ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
 
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
 

ลักษณะภูมิประเทศ

 

สภาพ ทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งสูงโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูง โคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก อยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบรรจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำลำตะคองและแม่น้ำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำ โขง ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปีและให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

ด้วย สภาพป่าที่รกทึบและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไป จัดอยู่ในประเภทเย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำในลำธารและนำอาหารไปรับประทาน ไม้ป่ามีดอกหลากสีบานสะพรั่งบ้างออกผลตามฤดูกาล

ฤดูฝน เป็นช่วงหนึ่งของปีที่สภาพบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้ทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน แม้การเดินทางจะลำบากกว่าปกติแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ลดน้อยลงเลย

ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอยเอื่อยไปตามทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน แต่รุ่งเช้าของวันใหม่จะพบกับธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างไปจากเมื่อวานอีกแบบ หนึ่ง
 

   

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แบ่งออกๆได้เป็น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ป่าเบญจพรรณแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง นนทรี ซ้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟลุกลามเสมอ และตามพื้นป่าจะมีหินปูนผุดขึ้นอยู่ทั่วๆ ไป

ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะป่าชนิดนี้มีอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ซาก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบากลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่า และเตย เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง เพียงแต่ว่าไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก โดยเฉพาะพื้นที่ถูกรบกวนจะพบ ชมพูป่าและกระทุ่มน้ำขึ้นอยู่ทั่วไป พรรณไม้ผลัดใบ เช่น ปออีเก้ง สมพง และกว้าว แทบจะไม่พบเลย บริเวณริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ คือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบชื้นบนที่สูงขึ้นไปจะมียางปายและยางควน นอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่นๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดง และทะโล้ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน

ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เลย พรรณไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่างๆ ที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและก่อต่างๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดล้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำลังกาสาตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน

ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต ก่อนมีการจัดตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎรอาศัยอยู่และได้ แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยพราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยทิ้ง ต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาเสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขม หญ้าพง หญ้าขนตาช้างเลา และตองกง และยังมีกูดชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โขนใหญ่ กูดปี้ด โขนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง

เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้าหรือป่าเหล่านี้จึงไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าเลย ดังนั้น จึงมีพันธุ์ไม้เบิกนำจำนวนไม่น้อย แพร่พันธุ์กระจัดกระจายทั่วไป เช่น สอยดาว บรมือ ลำพูป่า เลี่ยน ปอหู ตลงแตบ ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าบางแห่งได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าละเมาะบ้างแล้ว

อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไปตามถนน จะสามารถเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน ลูกช้างเล็กๆ ซนและน่ารักมาก บริเวณตั้งแต่ที่ชมวิวกิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไป แล้ว สามารถเห็นโขลงช้างได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืนจากการศึกษาตามโครงการการอนุรักษ์ช้างป่า และการจัดการพื้นที่ป้องกัน (ELEPHANT CONSERVATION AND PROTECTED AREA MANAGMENT) โดย MR. ROBERT J. DOBIAS ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ IUCN ในปี พ.ศ.2527-2528 พบว่า มีจำนวนประมาณ 250 เชือก

สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บ่อยๆ และตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้าทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่างๆ จำนวน 250 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 340 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัยอย่าง ถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นกเงือกทั้ง 4 ชนิด ซึ่งได้แก่ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก และนกเงือกสีน้ำตาล ที่พบบนเขาใหญ่นับว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักดูนกเป็นอย่างดี เพราะพบเห็นได้ทั่วไป พวกแมลงที่มีมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อยได้แก่ ผีเสื้อ มีรายงานพบกว่า 216 ชนิด


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ตู้ ปณ.9 อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา  30130
โทรศัพท์ : 08 6092 6529, 0 3735 6033, 0 4424 9305   โทรสาร : 0 3735 6037
ผู้บริหาร : มาโนช การพนักงาน   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ
 
รถยนต์

การ เดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับว่าสะดวกสบาย เพราะมีระบบการคมนาคมอย่างดี ติดต่อกับชุมชมอื่นๆ อย่างทั่วถึง แต่เมื่อเดินทางถึงทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เส้นทางจะมีความลาดชัน บางช่วงโค้งหักศอก ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามป้ายจราจรอย่างเคร่งครัด ท่านสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ อาจใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเศษ หรือน้อยกว่า โดยเริ่มจาก

• ถนนพหลโยธินผ่านรังสิตถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพผ่านมวกเหล็กและเลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งตรงทางแยก ก่อนถึงอำเภอปากช่องตรงกิโลเมตรที่ 58 เข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2090 (ถนนธนะรัชต์) ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจ จากนั้นเส้นทางจะไต่ขึ้นเขาไปอีก 14 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 200 กิโลเมตร

