ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
 
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
 

อุทยาน แห่งชาติน้ำพอง เป็นชื่อเรียกตามต้นกำเนิดลำน้ำพองที่ไหลมารวมกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล รัตน์ (เดิมชื่ออ่างเก็บน้ำน้ำพอง) เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของจังหวัดขอนแก่น แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “น้ำพอง-ภูเม็ง” เพราะมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเทือกเขาภูเม็ง อุทยานแห่งชาติน้ำพองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่นติดกับเขื่อน อุบลรัตน์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโสกแต้ ป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ป่าภูผาดำ ป่าภูผาแดง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ อำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ อำเภอมัญจาคีรี และ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 197 ตารางกิโลเมตร หรือ 123,125 ไร่

จังหวัดขอนแก่น ได้มีหนังสือลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 ขอให้กรมป่าไม้พิจารณากำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์และจุดเด่นที่สวยงาม โดยจังหวัดขอนแก่นได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำการสำรวจปรับปรุงแนวเขตให้เป็นที่ ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ทุกฝ่ายแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องแนวเขตและที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าดังกล่าว

กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าดังกล่าวปรากฏว่า พื้นที่ป่ายังมีความสมบูรณ์ หากพิจารณาตามความหมายของอุทยานแห่งชาติแล้วยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ แต่สมควรอนุรักษ์ไว้สำหรับประชาชนจังหวัดขอนแก่น โดยเห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ใกล้เคียงเพิ่มเติม ได้แก่ ป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ และป่าภูผาแดง จังหวัดชัยภูมิ และป่าโสกแต้ รวมพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เนื่องจากยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีจุดเด่นและจุดชมทิวทัศน์ที่น่าสนใจ

อุทยานแห่งชาติน้ำพองได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าโสกแต้ในท้องที่ตำบล เขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลทุ่งโป่ง ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ ตำบลนาหว้า ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ตำบลโคกงาม ตำบลป่าหวายนั่ง ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง และตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ป่าภูเม็ง และป่าโคกหลวง ในท้องที่ตำบลบ้านเม็ง ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ ตำบลคำแคน ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น และตำบลสระพัง ตำบลบ้านเต่า ตำบลหนองคู อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ และป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ ป่าภูผาแดง และป่าโคกหลวง แปลงที่สาม ในท้องที่ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลบ้านโคก ตำบลซับสมบูรณ์ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และตำบลหนองสังข์ ตำบลบ้านแก้ง ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 105ก ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2543

ลักษณะภูมิประเทศ

 

สภาพ พื้นที่โดยทั่วไป มีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางคล้ายกับเทือก เขาทั่วๆ ไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ขนานกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารส่วนหนึ่งของลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น ลำน้ำพอง ลำน้ำเชิญ ลำน้ำชี เป็นต้น แบ่งพื้นที่ได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ในเทือกเขาภูพานคำ ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้อยู่ในเทือกเขาภูเม็ง พื้นที่ด้านทิศตะวันตกมีสภาพลาดชันสลับกับหน้าผาในบางช่วงจรดที่ราบอ่างเก็บ น้ำด้านล่าง ส่วนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขามีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 600 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

ฤดู กาลของอุทยานแห่งชาติน้ำพองแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนจะตกมากช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

พื้นที่ ประมาณร้อยละ80 ของอุทยานแห่งชาติน้ำพองปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรังโดยมีป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า และป่าไผ่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบางพื้นที่ ลึกเข้าไปบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ทั้งในเทือกเขาภูพานคำและเทือกเขาภูเม็งมีสภาพเป็นป่าดิบแล้งที่สมบูรณ์ จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแหล่งสมุนไพรที่สำคัญของอุทยาน อีกด้วย พันธุ์ไม้มีค่าและพบเห็นได้ทั่วไป เช่น เต็ง รัง เหียง กระบก มะพอก ตะเคียนหิน พืชพื้นล่างจำพวกปรงป่า เถาวัลย์ ไม้หนามชนิดต่างๆ รวมทั้งสมุนไพรนานาพันธุ์อีกมากมาย

