ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุพนม นครพนม : พระธาตุพนมล้ม


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุพนม  นครพนม

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

พระธาตุพนมล้ม

                องค์พระธาตุพนมตั้งตระหง่านสูงเด่นเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาเป็นเวลา นานนับพันปี จากหลักฐานโบราณคดี องค์พระธาตุพนมสถาปนาขึ้นมาราวพุทธศตวรรษที่ 12-14

                ตอลดเวลาที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง หลายยุค หลายสมัย วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ประกอบกับมีการบูรณะเสริมสร้างโดยการต่อยอดหลายครั้ง ไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างส่วนฐานแต่อย่างใดทำให้ฐานส่วนล่างต้องรับน้ำหนักจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะในการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2483-2484 ได้มีการทำรูระบายอากาศรอบด้านในส่วนยอดองค์พระธาตุ รูอากาศนี้ทำให้ฝนไหลเข้ามาแต่ส่วนล่างไม่มีทางระบายน้ำออก

                ส่วนยอดองค์พระธาตุจึงกลายสภาพเป็นที่เก็บน้ำแล้วค่อย ๆ ซึมเซาะอิฐภายในให้เปื่อยยุ่ยองค์พระธาตุได้รับการกระทบกระเทือนมาก เมื่อได้เกิดแผ่นดินไหวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน องค์พระธาตุพนมก็เริ่มเอียงจากแกนเดิม ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น

                วันที่ 11 สิงหาคม ตอนเช้าฐานพระธาตุพนมด้านทิศตะวันออก ผนังปูนตรงลวดลายประตูจำหลักซึ่งอยู่ กึ่งกลางของด้านตลอดถึงส่วนที่เป็นซุ้มทรงบายศรี ปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมาทั้งแผ่น เป็นระยะ ๆ และมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมองเห็นเศษปูนกองอยู่ที่พื้นฐานเจดีย์ทั่วไปรอยแตกแยกเริ่มขยายกว้างมากขึ้น

                ล่วงมาถึงเวลาเย็น บริเวณที่อิฐร่วงหล่นลงมาในตอนเช้าก็เริ่มหลุดร่วงอีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ อิฐที่หลดเป็นรอยลึกเข้าไปในฐาน เมื่ออิฐหลุดร่วงจะได้ยินเสียงครืดคราดออกมาจากภายในองค์พระธาตุส่วนฐานนั้นเป็นระยะ มองดูอิฐที่ร่วงลงมาแล้วใจหาย

                แม้แต่เสียงที่ได้ยินจะเป็นสัญญาณอันตรายเตือนให้รู้ล่วงหน้าว่า องค์พระธาตุพนมอาจะโค่นล้มลงมาเวลาหนึ่งเวลาใดก็ตามผู้คนผลัดเวียนมาดูกันมาก เฝ้าสังเกตการณ์องค์พระธาตุอย่างใจจดใจจ่อ วิตกวิจารณ์คาดการณ์กันไปต่าง ๆ นานา ทุกคนหวั่นวิตกต่อเหตุการณ์เบื้องหน้า

                แต่ก็ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดกล้าคิดว่าพระธาตุพนมที่สูงตะหง่านจะโค่นล้ม ทั้งนี้เพราะต่างมีความมั่นใจว่า องค์พระธาตุพนมนี้เป็นปูชนียสถานของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองย่อมมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองปกปักรักษาถึงจะชำรุดทรุดโทรม ตามกาลเวลา แต่ก็คงสามารถซ่อมแซมให้ดีขึ้นดังเดิมได้

                ขณะนั้นเมื่ออิฐร่วงลงมาเป็นระยะ ๆ ทะลวงลึกเข้าไปเป็นช่องเหมือนถูกคว้านให้เป็นโพรงอยู่ภายในฐาน การหลุดร่วงของอิฐในตอนนี้มีทั้งอิฐและดินหล่นลงมา จนกระทั่งมองเห็นหินแท่งยาวแบนอยู่ภายในแท่งหินทำให้เข้าใจว่า ส่วนฐานขององค์พระธาตุพนมภายในเป็นดินมากกว่าอิฐหรือหิน องค์พระธาตุเอียงไปทางทิศตะวันออกจนเห็นได้ชัด

                ครั้นถึงเวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์

                สาเหตุการพังทลายขององค์พระธาตุพนม จึงเป็นสาเหตุสร้างสมมากกว่า เหตุที่เกิดขึ้นในทันทันใด อาการพังทลายไม่ได้ทรุดที่ฐาน หากเริ่มจากยอดที่เป็นน้ำหนักในแนวดิ่งที่หนักมาก มากดคอบัวฐานชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้บิออกเป็นแนวฉีกลึกไปในเจดีย์ เพราะอิฐเปียกยุ่ยจากฝนตกติดต่อกันอย่างหนัก ต่อจากนั้นอิฐผนังที่ยุ่ยอยู่แล้วก็ค่อย ๆ ทลายลงเป็นแถบ ๆ ยอดเจดีย์กด พุ่งลงมาตามแนวดิ่งหักลงเป็นท่อน ๆ องค์พระธาตุได้ล้มฟาดลงมาทางทิศตะวันออก แตกหักออกเป็นท่อน มีลักษณะเป็น 3 ตอน คือ

                ตอนที่ 1  คือฐานชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐแดงจำหลักลวดลายสูง 8 เมตร คือดอนที่เก่าที่สุด สร้างด้วยอิฐเรียงสอด้วยวัตถุเหนียวแตกทับตัวเอง หลุดร่วงและล้มเป็นกองเศษอิฐแตกกระจายออกทั้ง 4 ด้าน พูนขึ้นเป็นกองอิฐขนาดใหญ่

