ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
 
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
 

ธารมรกตแห่งป่าตะวันตก

อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ และเกาะแก่งต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีเขตติดต่อกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระมีเนื้อที่ประมาณ 957,500 ไร่ หรือ 1,532 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : เนื่องจากป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแควใหญ่เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ มีสภาพป่าสมบูรณ์เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น น้ำพุร้อน ถ้ำ และทะเลสาบ ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 71/2523 ลงวันที่ 11 มกราคม 2523 ให้นายนิสัย ฟุ้งขจร นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณทำการสำรวจพื้นที่ ประกอบกับในคราวประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3/2522 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2522 นายผ่อง เล่งอี้ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กรมป่าไม้ มีโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์ ดังนั้นจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้แต่งตั้งคณะสำรวจของจังหวัดทำการสำรวจด้วยเช่นกัน ซึ่งพบว่า พื้นที่ป่ามีสภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม มีลักษณะทางธรรมชาติที่เด่นหลายแห่งเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรดำเนินการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็น อุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 38 ของประเทศ
 

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

พื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ส่วนหนึ่งเกิดจากสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ กั้นขวางแม่น้ำแม่กลอง (แควใหญ่) โดยมีแม่น้ำ ลำห้วย ลำธารที่สำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ เช่น ห้วยแม่ขมิ้น ห้วยขาแข้ง ห้วยแม่วง ห้วยเกรียงไกร และห้วยแม่พลู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลำห้วยลำธารอีกหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยบริเวณเขต อำเภอไทรโยค เช่น ห้วยลิ่นถิ่น เป็นต้น สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนและหินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ ระดับความสูง สูงสุดประมาณ 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร พื้นที่น้ำในทะเลสาบเหนือเขื่อนศรีนครินทร์มีระดับความสูงสุดประมาณ 180 เมตรจากระดับ น้ำทะเลปานกลาง

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์เป็นพื้นที่เงาฝน (rain shadow) ทำให้มีฝนตกน้อย อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 44-45 องศาเซล-เซียสในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมประมาณ 8-9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซล-เซียส ช่วงฤดูฝนเริ่มตกจากกลางเดือนเมษายน และสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,600 มิลลิเมตร

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง
ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ในบริเวณค่อนข้างราบถึงเนินเขา ในบางพื้นที่จะพบไม้ไผ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่นมาก มีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นแทรกอยู่บ้างเพียงประปราย พบมากในบริเวณตอนกลางติดกับชายฝั่งอ่างเก็บน้ำ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แดง มะค่าโมง ประดู่ รกฟ้า มะกอกป่า กระโดน ตะแบก ไผ่บง ไผ่รวก และไผ่ซาง มีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในสังคมป่าชนิดนี้ได้แก่ ลิงกัง พญากระรอกดำ เม่นใหญ่แผงคอสั้น หมาจิ้งจอก หมาไน กระทิง ช้างป่า เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกกะเต็นแดง นกโพระดกธรรมดา นกแอ่นฟ้าหงอน นกกระรางสร้อยคอใหญ่ นกจับแมลงคอสีฟ้า เต่าเหลือง ตะกวด จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูเหลือม งูหมอก งูปี่แก้วลายหัวใจ และกบหนอง เป็นต้น ส่วนบริเวณยอดเขาหินปูนที่เป็นสังคมป่าชนิดนี้จะพบเลียงผาอาศัยอยู่

ป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง แดง ตะคร้อ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก เป้งดอย ปรงป่า และไผ่เพ็ก สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณสังคมพืชป่าเต็งรัง ได้แก่ กระรอกปลายหางดำ กระจงเล็ก กวางป่า นกกระรางหัวขวาน นกตีทอง นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกแซงแซวหางปลา ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหลากหลาย งูกะปะ เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบขึ้นประปรายอยู่ทั่วเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มักจะพบในบริเวณที่อยู่ทางด้านรับลมที่พัดพาฝนมาปะทะภูเขา หรืออยู่ริมสองฝั่งของลำธาร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน มะเกิ้ม ยมหิน กระเบากลัก ยมหอม สมพง งิ้วป่า พลอง ขะเจ๊าะ กระโดน และเปล้า เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิงลม ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว พญากระรอกบินหูแดง หมาไม้ อีเห็นธรรมดา เสือโคร่ง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขาเขียว นกตะขาบดง นกแก๊ก นกกก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ เต่าหก เหี้ย งูลายสาบคอแดง งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูหลาม และเขียดตะปาด เป็นต้น

