ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตไชยา สุราษฎร์ธานี : ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (4)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระบรมธาตุไชยา   สุราษฎร์ธานี

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระบรมธาตุไชยา  สุราษฎร์ธานี (4)

สุวรรณภูมิตลาดค้าขาย ศูนย์กลางของนานาชาติ

                ในแถบถิ่นสุวรรณภูมิ ที่เป็นเมืองท่าค้าขายของชนชาติต่าง ๆ ทั้ง จีน อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย และกรีก ตั้งแต่ พ.ศ. 200-800 สมัยพระเจ้าอโศก จัดส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา พระองค์ได้ส่งพระอรหันต์ชื่อ พระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิอันประกอบด้วยดินแดนของประเทศไทย มอญ เขมร ญวน ตลอดคาบสมุทรมาลายู

                สุวรรณภูมิ คำนี้หมายถึงดินแดนที่มีทองอุดมสมบูรณ์ ส่วนคำภาษาจีนคือกิมหลิน หมายถึงดินแดนที่มีทองอุดมเหมือนกับพงศาวดารจีนโบราณเรียกสุวรรณภูมิว่า กิมหลิน เรียกสุวรรณทวีปว่า กิมจิว

                ดินแดนสุวรรณภูมิโบราณมีการศึกษาชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในสุวรรณภูมิว่าเป็นชนเชื้อชาติใด นักโบราณคดีต่างอ้างหลักฐานของกลุ่มชนเชื้อชาติเดิม ที่ขุดค้นโครงซากกระดูกของคนโบราณสมัยยุคหินที่บ้านเก่ากาญจนบุรี ที่บ้านเชียง อุดรธานี อายุหลายพันปี

                ชนชาติที่อพยพมากจากอินเดียใต้ มีผิวดำเชื้อชาตินิกริโตและพวกมาจากทางเหนือของจีน เชื้อชาติมงโกลอยด์ มีผิวเหลืองและขาวจากดินแดนยูนาน ในวรรณคดีอินเดียเรียกพวกชาติพันธุ์ดำว่ามิลักขะ เรียกชนผิวขาวที่ลงมาจากยูนานว่าพวกนาค

                ชนทั้งสองเชื้อชาติได้ผสมพันธุ์กันเป็นพวกเชื้อชาติออสโตรเนเซียน อินโดเนเซียน มอญ เขมร พวกจาม ละว้า ไทยใต้ ชะวาบางพวก สุมาตราบางพวก บาลี และฟิลิปปินส์บางพวก

                สุวรรณภูมิในสมัย พ.ศ.200-800 วรรณคดีอินเดียกล่าวว่า ดินแดนสุวรรณภูมิอันกว้างใหญ่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป บางสมัยแบ่งแยกออกเป็นหลายประเทศ บางสมัยรวมเป็นประเทศใหญ่สองสามประเทศ

                ประเทศในสุวรรณภูมิเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ที่ตะโกลา (ตะกั่วป่า) ทางด้านตะวันตกของทะเลอันดามันกับเมืองซาบา (ไชยา) ทางด้านตะวันออกอ่าวไทย มีการขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรมาอีกฝั่งหนึ่งเป็นการสะดวกปลอดภัยกว่า ที่จะเดินทางอ้อมช่องแคบมะลากา แหลมมาลายูซึ่งมีโจรสลัดชุกชุม

                ประเทศพนม ในราว พ.ศ. 700 ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในอินโดจีน ทางตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละ (เขมร) ถัดจากเจนละคือประเทศกิมหลิน ทางทิศเหนือของประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระเจ้ากรุงพนมได้ยกทัพเรือมาตีประเทศทางคาบสมุทรมาลายูได้ ประเทศกิมหลินราว พ.ศ. 973 ประเทศเหล่านี้ก็ขึ้นเป็นประเทศราชของประเทศพนม หลังจากเป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ประมาณ 500 ปี

                จากเรื่องศรีวิชัย ยวา แอนด์ กตาหะของเจ แอลโมนส์ เขียนไว้ว่า พงศาวดารจีนได้แยกสุวรรณภูมิคาบสมุทรมาลายูเป็นสองส่วน ตอนเหนือเรียกกิมหลินเหนือ อ่าวไทยและส่วนใต้กิมจิว (สุวรรณทวีป) หมายถึงคาบสมุทรมาลายูส่วนเหนือและส่วนใต้ คาบสมุทรนี้ถูกเรียกว่าเกาะเงินเกาะทอง

