ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูพาน
 
อุทยานแห่งชาติภูพาน
 

อุทยาน แห่งชาติภูพาน ปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นปัญหาทางด้านการเมือง และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อต้านทหารกองทัพญี่ปุ่นซึ่ง นับเป็นประวัติศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาภูพานหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ป่าเขาชมภูพาน” จังหวัดสกลนคร และจังหวัดกาฬสินธุ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลโคกภู ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และตำบลห้วยยาง ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 418,125 ไร่ หรือ 669 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2515 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 7 ของประเทศ

จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีหนังสือที่ กส 09/598 ลงวันที่ 12 มกราคม 2516 รายงานว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ที่ดินป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ปรากฏว่ามีพื้นที่บางส่วนในบางตำบลของจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นเขตอุทยานแห่ง ชาติแต่ไม่ได้ระบุชื่อตำบลลงไว้ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการตรวจสอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติใหม่ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และกำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 106 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2518

กรมป่าไม้ดำเนินการรังวัดแนวเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เพื่อทำการขอเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2520 ซึ่งอนุมัติในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่บริเวณบ่อหิน เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2521 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 ให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนพื้นที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม (หลวงปู่ฝั้น) และอ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน แต่เนื่องจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณ ที่ดินป่าภูพานให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2518 ไม่ได้ระบุชื่อตำบลบางตำบลไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนได้ กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนวทางปฏิบัติ โดยให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นไปใหม่และกันพื้นที่ดังกล่าวออกเสียและ เพิ่มตำบลที่ตกหล่นให้สมบูรณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุทยานแห่งชาติป่าภูพาน ในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลห้วยบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล ตำบลมหาไชย ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง กิ่งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 161 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร (คือระบุตำบลเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแนวเขตตำบลและเพิกถอนสำนักสงฆ์ถ้ำขาม บ่อหิน พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ)

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติภูพานตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นหินทราย โดยมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-567 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประกอบด้วยภูนางงอย ภูมะแงว ภูน้อย ภูเพ็ก โดยมีภูเขียวซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจุดสูงสุดในเขตอุทยานแห่ง ชาติ มีความสูง 567 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารและห้วยต่างๆ เช่น ห้วยเลา ห้วยอีโคก ห้วยยาง ห้วยเวียงไพร ห้วยขี้นก ห้วยโคก ห้วยวังถ้ำ ห้วยผึ้ง ห้วยอีดอน น้ำอูนตอนบน ห้วยทราย และห้วยนาจาน ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำอูน ห้วยแข้ ห้วยแสนกง และน้ำพุงตอนบน ไหลลงแม่น้ำพุง ห้วยสะทด ห้วยแก้งหว้า ห้วยแก้งโคก และห้วยหลัก ไหลลงลำน้ำยัง ห้วยพริกไหลลงลำปาว ห้วยทรายและห้วยเดียกไหลลงสู่หนองหาร

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ ภูมิอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ฝนตกชุกประมาณเดือนกันยายน และฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อากาศเย็นสบาย

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าในอุทยานแห่งชาติภูพานประกอบด้วยชนิดป่าที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังพบขึ้นอยู่ตั้งแต่ตอนกลางของอุทยานแห่งชาติขึ้นไปจนถึงด้านทิศ เหนือ ในระดับความสูง 200-400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ตีนนก กว้าว แดง ส้าน ช้างน้าว กระโดน มะพอก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ตะโกหิน ปอหู ปรง พวงประดิษฐ์ รางจืด เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พบขึ้นอยู่เป็นผืนใหญ่ตอนกลางค่อนไปทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ และเป็นหย่อมเล็กๆ กระจายอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ในระดับความสูงตั้งแต่ 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ เขล็ง นางดำ ก่อ กะพี้เขาควาย หว้า เปล้าหลวง ขนุนป่า แคหางค่าง เหมือด หมากมุ้ย ฯลฯ พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นลูกไม้และกล้าไม้ของไม้ชั้นบน เช่น ตีนตั่ง นางดำ รวมทั้ง เข็มขาว เข็มแดง เฟิน ไม้เถา เป็นต้น และป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตีนนก ติ้ว คางฮุ่ง แดง มะกอกเลื่อม แสนคำ ประดู่ โมกมัน ตะแบก ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วย ลูกไม้ของไม้ชั้นบน มะเม่า ไผ่ หญ้าคา ไม้เถา เป็นต้น

