นครตามพรลิงค์

                เป็นเมืองท่าค้าขายทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในบันทึกการเดินเรือของชาติ ๆ มักมีการกล่าวถึงนครนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน เอกสารของอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบคือ มิลินทปัญหา เขียนขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 5 เรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า ตมะลิงเกศวร แต่พงศาวดารลังกาเรียกเมืองนี้ว่า ตัมพรัฏฐะ ชวกะ สิริธรรมนคร และศรีธรรมราช ส่วนพ่อค้าอาหรับจากตะวันออก เรียกดินแดนนี้ว่า ซาบากะ หรือซาบัก ราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 เอกสารของจีนกล่าวถึงดินแดนแถบนี้ในนามตั้งมาหลิ่ง ตันมาลิง โฮลิง โพลิง โชโป นักโบราณคดีเชื่อว่า ศูนย์กลางของนครตามพรลิงค์ในยุคแรกน่าจะอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเมืองท่าเรือ บนสันทรายปากอ่าวนครศรีธรรมราช ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ซึ่งเป็นบริเวณที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

                มีการค้นพบเครื่องมือหินขัดกลองมโหระทึก เทวสถานและโบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์ ตลอดจนพระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย นอกจากนี้บริเวณที่มีลำน้ำ (คลองท่าเรือ) ไหลออกทะเลในอดีตน่าจะเป็นร่องน้ำลึกที่เรือเดินทะเลสามารถเล่นเข้ามาจอดได้ เพราะว่าได้มีการพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย และเงินตราต่างชาติที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า ในซากเรือบรรทุกสินค้าที่จมอยู่บริเวณปากอ่าว และในลำคลองแห่งนี้พบเครื่องถ้วยชามของจีนสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง จำนวนหลายลำด้วยกัน

                ชาวอินเดียที่เข้ามาในยุคแรกราวพุทธศตวรรษที่ 8 หรือก่อนหน้านั้น ได้นำเอาอิทธิพลศาสนาพราหมณ์มาเผยแพร่ที่นครตามพรลิงค์และเมืองใกล้เคียง

                จากร่องรอยของชุมชนโบราณที่ได้รับอิทธิพลมีปรากฏให้เห็นแท่งตามแนวสันทรายธรรมชาติ ที่เป็นผืนยาวจากภาคเหนือของสุราษฏร์ธานีจนถึงแนวต่อสงขลาจากภูเก็ต ตะกั่วป่า อ่าวบ้านดอน จากตรังมาตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช เป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งทะเลตะวันตกมาตะวันออก

                อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์นอกจากสถาปัตยกรรมและสระน้ำโบราณที่สร้างขึ้นตามคติพราหมณ์แล้ว ยังมีศิลาจารึกและประติมากรรมของเทพเจ้าต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ที่พบมากที่สุดในราวพุทธศตวรรษที่ 11-14 แสดงว่าอิทธิพลศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในช่วงนี้

                พุทธศตวรรษที่ 14-16 พุทธศาสนาได้แพร่หลายมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ในยุคสมัยของอาณาจักรศรีวิชัยโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ครหิ ไชยา และแผ่อิทธิพลมาเมืองใกล้เคียงเมืองตามพรลิงค์ลงมาจนตลอดแหลมมลายู

                แคว้นตามพรลิงค์ มีความเจริญรุ่งเรือง การปกครองในพุทธศตวรรษที่ 17-18 ผู้ครองแคว้นได้สถาปนาราชวงค์ปทุมวงศ์หรือปัทมวงศ์ ขึ้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราช แผ่พระราชอำนาจตอลดคาบสมุทรมลายู ตลอดจนเมืองสิบสองนักกษัตร หัวเมืองเกาะแก่งต่าง ๆ

                ในสมัยนั้นแคว้นตามพรลิงค์มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเมืองลังกา จนนครตามพรลิงค์เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนั้น แล้วเผยแพร่ไปสู่แคว้นอื่น ๆ

                คัมภีร์ปูปวลิยาของลังกา ได้กล่าวถึงแคว้นตามพรลิงค์ในสมัยนั้นว่ามีพระสงฆ์เรียนพระธรรมวินัยถึง 12,000 องค์ทางเมืองลังกาครั้งหนึ่งเคยอาราธนาพระธัมมกิตติเถระผู้มีวิชาแก่กล้าจากแคว้นตามพรลิงค์ไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังจากบ้านเมืองถูกพวกมคะ ยึดครองอยู่ถึง 41 ปี