                แร่เงินที่ขนไปประเทศจีนมาจากที่นี่ มีการขนแร่เงินไปอินเดียทางทิศตะวันตก ข้ามคาบสมุทรไปอินเดียโดยใช้ช้างซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นพาหนะขนส่ง คาบสมุทรนี้บางทีก็เรียกยวาทวีปหรือสุวรรณทวีป ชื่อนี้ภายหลังเรียกสุมาตรา เมื่อขุดพบทองคำที่สุมาตรา

                ในจารึกของสุวรรณภูมิ พ.ศ. 1829 สุวรรณภูมิหมายถึงแดนทองที่ไหนก็ได้ จึงได้เรียกหมายถึงสุมาตราดังจารึก “ใน พ.ศ. 1829 ปฏิมาอโมขมาศ พร้อมด้วยสาวกสิบสามองค์ได้นำจากชะวามาสู่สุวรรณภูมิ (สุมาตรา) คระอำมาตย์ทั้งสี่ได้รับคำสั่งจากพระมหาราชาธิราช ศรีกรตนาคร วิกรมธรร โมตุงคเทวะ ของขวัญนี้ก่อให้เกิดความปิติดีใจใหญ่หลวงแก่บรรดาชาวเมืองมาลายู พราหมณ์ กษัตริย์ ไวศย และศูทร และเหนือผู้อื่นใดแก่พระมหาราชศรีมัต ไตรภูวนราช เมาฬิวรมเทวะ พระพุทธรูปปฏิมานี้ประดิษฐานในธรรมมาศรัย”

                พระเจ้าธรรมเจดีย์ (ปีฏกธร) กษัตริย์มอญใน พ.ศ. 2019 ได้จารึกในศิลาจารึกกัลยาณีในประเทศมอญไว้ว่า “เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ 236 พระวัสสา พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในรามัญประเทศ” (ประเทศสุวรรณภูมิของพระเจ้าศิริมาโศก) ประวัติศาสตร์มอญและพม่าจึงอ้างสุวรรณภูมิคือประเทศมอญ

                หลังจากพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระเผยแพร่ศาสนาในสุวรรณภูมิ กาลต่อมาดินแดงแห่งนี้ยังรักษาความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาการปฏิบัติธรรมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก

                ในสมัยพระเจ้าอโศก ยังไม่มีการคิดทำพระพุทธรูปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นบูชา มีแต่การสร้างสถูปเจดีย์ และศิลาจำหลักเป็นภาพชาดก ภาพพุทธประวัติรอยพระพุทธบาทธรรมจักรมีรูปกวาง พระแท่นแทนพระพุทธองค์มีเสมา เป็นเครื่องหมายของพระพุทธศาสนา

                สมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ทรงให้เหตุผลในโบราณวัตถุของนครปฐม นครปฐมเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิในสมัยพระเจ้าอโศก พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิในสมัยพระเจ้าอโศก พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์แห่งแรกในภูมิภาคนี้ นครปฐมมีโบราณวัตถุที่เก่าแก่กว่าที่อื่นใด เช่น ศิลาธรรมจักร ศิลปะอมราวดี จากดินแดนอมราวดีแห่งลุ่มแม่น้ำกฤษณากับแม่น้ำโคธาวารีในอินเดียใต้ ที่เป็นศูนย์กลางแพร่พุทธศาสนาได้เข้ามาในสุวรรณภูมิแถบนครปฐมในสมัย พ.ศ. 663-675

 

                มีผู้พบศิลาจำหลักเป็นภาพเรื่องปฐมเทศนาขนาดใหญ่ที่นครปฐมสองภาพ พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่นครปฐมในพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปโปรดสัตว์ที่พงตึก

                นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ที่นครราชสีมา ศิลปแบบอมราวดีพระพุทธรูปจีวรทำเป็นริ้ว ๆ พระพุทธรูปอมราวดีนี้ยังพบที่อินโดจีน สุมาตรา ชะวา และเก่าะซีลีบีส แสดงให้เห็นว่าศิลปอมราวดีวัฒนธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ

 

ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (4)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (4)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์