ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง : ประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (2)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุลำปางหลวง  ลำปาง

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระธาตุลำปางหลวง  จังหวัดลำปาง (2)

                พระธาตุลำปางหลวง

                จากตำนานเมืองของล้านนากล่าวว่า เมื่อสมัยพระพุทธองค์ทรงพระเกษมสำราญ พระอริยาบทอยู่วัดเชตะวันในชมพูทวีป ในคืนวันหนึ่งยามใกล้รุ่งอรุณ พระองค์ทรงรำพึงว่า

                ตั้งแต่ได้ตรัสรู้โพธิสมโพธิญาณ นับได้ 25 พรรษาแล้ว จะเข้าสู่ปรินิพพานเมื่ออายุครบ 80 ปี สังขารธาตุจักย่อยสลายให้ปวงชนและพระอรหันต์ จะได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่บูชาเสมอเหมือนดังกูตถาคตยังมีชีวิตอยู่

                ทรงรำพึน 4 องค์ เสด็จออกจากเชตะวันอารามมหาวิหาร จารึกไปตามเมืองน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลายโดยมีพระเจ้าปเสนทิฯ ตามเสด็จด้วย

                เมื่อเสด็จถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธองค์ก็เสด็จประทับอยู่เหนือดอยม่อนน้อยซึ่งเป็นเขาเตี้ย ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งชื่อลั๊วะอ้ายกอน เห็นพระพุทธเจ้าบังเกิดความเลื่อมใสได้นำเอาน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้บ้าง (เป็นไม้ข้าวหลามไม้เปาะ) กับมะพร้าวและมะตูมอย่างละ 4 ลูก มาน้อยถวายพระพุทธองค์

                พระองค์รับเอาไว้แล้วก็สั่งให้พระอานนท์เถระใส่ลงในบาตรแล้วพระองค์ก็ทรงฉันน้ำผึ้งนั้น เสร็จแล้วพระองค์ก็ทิ้งกระบอกไม้นั้นไปทางทิศเหนือแล้วพยากรณ์ว่า

                สถานที่นี้ต่อไปจะมีผู้มาสร้างเมืองมีชื่อว่า “ลัมภะกัปปะนคร” จากนั้นพระองค์ก็ใช้พระหัตฏ์ขวาขึ้นลูกพระเศียรได้พระเกศา 1 เส้น มอบให้แก่ ลั๊วอ้ายกอน ด้วยความโสมนัสปลื้มปิติเป็นล้นพ้น ลั๊วอ้ายกอน ก็นำพระเกศาธาตุลงบรรจุในผอบทองคำใหญ่ขนาด 8 กำ พระเจ้าปเสนทิฯ กับพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ก็ช่วยกันขุดหลุมขนาดกว้าง 5 วา ลึก 5 วา แล้วอัญเชิญผอบพระเกศธาตุ ลงไปประดิษฐานกลางหลุมนั้น

                พระเจ้าปเสนทิฯ กับลั๊วอ้ายกอน ก็นำเอาทรัพย์สิน เงินทอง แก้วแหวนของมีค่าจำนวนมาก ถวายเป็นพุทธบูชาฝังรวมไว้ในหลุม เสร็จแล้วก็แต่งพยนต์ผัด (พยนต์หมุน) ไว้รักษาพระเกศธาตุ ถมกลบดินดีแล้วก็ก่อเป็นรูปเจดีย์สูง 7 ศอก พระตถาคตพยากรณ์ต่อไปว่า

                เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว 218 ปี จึงมีพระอรหันต์ 2 องค์ ชื่อ กุมาระกัสปะเถระ กับ เมฆิยเถระ จักนำเอาพระอัฐนิลาตข้างขวาและพระอัฐิลำคอข้างหน้าหลังมาบรรจุไว้ในที่นี้ เจดีย์นี้ก็จะปรากฏเป็นเจดีย์ทองคำมีชื่อว่า “ลัมภะกัปปะ” แล้วองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจารึก โปรดเพื่อมนุษย์ไปตามบ้านเมืองน้อยใหญ่ต่อไป

