ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุพนม นครพนม : ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (7)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุพนม  นครพนม

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (7)

การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 6

สมัยหลวงวิจิตรวาทการ

                การบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมครั้งสำคัญ หลังจากพระครูวิโรจน์รัตโนบลอยู่ในระหว่าง พ.ศ.  2483-2484 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยรัฐบาลจากส่วนกลางกรุงเทพฯ ในขณะนั้นเกิดกรณี พิพาทดินแดนสงครามบูรพา ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ยึดครองดินแดนฝั่งขวาของลุ่มแม่น้ำโขง

                ชายแดนฝั่งโขงตึงเคียดด้วยภัยสงคราม รัฐบาลขณะนั้นเห็นว่าพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญอันเป็นที่เคารพของประชาชนทั้งสองฝั่งโขง หากรัฐบาลบูรณะขึ้นแล้ว จะเป็นการชักจูงจิตใจประชาชนแถบอินโดจีนให้เข้ากับราชอาณาจักรไทยได้จำนวนมาก จึงได้มอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการซึ่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นดำเนินการบูรณะ

                หลวงวิจิตรวาทการ ได้ทำการต่อยอดครอบยอดเดิมขึ้นใหม่ตามศิลปะไทย หุ้มยอดเดิมเป็นศิลปะแบบล้านช้าง (ของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก) ขึ้นไปอีก 10 เมตร คือตั้งแต่บัวบนขึ้นไปถึงยอดรวม 23 เมตร จากเดิมซึ่งสูงอยู่แล้ว 43 เมตร ได้ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเสริมเป็นโครงสร้างสูงขึ้นไป ลวดลายที่ติดองค์พระธาตุต้องหล่อด้วยซีเมนต์ ฝังคานคอนกรีตเป็นระยะช่วงละ 1 เมตร และมีคานคอนกรีตรัดรวบส่วนยอดกลวงมีบันไดเหล็กขึ้นไปจนถึงปลายยอด ทำประตูวงกลมศูนย์กลาง 70 ซม. ทั้ง 4 ด้าน ผนังด้านนอกติดลายพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นช่อขึ้นไป จนสุดคอระฆังทุกด้าน เฉพาะชั้นบนที่เสริมให้สูงขึ้นอีก 10 เมตรนั้น ทำเป็นบัวกลุ่ม 3 ชั้น ลอกทองและเงินหุ้มยอดเก่าออกนำมาหลอมเป็นรูปแผ่นอิฐ คือ

                ทองรูปแผ่นอิฐหนัก 8,600 กรัม 1 ก้อน

                เงินรูปแผ่นอิฐหนัก  3,500 กรัม 1 ก้อน

                เศษทองห่อไว้รวมกันหนัก 250 กรัม 1 ก้อน

                แล้วนำลงมาเก็บไว้เพื่อทำยอดฉัตรปีกบนยอดพระธาตุแทนองค์เดิมต่อไป แต่มีปัญหายืดเยื้อเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองทางชายแดนภาคอิสานขณะนั้นจึงให้ชลอไว้ก่อน

                การต่อยอดองค์พระธาตุพนมให้สูงตะหง่านปิดทองอร่ามในครั้งนี้ ทำให้เกิดรูปทรงองค์พระธาตุขึ้นใหม่เป็นรูปสัญลักษณ์หรือมโนภาพขององค์พระธาตุ ที่ติดตรึงเป็นมโนภาพอยู่ในความทรงจำคนเดินทางมาห่างสักพันเส้นก็แลเห็นส่วนตอนล่างของพระธาตุ ไม่แตะต้องให้สงวนไว้ตามเดิมเพื่อรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของโบราณอันมีค่าสูงสุดไว้

                ในครั้งที่พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพอังกฤษ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย มาไว้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ และได้ขอต้นพระศรีมหาโพธิ์มา 5 ต้น ในปี พ.ศ. 2486 นำมาจากพุทธคยา อินเดีย นำมาโดยสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ สังฆนายกรูปแรก นำมาปลูกไว้ที่วัดพระธาตุพนม 1 ต้น ภาคกลางปลูกที่วัดพระศรีมหาธาตุ 2 ต้น ภาคเหนือที่พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ 1 ต้น ภาคใต้ ที่วัดบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช 1 ต้น

                ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม

พ.ศ. 2493 รัฐบาลในสมัย จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เห็นความสำคัญของพระธาตุพนมซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทางภาคอีสาน องค์ธาตุพนมเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาลจึงได้ยกฐานะของวัดพระธาตุพนมขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิด “วรมหาวิหาร” ตั้งแต่นั้นมา

 

ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (7)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระธาตุพนม นครพนม (7)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์