ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุพนม นครพนม : รูปทรงลักษณะขององค์พระธาตุพนม


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุพนม  นครพนม

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

รูปทรงลักษณะขององค์พระธาตุพนม

                จากการขุดค้นหลักฐานหลังจากองค์พระธาตุพนมล้มลง เมื่อ พ.ศ. 2518-2519 พบหลักฐานอย่างแน่ชัดว่า องค์พระธาตุพนมนั้นได้สร้างทับกันมาอย่างสลับซับซ้อน รูปทรงที่จัดว่าสร้างในช่วงแรกนั้น น่าจะเป็นตรงกลางเรือนธาตุชั้นใน และเรือนธาตุชั้นนอก (ชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างราว พ.ศ. 1200

                ลักษณะการสร้างด้วยอิฐสุกไม่ขัดสอดิน กำแพงก่อนหนามากมีทางเข้าทางด้านทิศตะวันออก กรอบใช้แบบประตูหิน ช่องประตูมีขนาดกว้าง 1.16 เมตร สูง 2.33 เมตร มีรางโสมสูตรหินฝังออกทางด้านทิศเหนือ

               จากรูปแบบแผนผังการก่อสร้างภายในเคยใช้เป็นเทวสถานมาก่อน ในช่วงที่อารยธรรมขอมเรืองอำนาจแผ่ขยายอำนาจอารยะธรรมสถาปัตยกรรมทั้งแดนสุวรรณภูมิและล้านช้าง มีสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเรืองอำนาจขอมอยู่ทั่วไป

                สิ่งก่อสร้างที่สร้างร่วมสมัยกับทวาลัยนี้ก็มีปราสาทภูมิโพน ในจังหวัดสุรินทร์ที่ใกล้เคียงกันมาก มีการสร้างอิฐที่คล้ายคลึงกันไม่มีการขัดอิฐเหมือนกับการพัฒนาการสถาปัตยกรรมของเขมรรุ่น ต่อมา อาคารอิฐพระธาตุพนมเป็นแบบเขาร่องเดือยง่าย ๆ ไม่มีการเข้าเดือยแบบบากของปราสาทภูมิโพน ถ้าพิจารณารูปแบบของการพัฒนาการช่าง กรอบประตูหินของเทวาลัยอิฐน่าจะสร้างมาก่อน แต่มีความล้าหลังทางการช่างในสภาพท้องถิ่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงยุคเดียวกัน

                รูปทรงที่สร้างในยุคสองสมัยแรก เป็นเรือนอิฐที่สร้างทับเทวาลัยอิฐ ในช่วงแรกฐานเรือนธาตุทั้งสองชั้นขององค์พระธาตุที่รองรับยอดอยู่ภายนอก มีแผนผังรูปจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 16 เมตร สูงจากระดับลานประทักษิณขึ้นไปจรดขอบบัวคว่ำชั้นแรก 8 เมตร ต่อจากนั้นจึงเป็นเรือนธาตุชั้นที่สองสูงขึ้นไป 12 เมตร

                ลักษณะของการใช้เชิงบัวคว่ำมาเสริมต่อเรือนอาคารทั้งสองขนาดให้เข้ากันนี้ อาจจะเป็นการดัดแปลงให้อาคารเดิมที่มีมาก่อนต่อยอดทรงรุ้งครั้งแรกสุด กลายเป็นรูปทรงเจดีย์ในคติ รสนิยมในสมัยประวัติศาสตร์ยุคล้านช้าง

                การออกแบบทรงอาคารในส่วนเรือนธาตุนั้น จะถือระบบแกนอย่างเคร่งครัด โดยการใช้แกนด้านทิศตะวันออกกับตะวันตกเป็นแกนประธานหลัก ถึงแม้นแผนผังอาคารจะเป็นรูปจัตุรัสก็ตาม สถาปนิกจะออกแบบรูปด้านอาคารในลักษณะของโครงสร้างใหญ่เหมือนกันหมดทุกด้าน เว้นแต่โครงสร้างแผงภาพสลักอิฐแต่ละด้านที่ใช้แบบลายสลักแตกต่างกันไปตามคติที่กำหนด