                ครั้นต่อมา มีพระเถระชาวเชียงใหม่ 2 รูป ได้จารึกลงมาสู่เมืองอโยธยาทางใต้ เพื่อมานมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนั้น ไดไปพบพระเถระชาวอโยธยา พระเถระองค์นั้นก็ถามว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งสองอยู่แห่งหนที่ใด มีกิจอันใดพระเถระชาวเชียงใหม่ก็ตอบว่ามาเพื่อจักไหว้และบูชาพระบรมสารีริกธาตุอันอยู่ในเมืองนี้ องค์ท่านมาจากเมืองระมิงค์อันเป็นเมืองอยู่ทางตอนเหนือของต้นน้ำ

                พระเถระชาวอโยธยาได้ฟังดังนั้น จึงบอกว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านั้น ทางเมืองเหนือต้นน้ำมีมากกว่า ที่มีมากคือที่เมืองหริภุญชัยและลัมภะกัปปะนคร พระเถระชาวเชียงใหม่กล่าวว่าพระบรมสารีริกธาตุที่หริภุญชัยนั้นพอรู้ แต่ที่ลัมภะกัปปะนครนั้นหาปรากฏไม่ แล้วพระเถระทั้งสองก็ขอเขียนตำนานดังกล่าวต่อพระเถระเจ้านั้นมีข้อความต่อไปนี้

                เมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานล่วงเข้ามาได้ 218 ปี ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำสงครามชนะศึกน้อยใหญ่ หัวเมืองทั้งหลายได้อาศัยเข้านิโคธสามเณรทรงเลิกนับถือเลื่อมใสต่อพวกเดียรฐีทั้งหลาย

                พระองค์บังเกิดศรัทธาปสาทะอันแรงกล้าต่อพระบวรพุทธศาสนามีความตั้งใจอยากจะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้มีจำนวน 84,000 องค์ พระวิหาร 84,000 หลัง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระธรรมของพระพุทธเจ้า 84,000 พระธรรมขันธ์

                พระองค์ให้หาพระบรมสารีริกธาตุก็ได้พบที่กรุงราชคฤห์ แล้วพระองค์ก็อัญเชิญมาสู่กรุงปาตลีบุตร แล้วสั่งให้หัวเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปให้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์และพระวิหารอย่างละ 84,000 เสร็จแล้ว พระองค์จึงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมอบให้พระเถระเจ้าทั้งหลายให้อัญเชิญไปประดิษฐานในพระเจดีย์และพระวิหารนั้น ๆ

                ส่วนพระกุมาระกัสสปะเถระ กับพระเมฆิยะเถระก็อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ            มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ ลัมภะกัปปะนคร (วัดพระธาตุลำปางหลวง) ตรงตามพุทธทำนายเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนต่อไป

                ล่วงมาเป็นเวลานาน ถึงสมัยพระยาจันทะเทวราชครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุวรรณภูมิรู้ข่าวว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่พระยาศรีธรรมโศกราชได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ลัมภะกัปปะนครนั้น องค์พระเจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากพระยาจันทะเทวราชทรงมีความเลื่อมใสอยากได้มาไว้ในบ้านเมืองของพระองค์จึงเสด็จมาโดยจตุรงค์เสนา ถึงลัมภะกัปปะนครที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุก็ให้ตั้งค่ายพักพลรายล้อมบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระองค์ก็ให้จัดการสมโภชพระบรมธาตุเป็นเวลา 7 วัน

                พระองค์ตั้งสัจจะอธิษฐานขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเสด็จออกจากหลุมถึง 3 ครั้ง พระบรมสารีริกธาตุก็หาได้เสด็จออกไม่ พระองค์จึงบัญชาให้อำมาตย์ทั้งหลายของพระองค์ทำการขุดดินลงไปอัญเชิญผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุออกจากหลุมแล้วอัญเชิญขึ้นหลังช้างเลิกทัพกลับเมืองสุวรรณภูมิ เมื่อถึงเมืองจัดให้มีการสมโภชเป็นการใหญ่

                พอถึงคืนที่ 2 พระบรมสารีริกธาตุก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ลอยขึ้นสู่อากาศทั้งผอบทองคำที่บรรจุแล้วเสด็จกลับไปลัมภะกัปปะเจดีย์ตามเดิม พระยาจันทะเทวราชรู้สึกน้อยพระทัยเป็นอันมาก