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูพานมีไม่น้อยกว่า 162 ชนิด ประกอบด้วย ช้างป่า กวางป่า เก้งธรรมดา หมูป่า ค่างแว่นถิ่นเหนือ หมีหมา ชะมดแผงสันหางดำ ลิงกัง อ้นเล็ก นากใหญ่ขนเรียบ กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวกลาง นกยางไฟ เหยี่ยวรุ้ง นกกระทาทุ่ง นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน นกแซงแซวสีเทา นกเด้าดินทุ่ง ไก่ป่า คางคกบ้าน เขียดจะนา กบอ่อง อึ่งอ่างบ้าน จิ้งจกหางหนาม ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ จิ้งเหลนหลากหลาย งูเขียวดอกหมาก งูสายม่านธรรมดา งูปล้องฉนวนลาว เป็นต้น และในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาน้ำจืดหลายชนิดเช่น ปลาซิว ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลากระสูบจุด ปลาก้าง ปลาดุกด้าน และปลากริม เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูพาน
ต.ห้วยยาง อ. เมืองสกลนคร จ. สกลนคร  47000
โทรศัพท์ : 0 4272 6616 (VoIP), 0 4270 3044, 08 1263 5029   โทรสาร : 0 4270 3044
ผู้บริหาร : ปัญญา โคตรแสนลี   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จนถึงขอนแก่น ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 (กาฬสินธุ์-สกลนคร) อีกประมาณ 115 กิโลเมตร จะถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ริมทางหลวง หากมาจากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 ประมาณ 25 กิโลเมตร ผ่านพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูพาน

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูพาน 102 (จันทน์ผา 1) 1 1 4 500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. ภูพาน 103 (จันทน์ผา 2) 1 1 4 500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 3. ภูพาน 104 (ภูพาน 4) 1 1 4 600  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 4. ภูพาน 105 (ภูพาน 5) 1 1 4 600  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 5. ภูพาน 106 (ภูพาน 6) 1 1 4 600  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 6. ภูพาน 912 (ค่ายเยาวชน 2) 2 8 30 3,000  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), พัดลม, ห้องน้ำ-สุขารวม
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูพาน 101-106 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 1 ภูพาน 911-912 ค่ายเยาวชน โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

อุทยาน แห่งชาติภูพานมีจุดที่นาสนใจหลายแห่ง เช่น ถ้ำจันทร์ วังหินเงิน น้ำตกสามหลั่น ผาหินซ้อน น้ำตกสาวไห้ น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกภูมะแงว อุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติไว้สำหรับผู้ที่สนใจจะ ศึกษาหรือสัมผัสในความหลากหลายของธรรมชาติไว้บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งในระหว่างเส้นทางมีสิ่งต่างๆ ให้ศึกษามากมาย เช่น เฟิน มอส ไลเคน หินทราย ระบบนิเวศของป่า เป็นต้น และจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 ไปทางกาฬสินธุ์ 20 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภพ. 10 (แก้งมดแดง) ซึ่งเป็นจุดดูนกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ นกที่พบ เช่น นกขุนแผน นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระเบื้องผา ฯลฯ และยังมีจุดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น

 
ด้านประวัติศาสตร์

ถ้ำเสรีไทย  เป็น แหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ไปต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นหัวหน้าขบวนการสายสกลนคร มีเส้นทางเดินเป็นวงรอบรวมระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่านป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ถ้ำเสรีไทย แล้วยังต่อไปชมพระอาทิตย์ตกและจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ทางช่วงสุดท้ายจะผ่านทุ่งกระเจียวที่จะออกดอกงามในช่วงเดือนสิงหาคม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 4.5 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