สำหรับสัตว์ป่าส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งบริเวณเทือกเขาภู เม็ง เพราะเป็นแหล่งหากินที่อุดมสมบูรณ์และถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก สัตว์ป่าที่พบเห็นเป็นสัตว์ขนาดกลางและขนาดเล็ก อาทิ หมูป่า เก้ง สุนัขจิ้งจอก เม่น นิ่ม กระต่ายป่า ไก่ป่า งู และนกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
ตู้ ปณ.13 (ดอนโมง) อ. หนองเรือ จ. ขอนแก่น  40240
โทรศัพท์ : 0 4335 8074 (VoIP)   โทรสาร : 0 4335 8074 (VoIP)
ผู้บริหาร : สุนทร เพชร์ล้อมทอง   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน
 
รถยนต์

อุทยาน แห่งชาติน้ำพอง ตั้งอยู่บริเวณริมเขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมืองขอนแก่นมากที่สุด ปัจจุบันการคมนาคมเข้าถึงอุทยานแห่งชาติค่อนข้างสะดวกสบาย จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจทั้งในระยะสั้นเช้ามา-เย็นกลับ หรือค้างแรมโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบาย สำหรับการเดินทางมาอุทยานแห่งชาติน้ำพองสามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ

•จากตัวเมืองขอนแก่นตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ไปอำเภอชุมแพ) ถึง กม.30 กลับรถแล้วจะมีแยกเลี้ยวซ้าย (บ้านดอนดู่) เดินทางตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.2015 มาอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีสามแยก(หนองแสง) เลี้ยวขวาตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.4014 เดินทางผ่านบ้านหนองผือ และบ้านดอนกอก ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเขาด้านขวามือ รวมระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร

• จากขอนแก่น-อำเภออุบลรัตน์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ไปจังหวัดอุดรธานี) แยกซ้ายเข้า อำเภออุบลรัตน์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2109 ถึงตัวอำเภอจะมีแยกเลี้ยวซ้ายตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.4014 (หนองแสง- ท่าเรือ) เดินทางเลาะริมเขื่อนอุบลรัตน์มาอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร

ผู้ที่เดินทางโดยใช้เส้นทางสายแรก (ขอนแก่น-ชุมแพ) สามารถเดินทาง ไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ก่อนที่เดินทางย้อนกลับมาแวะชมไดโนสาร์ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง หลังจากนั้นท่านเดินทางต่อมาพักผ่อนหย่อนกายชมวิวทิวทัศน์อันงดงามของอ่าง เก็บน้ำ หรืออาจเดินทางขึ้นไปนอนชมฝนดาวดูฟ้าสางที่จุดชมวิวหินช้างสีของอุทยานแห่ง ชาติน้ำพองก็จะได้รับบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป

ในช่วงการเดินทางกลับควรใช้เส้นทางสายที่สอง (ขอนแก่น-อุบลรัตน์) ขับรถลัดเลาะชมธรรมชาติของเขื่อนอุบลรัตน์ หรือแวะทานอาหารชิมปลาน้ำจืดอันเลิศรสก็มีร้านอาหารตลอดเส้นทาง เขื่อนอุบลรัตน์ตั้งอยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติน้ำพองประมาณ 20 กิโลเมตร เสร็จจากชมเขื่อนฯ ขับรถไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางอำเภอโนนสัง ก็จะถึงอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ หากเดินทางจากขอนแก่น-อุบลรัตน์ หรือใช้เส้นทางสายที่สองก็สามารถท่องเที่ยวในลักษณะที่เป็นรูปวงกลมนี้ได้ อาจเริ่มที่อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ–เขื่อนอุบลรัตน์-น้ำพอง-ภูเวียง -ภูผาม่าน ก่อนที่จะเดินทางกลับทางด้าน อำเภอชุมแพ