                พอรุ่งเช้าพระองค์ก็สั่งให้เตรียมกองทัพเสด็จออกติดตามพระบรมสารีริกธาตุจนถึงลัมภะกัปปะนคร ก็ทรงเห็นผอบพร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่ที่เดิมเป็นปกติ พระองค์จึงเข้าไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุโดยความเคารพและเลื่อมใสเป็นล้นพ้น พระองค์จึงสั่งให้จัดการพักพลให้เรียบร้อยแล้วให้จัดการตกแต่งหลุมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้กว้างด้านละ 10 วา ลึก 20 วา ปราบก้นหลุมให้ราบเรียบเรียบร้อยจึงก่อด้วยอิฐเงิน อิฐทองคำสูงจากกุ้นหลุมขึ้นมา 4 ศอก แล้วให้แต่งผอบเงินอีกอันหนึ่งเพื่อบรรจุผอบทองคำเดิม ประดิษฐานไว้เหนือหลังสิงห์อันหล่อด้วยทองคำ แล้วนำเอาสิงห์ทองคำลงไปตั้งบนอิฐทองคำกลางหลุม เสร็จแล้วพระองค์ก็ให้ช่างก่อเจดีย์ขึ้นหุ้มสิงห์ทองคำนั้น

                เจดีย์นี้มีรูปสัณฐานคล้ายฟองน้ำ แล้วพระองค์ก็ตั้งเครื่องบูชาด้วยดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองคำ ประทีปเงินประทีปทองคำล้อมรอบไว้ทุก ๆ ด้าน

                นอกจากนี้ก็ให้ตั้งไหเงินลูกใหญ่ไว้ที่มุมทั้ง 4 ด้านของหลุมแล้วพระองค์ก็ให้สร้างหุ่นพยนต์มีมือถืออาวุธไว้ทั้ง 4 ด้าน เพื่อไว้ปกปักรักษาพระบรมสารีริกธาตุให้มั่นคงปลอดภัย ก่ออุโมงค์หุ้มหุ่นพยนต์นั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง ก่อเสร็จก็ให้กลบด้วยแผ่นเงินแล้วถมด้วยศิลาแลงให้เสมอด้วยดิน จากนั้นก็โบกปูนให้แน่นหนาแข็งแรงจนแล้วเสร็จ

                แต่ยังมีทองคำเหลืออีก 4 โกฏิ์ พระยาจันทะเทวราชจึงปรึกษากับเหล่าอำมาตย์ทั้งหลายว่า กิจกรรมทั้งหลายก็กระทำแล้วเสร็จแต่ยังมีทองคำเหลืออยู่อีก จึงตกลงให้นำทองคำจำนวน 2 โกฏิ์ นำไปฝังไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดท่าผา ห่างจากวัดท่าผาประมาณ 100 วา (วัดท่าผา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ วัดพระธาตุลำปางหลวง 3 กม. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ว่าการอำเภอเกาะคา ประมาณ 25 เส้น เป็นวัดเก่าแก่มีพระพุทธรูปโบราณ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ วัดท่าผาประมาณ 100 วา มีหลุมเก่าแก่หลุมหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ซุ้มคำ” ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่) และทองคำที่เหลืออีก 2 โกฏิ์ ก็ให้ฝังไว้ที่ดอย “พี่น้อง” ทางทิศเหนือเมือง “เตริน” (เมืองเถิน หรือห้วยแม่เดินเหนืออำเภอเถิน) แล้วฝังทองคำ

                พระองค์ก็ตั้งจิตอธิษฐาน ว่าต่อไปภายภาคหน้าขอให้ท้ายพระยาหรือบุคคลผู้มีบุญญาธิการที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในลัมภะกัปปะนคร ลงขุดเอาทองคำนี้ ก่อสร้างพระเจดีย์ให้รุ่งเรืองตลอด 5,000 พรรษา เมื่ออธิษฐานเสร็จพระองค์ก็กราบไหว้ขอขมาโทษพระบรมธาตุแล้วเสด็จกลับเมืองสุวรรณภูมิ

                มาถึงสมัยพระยาพละ เจ้าเมืองแพร่ซึ่งปกครองเมืองอยู่ใกล้กับเมืองลัมภะกัปปะนคร พระองค์รู้ประวัติว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีอยู่ในเมืองลัมภะกัปปะนคร พระองค์มีความประสงค์อยากได้มาในเมืองของพระองค์ จึงเสด็จมาพร้อมเหล่าเสนาทั้ง 4 เมื่อถึงแล้วพระองค์ให้ตั้งราชวัตรฉัตรธงรอบบริเวณที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ

