ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูซาง
 
อุทยานแห่งชาติภูซาง
 

อุทยาน แห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ดินบริเวณป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ป่าน้ำเปี๋อยและป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 178,049.62 ไร่ หรือ 284.88 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: เดิมจัดตั้งเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูซาง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว (กฎกระทรวงฉบับที่ 966 พ.ศ. 2541 ) ในท้องที่ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2533 เนื่องจากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย สำรวจเสนอ และกองบัญชาการหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพลที่ 4 สนับสนุนให้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน ตามหนังสือที่ กส 0809 (ชร) /1975 ลงวันที่ 5 เมษายน 2522 และ กห 0334 (ฉก.พล.) /1819 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 มีหนังสือที่ นร 5106/2616 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้กรมป่าไม้จัดตั้งพื้นที่วนอุทยานน้ำตกภูซาง มีเนื้อที่ประมาณ 73,000 ไร่

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2534 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 ทำการสำรวจ และเตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1316/2534 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2534 สั่งการให้ นายจุมพล วนธารกุล นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผลการ สำรวจพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลร่มเย็น ตำบลเวียง ตำบลแม่ลาว ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 186,512 ไร่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง 440-1,548 เมตร ติดเขตแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าหลายชนิด

เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้แจ้งว่าตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536 ให้ ททท. ประสานงานกับกรมป่าไม้ เพื่อพิจารณาพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติใหม่ กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ กษ 0721.03/7244 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติภู ซาง สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0204/11694 ลงวันที่ 15 กันยายน 2543 แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบร่างดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2543 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำ หย่วนและป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 98 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ

 

เป็น เทือกเขาติดชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 440 - 1,548 เมตร โดยมียอดดอยผาหม่นเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาว น้ำหงาว น้ำเปื๋อย น้ำบง น้ำญวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

อุทยาน แห่งชาติภูซาง จะมีฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าโดยทั่วไปประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ตุ้มเต๋น มะไฟ ยมหอม จำปีป่า จำปาป่า กระบาก ตะแบก มะหาด ประดู่ แดง สัก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะคร้อ สมอพิเภก กระบก ก่อ มะม่วงป่า รวมทั้งไผ่ กล้วยป่า หวาย และเฟิน เป็นต้น สัตว์ป่ามีเลียงผา กวางป่า เก้ง ลิง หมูป่า กระจง ค่าง ชะนี กระต่าย แมวป่า เม่น อีเห็น ชะมด กระรอก หมาไน เต่าปูลู และนกชนิดต่างๆ


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูซาง
ต.ภูซาง อ. ภูซาง จ. พะเยา  56110
โทรศัพท์ : 0 5447 6314 (VoIP), 0 5440 1099   โทรสาร : 0 5440 1099
ผู้บริหาร : พิชิต ปิยะโชติ   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน
 
รถยนต์


• จากตัวเมืองพะเยา ไปตามถนนสายพะเยา-อำเภอจุน-อำเภอเชียงคำ-น้ำตกภูซาง รวมระยะทาง 104 กิโลเมตร

• จากตัวเมืองเชียงราย ไปตามถนนสายเชียงราย-อำเภอเทิง-อำเภอเชียงคำ-น้ำตกภูซาง รวมระยะทาง 124 กม.

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูซาง 102 (คงไพร) 2 2 6 2,000  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, กระติกน้ำร้อน
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูซาง 102-103 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูซาง 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 30 300  ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ภูซาง 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 30 300  ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ภูซาง 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 30 300  ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูซาง 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 


อุทยาน แห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ดอยผาดำ  
ดอยผาดำ เป็นภูเขาหินปูน มีหน้าผาขนาดใหญ่สวยงาม

 

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ถ้ำน้ำดั้น  
ตั้ง อยู่ในหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลาง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก ลักษณะเด่นของถ้ำน้ำดั้นคือ บริเวณปากถ้ำจะมีลำธารขนาดใหญ่ (ลำห้วยน้ำดั้น) ไหลหายลงไปในถ้ำ อดีตเคยเป็นที่หลบซ่อนของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

 

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำน้ำลอด  
อยู่ห่างจากถ้ำผาแดงประมาณ 10 เมตร เป็นถ้ำขนาดเล็กที่มีธารน้ำไหล ความลึกของถ้ำประมาณ 250 เมตรและมีระดับน้ำลึกประมาณ 0.5-1 เมตร

 

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำผาแดง  
เป็น ถ้ำขนาดใหญ่ มีความลึกประมาณ 450 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามแปลกตา ถ้ำผาแดงอยู่บนภูเขาหินปูนซึ่งยังมีถ้ำอีกหลายแห่ง การเดินทางจากอำเภอเชียงคำใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1210 จนถึงพระธาตุดอยคำ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภซ.1 (ผาแดง)

 

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

น้ำตกภูซาง  
เป็นน้ำตกที่มีน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวที่พบในประเทศไทย อุณหภูมิสูงถึง 35 -36oC น้ำตกตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยผาหม่น เกิดจากสายน้ำอุ่นและปราศจากกลิ่นกำมะถันที่ไหลมาจากผาหินปูนสูง 25 เมตร ใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำสีเขียวมรกตที่ใสราวกับกระจก จึงเหมาะสำหรับการลงแช่น้ำให้อบอุ่น สบายตัว เหนือน้ำตกภูซางมีเส้นทางชมป่าต้นน้ำซึ่งเป็นป่าดงดิบ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1 กิโลเมตร

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกห้วยโป่งผา  
อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาดอยผาหม่น และเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำเปื๋อย มีน้ำไหลตลอดปี น้ำตกมีทั้งหมด 19 ชั้น และมีลำห้วยแยกออกมาเป็นน้ำตกอีก 2 สาย แต่ละชั้นของน้ำตกมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป ระยะทางจากชั้นแรกถึงชั้นบนสุดประมาณ 1,500 เมตร ใช้เวลาในการเดินชมน้ำตกตลอดสายประมาณ 3 ชั่วโมง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 -900 เมตร น้ำตกห้วยโป่งผายังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าปูลู ซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

บ่อน้ำซับอุ่น  
เป็นบ่อน้ำซับแหล่งต้นน้ำของน้ำของน้ำตกภูซาง อุณหภูมิประมาณ 35oC ขณะที่อุณหภูมิอากาศ 10 oC เป็นบริเวณที่ธารน้ำอุ่นผุดขึ้นจากใต้พื้นดิน และมีสภาพเป็นพรุน้ำจืดที่เต็มไปด้วยพรรณไม้แปลกตาซึ่งหาชมได้ยาก

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ลานจอดรถ ลานกางเต็นท์ และบริเวณใกล้เคียงน้ำตกภูซาง


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ลานจอดรถ ลานกางเต็นท์ และบริเวณใกล้เคียงน้ำตกภูซาง


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 จุด รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 200 คน การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติ่ม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว พื้นทำด้วยคอนกรีต รองรับได้ประมาณ 20 คัน


บริการอาหาร    มี ร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว เปิดให้บริการระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น. (หากมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจะขยายเวลาปิดร้านอาหาร)


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


 
 
อุทยานแห่งชาติภูซาง
ต.ภูซาง  อ. ภูซาง  จ. พะเยา   56110
โทรศัพท์ 0 5447 6314 (VoIP), 0 5440 1099   โทรสาร 0 5440 1099   อีเมล phu_sang_np@hotmail.com
 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์