ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตไชยา สุราษฎร์ธานี : พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระบรมธาตุไชยา   สุราษฎร์ธานี

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                พระบรมธาตุซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุไชยาในตำบลเวียง อำเภอพุมเรียง เมืองไชยาเก่า พระบรมธาตุสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณนับได้กว่าพันปี ตามหลักฐานศิลาจารึกพระพุทธรูป  ต่าง ๆ

                ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างเพราะไม่มีการบันทึกไว้ถึงจะมีการซ่อมแซมเมื่อองค์พระบรมธาตุชำรุดทรุดโทรมก็ไม่ได้มีการจารึกให้รู้ไว้เป็นหลักฐาน ครั้งล่วงมาเป็นเวลานาน ชนชั้นหลังไม่สามารถจดจำบันทึกการเริ่มต้นเพื่อชนรุ่นต่อ ๆ ไป

                การสร้างพระบรมธาตุถึงจะเป็นองค์พระธาตุไม่ใหญ่โตนักอยู่ในตำบลที่ห่างไกลจากตัวเมือง แต่เมื่อดูศิลปของช่างโบราณที่สร้างขึ้นอย่างวิจิตร ประณีตสวยงามมาก คงเป็นเจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้นที่มีบารมีกำลังไพร่พล พาหนะมากมาย จึงสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง

                ความสามารถของช่างโบราณที่ทำพระเจดีย์ ไม่ได้ใช้ปูนเป็นบายสอผูกอิฐเลย เขาใช้ป่นอิฐให้ละเอียดใส่ไปตามช่องระหว่างแผ่นอิฐอย่างใช้ปูน แต่อิฐก็แข็งตัวได้ดี ในที่หมิ่น ๆ ไม่หลุดและเคลื่อนได้ง่าย ๆ ถึงตอนแรกจะใช้ของเหนียว ๆ เจือปน แต่กาลเวลาล่วงเลยมานานของเหนียวหมดอายุลงแต่ไม่ว่าตรงที่ใดถึงจะมีรากไม้ขึ้นเบียดเบียนทำให้แตก ก็ไม่ค่อยมีอันตรายเท่าใดการใช้บายสอทำยากมากแต่ก็ทนดีกว่าปูน อิฐที่ใช้เผาไฟมีความคงทน ภายหลังเมื่อมีการซ่อมแซมใช้อิฐใหม่เข้าไปแต่ก็ผุพังอิฐเดิมยังมั่นคงอยู่ในสภาพดี

                วิธีก่อองค์พระบรมธาตุ จะเอาอิฐเข้าก่อปรับถูรอยเหลี่ยมให้เท่ากัน และนำเอาศิลามาใช้แทนอิฐในที่สำคัญ ๆ เช่น วงกรอบ ซุ้มประตูและยอด เป็นต้น ที่รอยต่อของศิลาต่อศิลายังใช้ศิลาเป็นแกนอีกด้วย การทำลวดลายไม่ได้ใช้พอกหรือปั้นปูนเลย หรือการปั้นลายในขณะดินเปียกแล้วเผา การสลักลวดลายสลักลงในอิฐเมื่อก่ออิฐเสร็จเป็นรูปร่าง จากนั้นก็ขัดทั่วทั้งองค์ แล้วลงรักปิดทองปัจจุบันยังมีร่องรอยของรักและทองติดอยู่กับอิฐหลายแห่ง

                รูปลักษณะของพระธาตุ

                องค์พระธาตุเท่าที่วัดได้สูงจากฐานใต้ดินถึงยอดสุด 24 เมตร ความกว้างของฐาน 13 เมตร ยาว 18 เมตร ตอนต่อจากพื้นขึ้นไปถึงองค์หอระฆังลดชั้นมีหน้าบันหน้ามุข และมีบราลีทุก ๆ ชั้น แต่บราลีมักทำเป็นรูปเจดีย์เล็กๆ ตลอดทรวดทรงของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุองค์นี้ คนทั่วไปต่างชมว่าพระบรมธาตุนี้สวยงามวิจิตรกว่าที่อื่น ถึงจะเป็นเจดีย์ที่ไม่สูงใหญ่แต่ก็มีลวดลายลดหลั่นชั้นเชิงชดช้อย

                กำแพงพระระเบียงเป็นรูป4 เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 19 วา ต่อมาเป็นกำแพงชั้นนอกยาว 50 วา กว้าง 27 วา สูง 3 ศอก ตามระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูปศิลา ล้อมรอบพระบรมธาตุส่วนมากชำรุดนับได้ 180 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน

                ฐานเจดีย์ระหว่างพระเวียนเดิมโบราณเคยปูด้วยอิฐหน้าวัว ปัจจุบันยังเหลืออยู่บางส่วนเจดีย์เล็กส่วนมากยอดพังเสียหายหมดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีวิหารเรียกว่าวิหารปาก ก็หักพังเหลือแต่พระพุทธรูปศิลาแดง ปางสะดุ้งมารหน้าตักกว้าง 7 ศอก