                แล้วก็ให้คนทำการขุดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก็พบแผ่นเงินที่กลบหลังหุ่นพยนต์ ก็ให้ยกแผ่นเงินออกเสียแล้วก็ขุดต่อลงไปถึงอุโมงค์ของหุ่นพยนต์

                คราวนี้ไม่สามารถขุดลงไปได้เพราะหุ่นพยนต์ได้ปกปักรักษาพระองค์จึงให้หาก้อนหิน ดิน ทราย และท่อนไม้ใหญ่มากองรอบบริเวณปากหลุมเป็นอันมาก แล้วจึงให้คนพร้อมกันทิ้งวัตถุเหล่านี้ลงไปในหลุม แต่วัตถุเหล่านี้ได้ย่อยเป็นผุยผงพุ่งกลับขึ้นมาหาทำอันตรายแก่หุ่นพยนต์ไม่

                พระองค์ให้กระทำอยู่ 2 ถึง 3 ครั้ง ก็ไม่บังเกิดผลจนหมดปัญญา จึงให้คนทั้งหลายถมดินแต่ข้างหลังหุ่นพยนต์นั้นขึ้นมาจนหุ้มอุโมงค์นั้นแล้ว พระองค์จึงให้หาคนผู้กระทำความผิดมา 4 คน แล้วฆ่าเอาศพให้หัวสุมกันให้เท้าชี้ไปคนละทิศ ทั้ง 4 ทิศ เพื่อให้คนทั้ง 4 ทำการรักษาพระบรมสารีริกธาตุต่อไป แล้วถมดินนั้นขึ้นมาจนเสมอพื้น จากนั้นก็หาไม้ขะจาวมาปลูกไว้ตรงกลางหลุมนั้น 1 ต้น และให้ปลูกไม้ขะจาวไว้ทั้ง 4 ทิศ เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าภายหน้าเมื่อหุ่นพยนต์ชำรุดหักพังลงพระองค์จะได้มาขุดเอาพระบรมสารีริกธาตุต่อไป เสร็จแล้วพระองค์พร้อมด้วยเหล่าจตุรงค์เสนาก็เสด็จกลับเมือง

                      ลุมาประมาณ พ.ศ. 1200 เจ้าแม่มหาเทวีทรงพระนามว่าจามเทวี ได้เสวยราชสมบัติในเมืองหิริภุญชัยมีเดชานุภาพอำนาจมาก ครั้งหนึ่งพระนางเสด็จไปทัพแม่สลิตเสร็จแล้ว เสด็จกลับผ่านมาทางสบยาว (ปากห้วยแม่ยาวไหลลงมาบรรจบแม่น้ำวังทางทิศใต้ของวัดพระธาตุลำปางหลวงประมาณ 2 กม.) ได้ตั้งค่ายพักที่นี้ ขณะที่พระนางประทับอยู่ในค่ายด้วยความสุขสำราญนั้น ในเวลาปัจฉิมยาม พระธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์เป็นดวงไฟมาจากลัมภะกัปปะนครตกลงกลางค่ายของพระนาง

                พระนางเข้าพระทัยว่าชาวบ้านแถวนั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแกล้งจุดไฟโตนดให้มาตกลงที่ค่าย รุ่งขึ้นพระนางจึงเรียกเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้าเล่าเหตุการณ์เมื่อคืนให้ทราบแล้วถามคนอื่นว่า มีผู้ใดเห็นไฟโตนดตกลงมาบ้าง แต่คนทั้งหลายกลับตอบว่าไม่ได้เห็นเลย ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งที่อยู่ในที่นั้น ชื่อ ล่ามพันทอง จึงกราบทูลว่า

                ที่พระแม่เจ้าเห็นไฟโตนดตกนั้นหาใช่ไฟโตนดไม่ ที่แท้คือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่ตั้งอยู่วัดลัมภะกัปปะนครเสด็จมาแสดงปฏิหาริย์ให้พระแม่เจ้าได้ทรงทราบทั้งนี้ด้วยบุญญาธิการของพระแม่เจ้าต่างหาก

