ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุพนม นครพนม : ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (6)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุพนม  นครพนม

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (6)

การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 5

                สมัยพระครูวิโรจน์  รัตโนบล

                ล่วงเข้าปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้เข้าสู่ประวัติพระธาตุพนมสมัยใหม่ ภายใต้ระบบการปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ

                เมื่อครั้งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจรย์เสาร์พระอุปัชฌย์ทา วัดบูรพารามเมืองอุบล พร้อมคณะพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ได้ธุดงค์มาจำพรรษาในบริเวณวัดพระธาตุพนม เห็นสภาพองค์พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนทั้งสองลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจึงคิดจะบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ท่านไม่ชำนาญทางการช่าง จึงแนะให้ชาวบ้านไปเชิญพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช วัดทุ่งศรีเมืองอุบลให้มาช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ใน พ.ศ. 2444 เพราะท่านมีชื่อเสียงเป็นพระที่เก่งทางวิปัสสนากรรมฐาน และมีความรู้เก่งทางช่างปั้นช่างเขียนอยู่ในขณะนั้น

                ท่านพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช (บุญรอด สมจิต) ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2446 ท่านได้เดินทางมาพร้อมคณะโดยทางเกวียนถึงวัดพระธาตุพนม เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน อ้าย ปีเดียวกันนั้น

                แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านและทางวัดเกรงความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุมาก มีความประสงค์ต้องการให้ทำความสะอาดและถอนพวกวัชพืชเถาเคลือทั้งหลายออกไปแต่พระครูวิโรจน์รัตโนบลต้องการจะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สง่างามทั้งองค์ ตกลงกันไม่ได้ท่านจึงเตรียมเดินทางกลับ ต่อมาชาวบ้านยอมจำนวนเพราะคนทรงเทวดาอารักษ์ขององค์พระธาตุอนุญาตให้ทำเช่นนั้น

                ครั้งนั้นก็ไม่มีชาวบ้านหรือพระเณรองค์ใดกล้าร่วมมือลงแรงบูรณะองค์ธาตุแต่ต้นมือ ด้วยเกรงอำนาจภูตผีองค์พระธาตุ จะบันดาลให้มีเพทภัยเกิดความเดือดร้อนพระครูวิโรจน์รัตโนบลกับคณะสานุศิษย์จึงต้องลงมือทำกันเอง

                ในวันแรกท่านให้พระเณรที่มาจากอุบล 10 รูป นั้นเอาไม้พาดเจดีย์ ชำระเคลือเถาต้นโพธิ์ต้นไทรออก ขุดโคลนน้ำท่าความสะอาด ชาวบ้านที่อยู่ในบ้านพระเณรในวัด ไม่มีใครกล้ามาร่วม ต่างพากันปิดบ้าน ปิดประตูกุฏิไม่กล้าส่องมองดู ด้วยเกรงว่าเทวดาจะหาว่าเป็นใจกับท่านพระครูวิโรจน์ฯ ท่านก็ทำต่อไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ วัน มีแต่เฒ่าชัยวงศาผู้ใหญ่บ้านดอนกลางเท่านั้นที่คอยมารับใช้ช่วยเหลือ พอผ่านไปได้ 7 วัน เห็นชาวบ้านธาตุมายืนขัดหลังดูภายนอก

                ต่อมาได้ 15 วัน คนทั่วสารทิศทราบข่าวการบูรณพระธาตุพนมต่างหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศทั้งฝั่งซ้ายฝั่งขวา ฝั่งขวาเจ้าเมืองท่าแขกยกหินปูนที่ภูเขาเหล็กไปให้ทั้งลูก เกณฑ์คนเป็นพันขนส่งจากเชิงเขาถึงฝั่งแม่น้ำโขงทางยาว 4 กม. โดยยืนเรียงแถว

                เจ้าเมืองสกลนครและหนองคายปวารณาให้ช้างใช้ลากเข็นตอนนี้ประชาชนภิกษุสามเณร คนแก่คนเฒ่าหนุ่มสาวลามไหลมาจากทุกทิศ ระหว่างดำเนินการบูรณะนั้นเป็นคราวประจวบเหมาะกับเกิดคดีผีบุญขึ้นที่อำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี ประชาชนเกรงไปตามคำนายของผีบุญว่าสัตว์เลี้ยงจะเป็นยักษ์ ของมีค่าทั้งหลายจะแปรสภาพเสื่อมค่าไป หินกรวดทรายจะกลับกลายเป็นเงินเป็นทอง เงินทองที่ครอบครองจะกลายเป็นกรวดหิน ชาวบ้านหวาดหวั่นตื่นกลัวข่าวลือกันทั่วไป

                เหตุนี้จึงมีผู้มีจิตศรัทธานำเงิน และสิ่งมีค่ามาบริจาคเป็นทุนให้พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นทุนในการบูรณะองค์พระธาตุเป็นจำนวนมาก จนเกินงบประมาณที่ต้องการ มีเก็บไวเป็นทุนบูรณะครั้งต่อไปได้อีก

                ท่านพระครูวิโรจน์ใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมประมาณ 2 เดือน จึงสำเร็จ ถึงเดือน 3 วันเพ็ญได้ฉลองสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม จึงถือวันนี้เป็นประเพณีเทศกาลประจำปีตั้งแต่นั้นสืบมาจนทุกวันนี้

                การบูรณะองค์พระธาตุนั้น ได้ขูดกะเทาะปูนเก่าที่ชำรุดแล้วโบกใหม่ โบกปูนแต่พื้นถึงยอดและกำแพงที่ชำรุดต่าง ๆ เติมลายปูนเป็นบางส่วนทาสีประดับกระจกกระเบื้องเคลือบปิดทองส่วนบนติดดาวที่ระฆัง ลงรักปิดทองที่ยอด สิ้นทองคำเปลว 3 แสนแผ่น แผ่แผ่นเงินแผ่นทองคำขึ้นหุ้มยอดพระธาตุหมดเงินหนัก 300 บาท ทองคำหนัก 50 บาท แก้วเม็ด 200 แก้ว ประดับ 120 หีบ โปงทองหล่อ 1 ใบ มีทองหนัก 2 แสน บูรณะตั้งแต่ฐานชั้นที่ 3 ขึ้นไป ซ่อมแซมถึงกำแพงแก้วชั้นใน และชั้นกลาง ทาน้ำปูนพระธาตุและปูนลานพระธาตุ การบูรณะพระธาตุพนมของพระครูวิโรจน์รัตโนบลนั้นมีความสำคัญเทียบเท่ากับการบูรณะของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เมื่อ 200 ปีที่แล้ว เป็นการฟื้นฟูปลุกขวัญและชีวิตจิตใจของชุมชนขึ้นใหม่ หลังจากที่ซบเซาไปเป็นเวลาร่วมศตวรรษ

                หลังจากนั้นท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล ได้กลับมาสร้างซุ้มประตูหน้าวัดให้อีกใน พ.ศ. 1449 ในปลายปีนั้น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ได้เสด็จมาพักแรมที่บริเวณวัดพระธาตุพนมในระหว่างเดินทางมาตรวจราชการมณฑลอิสาน พระองค์ท่านเกิดความเลื่อมใสในองค์พระธาตุจึงได้สร้างระฆังถวายไว้ 2 ลูก ทั้งยังให้ย้ายอำเภอเมืองเรณูนคร มาตั้งไว้ที่ตำบลธาตุพนมด้วย (ร.ศ. 126)

 

ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (6)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระธาตุพนม นครพนม (6)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์