ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตไชยา สุราษฎร์ธานี : ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (1)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระบรมธาตุไชยา   สุราษฎร์ธานี

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระบรมธาตุไชยา  สุราษฎร์ธานี (1)

                เมืองไชยา เมืองหลวงอาณาจักรศรีวิชัย

                สมัยก่อนอาณาจักรศรีวิชัย

                ในดินแดนสุวรรณภูมิสมัยก่อน (พ.ศ. 700-1100) ด้านขวานทองของไทย ดินแดนในคาบสมุทรมาลายู ตอนบนตั้งแต่เมืองมะริด ประจวบคีรีขันธ์ลงมา เมืองไชยาถึงอ่าวบ้านดอน พุนพิน สิชล เคยเป็นประเทศเล็ก ๆ หลายประเทศปกครองกันอยู่ ขึ้นกับประเทศโพนัมเป็นตลาดที่ค้าขายของชนชาติต่าง ๆ ของพ่อค้าจีนทางตะวันออกและพ่อค้าอินเดีย อาหรับทางทิศตะวันตก

                ประเทศโพนัม ในสมัยกษัตริย์พันมันปกครอง พ.ศ. 763 ถือว่าอำนาจมากในสมัยนั้นจึงได้ยกกองทัพเรือไปตีประเทศเล็ก ๆ ในสุวรรณภูมิ คาบสมุทรมาลายู ต่อมาพระองค์ประชวรจึงให้พระโอรสไปตีได้เมืองสุวรรณภูมิ ประเทศเตี้ยนสุนเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโพนัม

                แต่เดิมประเทศเตี้ยนสุนเป็นประเทศเอกราช มีกษัตริย์ปกครองอยู่ห้าพระองค์ เป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิเป็นเมืองชายทะเลอยู่ทางตอนใต้ของประเทศโพนัม เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ

                ประเทศเตี้ยนสุนตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทิศตะวันออกติดต่อไปมากับตังเกี๋ยประเทศจีน ทิศตะวันตกติดต่อได้กับอินเดีย อันเซก ไอยคุปต ชาวเตี้ยนสุนได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมพราหมณ์ลัทธิจากทางอินเดียมาก

                ดินแดนตอนนี้เรือสำเภาตัดข้ามไม่ได้ เป็นทำเลการแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวตะวันออกกับชาวตะวันตก ไม่ว่าเป็นพวกผ้าไหมแพร เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเทศ สิ่งของมีค่าและหายากต่าง ๆ

                ด้วยเหตุที่พ่อค้าสำเภาไม่นิยมแล่นเรือผ่านช่องแคบมะลากะเพราะเป็นบริเวณที่มีโจรสลัดชุกชมและบางฤดูกาลก็ไม่เหมาะแก่การเดินเรือ การเดินทางข้ามคาบสมุทรมาลายูตอนเหนือ มีอยู่สองทางคือ

                ทางตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองมะริดทางฝั่งทะเลอันดามันมาตามลำน้ำตะนาวศรี เดินบกข้ามมาที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                ทางตอนใต้ ที่เมืองตะกั่วป่า ลงมาตามแม่น้ำตะกั่วป่าเดินทางบกมาที่แม่น้ำคีรีรัฐมาออกทะเลที่อ่าวบ้านดอนดังมีหลักฐานเมืองโบราณที่ปรากฏเป็นหลักฐาน มีการค้นพบรูปสลักพระอิศวรพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์ พระพุทธรูป ที่เมืองตะกั่วป่า เมืองคีรีรัฐ เมืองเวียงสระ เมืองพุนพิน เมืองไชยา

                อาณาจักรพานพาน

                จากจดหมายเหตุของจีนกล่าวถึงเมืองพานพาน (พ.ศ. 950-1200) ประเทศนึ่งในคาบสมุทรมาลายูอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศลินหยี (จัมปา) ทางตอนเหนือมีอ่าวไทยแยกกับประเทศลินหยี

                ชาวพานพานรับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย มีการใช้หนังสืออินเดีย นับถือพระพุทธศาสนามาก มีวัดพุทธศาสนาและเทวสถานของพราหมณ์หลายแห่ง พระสงฆ์ฉันเนื้อสัตว์แต่ไม่ดื่มเหล้า พวกพราหมณ์ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่ดื่มเหล้า ประเทศพานพานราชสำนักมีพวกพราหมณ์จากประเทศอินเดียจำนวนมากเพื่อพึ่งบารมีพระเจ้าแผ่นดิน

                พ.ศ. 977 มีพราหมณ์โกณทัญญะผู้ทรงความรู้สูงอยู่ที่ประเทศพานพาน ชาวโพนัมได้รู้ถึงความสามารถเปรื่องปราชญ์ของพราหมณ์ผู้นี้ จึงอัญเชิญไปเป็นกษัตริย์โพนัม ไปปกครองประเทศเปลี่ยนแปลงจนประเทศโพนัมเจริญรุ่งเรื่องสูงสุด

                ประเทศพานพาน น่าเป็นชื่อตั้งเดิมของบ้านพุนพินทางใกล้แม่น้ำหลวงตาปีมารวมกับแม่น้ำคีรีรัฐ นครหลวงของประเทศพานพานน่าจะอยู่ที่เวียงสระ บนฝั่งขวาของแม่น้ำหลวงตาปี

                มีการพบโบราณวัตถุที่เวียงสระเป็นรูปศิลา พระอิศวร พระนารายณ์ขนาดใหญ่ กับพระพุทธรูปศิลาสมัยคุปตะและที่เมืองไชยา พบพระนารายณ์ศิลาหลายองค์ในยุคสมัย เป็นเมืองหนึ่งในสมัยพานพาน คือ พบที่วัดศาลาทึง 1 องค์ วัดใหม่ชลธาร 3 องค์

                ในสมัยพระเจ้าอโศก ศาสนาพุทธในอินเดียรุ่งเรืองมากในราว พ.ศ. 200-300 พระองค์ได้ส่งพระธรรมทูต พระโสนะกับพระอุตตระมาเผยแพร่ศาสนาในสุวรรณภูมิ คือในแหลมทอง ตลอดคาบสมุทรมาลายู จดเกาะสุมาตราพุทธศาสนาจึงมาเจริญรุ่งเรืองมากในสุวรรณภูมิ

                มาถึง พ.ศ. 1093 พวกจามหรือเจนละ (ชนชาติเขมรโบราณ) มารุกรานตีได้อาณาจักรโพนัมจนล่มสลาย อาณาจักรทราวดีของเจนละในดินแดนสุวรรณภูมิรุ่งเรืองขึ้นแทนที่ พระพุทธศาสนาสาวกยานเจริญรุ่งเรืองในแหลมทองตลอดจนในคาบสมุทรมาลายู ตลอดถึงสุวรรณภูมิทางตะวันออกตั้งแต่นครราชสีมา ปราจีนบุรี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มีการพบพระพุทธรูปศิลาในที่ต่าง ๆ รวมทั้งเมืองไชยาด้วย พุทธศาสนาหินยานเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าศาสนาพราหมณ์

                นครโพธิ์

                ในราว พ.ศ.1200 มีนครหนึ่งทางทิศเหนือของอ่าวบ้านดอน ใกล้เมืองไชยา เป็นเมืองที่อยู่ในที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “นครโพธิ์” มีการนำเอาต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาจากอินเดียหลายต้นมาปลูกจนบริเวณนั้นปัจจุบันยังมีชื่อปรากฏ เช่นที่แหลมโพธิ์  แต่ปัจจุบันน่าเสียดายที่ต้นโพธิ์เหล่านั้นได้ล้มลงในคราวพายุพัดจัดในปี พ.ศ. 2428