                เมื่อชายผู้นั้นกราบทูลให้พระนางทรงทราบ ดังนั้นแล้วพระนางก็เข้าพระทัยโดยปัญญาของพระนาง แล้วพระนางก็สั่งให้เตรียมพลยกไปลัมภะกัปปะนครสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระเจ้า เมื่อเสด็จถึงพระนางเสด็จลงจากหลังช้างเสด็จเข้าไปกราบนมัสการตรงที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุด้วยความโสมนัสเคารพยิ่ง

                ฝ่ายชาวบ้านเมื่อทราบข่าวว่า พระแม่เจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงต่างชักชวนมาเฝ้าชมพระบารมีของพระนางเจ้า พระนางก็ทรงถามเรื่องทุกข์สุขของชาวบ้านว่ามีเรื่องเดือดร้อนอันใด ชาวบ้านชาวเมืองต่างก็กราบทูลว่า ไม่มีความเดือดร้อนอื่นใดนอกจากการขาดแคลนน้ำบริโภคที่ทุกวันต้องเอาเกวียนไปบรรทุกเอาน้ำมาจากแม่น้ำวัง และห้วยแม่ยาว ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก

                เมื่อจักขุดหาบ่อน้ำก็หาสายน้ำไม่ได้ จนท้อใจเมื่อพระนางได้ยินเรื่องความเดือดร้อนเกี่ยวกับการขาดน้ำบริโภคของชาวบ้านชาวเมืองก็ให้รู้สึกสงสารเป็นอันมาก ก่อนที่พระนางจะเสด็จกลับพระนางก็ทรงกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุด้วยความเคารพแล้วทรงอธิษฐานว่า

                ถ้าสถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระอรหันต์เจ้าและพระยาศรีธรรมโศกราช นำมาประดิษฐานไว้จริงแล้ว ขอให้สายน้ำจงแตกออกตรงใจกลางเมืองทั้งนี้เพื่อเป็นที่อาศัยแก่หมู่ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น

                เมื่อพระนางอธิษฐานเสร็จก็แสดงความเคารพกราบไหว้อีกครั้งหนึ่ง แล้วพระนางก็ดำเนินขึ้นหลังช้างที่ได้เตรียมไว้เสด็จยาตราทัพกลับสู่เมืองตาลเมืองรมณีย์ที่ทรงพระสำราญของพระองค์ (เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์เป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอห้างฉัตร)

                เย็นวันนั้น เมื่อขบวนเสด็จของพระนางเสด็จไปแล้วก็มีหญิงแก่คนหนึ่งชื่อ “ย่าลอน” ได้ไปในสถานที่แห่งหนึ่ง มีรอยน้ำซึมออกมาบนผิวดินนางก็ขุดคุ้ยดู ก็พบสายน้ำพุ่งออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้นางก็ไปบอกกล่าวกับชาวบ้านทั้งหลายให้มาดู

                ชาวบ้านทั้งหลายก็นำเอาเสียมมาขุดดินให้เป็นบ่อน้ำก็พบสายน้ำพุ่งขึ้นมาแรงนัก ต่างก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเกิดจากบุญญาธิการของพระนางเจ้าที่กระทำสัจจะอธิษฐานต่อพระบรมสารีริกธาตุเป็นมั่นคง จึงพบบ่อน้ำนี้ น้ำใหม่นี้ก็ผิดกับน้ำที่มีในบ่ออื่น ๆ คือใสเย็น มีรสกลิ่นหอมอร่อย ปัจจุบันนี้บ่อนี้ยังมีอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำบ่อเลี้ยง” มีอยู่แห่งเดียวที่ทุกครัวต้องอาศัยน้ำบ่อนี้

                พอรุ่งขึ้น พ่อเมืองก็หาไหอันใหม่ที่สวยงามมาตักน้ำในบ่อนั้น เอาผ้าใหม่ผูกหุ้มปากไหแล้วให้คนหามไปถวายพระนางจามเทวี ที่เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ เมื่อพระนางทอดพระเนตรเห็นมีผู้นำไหใส่น้ำมาถวายให้ จึงตรัสถามว่าเอาไหมาให้เป็นอะไร คนทั้งหลายก็กราบทูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระนางเจ้าได้เสด็จกลับจากลัมภะกัปปะนครให้ทรงทราบทุกประการ