                ตรงกลางจะมีซุ้มประตูซุ้มวงเดือนอยู่กลางทุกด้านทั้ง 4 ด้าน ถัดออกมาทั้งสองข้างจะเป็นแถบลายสลักสลับกับเสากลมหัวเม็ดจำนวน 3 ต้น ท้ายสุดเป็นแผงภาพขนาบทั้งสองข้าง

                ซุ้มประตูของเรือนธาตุชั้นล่าง จะมีแถบลายทางดิ่งกับเสากลมรับปลายซุ้มข้างละต้นยอดจั่วหรือซุ้มวงเดือนจะแนบชิดติดผนัง ส่วนวงโค้งสี่หยิบของตัวซุ้มจะไปหนุนออกมาจากระนาบของผนัง ปลายวงโค้งจะขมวดเป็นกันหอยกลม ในตำแหน่งที่ปลายวงโค้งจรดกับปลายขมวดนั้นจะสลักรูปสิงห์ประดับไว้คู่หนึ่งหันหน้าเข้าหากัน

                ส่วนในตำแหน่งของช่อประตูจะวางรูปเป็นกรอบดัดจากริ้วแถบลายเข้ามา เนื้อที่ส่วนที่เหลือจะจัดคล้ายประตูจริง มีอกเลาเป็นสันกลาง กลางอกเลาจะใช้ลายรูปขนมเปียกปูน วางห่างกันเป็นระยะ ๆ ส่วนเนื้อที่ตำแหน่งบานประตูจะสลักลายเต็มทั้งสองข้าง

                การวางตำแหน่งโครงภาพทั้งหมดจะถูกกำหนดจากความเชื่อในสมัยโบราณภาพในซุ้มจรนำในตำแหน่งกึ่งกลางด้านจะเป็นรูปเทพประจำทิศตามคติศาสนาพราหมณ์รูปในด้านทิศตะวันออก เชื่อกันว่าเป็นรูปพระอินทร์ ภายในซุ้มนี้ได้ถูกปูนโบกทับไปแล้ว รูปในซุ้มจะนำด้านทิศตะวันตกตรงข้ามเป็นรูปพระวรุณทรงหงส์ ในหมู่พราหมณ์และเทวดา ด้านทิศเหนือเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ (ครุฑ) และทางด้านทิศใต้เป็นรูปพระยมทรงมหิงสาในหมู่เข้าเฝ้า นอกจากรูปเทพประธานภายในซุ้มหน้าบัณยังมีตัวประกอบอื่น ๆ ตามประเพณีนิยม เช่น เทวดาเหาะ พราหมณ์เทพเข้าเฝ้าฯ เป็นต้น

                ลักษณะของลายสลักภาพในผนังแต่ละด้านจะมีระเบียง ลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยจะใช้รูปฤาษีนั่งชันเข่าพนมมือเป็นขอบภาพ บน-ล่างของผนังทุกด้าน

                องค์ประกอบสำคัญของแผนภาพในแต่ละแผงก็จะใช้ตัวรูปสำคัญอยู่ในตำแหน่งส่วนบน และส่วนล่างของแผงภาพ แล้วอาศัยลวดลายก้านขดทั้งแผงเป็นฉากของท้องเรื่อง องค์ประกอบทั้งหมดประสานกันเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยที่มีการกำหนดรูปและทิศทางของแผงภาพในแต่ละด้านไว้อย่างแน่นอน ตัวรูปภาพลายสลักแต่ละด้านจึงมีรายละเอียดในส่วนดังกล่าวแตกต่างกันไป

                แผงภาพด้านซ้าย (ทิศใต้) ของรูปทางด้านทิศตะวันออกตัวรูปด้านบนจะทรงม้าตัวรูปด้านล่างจะทรงช้าง ระเบียบการทรงช้างทรงม้าของแผงภาพด้านขวา (ทิศเหนือ) จะสลับระเบียบกันแต่จะหันหน้าเข้าหาแกนกลางด้วยกัน

                ระเบียบการทรงช้างทรงม้า ของตัวรูปในแผงภาพด้วยทิศเหนือ ก็เป็นระเบียบเดียวกันกับทางทิศตะวันออก แต่ทิศทางของตัวรูปและสัตว์พาหนะจะหันหน้าทางเดียวกันมาทางทิศตะวันออกซึ่งก็มีระเบียบเดียวกันกับระเบียบขององค์ประกอบแผงภาพด้านทิศใต้ และหันหน้ามาทางทิศตะวันออกด้วย