บริเวณอ่างเก็บน้ำและลำห้วยต่างๆ สัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่พบอาศัยอยู่ได้แก่ คางคกแคระ เขียดอ่อง กบทูด กบชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดลายหินเมืองเหนือ อึ่งแม่หนาว ปลากราย ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาชะโด ปลาเวียน ปลาปลาเลียหิน ปลากระทิงดำ เป็นต้น สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปเพื่อปลูกพืชเกษตรภายหลังได้ อพยพออกไปแล้ว และบริเวณริมอ่างเก็บน้ำที่ถูกตัดต้นไม้ออกหมด สัตวป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ เก้ง กระต่ายป่า อ้น นกยางกรอกพันธุ์จีนนกยางโทนใหญ่ นกกระแตแต้แว้ด นกกระปูดใหญ่ นกอีวาบตั๊กแตน นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าหัวแดง แย้ อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น


 
   
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
ตู้ ปณ.1 อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี  71250
โทรศัพท์ : 0 3454 7018 (VoIP), 0 3451 6667   โทรสาร : 0 3451 6667
ผู้บริหาร : สุเทพ เกตุเวชสุริยา   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ
 
รถยนต์

1. เส้นทางจากเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผ่านทางแยกเข้าน้ำตกเอราวัณ ถ้ำพระธาตุ สภาพเส้นทางเป็นถนนลูกรัง ในช่วงหน้าฝนถนนจะขรุขระมาก เป็นถนนเลียบขอบทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ไปจนถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 45 กิโลเมตร เส้นทางนี้เหมาะสำหรับรถกระบะ

2. เส้นทางเอราวัณ-ศรีสวัสดิ์ ถึงท่าแพห้วยแม่ละมุ่น ข้ามจากฝั่งแม่ละมุ่นโดยแพขนานยนต์มายังศรีสวัสดิ์ ใช้เวลา 15 นาที จากนั้นขับรถต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงท่าแพที่ 2 ข้ามจากศรีสวัสดิ์ทางแพขนานยนต์มายังน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ใช้เวลา 45 นาที ขับรถต่อจากท่าแพอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางนี้เหมาะสำหรับรถเก๋ง และรถตู้

 
เรือ

เช่า เหมาเรือเอกชนจากท่าต่างๆ เช่น ท่าเรือหม่องกระแทะ ท่าเรือท่ากระดาน ท่าเรือตลาดเขื่อนฯ หรือท่าเรือเขื่อนนครินทร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. เขื่อนศรีนครินทร์ 101 (หลงพนา) 3 3 9 2,700  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. เขื่อนศรีนครินทร์ 102 (กลางดง) 3 2 9 2,700  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 3. เขื่อนศรีนครินทร์ 103 (อุษาสวาท) 3 2 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 4. เขื่อนศรีนครินทร์ 104/1 (วังหน้าผา 1) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 5. เขื่อนศรีนครินทร์ 104/2 (วังหน้าผา 1) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 6. เขื่อนศรีนครินทร์ 104/3 (วังหน้าผา 1) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 7. เขื่อนศรีนครินทร์ 104/4 (วังหน้าผา 1) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 8. เขื่อนศรีนครินทร์ 105/1 (วังหน้าผา 2) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 9. เขื่อนศรีนครินทร์ 105/2 (วังหน้าผา 2) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 10. เขื่อนศรีนครินทร์ 105/3 (วังหน้าผา 2) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 11. เขื่อนศรีนครินทร์ 105/4 (วังหน้าผา 2) 1 1 3 900  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 12. เขื่อนศรีนครินทร์ 811 (แพร่มเกล้า 1) 2 1 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 13. เขื่อนศรีนครินทร์ 812 (แพร่มเกล้า 2) 2 1 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 14. เขื่อนศรีนครินทร์ 813 (แพร่มเกล้า 3) 2 1 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ผ้าเช็ดตัว
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 เขื่อนศรีนครินทร์ 101-103 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ใกล้น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น บ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 102 กับ 103 อยู่ใกล้กัน
โซนที่ 1 เขื่อนศรีนครินทร์ 104/1-4 บ้าน พักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และอยู่ไม่ไกลจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น
โซนที่ 1 เขื่อนศรีนครินทร์ 105/1-4 บ้าน พักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และอยู่ไม่ไกลจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น
โซนที่ 1 เขื่อนศรีนครินทร์ 106/1-4 บ้าน พักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และอยู่ไม่ไกลจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น
โซนที่ 1 เขื่อนศรีนครินทร์ 811-813 บ้านพักเรือนแพ โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นเรือนแพอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และอยู่ไม่ไกลจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น
โซนที่ 2 เขื่อนศรีนครินทร์ 201-202 บ้าน พักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ศร.4 ไปทางอำเภอสังขละ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเมตร อยู่ใกล้น้ำตกผาตาด