                พระนางทรงได้ทรงทราบเรื่องดังนั้นแล้วก็บังเกิดความปลื้มปิติปสาทะเป็นอันมาก แล้วพระนางก็ให้นางเฒ่าแก่ที่เฝ้าอยู่ขณะนั้นชิมน้ำนั้นดู นางเฒ่าเมื่อชิมน้ำนั้นแล้ว ก็กราบทูลว่าน้ำนั้นมีรสดีกว่าน้ำทั้ง 7 แห่งของเมืองหริภุญชัย

                พระนางรับสั่งให้อำมาตย์จัดคนให้ติดตามชาวบ้านลัมภะกัปปะไปเลือกหาชัยภูมิที่จะปลูกพลับพลาที่ประทับของพระองค์ เมื่ออำมาตย์เลือกได้ชัยภูมิที่ดีแล้ว ก็ช่วยกันปลูกพลับพลาจนเสร็จเรียบร้อย แล้วกลับไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระนางจึงได้จัดขบวนยาตราจากเมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ถึงพลับพลาที่ประทับ หลังจากพักผ่อนพระอิริยาบถให้หายเหน็ดเหนื่อยแล้วพระนางก็จัดแจงชำระพระวรกายจนหมดจด แต่งพระองค์เสร็จแล้วก็เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุโดยเครื่องพระราชทานเป็นจำนวนมาก แล้วสั่งให้มีการฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เสร็จแล้วพระนางได้จัดการถวายนาราคาล้านเบี้ย ให้เป็นนาของพระบรมสารีริกธาตุและถวายล่ามฟันทองกับนางดอกไม้ที่เป็นทาสีทาสาของพระนาง ให้อยู่เป็นข้าธาตุอยู่ปฏิบัติรักษาพระบรมสารีริกธาตุกับให้ข้าทาสชายหญิงอีก 2 ครัว เพื่อให้ปฏิบัติดูแลรักษาบ่อน้ำอันเกิดจากการตั้งสัจจะอธิษฐานของพระองค์ เมื่อพระนางเสด็จสำราญพระอิริยาบถพักผ่อนจนพอพระทัยแล้ว วันหนึ่งจึงได้สั่งให้เสนาอำมาตย์เตรียมพลเสด็จกลับไปยังเมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ของพระองค์

                ลุเข้าปีมะเส็ง จุลศักราช 811 ในปี พ.ศ. 1992 เจ้าเมืองหาญแต่ท้องราชบุตรหมื่นด้งนคร อาศัยอยู่กับมหาเถรเจ้าอัตฐทัคศรี ได้มาครองเมืองเชียงใหม่ ขอขึ้นกับพระยาติโลกรัตนะบพิตรเจ้า (พระบรมไตรโลกนาถ) แห่งกรุงศรีอยุธยา

                พระองค์ได้ทรงมาสร้างพระเจดีย์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุที่ลัมภะกัปปะนครได้ตัดไม้ขะจาวต้นที่พระยาพละปลูกไว้เพื่อเป็นที่สังเกตแล้วให้ขุดลงไปข้างล่างได้กระดูกคนทั้ง 4 ที่พระยาพละฝังเอาไว้นั้น พระองค์ได้สร้างพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหลังหนึ่งกว้าง 9 วา สูง 15 วา ด้วยการก่ออิฐสะทายปูน (โบกปูน) จากนั้นก็ให้ก่อปาทะลักขณะ (พระพุทธบาท) แล้วเสร็จสมบูรณ์

                จุลศักราช 838 พ.ศ. 2019 ปีวอก เจ้าหมื่น คำเป๊ก เป็นเชื้อขุน อยู่ทางใต้ภายใต้อำนาจปกครองของพระยาธรรมราชาติโลกะ (พระยาลกคำ) ปกครองอยู่เมืองปิง เชียงใหม่ ได้ให้หมื่นคำเป๊กมาปกครองเมืองนครแล้วให้บูรณะพระมหาธาตุแห่งเมืองลำปางโดยให้สร้างกำแพงและวิหารกับให้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ใช้ทองหมดไปแสนสองหมื่นเสร็จแล้วก็ฉลองสมโภชไว้ในวิหารและให้ข้า 4 ครัวให้รักษา จากนั้นก็ให้สร้างศาลาและบ่อน้ำ ตัดถนนมาต่อหน้าพระมหาธาตุเจดีย์ศรีรัตนธาตุจนแล้วเสร็จ ก็ปวานาตัวกับพุทธศาสนาในภายภาคหน้า แล้วไว้นากับพระพุทธเจ้า 20 พันธ์ข้าวปลูก