                ส่วนวิหารต่าง ๆ มี

                วิหารทางทิศตะวันออก เรียกว่า วิหารหลวง อยู่ในเขตระเบียงมีพระพุทธรูปใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก หลายองค์ทั้งพระพุทธรูปขนาดใหญ่และย่อม

                นอกกำแพงชั้นนอกทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีโบสถ์ พรหมณ์ มีพระพุทธรูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์ พระอิศวรปัจจุบันได้นำมาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ

                ทิศตะวันตกของพระบรมธาตุ มีพระอุโบสถ ติดต่ออกไปจากกำแพงระเบียง

                องค์พระธาตุไชยา เป็นเจดีย์สมัยศรีวิชัย สร้างตามลัทธิมหายาน ประมาณปี พ.ศ.1300 สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเรืองอำนาจ แผ่ปกครองตั้งแต่เมืองไชยา จนตลอดแหลมมาลายู องค์พระบรมธาตุตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารหลวง มีระเบียงคดล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ตรงฐานพระบรมธาตุขุดเป็นสระกว้างประมาณ 50 ซม. ลึกประมาณ 60-70 ซม. จนมองเห็นฐานเดิม การสร้างด้วยอิฐโบกปูน

                ก่อนที่จะทำการบูรณะในสมัยพระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส) ฐานของพระบรมธาตุจมอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน จะมีน้ำขังอยู่โดยรอบฐานตลอดทั้งปี

                บางปีหน้าแล้งน้ำแห้งจะมีตาน้ำผุผุดขึ้นมา ชาวบ้านแตกตื่นพากันมาตักน้ำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เพราะถือว่าเป็นน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาทางวัดเกรงว่าน้ำจะซึมมากัดเซาะฐานพระบรมธาตุอาจได้รับความเสียหาย จึงเอาปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำนั้นเสีย

                องค์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรมุขย่อมุม มุขด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเปิด มีบันไดขึ้นไปด้านในมีพระพุทธรูปภายในเจดีย์ เมื่อเข้าไปด้านในจะเห็นองค์เจดีย์กลวง มุขทั้งสามด้านทึบหมด

                ผนังอิฐที่ก่อขึ้นไปแบบไม่สอ เรียงลดหลั่นขึ้นไปจนถึงยอดเจดีย์ ที่มุมฐานของพระบรมธาตุ มีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่

                หลังคาทำเป็นสามชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป ในแต่ละชั้นประดับวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลอง 24 องค์

                เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดเดิมหักชำรุดพังลงมาหมด การซ่อมแปลงใหม่ในรัชกาลที่ 5 ได้ขยายยอดให้สูงขึ้นกว่าเดิม เริ่มที่คอระฆังทำเป็นดอกบัวขนาดใหญ่ องค์ระฆังเป็นรูป 8 เหลี่ยมเหนือถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์บัวกลุ่ม และปลียอดตามลำดับ

                เฉพาะที่ปลียอดเดิมหุ้มด้วยเงิน เหนือปลียอดขึ้นไปประดับด้วยทองคำปรุ 3 ชั้น ฉัตรนี้ของเดิมหุ้มด้วยทองคำหนัก 82 บาท 3 สลึง แต่ได้ถูกคนร้ายลักลอบเอาไป ทางวัดจัดทำขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2481 เป็นทองวิทยาศาสตร์ขึ้นประดิษฐานแทน ปัจจุบันได้ทำฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานแทนของเก่าแล้ว

                ลวดลายที่ปะดับเจดีย์ที่ซุ้มจรนำหรือซุ้มวงโค้งรูปเกือกม้า (กุฑุ) ประดับอยู่ส่วนบนหลังคาของพระบรมธาตุสลับกับรูปสถูปจำลอง ของเดิมสลักในแผ่นอิฐเป็นรูปหน้าคน มีลายรูปมังกรหรือหน้ากาลประดับ

                การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 มีการซ่อมแปลงซุ้มด้วยปูนปั้น ลวดลายที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นของใหม่ผสมของเก่า พระยาธนกิจรักษาได้พรรณนาถึงลักษณะเจดีย์พระบรมธาตุ ไว้ในหมายเหตุการณ์เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ รัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2458 ไว้ดังนี้

                พระธาตุองค์นี้เป็นเจดีย์ย่อมกว่าที่เมืองนครศรีธรรมราช และฐานอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน เป็นฐานสี่เหลี่ยมมีน้ำขังอยู่รอบฐานแต่ก่ออิฐถือปูนไว้เป็นเขื่อนกั้นไว้โดยรอบบนฐานมีซุ้มปั้นลาย ซุ้มด้านหน้ามีพระพุทธรูปแลตราแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ด้านหลังเป็นเทพประนมด้านข้างเป็นช้าง 3 เศียรและนกยูง มีรูปสิงห์รูปเหรา รูปผีเสื้อ ดูลายเก่าทับลายใหม่ปนกัน ตอนบนเป็นพระเจดีย์กลม ยอดปลีหุ้มทองคำ มีฉัตร 3 ชั้น