                ระเบียบขององค์ประกอบในแผงภาพด้านทิศตะวันตก ก็ใช้ระเบียบเดียวกันกับผนังด้านอื่น ๆ แต่จะหันทิศทางของตัวรูปไปทางทิศเหนือต่อเนื่องกับทิศทางของตัวรูปในทิศนั้นเข้าหาแกนตะวันออกทั้งหมด

                ระเบียบที่ต่อเนื่องในลักษณะไขว้ทะแยงซึ่งทยอยไล่กันมาสู่แกนทิศตะวันออกพร้อมกันนั้น เกิดจากระเบียบง่าย ๆ ที่ประสานกัน คือ จะเป็นระบบไขว้ทะแยงสลับตำแหน่งของตัวรูปในแผงภาพแต่ละด้านทิศทางของตัวรูปจะมีแบบที่หันหน้าเข้าหากันและแบบที่ไล่ไปในทิศทางเดียวกันและทิศทางของตัวรูปทั้งหมดจะมุ่งเข้าหาแกนตะวันออก แต่จะยึดทิศเหนือเป็นแนวร่วมที่สำคัญกว่าทางด้านทิศใต้ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากคติทักษิณาวรรคก็เป็นได้

                ต่อขึ้นไปเป็นเรือนธาตุชั้นที่สองนั้น ลดชั้นเข้าไปจากองค์ธาตุเรือนธาตุชั้นล่าง แต่ก็ใช้ระเบียบเดียวกัน แผงภาพผนังด้านตะวันออกส่วนทิศเหนือ และแผงภาพผนังด้านทิศเหนือส่วนตะวันออก ก็ยังเป็นภาพสลักบายอิฐเดิมอยู่เป็นตัวรูปค่อนข้างใหญ่ประมาณหนึ่งในสามของเนื้อหาโดยมีกลุ่มลายเป็นพื้นฉากหลังทั้งหมด

                ภาพสลักลายทั้งหมดของผนังเรือนธาตุทั้งสองชั้น สลักบนผนังอิฐสุก องค์ประกอบบางส่วนที่นูนมากก็เตรียมเป็นเค้าโครงมาแต่ต้น เช่น เสากลมและสันลายบางส่วน เทคนิคการก่อสร้างแบบนี้ เป็นการขัดอิฐให้เรียบคมทุกส่วน แล้วจึงนำมาก่อให้ชิดผิวเสมอให้สนิทกัน โดยการใช้สอดินบาง ๆ เป็นตัวสาน

                ความนูนของภาพลายสลักอิฐจากผิวในนั้นอย่างน้อยตั้งแต่นิ้วครึ่งถึงสองนิ้วขึ้นไป ฝีมือการสลักลายทำได้ดีมาก เข้าใจธรรมชาติของอิฐที่มักจะเปราะแตกง่ายในระหว่างการสลัก เข้าใจว่าคงจะใช้น้ำหล่อในขณะสลัก ในขณะเดียวกันรายละเอียดของตัวลายต่าง ๆ จะเดินเส้นขอบทั้งหมด และปลายลวดลายจะขมวดเพื่อที่จะแก้ปัญหามิให้ขอบลายแตกไปได้ง่าย ๆ

                รูปลักษณ์ของการก่อสร้าง เรือนอิฐแบบนิยมใช้กันมากในสถาปัตยกรรมสกุลช่างขอม และเทคนิคการก่อสร้างแบบนี้ สกุลช่างจามในอินโดจีนก็นิยมใช้ด้วย

                ส่วนแบบของซุ้มประตูทิศนั้น ไม่มีในศิลปะขอม มีพบแต่งานสถาปัตยกรรมจาม ที่ชอบสลักลายสิงห์ประดับอยู่ที่ชายซุ้มมากกว่าสิงห์ของขอม ในขณะที่พวกเสากลมและแถบภาพสลักลายประดับผนังพื้น จะเป็นระเบียบที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานสถาปัตยกรรมจามด้วยเช่นกัน