• ถนนพหลโยธินผ่านรังสิต ผ่านหนองแค เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ผ่านตัวเมืองนครนายกถึงสี่แยกเนินหอม หรือวงเวียนนเรศวร ก่อนเข้าตัวเมืองปราจีนบุรีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3077 (ถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่) ถึงด่านตรวจเนินหอม ถนนเริ่มเข้าสู่ป่าและไต่ขึ้นที่สูง รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร

• ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 มุ่งสู่ตัวเมืองนครนายก แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ถึงสี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร

หมายเหตุ ด่านตรวจทั้งสองด้านของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะเปิดเวลา 6.00 น. และจะปิดเวลา 21.00 น.

 

 
รถโดยสารประจำทาง

จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถประจำทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพ - ราชสีมา ลงที่อำเภอปากช่อง จะมีรถโดยสารประจำทางจากปากช่องมาถึงที่ด่านตรวจเก็บค่าธรรมเนียม เที่ยวแรกจากปากช่อง เวลา 06.00 น. และเที่ยวสุดท้าย เวลา 17.20 น. ซึ่งรถโดยสารประจำทางจะออกรถ ทุกครึ่งชั่วโมง หรืออาจจะจ้างเหมารถบรรทุกเล็กรับจ้างขึ้นเขาใหญ่ก็ได้