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ถ้ำน้ำมุด  ใช้ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3199 แยกเข้าทางแยกบ้านแก่งเรียงประ-มาณ 30 กิโลเมตร ถึงทางแยกบริเวณจุดสกัดหนองเป็ด เดินทางเข้าไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะถึงวัดถ้ำน้ำมุด แล้วเดินเท้าอีกประมาณ 500 เมตร ก็จะถึงบริเวณถ้ำ ปากถ้ำอยู่บริเวณลาดเขา มีขนาดใหญ่ ในถ้ำมีห้วยน้ำมุดไหลลอดเขาหินปูน ซึ่งจะโผล่ออกที่ปากน้ำมุดบริเวณเชิงเขา สวยงามมาก

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำเนรมิต  อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร บริเวณบ้านต้นมะพร้าว ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ เดินเท้าถึงปากถ้ำระยะทางประมาณ 300 เมตร เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลาง แบ่งออกเป็น 3 ห้อง คือ ห้องโถงใหญ่ เป็นห้องที่กว้างที่สุดและมีความสวยงามของหินงอกหินย้อยบริเวณเพดานและผนัง ถ้ำ ห้องพิธีกรรม มีหินงอกขนาดต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายเทียนเข้าพรรษา ตั้งอยู่เรียงรายทั่วไปคล้ายกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ห้องลูกนิมิต หรือห้องไข่เอเลี่ยน มีหินย้อยคล้ายลูกนิมิตติดอยู่ตามเพดานถ้ำจำนวนมาก มีรูปแปลกตา ความอลังการของห้องนี้ หลายคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เหมือนไข่เอเลี่ยนในภาพยนตร์

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำพระ  แยก จากทางเข้าถ้ำน้ำมุดไปตามทางลำลองประมาณ 2 กิโลเมตร เดินขึ้นเขาประมาณ 300 เมตร ถึงปากถ้ำ ถ้ำพระเป็นถ้ำธรรมชาติแวดล้อมด้วยป่าไผ่ มีขนาดใหญ่ เพดานสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร มีพระพุทธรูปปั้นที่ชาวบ้านสร้างไว้ ประดิษฐานอยู่ในถ้ำบริเวณห้องโถงใหญ่ มีถ้ำโพรงออกจากห้องโถงใหญ่ไปทั้งสองปีก เป็นถ้ำลึกที่ลาดเทลงต่ำ ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีโพรงลึกลงไปใต้ถ้ำ ซึ่งเป็นโพรงที่ติดต่อกับถ้ำน้ำมุดส่วนใน ซึ่งไม่สามารถเข้าทางปากถ้ำน้ำมุดได้ มีค้างคาวอาศัยอยู่ภายในถ้ำด้วย สมัยก่อนเคยเป็นที่หลบซ่อนของทหารไทยที่หลบหนีกองทัพพม่า ซึ่งบุกรุกเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาในศตวรรษที่ 18

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำพระปรางค์  ถ้ำ พระปรางค์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าถ้ำต้นมะพร้าว อยู่บริเวณบ้านต้นมะพร้าว ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ โดยเดินเลียบห้วยกระบุงประมาณ 500 เมตร ถึงบริเวณปากถ้ำ ภายในถ้ำมีหินงอกเป็นรูปคล้ายพระปรางค์ที่สวยงามมาก บริเวณหินงอกหินย้อยมีแร่ไมก้าปะปนอยู่ เวลาต้องแสงไฟจะสะท้อนเป็นประกายที่งดงามมาก

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ทิวทัศน์เขื่อนศรีนครินทร์  เป็นความงามของสองฟากฝั่งทะเลสาปเหนือเขื่อน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรมชาติได้ เป็นระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   ชมทิวทัศน์  

น้ำโจน  เป็นแหล่งน้ำที่สวยงาม อยู่เกือบติดเขตด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติ

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ  

น้ำตกผาตาด  เป็น น้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งในเขตอำเภอทองผาภูมิ ทางเข้าบริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 บริเวณบ้านหินดาดมีทางแยกเข้าสู่น้ำตก ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ศร.4 (ผาตาด) จากนั้นเดินต่อไปยังน้ำตกอีก 200 เมตร ในฤดูฝนเส้นทางเดินจะลื่น นักท่องเที่ยวควรเดินด้วยความระมัดระวัง และไม่นำอาหารขึ้นไปบริเวณน้ำตก ควรรับประทานอาหารบริเวณที่อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่ไว้เท่านั้น น้ำตกผาตาดเกิดจากลำห้วยกุยมั่ง ไหลลดหลั่นตกลงมาตามหน้าผาหินปูนสูง 30 เมตร มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีขนาดใหญ่และมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำ มีความร่มรื่นของพันธุ์ไม้นานาชนิด มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่น

นอกจากการเที่ยวน้ำตกผาตาดแล้ว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ศร.4 (ผาตาด) ยังมีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเขาและน้ำตก มีห้องน้ำ-ห้องสุขา ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่นิยมการพักแรมกางเต็นท์ และการเดินป่าระยะไกล

จากภาพ : น้ำตกผาตาด ถ่ายเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2547
ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มีปริมาณน้ำไหลน้อย

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   แค้มป์ปิ้ง   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกผาสวรรค์  เป็น น้ำตกที่มีขนาดใหญ่สวยงาม มีความสูงประมาณ 80 เมตร ไหลลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น ช่วงเวลาที่สวยงามที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม - มกราคม น้ำตกอยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 155 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ บริเวณกิโลเมตรที่ 108 เข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาบริเวณทางแยกดินลูกรังอีก 13 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น  อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 100 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากลำห้วยแม่ขมิ้นที่ไหลผ่านเทือกเขาหินปูนลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามทั้งหมด 7 ชั้น คล้ายกับน้ำตกเอราวัณ แต่ละชั้นมีชื่อเรียกเรียงลำดับจากชั้นที่ 1 - 7 ดังนี้ คือ ดงว่าน ม่านขมิ้น วังหน้าผา ฉัตรแก้ว ไหลจนหลง ดงผีเสื้อ และร่มเกล้า ระยะทางรวม 2,270 เมตร นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติของป่าเบญจพรรณและป่า เต็งรัง โดยจะผ่านจุดชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   แค้มป์ปิ้ง  

พุน้ำร้อนห้วยแม่ขมิ้น  เป็นที่นิยมลงอาบกันของนักท่องเที่ยว การคมนาคมสะดวกอยู่ติดเส้นทางรถยนต์

กิจกรรม : อาบน้ำแร่  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ กลุ่มที่ 3 เป็นเรือนแพอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และอยู่ไม่ไกลจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น สามารถเดินไปเที่ยวน้ำตกได้ โดยเริ่มจากชั้นที่ 1


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ บริเวณน้ำตกผาตาด เขตอำเภอทองผาภูมิ ทางเข้าบริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 เข้าทางแยกบ้านหินดาด


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ กลุ่มที่ 1 อยู่ใกล้เคียงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ชั้นที่ 4 โดยบ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 101 (หลงพนา) จะอยู่ใกล้น้ำตกมากที่สุด สำหรับบ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 102 (กลางดง) และบ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 103 (อุษาสวาท) จะอยู่ใกล้กันและห่างจากน้ำตกไม่มากนัก


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ กลุ่มที่ 2 อยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และอยู่ไม่ไกลจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ชั้นที่ 4 มีบ้านพักให้บริการ 3 หลังๆ ละ 4 ห้องๆ ละ 3 คน คือ บ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 104 บ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 105 และบ้านเขื่อนศรีนครินทร์ 106 ทั้ง 3 หลัง มีทางเดินเชื่อต่อถึงกัน


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ศร.4 (ผาตาด) ใกล้น้ำตกผาตาด การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ใกล้น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ชั้นที่ 4 การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ    มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ที่จอดรถ    มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


ระบบสาธารณูปโภค    ระบบ ไฟฟ้า ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำตก (น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น บริเวณชั้นที่ 1) และในช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนมาก จะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าปั่นไฟฟ้าเข้าระบบจ่ายไฟด้วย

 


 
 
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
ตู้ ปณ.1  อ. ศรีสวัสดิ์  จ. กาญจนบุรี   71250
โทรศัพท์ 0 3454 7018 (VoIP), 0 3451 6667   โทรสาร 0 3451 6667   อีเมล huaymaekhamin@yahoo.co.th

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์