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. น้ำพอง 101/1 (น้ำพอง 1) 2 1 4 600  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, กระติกน้ำร้อน
โซนที่ 1 2. น้ำพอง 101/2 (น้ำพอง 1) 2 1 4 600  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, กระติกน้ำร้อน
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 น้ำพอง 101 บ้านพักแฝด โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนเนินเขา ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
โซนที่ 1 น้ำพอง 102 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนเนินเขา ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เขาภูเม็ง  ตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการอุทยานฯ มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งสมุนไพรและป่าต้นน้ำชั้นดีของน้ำพอง มีสัตว์ป่าอาศัยอย่างชุกชุม จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและสมุนไพรอย่าง แท้จริง

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

คำโพน  เป็น บ่อหินกลมคล้ายปล่องภูเขาไฟ เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ 5 เมตร เกิดจากสภาพธรรมชาติทางธรณี คำโพนตั้งอยู่ไม่ห่างจากพลาญชาดและหินช้างสีมากนัก

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

จุดชมทิวทัศน์หินช้างสี  กลุ่ม หินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนสันเขาป่าโสกแต้เหนือที่ทำการอุทยานแห่งชาติขึ้นไป เป็นจุดชมวิวยามเช้าเย็นที่พระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุดของ น้ำพอง เหตุที่ชื่อหินช้างสีเพราะครั้งอดีตมีช้างป่ามาใช้ลำตัวสีกับก้อนหินขนาด ใหญ่และทิ้งร่องรอยของดินติดไว้ ด้านบนของจุดชมวิวหินช้างสีเป็นลานหินกว้างขนาดใหญ่ จุดสูงสุดมีก้อนหินสัณฐานคล้ายหัวกระโหลกตั้งโดดเดี่ยวเป็นเอกเทศ ด้านบนลานหินนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้โดยรอบ ทั้งทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ที่ถูกปูพรมด้วยผืนป่าอันเขียวขจี หรือตัวเมืองขอนแก่นที่อยู่ไกลลิบๆ ออกไป ส่วนด้านทิศตะวันตกจะพบกับทัศนียภาพของธรรมชาติอันงดงามและกว้างไกลของอ่าง เก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์จนสุดสายตาที่เทือกเขาภูเวียงและภูเก้า ยามเช้าในฤดูหนาวที่สายหมอกล่องลอยไล่เลี่ยพื้นน้ำและราวป่า คล้ายกับลูกคลื่นในท้องทะเล ส่งผลให้จุดชมวิวหินช้างสีมีเสน่ห์และน่าหลงไหลสำหรับผู้ที่ได้พบเห็นมาก ยิ่งขึ้น บริเวณนี้จึงเหมาะสำหรับการตั้งแค็มป์ค้างแรมของผู้ที่ชื่นชอบและต้องการ สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้บริเวณหินช้างสียังพบภาพเขียนเลขาคณิตอันเป็นร่องรอยของมนุษย์ยุค ก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย

จุดชมวิวหินช้างสีตั้งอยู่ไม่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมากนัก ใช้เวลาเดินเท้าลัดเลาะไปตามสันเขาประมาณ 3 ชั่วโมง หรือขับรถอ้อมไปขึ้นทางด้านบ้านคำหญ้าแดงอีกด้านหนึ่งก็ได้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อด้วยการเดินเท้าอีกประมาณ 10 กว่านาที

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์  

น้ำตกห้วยเข  เป็น น้ำตกที่เกิดจากลำห้วยยางน้อยและลำห้วยกุดบากไหลมารวมกันเป็นลำห้วยเขบน เทือกเขาภูเม็ง เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้จังหวัดขอนแก่นมากที่สุด มีชั้นน้ำตก 5 ชั้น ชั้นที่มีความสูงและสวยงามที่สุดคือ น้ำตกชั้นบนสุด น้ำตกชั้นที่ 1 เรียกว่า “ แจ้งวังไฮ “ มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำ มีต้นไทรร่มรื่น เหมาะสำหรับเล่นน้ำ และบริเวณใกล้เคียงยังมีโขดหินเป็นรูปลักษณะต่างๆ เหมาะสำหรับเดินชมความงามของธรรมชาติ น้ำตกห้วยเขมีความงดงามและเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝน

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

ผาจันได  เป็น ก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนลานหิน และมีต้นจันไดหรือสลัดไดขึ้นอยู่ใกล้กัน เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถชมทิวทัศน์ของผืนป่าเต็งรังได้งดงามของเทือกเขาภู เม็ง

กิจกรรม : ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

ผาฝ่ามือแดง  เป็น หน้าผาหันหน้าไปทางขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มีอยู่ด้วยกัน 3 จุด อยู่บริเวณเชิงเขาภูพานคำติดกับส่วนขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์

จุดที่ 1 อยู่บริเวณบ้านดอนกอก ซึ่งต้องเดินเท้าเข้าไปถึงภูพานคำระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะเป็นภาพเขียนสีบนเพิงหินทรายขนาดยาว 9 เมตร สูง 4 เมตร เป็นภาพเขียนลายเส้นสีแดงลงบนพื้นหินสีเทา ลักษณะภาพคล้ายเป็นตัวปลาในสายน้ำ และเครื่องมือดักจับปลา ล่าสัตว์ แต่ภาพไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีภาพลายเส้นคู่ขนาน ลายเส้นคด ลายรูปสามเหลี่ยม ส่วนภาพมือซ้ายเห็นได้ชัดเจน ลักษณะการเกิดภาพคล้ายใช้สีพ่นทับฝ่ามือ ใกล้ๆกันมีรอยฝ่ามือข้างขวาสีแดงคล้ายกับมือจุ่มสีแดงมาประทับ

จุดที่ 2 อยู่ห่างจากจุดที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร มีลักษณะเป็นภาพรอยฝ่ามือด้านขวาแบบพ่น และภาพเส้นคดผสมลายเส้นคู่ เส้นโค้งขนาน คล้ายภาพคนแบกกิ่งไม้

จุดที่ 3 อยู่ห่างจากจุดที่ 2 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นภาพประทับฝ่ามือด้านขวาสีแดงจำนวน 8 แห่ง บนเพิงหินทราย

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์  

ผาสวรรค์  เป็น ลานหินขนาดใหญ่ยื่นออกไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก ถือได้ว่าเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามไม่แพ้หินช้างสี ตั้งอยู่ห่างจากหินช้างสีไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร โดยการเดินเท้า การเดินทางเข้าไปค่อนข้างลำบากจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปพักค้าง แรมมากกว่าไปเช้าเย็นกลับ

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

พลาญชาด หรือ ลานชาด  อยู่ ห่างจากหินช้างสีใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 30 นาที ลักษณะเป็นลานหินกว้างมีพันธุ์ไม้พื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นซาด” ขึ้นอยู่บนลาน จากจุดนี้สามารถมองเห็นสภาพผืนป่าทั่วๆ ไปของน้ำพองได้อย่างชัดเจน ผู้ที่เดินทางไปยังหินช้างสีจึงน่าจะแวะชมพลาญชาดด้วยเพราะอยู่ในเส้นทางแนว เดียวกัน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์  เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์กั้นลำน้ำพอง พื้นที่บริเวณหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีบ้านพัก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้องสุขาไว้บริการผู้มาเยือน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกที่จะได้สัมผัสกับทิวทัศน์อันงดงามของอ่างเก็บ น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ภาพวิถีชีวิตของชาวประมงที่ล่องเรือหาปลาในคุ้งน้ำด้านล่าง หรือความงดงามยามตะวันลับฟ้าในช่วงเย็นบริเวณนี้จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมา ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ การแค็มป์ปิ้งแรมคืนตลอดจนกิจกรรมสันทนาการต่างๆ

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 3 หลัง


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว(ชั่วคราว) เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


 
 
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
ตู้ ปณ.13 (ดอนโมง)  อ. หนองเรือ  จ. ขอนแก่น   40240
โทรศัพท์ 0 4335 8074 (VoIP)   โทรสาร 0 4335 8074 (VoIP)   อีเมล namphong_np@dnp.go.th

 


  

 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์