                จากจดหมายเหตุการณ์ปฏิบัติธรรมและประวัติภิกษุนักจารึกจีนของภิกษุอิจิงได้เล่าถึงการจารึกมุ่งศึกษาพระธรรมไปอินเดียโดยเรือกำปั่นสถานที่ภิกษุอิจิงแวะพักจากกวางตุ้งมานครโพธิ์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนา มีภิกษุจำนวนมากมาศึกษาค้นหาอ่านคัมภีร์ปฏิบัติธรรม ภิกษุที่จะไปอินเดียส่วนมากมาฝึกหัดธรรมวินัยที่นี่ก่อน (ภิกษุทางตะวันออกวินัยอ่อนกว่าทางชมพูทวีป) ประเทศต่าง ๆ ทั้งหลายในทะเลใต้เป็นเมืองขึ้นของนครโพธิ์ตลอดไปจนถึงนครกาจา (ไทรบุรี) ถึงประเทศมาลายูตอนนั้นเรียกประเทศศรีโพธิ์

                นครโพธิ์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา มีพระภิกษุมีชื่อเสียงเชี่ยวชาญทางธรรมวินัยมาก ประเทศทั้งสิบในทะเลใต้เป็นเมืองขึ้นของนครโพธิ์ นับถือศาสนาพุทธนิกาย พระราชานครโพธิ์และพระราชาใกล้เคียงต่างมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาในประเทศมาลายูมีการนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานมาก

                นครโพธิ์ มีทองใช้อย่างแพร่หลายในทุกหมู่เหล่า มีการใช้ทองบูชาพระด้วยดอกบัว ทอง คนโฑทอง ดอกไม้ทอง พระพุทธรูปทอง พระพุทธรูปศิลาก็สร้างขึ้นจำนวนมาก เท่าที่พบพระพุทธรูปหินเขียวสมัยทวาราวดีพบในคูหาองค์พระธาตุในเจดีย์วัดแก้วในโบสถ์วัดเววนที่ตั้งหลักเมืองริมวัดเวียง ทองตราสมัยโบราณมีผู้พบในที่ต่าง ๆ ต้นโพธิ์ทอง พบตามหมู่บ้านและวัดที่พุมเรียงสองต้น ปัจจุบันวัดเก่าในบริเวณที่ราบนับได้ประมาณ 30 วัด

                นครโพธิ์ มีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน มีเมืองท่าการเดินทางจากกวางตุ้งมานครโพธิ์ใช้เวลาเดินทาง 20 วัน จากนครโพธิ์ไปมาลายู 15 วัน ประเทศทั้งสิบในทะเลใต้ ชาวจีนเรียกกันแต่ดั้งเดิมว่าประเทศคุนหลุน หรือคนไทยมีรูปร่างคล้ายคนจีน ได้อพยพจากทางเหนือลงมาคาบสมุทรมาลายู จนเป็นชุมชนใหญ่แล้วปกครองตนเองจนเป็นประเทศตั้งแต่สมัยอาณาจักรโพนัมเจริญรุ่งเรือง

                คนในประเทศเหล่านี้นุ่งผ้าพื้นแบบอินเดีย นุ่งผ้าผืนกว้างยาวแปดฟุต ไม่ตัดหรือเย็บ นุ่งรวบสะเอวอย่างง่าย ๆ เพื่อปกคลุมส่วนล่างของร่างกาย

                หลักฐานการค้าขายกับจีนที่ปรากฏมีการขุดค้นพบถ้วยโบราณจำนวนมาก เป็นของสมัยราชวงศ์สุงมาจากนานกิง เรือกำปั่นบรรทุกถ้วยมาอับปางจนซ้อนกันจำนวนมาก มีการพบเซลาคอนสมัยราชวงศ์สุง พบลูกปัดและกระจกเงาโบราณของจีน ที่เมืองไชยามีการพบระฆังเหล็กโบราณมีอักษรจีน 3 ลูก ที่พุมเวียง มีศิลาจารึกภาษาแก่เก่าอยู่หลายแผ่น

                ราษฎรนครโพธิ์ นิยมทำน้ำตาลก้อนกลม ได้จากการเคี่ยวน้ำจากดอกไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันที่ไชยายังมีการทำน้ำตาลแว่น หรือน้ำตาลถ้วยกันอยู่ กล่าวกันว่าสืบทอดกันมาร่วมพัน ๆ ปี

ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (1)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์