                ตอนที่ 2  ระหว่างเรือนธาตุชั้นที่ 2 กับฐานบัลลังก์เป็นส่วนที่ได้รับการบูรณะในภายหลังแตกออกเป็น 2 ท่อน ท่อนล่างละเอียดหมด ท่อนบนยังดีอยู่ ล้มกองไปตามทางทิศตะวันออก

                ตอนที่ 3  คือส่วนยอดที่สร้างครอบยอดเดิมไว้เมื่อครั้ง พ.ศ. 2483 เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กยาวประมาณ 20 เมตร (ความสูงใหญ่ 10 เมตร ระยะของความสูงเดิมจากฐานบัลลังก์ขึ้นไป) หักล้มไปทางทิศตะวันออก ทับศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาแหลกละเอียด และหอพระแก้วราบทะลายลงไปทั้งสองหลังเฉพาะหอพระแก้วเหลือแต่เพียงมุขด้านหน้าไว้เท่านั้น ส่วนฉัตรที่ทำด้วยทองคำสวมยอดพระธาตุนั้น เอนปะทะพิงอยู่กับผนังหอพระแก้ว ความเสียหายของฉัตรบุบสลายเพียงเล็กน้อย

                สำหรับอาคารที่เป็นศาสนาสถานที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากพระธาตุพนมล้มมีดังนี้

                1.  กำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุพนมชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2

                2.  หอข้าวพระทรงปราสาทยอดมณฑป ซึ่งสร้างในสมัยเจ้าพระยานครหลวงพิชิตทศทิศราชธานีศรีโคตรบูรหลวง บูรณะพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. 2153

                3.  ศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาสร้างเมื่อ พ.ศ. 2466

                4.  วิหารหอพระแก้ว หรือวิหารหลวง แรกสร้างในสมัยพระเจ้าโพธิสารได้บูรณะพระธาตุพนม เมื่อราว พ.ศ. 2073

                5.  หอพระด้านทิศเหนือและทิศใต้

                ส่วนพระอุโบสถซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของหอพระแก้ว รอดพ้นอันตรายไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะอาคารทั้งสองสร้างอยู่ใกล้ชิดกันมาก (ระยะห่างเพียง 5 เมตรเท่านั้น)

                จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการเพื่อรักษาสภาพเดิมขององค์พระธาตุพนม และบริษัทวิศวกรรมที่เข้ามาศึกษาหาสาเหตุภัยพิบัติครั้งนี้ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ดังนี้คือ

                1.  ฐานรากขององค์พระธาตุทรุดตัวไม่เท่ากัน ทำให้อาคารเสียการทรงตัว

                2.  วัสดุก่อสร้างซึ่งสร้างมานาน เป็นอิฐบางส่วนเสื่อมสภาพไม่สามารถรับน้ำหนักดีเท่าด้านอื่น ทำให้เสียศูนย์ จึงล้มพังทลาย

                3.  เกิดจากแรงกดน้ำหนักภายในของวัสดุในองค์พระธาตุพนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความชื้น จนผนังอิฐบางส่วนทนรับน้ำหนักไม่ไหว แตกร้าวล้มในที่สุด

                จากการศึกษาของบริษัทวิศวกรรมได้ขุดศึกษาชั้นดินลงมาพบชั้นกรวดในระดับความลึก 20 เมตร ซึ่งจัดว่าเป็นชั้นรากฐานที่ดีมาก และไม่มีการทรุดตัวของชั้นดินโดยรอบเลย ประเด็นในข้อที่ 1 จึงตกไป

                ส่วนในข้อที่ 2 และ 3 นั้น มีเค้าความเจริญอยู่มาก แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในกรณีทั่วๆ ไป เป็นพฤติกรรมต่อเนื่องที่สร้างสมติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าสามสิบปี กล่าวคือ เมื่อมีการต่อยอดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2483-2484 นั้น ไม่มีการเสริมความแข็งแรงฐานเรือนธาตุทั้งสองชั้นใหม่ ทั้งที่ฐานทั้งสองต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล

                ความแข็งแรงมั่นคงเท่าที่มีอยู่ได้กลับเป็นความรอบคอบของท่านราชครูหลวงโพนสะเม็ก การต่อยอดครั้งนั้นได้อัดอิฐดินภายในโพรงอาคารเดิมจนทึบตันรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดีและลำพังอิฐก่อสร้างอาคารในส่วนที่ดีอยู่นั้น (อยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1300-1400) มีความแข็งแรงเกือบเท่าคอนกรีต

                ความแข็งแรงทั้งหมดนี้จึงแยกน้ำหนักของยอดอาคารองค์พระธาตุได้เป็นอย่างดียิ่ง ต่อเมื่อมีการต่อยอดเสริมขึ้นใหม่นั้นเปิดช่องระบายอากาศทุกด้าน ช่องเหล่านี้เป็นทางให้น้ำฝนสาดเข้าไปได้ แต่ไม่ได้เปิดทางระบายน้ำไว้ เมื่อน้ำเข้าไปช่องเหล่านี้ก็จะไหลไปกองอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งที่ไม่ได้ระดับ น้ำเหล่านี้ค่อย ๆ ซึมเซาะอิฐให้เสื่อมสภาพไปอย่างช้า ๆ จนฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักท่อนบนไหว พังทะลายลงมาทั้งองค์

พระธาตุพนมล้ม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของพระธาตุพนมล้ม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์