ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
 
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
 

อุทยาน แห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดอุดรธานี และตอนบนของจังหวัดขอนแก่น สภาพธรณีเป็นภูเขาหินทรายซึ่งมีชั้นของของหินทรายอยู่ด้านบนระดับผิวดิน โดยมีชั้นของหินดินดาน หรือหินดินดานปนทรายเป็นฐาน ด้านล่างมีดินประเภทดินลูกรังและดินร่วนปนทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ และสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีเนื้อที่ประมาณ 201,250 ไร่ หรือ 322 ตารางกิโลเมตร

แต่เดิมกรมป่าไม้ได้พิจารณากำหนดให้ป่าภูเก้าเป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย เพื่อใช้สอย ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0703 / 38 ลงวันที่ 5 มกราคม 2513 ซึ่งต่อมาป่าภูเก้าแห่งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็นป่าสงวน แห่งชาติ “ป่าภูเก้า” ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 490 (พ.ศ. 2515) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2515 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2524 นายสุพรรณ สุปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาจัดป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ท้องที่จังหวัดอุดรธานี เป็นอุทยานแห่งชาติ

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงมีหนังสือ ที่ สร 0107 (งสส.) / 3782 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งนายจำนงค์ โพธิสาโร รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ มีบันทึกท้ายหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กส 0708/1198 ลงวันที่ 8 เมษายน 2524 ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 571/2524 ให้นายวินัย ชลารักษ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น

ผลการสำรวจพบว่าป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า จุดเด่นมีทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจเบื้องต้นที่ กส 0708 (ภพ) / 257 วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และทางสภาตำบลโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2526 สนับสนุนให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2526 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 ให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้

ต่อมานายพิชา พิทยขจรวุฒิ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเก้า ได้มีหนังสือที่ กษ 0713 (ภก) / 8 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2527 ขอผนวกพื้นที่เทือกเขาภูพานคำบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขื่อนอุบล รัตน์ ซึ่งมีสภาพป่าเต็งรังค่อนข้างสมบูรณ์และมีทิวทัศน์รอบอ่างเก็บน้ำสวยงามเข้า เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สมบูรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ซึ่งได้มีการดำเนินการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเก้า ในท้องที่ตำบลหัวนา ตำบลนามะเฟือง อำเภอหนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ตำบลบ้านถิ่น ตำบลโคกม่วง ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลโนนเมือง ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลกุดดู่ ตำบลโนนสัง ตำบลบ้านค้อ ตำบลหนองเรือ ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และป่าโคกสูง ป่าบ้านดง ในท้องที่ตำบลศรีสุขสำราญ ตำบลนาคำ ตำบลบ้านดง ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ และตำบลหว้าทอง ตำบลทุ่งชมพู ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็น อุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 130 ลงวันที่ 20 กันยายน 2528 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 50 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

 

ภูเก้า มีสันฐานคล้ายกะทะหงายโดยมีที่ราบอยู่ตอนกลาง พื้นที่เช่นนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พื้นที่ส่วนนี้น่าจะเป็นซากภูเขาไฟโบราณที่ดับสนิทไปแล้วหลายร้อยล้านปี หรือมิฉะนั้นก็เป็นการโก่งตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ขึ้นมาเป็นขอบเทือกเขา เทือกเขาภูเก้าเป็นเทือกเขาสองชั้น ชั้นนอกเป็นภูเขาสูงและมีความลาดชันมาก ไหล่เขาด้านในมีความลาดชันไม่มากนัก พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ บางแห่งเป็นที่ราบ

ภูพานคำ เป็นแนวทิวเขายาวในเทือกเขาภูพาน เรียงตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาเป็นแอ่งที่ราบต่ำลุ่มน้ำพอง ซึ่งเป็นหุบเขาขนาดใหญ่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ พื้นที่ดังกล่าวนี้กลายเป็นทะเลสา[ ซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนภูพานคำ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณซึ่งขึ้นอยู่ในพื้นดินปนหิน