                จุลศักราช 858 พ.ศ. 2039 เจ้าเมืองหาญศรีทัต มหาสุรมนตรี อยู่ปกครองเมืองลีได้ 6 เดือน ก็ชักชวนพระสงฆ์องค์เจ้ากับเสนาบดีอำมาตย์และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย มาร่วมกันก่อตีนธรณีพระมหาธาตุ กว้าง 12 วา ก่อนถัดจากนั้นไปในปีต่อมาก็มาก่อซ้ำจนสำเร็จ องค์พระมหาธาตุใช้ดินและอิฐสิ้นล้านสามแสนสามพันแปดร้อยเจ็ดสิบสี่ก้อน

                เมื่อเจ้าเมืองอ้ายอ่ำเป็นลูกผู้พี่ของเจ้าเมืองหาญปกครองอยู่เมืองนครได้มาช่วยก่อองค์พระมหาธาตุเจดีย์ก่อนตายเจ้าอ้ายอ่ำได้สั่งให้เรา เจ้าหาญศรีทัตให้มาปกครองเมืองนครแทนตน วันนั้นมหาราช เจ้าแผ่นดินเชียงใหม่หลานพระยาลกคำเจ้าเมืองเชียงราย ชื่อแก้วพันตา (พระยาเมืองแก้ว) ก็ได้ให้เจ้าเมืองหาญศรีทัตแขนเหล็ก (เคยใช้สับผู้คนมาแล้ว) มาปกครองเมืองนครลำปางแทนเจ้าเมืองอ้ายอ่ำพระองค์ก็มาช่วยก่อองค์พระมหาธาตุด้วย

                ล่วงมาถึงปีระกา พ.ศ. 2044 เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ ได้มีพิธีหล่อพระเจ้าล้านทองด้วยทองสัมฤทธิ์กันจนยามรุ่งให้ไถ่ข้าไว้ 6 ครัว ดูแลพระเจ้าล้านทอง กับให้นากับพระเจ้าล้านทอง 20 พันธ์ ข้าวปลูกและอธิษฐานขอให้เมืองนครมีแต่ความสุขสงบ แล้วให้ได้เป็นพระอรหันต์เจ้าในพระพุทธศาสนาในอนาคตกาลภายหน้า

                ต่อจากนั้นเจ้าเมืองหาญศรีทัต ก็ให้หล่อพระทององค์หนึ่ง 3 หมื่นทอง นำมาจากเมืองลำปางมาไว้ที่วัดลำปางประดิษฐานอยู่พระวิหารด้านเหนือ ทางวิหารด้านตะวันตกได้ประดิษฐานพระศิลาเจ้า ซึ่งพระยาละโว้พระบิดาของพระนางจามเทวีให้ประทานไว้เป็นที่กราบไหว้บูชาแก่เจ้าอนันตยศผู้เป็นหลานตน ปกครองอยู่ในเมืองนี้

                นอกจากนี้มีพระพุทธเจ้าองค์หลวงที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านใต้ ที่มีมาแต่เก่าก่อนเจ้าเมืองหาญศรีทัตได้ก่อพระมหาธาตุเจดีย์กว้าง 12 วา สูง 21 วา ปีต่อมาพระราชครูได้นำเอาฉัตรมาใส่ยอดพระมหาธาตุ แล้วยึดแกนเหล็กในปี ปีจอ พ.ศ.2045 ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวยอดมหาธาตุฉัตรได้รับความเสียหายในปี พ.ศ. 2055 มหาสังฆราชอภัยยะทิฐะเมธังคละเจ้ากับมหาสังฆราชวิจิตรญาณเมตตาเจ้า ได้มาเป็นประธานเสริมแกนเหล็กยอดพระมหาธาตุจนมีความสูง 22 วา 1 ศอก

                จุลศักราช 964 พ.ศ. 2145 ตามความเชื่อของคนโบราณที่พยากรณ์ว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ 5000 ปี จากนั้นจะเป็นยุคของพระศรีอาริย์ ในวันนี้อนาคตพระวรศาสนาตามความเชื่อจะเหลือภายหน้า 2845 ปี