                ในสมัยกรุงสุโขทัย มีการติดต่อกับแคว้นตามพรลิงค์ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงยอมรับว่าพระสงฆ์ของตามพรลิงค์มีความรอบรู้ ได้มีการนำพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาในราชสำนัก ดังเห็นได้ในศิลาจารึกของเมืองสุโขทัย ที่จารึกไว้ว่า “พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอนทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฏกไตร หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุก แต่เมืองศรีธรรมราชมา...” (หลวก = เก่ง  ลุก = มาจาก) และเมื่อทรงมีพระราชประสงค์จะนำพระพุทธสิหิงค์ อันศักดิ์สิทธิ์จากลังกา ก็ต้องทรงติดต่อผ่านแคว้นตามพรลิงค์เมื่อได้พระพุทธสิหิงค์มาแล้วแคว้นตามพรลิงค์ได้หล่อจำลองพระพุทธสิหิงค์ต้นแบบสกุลช่างเมืองนครศรีธรรมราช ที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

                สิ่งที่ยืนยันในความเป็นเมืองพระของแคว้นตามพรลิงค์ที่เด่นชัดที่สุด คือ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่จนตราบปัจจุบันนี้ ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) ทรงสร้างสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุขึ้น

                ในครั้งนั้นมีผู้คนจากทั่วสารทิศ แว่นแคว้นต่าง ๆ ธนสมบัติทรัพย์สินเงินทองมาช่วยสร้างด้วยแรงศรัทธา แต่บางคนเดินทางมาไม่ทัน จึงจำต้องฝังทรัพย์สินสมบัติไว้กลางทาง บ้างก็นำมาสร้างวัดหรือสถูปเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาไม่ได้นำกลับไป ถือว่าได้ตั้งใจนำมาถวายพระบรมธาตุแล้ว ท้องถิ่นหลายแห่งในภาคใต้มีตำนานเกี่ยวกับเรื่องเหตุการณ์ดังกล่าว จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนิกทั่วภาคใต้ที่นำสิ่งของมีค่าหายากมาถวายเป็นเครื่องบูชา แก่องค์พระบรมธาตุ เรื่อยมาตราบจนปัจจุบันนี้

เมืองพระเวียง

                เมืองพระเวียง หรือเรียกกันว่าเมืองโคกกระหม่อม เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของเมืองตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช ด้วยเป็นศูนย์กลางที่มีความเจริญสูงสุดของอาณาจักรตามพรลิงค์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองพระเวียงอยู่ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชเล็กน้อย เคยมีผู้บันทึกสภาพก่อนถูกทำลายไว้ว่า ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 600 เมตร ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร

                ทิศใต้ จดคลองคูพายและโรงพยาบาลนครศรีธรรมราช

                ทิศเหนือ จดคลองสวนหลวง

                ทิศตะวันออก มีคูเมืองสองชั้น คูเรียงด้านนอกกว้าง 3 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยดิน ภายในตัวเมืองมีซากโบราณสถานมากมาย เช่น ร่องรอยของฐานเจดีย์และวิหาร 11 แห่ง ศิลปวัตถุแบบเขมร เช่น พระพิมพ์ ตะเกียง กำไลสัมฤทธิ์ มีการพบเศษเครื่องถ้วยชาม เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หมิง และพวกหม้อดินเผาที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น

                โบราณสถาน และวัดที่ยังมีร่องรอยปรากฏอยู่ เช่น ที่วัดสวนหลวงตะวันตก ปัจจุบันมีพระสงฆ์พำนักอยู่ ส่วนวัดสวนหลวงตะวันออก (ที่แยกออกจากวัดสวนหลวงตะวันตก) เป็นวัดร้าง เพราะมีถนนราชดำเนินตัดผ่าน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมศิลปากร หน่วยที่ 8 ถัดจากวัดสวนหลวงตะวันออกไปทางใต้เป็นวัดเสด็จ เป็นวัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ของกรมศิลปากร วัดบ่อโพง วัดกุฏิ ก็เป็นวัดร้าง อยู่ถัดจากวัดสวนหลวงตะวันตกไปทางทิศใต้ ปัจจุบันมีพระสงฆ์พำนักอยู่ วัดเพชรจริกตะวันออก เป็นวัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ของกรมศิลปากร ส่วนวัดพระเวียง ปัจจุบันคือบ้านศรีธรรมราช ของกรมประชาสงเคราะห์

                บริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นพระราชวังหรือบ้านพะเวียงคือบริเวณที่พักตำรวจจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพราะบริเวณนี้เป็นเนินสูง ประกอบด้วยอิฐและหินเป็นชั้นลึกลงไป 3-4 เมตร อยู่เต็มบริเวณเนื้อที่หลายไร่ เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบันโบราณสถานภายในเมืองพะเวียงได้สูญสลายไปหมดสิ้นแล้ว เพราะพื้นที่ส่วนมากได้กลายเป็นสถานที่ราชการ

"เมืองท่า มหานครแห่งคาบสมุทรทะเลใต้

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของ"เมืองท่า มหานครแห่งคาบสมุทรทะเลใต้

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์