                เจดีย์พระบรมธาตุไชยา ตั้งอยู่กลางลานล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่มุมลานมีเจดีย์รายรวม 4 องค์ พื้นลานเจดีย์ระหว่างเจดีย์ถึงวิหารคด เดิมโบราณปูด้วยอิฐหน้าวัว การซ่อมแซมในรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องซีเมนต์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องดินเผา

                พระวิหารคด

                พระระเบียงหรือวิหารคด รอบเจดีย์พระบรมธาตุไชยา มีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 39 เมตร สูง 4 เมตร ภายในระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ขนาดและปางต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 180 องค์ มีพระเจดีย์ หอระฆัง และมณฑปภายในวิหารคด ที่ภายในประดิษฐานรูปปั้นทองเหลืองของพระไชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส) ผู้บูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา ในสมัยรัชกาลที่ 5

                พระวิหารหลวง

                พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา สร้างยื่นล้ำเข้าไปในพระวิหารคด ภายในพระวิหารหลวงมีพระรูปน้อยใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ด้านหลังพระวิหารหลวงด้านตะวันตก  เดิมเป็นห้องลับแล สำหรับนมัสการพระบรมธาตุ ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี (วัดพระบรมธาตุไชยา) สำหรับแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและประชุมคณะสงฆ์

                พระอุโบสถ

                พระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระบรมธาตุไชยาอยู่นอกกำแพงวิหารคด สันนิษฐานว่าสร้างใน พ.ศ. 1330 สมัยอาณาจักรศรีวิชัย เขตพันธสีมากว้าง 13.15 เมตร ยาว 18.80 เมตร แต่เดิมมีใบพันธสีมาใบเดียว เรียงรายรอบพระอุโบสถ จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาได้แผ่เข้ามา พระสงฆ์ลังกาได้ทำพิธีผูกพันธสีมาซ้ำในอุโบสถที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พุทธศาสนามีความบริสุทธิ์มั่นคง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ใบพัทธสีมาจึงปักเป็นคู่แฝดโดยมากมักจะเป็นพระอารามหลวง ด้วยเหตุนี้วัดพระบรมธาตุไชยา จึงมีใบพัทธสีมา 2 ใบ ภายในพระอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา

                พระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งผิดกับพระอุโบสถทั่วไป ที่นิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกทั้งนี้อาจเป็นเพาะเมื่อกราบไหวพระประธานในโบสถ์แล้วก็กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในพระบรมธาตุเจดีย์ด้านหลังไปพร้อม ๆ กัน

                พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์

                พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง บนลานภายในกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างในสมัยอยุธยา โดยฝีมือสกุลช่างไชยา อาสน์ที่นั่งเป็นของใหม่เพื่อยกให้พระพุทธรูปสูงขึ้น สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งพระพุทธรูปศิลาทรายแดง เดิมเป็นวิหาร แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ชำรุดทรุดโทรมหรือจากภัยสงคราหรือภัยธรรมชาติ จนปัจจุบันไม่มีวิหารหลงเหลืออยู่อีกแล้ว นอกจากพระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์ เศียรหักไป 2 องค์ จนกระทั่งท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ (หนู) กับพระวินัยธรรมยวด สุริโย ได้บูรณะพระพุทธรูปทั้ง 3 จนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2478 ดังที่เห็นในปัจจุบัน

                รูปปั้นหล่อ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส)

                พระราชทินนามเต็มว่า “พระชยาภิวัฒน์ สุภัทรสังฆปาโมกข์” เป็นชาวบางมะเดื่อ ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน (แม่น้ำพุมดวง) สุราษฎร์ธานี เคยแสดงตลกหลวงหน้าพระที่นั่งในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง ได้อุปสมบทเมื่อายุ 20 ปีบริบูรณ์

                ท่าได้ปกครองคณะสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผลงานที่เป็นคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาคือ การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยา และเสนาสนะของวัดจนสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมเวลาบูรณะ 14 ปี

                เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลภาคใต้ นมัสการพระบรมธาตุไชยา ทรงโปรดให้พระชยาภิวัฒน์เจริญชัยมงคลคาถา ทรงถวายน้ำมนต์ที่ฝ่าพระหัตถ์ และปะพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ลูกเสือป่า ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเวลา 40 ปี จนถึง พ.ศ. 2473 จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด เพราะชราภาพ และถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุได้ 86 ปี พรรษา 66

                เหลือแต่คุณงามความดีที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวสุราษฎร์ธานี จึงมีการหล่อรูปเหมือนทองเหลืองของท่าน พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส) ประดิษฐานอยู่ในมณฑปวิหารคด เพื่อเป็นที่สักการบูชาของอนุชนรุ่นหลังสืบไป

 

พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์