                พระมหาอุปราช พระยาหลงนครชัยบุรี มีความศรัทธาในพระมหาธาตุเจดีย์ ได้ชักชวนพระสงฆ์องค์เจ้าเหล่าเสนาอำมาตย์เข้าขุน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย มาบูชาพระมหาธาตุเจดีย์กับได้สร้างฉัตรใส่ยอดพระมหาธาตุโดยมีพระมหาสมเด็จวรัตนมังคละลัมภะกัปปะรามาธิปติกับพระมหาสังฆราชวัดหลวงและมหาสังฆโมคคลีเชียงยืนเป็นประธาน

                อุบาสกจำนวนมาก มีที่ความเคารพเลื่อมใสพระมหาธาตุช่วยกันอุปถัมภ์ การต่อมาเกิดศึกสงครามบ้านเมืองเป็นโกลาหลข้าศึกทั้งหลายได้มาทำลายบ้านเมือง องค์พระมหาธาตุได้รับความเสียหายจนทิ้งร้างลง จนถึงสมัยมหาราชครูศรีกลางนครสมเด็จรัตนมังคละลำปาง พร้อมด้วยพระสงฆ์องค์เจ้าและสหบุญญะการีจึงได้ร่วมกันสร้างองค์พระมหาธาตุขึ้นใหม่

                หลังจากนั้นก็มีการบูรณะองค์พระมหาธาตุเจดีย์อีกหลายครั้งเพราะองค์พระมหาธาตุได้สร้างมานาน มีอายุเก่าแก่ก็ชำรุดทรุดโทรมตามยุคสมัย จนถึงจุลศักราช 1082 พ.ศ. 2263 พระมหาปัญโยลำปาง กับพระหลวงเจ้าป่าตัน และพระสงฆ์เจ้าพร้อมพ่อเมือง ประชาชนทั้งผู้เฒ่าผู้ใหญ่ชายหญิงและชาวบ้านชานป่าตันได้พร้อมใจกันหล่อลำตองขึ้นใส่ยอดมหาธาตุ จนแล้วเสร็จ

                ครั้นต่อมาถึงสมัยพระองค์เจ้าสุวรรณหอคำเขลางคลัมภะบุรีพร้อมด้วยพระประยูรญาติเจ้าฟ้าท้ายพญาอำมาตย์เสนาไพร่ฟ้าราษฎร์ประชาทั้งหลาย และฝ่ายสังฆราชา พระอริยะสังฆะเจ้าทุกวัดวาอาราม ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระมหาธาตุเจดีย์ ที่ถูกมหาวาตะภัยลมพายุพัดเอายอดฉัตรและยอดองค์พระมหาธาตุตกลงมาได้สมัครสามัคคีบูรณะพระมหาธาตุพร้อมเพรียงกัน

                จากนั้นก็แต่งราชทูตไปกราบทูลถึงสมเด็จพระเอกาทศรถพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายใต้ แจ้งเหตุการณ์ทั้งมวลให้ทรงทราบ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระหฤทัยยินดีปลื้มปิติมาก ทรงช่วยอุปถัมภ์พระราชทานแก้วแหวนเงินทอง และทองคำเปลวให้มาบูรณะองค์พระมหาธาตุ

                องค์พระมหาธาตุได้รับการบูรณะสร้างเสริมขึ้น ใบยอดฉัตรทำขึ้นใหม่ใหญ่กว่าของเก่า 4 นิ้ว วัดโดยรอบได้ 9 กำ 4 นิ้ว ใบชั้นของฉัตรเก่าเดิมมี 5 ชั้น ก็ต่อยอดขึ้นอีก 2 ชั้น  โดยต่อปลายแกนเหล็กขึ้นมาใหม่อีก 2 ศอก 1 คืน จากนั้นก็หุ้มด้วยทองคำปลายบน กาบบัวตุ้ม แก้วยอดฉัตร รวมน้ำหนักทองคำ 800 รัชชะฏะหนัก 1100 สิ้นทองคำเปลว 18,912 แผ่น

                พระองค์เจ้าสุวรรณะหอคำ ได้เสวยราชย์บ้านเมืองลัมภะบุรีนานได้ 6 ปี ก็ได้บูรณะพระมหาธาตุขึ้นใหม่ ให้กับองค์พระมหาธาตุพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง แผ่ขจรไปไกล ให้เป็นถาวรวัตถุเพื่อเป็นที่เคารพสักการะกราบไหว้บูชาแก่ปวงชนและเทวดาทั้งหลายตราบชั่วกาลนาน

 

ประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (2)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์