               ถึงแม้ว่าแบบของเสากลม จะค่อนมาทางสถาปัตยกรรมของทวารวดีอยู่มาก ก็เป็นไปได้ว่าแบบส่วนท้องถิ่นได้รับอิทธิพลอยู่ร่วมสมัยกับทวารวดี ในกลุ่มใบเสมาภาพชาดกเมืองฟ้าแดดกาฬสินธุ์ รุ่นภาพพระนางพิมพาพิลาป ซึ่งมีอายุอยู่ราว พ.ศ. 1400

                อีกประการหนึ่ง ระเบียบของการสลักลายลงบนแถบท้องไม้เชิงผนัง ก็เป็นระเบียบในงานสถาปัตยกรรมจามอีก เช่น งานสถาปัตยกรรมจามในรุ่นปี พ.ศ.1418 ในกลุ่มดงเดืองเมืองควงนาม ภาคกลางของเวียตนาม แต่ระเบียบแบบนี้ก็ใช้ในงานสถาปัตยกรรมสมัยก่อนพระนคร อาทิเช่น ปราสาทภูมิ ปราสาทที่กำพงธม แบบกำพงพระ อายุอยู่ในปี พ.ศ. 1249 แต่ลายดอกสี่กลีบมีใบดอกรองรับในแถบลายของพระธาตุพนมนี้ เป็นลายแบบเก่าที่ไม่เคยใช้ในงานศิลปกรรมของขอมและจามโดยตรงที่มีลักษณะลาย (มิใช่ระเบียบ) ใกล้เคียงที่สุดนั้น อาทิเช่น ลายดอกสีกลีบประจำยามของฐานศิวะลึงค์ ศิลปะจามแบบมิเซินอีก 1 ราวปี พ.ศ. 1250 ลงมา

                ในลักษณะของระเบียบและแบบของลวดลายสลักตามแผงภาพทุกด้านนั้นก็ไม่ใช่ลายแบบขอมแต่มีเค้าโครงของจามมากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวรูปคนที่ทรงม้าหรือทรงช้างนั้น ภาพจะเหมือนพระราชาหัวหน้าเผ่าของชุมชนพื้นเมืองแถบนั้นหน้าตาพื้น ๆ อย่างคนพื้นเมือง ไม่ใส่เสื้อเปลือยอกตามแบบประเพณี คนในแถบเมืองร้อนโดยทั่วไป มิได้ทรงเครื่องอาภรณ์อลังการ แต่จะเห็นประเพณีการรับวัฒนธรรมแบบอินเดียของชนชั้นสูงของสังคมที่ข้าราชบริพารจะต้องอัญเชิญเครื่องสูงตามเสด็จไปด้วย

                ถ้าตัดยอดเจดีย์ทรงรุ้งและเชิงบัวคว่ำออกไปแล้วรูปทรงลักษณะของทรงอาคาร ในช่วงนี้คือรูปทรงที่ซ้อนกันของเรือนธาตุที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมของขอมและจามในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1250-1420

                ฉะนั้นรูปแบบเรือนธาตุอังคารช่วงที่สองในสมัยแรกของพระธาตุพนมนี้ สัญนิษฐานว่าคงสร้างในระหว่าง พ.ศ. 1300-1400 อันเป็นระยะที่อาณาจักรจามกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในภาคกลางของอินโดจีน และขอมกำลังเริ่มสร้างอาณาจักรใหม่ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1345-1393) ซึ่งงานสถาปัตยกรรมขอมที่พนมกุเลนในช่วงนั้นได้รับอิทธิพลจามมาก (บางทีอาจใช้ช่างจามสร้างก็เป็นได้) เช่น ปราสาทดำไรกราบ ซึ่งมีเค้าโครงแบบเดียวกันกับพระธาตุพนมในช่วงนั้น

                นอกจากกรุงเทพในลัทธิพราหมณ์ของศาสนาฮินดูตามหน้าบันประตูทิศแล้วการอ่านภาพเรื่องราวต่าง ๆ ของแฝงภาพยากมาก เพราะเป็นแบบแผนที่เน้นระเบียบของแบบในเรื่องเดียวกันคือการออกล่าสัตว์ในป่าใหญ่ของพระราชา จะมีสัตว์จำพวกต่าง ๆ อาทิ เนื้อทราย  กวาง  หมู่ป่า  ฯลฯ  ต้องคุมอาวุธอยู่ในลวดลายในขบวนเสด็จของท้าวพญาทุกแผงภาพ ส่วนตัวรูปในแผงภาพชั้นเรือนธาตุชั้นที่สองนั้น อาจจะเป็นรูปยักษ์เฝ้าองค์พระธาตุตามคติอินเดียก็ได้