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

ฤดู กาลของอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพโดยทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง มีไม้ขึ้นอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นไหล่เขาและสันเขา พันธุ์ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม กระโดน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย ปรงป่า หญ้าเพ็ก เป้ง เถาวัลย์ และไม้หนามหลายชนิด ส่วน ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีอยู่ในบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งห้วย หุบเขา และไหล่เขาบางส่วน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ มะค่าแต้ กระบก ตะคร้อ ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ ป่าดงดิบ มีอยู่เฉพาะบริเวณริมฝั่งห้วยเท่านั้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบก ยาง ตะเคียนหิน มะค่าโมง กระบก และชิงชัน เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
ตู้ ปณ.2 ปทจ.อุบลรัตน์ อ. อุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น  40250
โทรศัพท์ : 0 4295 6528 (VoIP), 08 1221 0523
ผู้บริหาร : อริชัย วรรณศิริ   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
 
รถยนต์

• จากจังหวัดหนองบัวลำภู ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 แยกซ้ายบ้านวังหมื่น แยกซ้ายบ้านหัวขัว แยกซ้ายบ้านค้อ ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ระยะทาง 58 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภออุบลรัตน์ 6 กิโลเมตร

• จากจังหวัดขอนแก่น ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ขอนแก่น-อุดรธานี) ประมาณ 26 กิโลเมตร แยกซ้ายตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2109 อีก 24 กิโลเมตร ถึงอำเภออุบลรัตน์ แยกขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ รวมระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร

 
รถโดยสารประจำทาง

ใช้รถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น-หนองบัวลำภู ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 


อุทยาน แห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดอุดรธานี และตอนบนของจังหวัดขอนแก่น ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

 
ด้านประวัติศาสตร์

ถ้ำเรขาคณิต และถ้ำมึ้ม  
สันนิษฐาน ว่าร่องรอยที่ค้นพบมีอายุประมาณไม่ต่ำกว่า 3,500 ปี ในยุคบ้านเชียง ซึ่งสังคมมนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร ปรากฏภาพเขียนสีและภาพสลักบนผนังภายในถ้ำ

 

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ทิวทัศน์ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์และเกาะแก่งต่าง ๆ  
เหมาะ สำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำ และพักแรม สามารถเดินทางไปเที่ยวหมู่บ้านประมง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี และซื้อปลาได้ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

 

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   ชมทิวทัศน์  

น้ำตกตาดฟ้า  
น้ำตก ตาดฟ้า ตั้งอยู่ฝั่งส่วนภูเก้า เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สายน้ำไหลมาตามธารเล็กๆ ท่ามกลางป่าเบญจพรรณ ก่อนจะทิ้งตัวลงมาตามชั้นหินสูง 7 เมตร สู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำมากเฉพาะฤดูฝน

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์  

รอยเท้านายพรานและรอยตีนหมา  
อยู่ บริเวณตีนภูเก้าซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางอำเภอโนนสัง 18 กิโลเมตร เป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ 2 รอยลึกลงไปในลานหิน ลักษณะคล้ายรูปเท้ามนุษย์และตีนสุนัขที่เห็นได้ชัดเจน

 

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

หอสวรรค์  
เป็น จุดชมทิวทัศน์ อยู่ห่างจากวัดพระพุทธบาทภูเก้าประมาณ 1 กิโลเมตร มองเห็นทิวทัศน์ของที่ราบจังหวัดหนองบัวลำภู และผืนป่าเขียวขจีของอุทยานแห่งชาติกว้างไกลไปจนถึงอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล รัตน์ บริเวณนี้มีก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมหน้าผา ก้อนหินสูง 30 เมตร มีบันไดให้ปีนขึ้นไปบนก้อนหินซึ่งมีศาลาตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกจุดชมทิวทัศน์บนหินก้อนนี้ว่า “หอสวรรค์”

 

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

หามต่าง หรือหามตั้ง  
เป็น ปรากฏการณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับเสาเฉลียง ที่ผาแต้ม คือ เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลม และแสงแดด มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้ง ขึ้นมีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกันมองดูคล้าย ดอกเห็ด

 

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


 
 
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
ตู้ ปณ.2 ปทจ.อุบลรัตน์  อ. อุบลรัตน์  จ. ขอนแก่น   40250
โทรศัพท์ 0 4295 6528 (VoIP), 08 1221 0523   อีเมล reserve@dnp.go.th

 


  

 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์