พระธาตุภูเพ็ก  เป็น ปราสาทที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 สมัยขอมบายน อยู่บนยอดเขาภูเพ็กของเทือกเขาภูพานสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 544 เมตร ปราสาทแห่งนี้ก่อด้วยหินทราย ในลักษณะเทวาลัยที่ไม่แล้วเสร็จ เรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานยกสูง ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านย่อมุมๆละ 5 เหลี่ยม รวมเป็น 20 เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงขื่อ 7.95 เมตร มีบันไดขึ้นเรือนปราสาท 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก หน้าอาคารปราสาทหันไปทางทิศตะวันออก ได้มีการขุดพบรูปเคารพสตรีหน้าตักกว้างประมาณ 12 นิ้ว สลักจากศิลาทราย ลักษณะของศิราภรณ์ของสตรีคล้ายกับศิราภรณ์สมัยปาปวน (พ.ศ. 1560-1630) ทางเข้าพระธาตุภูเพ็กอยู่ก่อนถึงน้ำตกคำหอม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 59 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เทือกเขาภูพาน  เป็น ขุนเขาแห่งประวัติศาสตร์ที่มีผู้รู้จักมากที่สุด แต่เป็นดินแดนที่น้อยคนนักที่ได้เข้าไปสัมผัสความงดงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัดสกลนคร-กาฬสินธุ์ สภาพป่า ภูเขา น้ำตกยังบริสุทธิ์ ท้าท้ายต่อการพิสูจน์เสมอ

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์  

น้ำตกแก้งกระอาม  เป็น น้ำตกขนาดเล็กที่มีลานหินขนาดใหญ่สวยงาม แต่มีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปสุดเขตทางตอนใต้ 45 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกคำหอม  เป็น น้ำตกที่รู้จักกันโดยแพร่หลายของชาวสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ในบริเวณน้ำตกแห่งนี้ทางราชการได้จัดงานสัปดาห์การท่องเที่ยว เพื่อชี้แจงให้ราษฎรได้รู้จักความสำคัญของป่าไม้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำ วันของมนุษย์เป็นประจำทุกปี น้ำตกแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกับน้ำตกตาดโตน ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพระราชฐาน

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกปรีชาสุขสันต์  มี ลักษณะเป็นลานหินลาดเอียงประมาณ 30-40 องศา ยาวประมาณ 15 เมตร บนลานหินที่ลาดเอียงนี้มีน้ำไหลผ่านบนผิวเสมอกันทั้งแผ่นเหมือนกระดานลื่น ธรรมชาติกลางป่าเขา ทางเข้าอยู่ก่อนถึงน้ำตกคำหอม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 50 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   เที่ยวน้ำตก  

ผานางเมิน  เป็น แนวหินผาที่ทอดตัวออกหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สามารถชมทิวทัศน์ออกไปได้ไกลแสนไกล เหมาะแก่การตั้งค่ายพักแรมและดูพระอาทิตย์ตก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 700 เมตร

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

ผาเสวย  อยู่ ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ลักษณะเป็นหน้าผาที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ณ ที่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จและประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงได้ชื่อว่า ผาเสวย มาแต่บัดนั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 40 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ลานสาวเอ้  เป็น ลานหินที่แวดล้อมด้วยป่าเต็งรัง ยามเปลี่ยนสีเข้าสู่ฤดูแล้งจึงสวยงามมาก บนลานหินยังเต็มไปด้วยดอกไม้เล็กๆ สวยงามอย่างดุสิตา กระดุมเงิน และสร้อยสุวรรณ

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้  

สะพานหินธรรมชาติ  มี ลักษณะเป็นสะพานหินที่เชื่อมต่อระหว่างหินสองกลุ่ม ขนาดกว้างของสะพานประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร ด้านใต้เป็นเวิ้งถ้ำกว้างใช้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ นับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 7 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพัก จำนวน 6 หลัง ค่ายพักแรม 2 หลัง ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


บริการอาหาร    มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


 
 
อุทยานแห่งชาติภูพาน
ต.ห้วยยาง  อ. เมืองสกลนคร  จ. สกลนคร   47000
โทรศัพท์ 0 4272 6616 (VoIP), 0 4270 3044, 08 1263 5029   โทรสาร 0 4270 3044   อีเมล phuphannt_2006@yahoo.com

  
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์