                เมื่อนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรมมาเทียบกับในตำนานพระธาตุพนมแล้ว จะเห็นว่ามีอายุต่างกันมาก ความในตำนานไม่ใช่อายุจริงทางประวัติศาสตร์

                ส่วนมากเป็นเรื่องเล่าขาน แต่งเรื่องตามเจตนาเพื่อสร้างเงื่อนไขการสืบสานพระศาสนาตามคติพื้นเมืองในขณะนั้น และผู้แต่งตำนานพระธาตุก็ได้เห็นพระธาตุพนมอย่างติดตา จึงนำภาพไปจิตนาการผูกเป็นเรื่องขึ้นแม้แต่รายละเอียดของตัวรูปที่เข้าใจว่าเป็นยักษ์นั้น ก็ผูกให้เป็นรูปเทวดาผู้มีส่วนสลักภาพทั้งหมดได้ นับว่าผู้แต่ง (พระยาศรีไชยชมพู ในสมัยเจ้าสุริยวงศา) มีจิตนาการสูงมาก งานแต่งตำนานอุรังคธาตุ ถือเป็นงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่ามาก

                รูปทรงขององค์พระธาตุในช่วงประวัติศาสตร์ ไม่สามารถแจกแจงในลักษณะของการพัฒนาเป็นขั้นตอนได้เพราะการพัฒนาขององค์พระธาตุพนมเป็นช่วง ๆ รูปสุดท้ายของการพัฒนาการ คือผลงานของสร้างเจดีย์ต่อยอดเป็นทรงเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กนี้เอง

                การต่อชั้นบัวคว่ำระหว่างเรือนธาตุทั้งสองจะมีมาก่อนหน้าหรือไม่ก็ตาม การนำทรงเจดีย์แบบหลวง ในส่วนยอดของพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ มาสวมให้เข้ากับรูปทรงเดิมขององค์พระธาตุพนม จนลงตัวเป็นเจดีย์องค์ใหม่แนวศิลปะสถาปัตยกรรมล้านช้างของลาวอีสานนั้น จัดว่าเป็นพฤติกรรมในชั้นสูง ที่วางรากฐานให้แก่สถาปัตยกรรมแบบไทยอีสานในเวลาต่อมา

                มาถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ รูปทรงองค์พระธาตุพนมที่เราเห็นจนติดตามอยู่ในทุกวันนี้ เป็นรูปแบบการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสริมในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล ท่านทำการถากถางรกพงให้สะอาด ทำนุบำรุงองค์พระธาตุให้มั่นคงถาวร ท่านพระครูเป็นช่างมีฝีมือมีจินตนาการประดับใส่อาภรณ์องค์พระธาตุได้สวยงาม ตกแต่งประดับด้วยกระจกสีเป็นดอกดวงในส่วนยอดและแถบลายหน้ากระดานผนังเรือนธาตุทั้ง 4 ด้าน

                ท่านพยายามอนุรักษ์ลายสลักเก่าขอบแผงภาพของเรือนธาตุชั้นที่ 2 หรือลายสลักในส่วนบานประตูใต้ซุ้มหน้าบัณ บางครั้งพยายามที่จะนำปูนที่โบกทับออก

                แม้แต่การปฏิสังขรณ์ครั้งสุดท้ายในสมัยหลวงวิจิตรวาทการ พ.ศ. 2483-2484 ก็เว้นอาคารส่วนนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ได้มีการต่อยอดหุ้มยอดเดิมขึ้นไปอีก 10 เมตร รูปทรงเปรียวชะลูดเสียดฟ้า เพื่อมุ่งสร้างเอกลักษณ์ใหม่ทั้งทางสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมและการเมืองให้วัฒนาถาวรต่อไป จนเป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลต่อพระธาตุเรณู พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเชิงชุม ให้มีแบบอย่างที่คล้ายคลึงกัน

รูปทรงลักษณะขององค์พระธาตุพนม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของรูปทรงลักษณะขององค์พระธาตุพนม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์