ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง : ตำนานพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุลำปางหลวง  ลำปาง

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ตำนานพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

                จากตำนานพระแก้วมรกตของวัดพระธาตุลำปางหลวงกล่าวไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงไปได้ 1000 ปี ศิษย์แห่งตถาคตได้จุติจากดาวดึงส์มาเกิดที่เมืองกุกุตนคร เมื่อจำเริญวัยขึ้นมาจักบวชเป็นภิกษุสงฆ์ตั้งอยู่ในสมณะเพศจนได้เป็น “เถร”

                บนสวรรค์เทพธิดาองค์หนึ่งก็ได้จุติลงมาเกิดในเมืองกุกุตนครเช่นเดียวกันนางผู้นี้ชื่อว่า “สุชาดา” นางมีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ได้มาเป็นอุปัฏฐากพระมหาธาตุเจ้าวัดม่อนดอนเต้า (วัดพระแก้วดอนเต้า) และมหาเถรเจ้าองค์นี้ด้วย

                อยู่ต่อมาวันหนึ่งพระมหาเถร มีจิตปฎิสนธิ์ให้คิดอยากจะสร้างพระพุทธรูปสักองค์หนึ่งแต่ยังหาวัตถุสิ่งใดที่จะแกะสลักหาได้ไม่ คราวนั้นมีพระยานาคตนหนึ่งอยู่รักษาในแม่น้ำวังกะนะที (แม่น้ำวัง) ได้นำเอาแก้วมรกตลูกหนึ่ง สุกใสเปล่งประกายรัศมีสวยงามมากมาจากเมืองนาคของพระองค์ พระยานาคก็เอาแก้วมรกตลูกนั้นใส่เข้าในหมากเต้า (แตงโม) ในไร่ของนางสุชาดา

                เช้าวันรุ่งขึ้นวันหนึ่งนางสุชาดาก็เข้าไปในไร่เก็บดอกไม้เพื่อเอาไปบูชาพระมหาธาตุและถวายพระมหาเถร พลันนางสะดุดพบหมากเต้าลูกหนึ่งมีสีสันสุกใสผิดแผกกว่าลูกอื่น ๆ นางจึงนำมาวัดมหาธาตุดอนเต้า แล้วถวายให้แก่พระมหาเถร

                เมื่อผ่าออกมาปรากฏมีแก้วมรกตลูกหนึ่งอยู่ในแตงโม พระมหาเถรและนางสุชาดาเมื่อได้เห็นแก้วมรกตนั้นแล้วก็ให้มีความปลื้มปิติเป็นอย่างมาก ส่วนพระมหาเถรเมื่อได้แก้วมรกตมาแล้วก็พยายามแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่สลักอย่างใดก็หาเข้าไม่พระมหาเถรพยายามสลักอยู่หลายวันก็ไม่สำเร็จ

                วันหนึ่งขณะกำลังพิจารณาหาทางที่จะสลักแก้วมรกตอยู่หน้ากุฏิ ก็มีชายแก่คนหนึ่งมาจากไหนไม่ปรากฏรับอาสาที่จะสลักแก้วมรกตลูกนั้นให้เป็นพระพุทธรูป เมื่อมหาเถรเข้าไปเพื่อที่จะเอาเครื่องมือให้แก่ชายคนแก่นั้นครั้นกลับออกมาก็แลเห็นองค์พระพุทธรูปแก้วมรกตมีสีสันสุกใส วรรณผ่องใสเปล่งประกายกับแสงสวยสดงดงามมากยิ่งนัก

                แต่พระมหาเถรมองหาชายแก่ในที่นั้นไม่พบ ก็ออกเที่ยวตามหาจนทั่วบริเวณก็หาพบไม่ พระมหาเถรจึงคิดว่าชะรอยว่าพระอินทร์และเทวดาลงมาช่วยเนรมิตให้แก้วมรกตลูกนั้นให้เป็นพระพุทธรูป พระมหาเถรและนางสุชาดาต่างก็มีความยินดีเป็นอันมาก กิติศัพท์เรื่องพระแก้วมรกตได้ร่ำลือไปทั่วหมู่บ้านและหัวเมือง ประชาชนจากที่ต่าง ๆ ก็ทยอยมาทำการสักการบูชากราบไหว้พระแก้วมรกตเป็นอันมาก ส่วนพระมหาเถรและนางสุชาดาก็ได้ร่วมกันจัดงานสมโภชพระพุทธรูปแก้วมรกตนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาสวดสมโภช สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกกันต่อมาว่า “วัดพระแก้วดอนเต้า” จนทุกวันนี้

                ล่วงต่อมามีบุคคลบางพวกบางหมู่ ได้เล่าลือกันว่าพระมหาเถรและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เป็นที่เสื่อมเสียแก่พระศาสนา ข่าวลือดังกล่าวทราบถึงอำมาตย์เสนาของเจ้าปกครองเมืองนั้น ได้นำความขึ้นกราบทูลเจ้าผู้ครองนครให้ทรงทราบ พระองค์เมื่อได้รับฟังเรื่องราวนั้นแล้วหาได้ทรงพิจารณาหาข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้ไม่ ทรงบัญชาให้เพชฌฆาตนำตัวนางสุชาดาไปประหารเสียที่ริมฝั่งน้ำแม่วังคะนะที

                ก่อนลงมือประหาร นางได้ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ถ้าข้าเป็นชู้กับพระมหาเถรจริงตามคำกล่าวหาก็ขอให้เลือดของข้าพุ่งสู่พื้นดิน แต่ถ้าตัวข้ามิได้เป็นชู้กับพระมหาเถร ก็ขอให้เลือดของข้าพุ่งขึ้นสู่อากาศ อย่าได้ตกสู่พื้นดินเลย

                เมื่อเพชฌฆาตประหารฟันคอนางขาด ปรากฏว่าเลือดของนางพุ่งขึ้นสู่อากาศโดยไม่ตกสู่พื้นดินแม้สักหยด

                เพชฌฆาตเห็นเหตุการณ์อย่างนั้นก็นำเหตุการณ์ไปกราบทูลให้เจ้านครให้ทรงทราบเมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุการณ์เช่นนั้นทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก ลุกขึ้นจากแท่นแล้วก็วิ่งไปมาล้มลงขาดใจตายในบัดนั้น

                พระมหาเถรเกรงว่าจะมีภัย ก็หนีออกจากวัดพระแก้วดอนเต้าพร้อมกับนำพระพุทธรูปพระแก้วมรกตไปด้วย หนีไปพำนักอยู่วัดลัมภะกัปปะ (วัดพระธาตุลำปางหลวง) ดังนั้นพระพุทะรูปแก้วมรกตองค์นั้นจึงได้สถิตประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

 

ตำนานพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของตำนานพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์