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. เขาใหญ่ 101 (กองแก้ว 6) 3 3 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. เขาใหญ่ 102 (กองแก้ว 5) 3 3 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 3. เขาใหญ่ 105 (กองแก้ว 2) 3 3 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 4. เขาใหญ่ 106 (กองแก้ว 1) 3 3 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 5. เขาใหญ่ 107 (ชัยพฤกษ์) 6 10 28 9,000  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 6. เขาใหญ่ 109 (พนาสันต์) 5 6 20 7,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 7. เขาใหญ่ 911 (ค่ายเยาวชน) 4 0 35 1,750  ไม่มีเครื่องนอน, ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 1 8. เขาใหญ่ 912 (ค่ายเยาวชน) 4 0 50 2,500  ไม่มีเครื่องนอน, ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 2 9. เขาใหญ่ 201 (อรพิม 3) 2 2 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), โทรทัศน์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 10. เขาใหญ่ 202 (อรพิม 2) 2 2 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 11. เขาใหญ่ 203 (อรพิม 1) 3 3 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 12. เขาใหญ่ 204 (ทิวทัศน์ 1) 2 2 6 2,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 13. เขาใหญ่ 205 (ทิวทัศน์ 2) 2 2 6 2,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 14. เขาใหญ่ 206 (ทิวทัศน์ 3) 2 2 6 2,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 15. เขาใหญ่ 301/ 1 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 16. เขาใหญ่ 301/ 2 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 17. เขาใหญ่ 301/ 3 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 18. เขาใหญ่ 301/ 4 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 19. เขาใหญ่ 301/ 5 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 20. เขาใหญ่ 301/ 6 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 21. เขาใหญ่ 301/ 7 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 22. เขาใหญ่ 301/ 8 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 23. เขาใหญ่ 301/ 9 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 24. เขาใหญ่ 301/10 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 25. เขาใหญ่ 302/ 1 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 26. เขาใหญ่ 302/ 2 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 27. เขาใหญ่ 302/ 3 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 28. เขาใหญ่ 302/ 4 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 29. เขาใหญ่ 302/ 5 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 30. เขาใหญ่ 302/ 6 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 31. เขาใหญ่ 302/ 7 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 32. เขาใหญ่ 302/ 8 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 33. เขาใหญ่ 302/ 9 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 34. เขาใหญ่ 302/10 (ค่ายพักแรม) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 35. เขาใหญ่ 931/1 (ค่ายเยาวชน) 1 0 36 3,600  เครื่องนอน (เตียง 2 ชั้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 36. เขาใหญ่ 931/2 (ค่ายเยาวชน) 1 0 36 3,600  เครื่องนอน (เตียง 2 ชั้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 37. เขาใหญ่ 932/1 (ค่ายเยาวชน) 1 0 36 3,600  เครื่องนอน (เตียง 2 ชั้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 38. เขาใหญ่ 932/2 (ค่ายเยาวชน) 1 0 36 3,600  เครื่องนอน (เตียง 2 ชั้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 39. เขาใหญ่ 933/1 (ค่ายเยาวชน) 1 0 36 3,600  เครื่องนอน (เตียง 2 ชั้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 40. เขาใหญ่ 933/2 (ค่ายเยาวชน) 1 0 36 3,600  เครื่องนอน (เตียง 2 ชั้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 4 41. เขาใหญ่ 401 (สำนักนายก 1) 2 2 4 3,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 42. เขาใหญ่ 402 (สำนักนายก 2) 2 2 4 3,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 43. เขาใหญ่ 403 (สำนักนายก 3) 2 2 4 3,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 44. เขาใหญ่ 404 (สำนักนายก 4) 2 2 4 3,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 45. เขาใหญ่ 405/1 (รัฐมนตรี 1/1) 3 3 6 3,500  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 46. เขาใหญ่ 405/2 (รัฐมนตรี 1/2) 3 3 6 3,500  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 47. เขาใหญ่ 407/1 (ผู้ติดตาม 1) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 48. เขาใหญ่ 407/2 (ผู้ติดตาม 2) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 49. เขาใหญ่ 407/3 (ผู้ติดตาม 3) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 50. เขาใหญ่ 407/4 (ผู้ติดตาม 4) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 51. เขาใหญ่ 407/5 (ผู้ติดตาม 5) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 4 52. เขาใหญ่ 407/6 (ผู้ติดตาม 6) 1 0 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 4 53. เขาใหญ่ 407/7 (ผู้ติดตาม 7) 1 0 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 4 54. เขาใหญ่ 407/8 (ผู้ติดตาม 8) 1 0 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 4 55. เขาใหญ่ 407/9 (ผู้ติดตาม 9) 1 0 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 เขาใหญ่ 101-106 บ้านพักเดี่ยว โซนกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 1 เขาใหญ่ 107-109 บ้านพักเดี่ยว โซนกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 1 เขาใหญ่ 911-912 ค่ายเยาวชน (ค่ายบุญส่ง) โซนกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 2 เขาใหญ่ 201-203 บ้านพักเดี่ยว โซนทิวทัศน์ อยู่บนเนินเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2 กิโลเมตร
โซนที่ 2 เขาใหญ่ 204-206 บ้านพักเดี่ยว โซนทิวทัศน์ อยู่บนเนินเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2 กิโลเมตร
โซนที่ 3 เขาใหญ่ 301/1-5 บ้านพักเรือนแถว (บ้านเยาวชน) โซนค่ายสุรัสวดี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร
โซนที่ 3 เขาใหญ่ 301/6-10 บ้านพักเรือนแถว (บ้านเยาวชน) โซนค่ายสุรัสวดี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร
โซนที่ 3 เขาใหญ่ 302/1-5 บ้านพักเรือนแถว (บ้านเยาวชน) โซนค่ายสุรัสวดี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร
โซนที่ 3 เขาใหญ่ 302/6-10 บ้านพักเรือนแถว (บ้านเยาวชน) โซนค่ายสุรัสวดี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร
โซนที่ 3 เขาใหญ่ 931-933 ค่ายเยาวชน (ค่ายสุรัสวดี) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร
โซนที่ 4 เขาใหญ่ 401-404 บ้านพักเดี่ยว โซนบ้านธนะรัตน์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร
โซนที่ 4 เขาใหญ่ 405-406 บ้านพักเดี่ยว โซนบ้านธนะรัตน์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร
โซนที่ 4 เขาใหญ่ 407/1-5 บ้านพักเรือนแถว โซนบ้านธนะรัตน์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร
โซนที่ 4 เขาใหญ่ 407/6-9 บ้านพักเรือนแถว โซนบ้านธนะรัตน์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. เขาใหญ่ 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 100 1,000  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. เขาใหญ่ 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 100 1,000  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. เขาใหญ่ 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 100 1,000  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 3 4. เขาใหญ่ 031 - ห้องประชุม 2 (13.00 - 16.00 น.) 60 600  ห้องพัดลม ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 3 5. เขาใหญ่ 031 - ห้องประชุม 2 (18.00 - 21.00 น.) 60 600  ห้องพัดลม ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 3 6. เขาใหญ่ 031 - ห้องประชุม 2 (09.00 - 12.00 น.) 60 600  ห้องพัดลม ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 เขาใหญ่ 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 3 เขาใหญ่ 031 - ห้องประชุม 2 ห้องประชุม โซนค่ายสุรัสวดี อยู่บริเวณอาคารค่ายเขาใหญ่ 932

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

เมื่อ เดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูล ชมนิทรรศการ และขอเอกสารได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญนั้นก็คือ น้ำตกที่สวยงาม มีน้ำตกน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งสำรวจพบและทำเส้นทางเดินเท้าไปถึงแล้วประมาณ 30 แห่ง ที่มีความสวยงามแตกต่างกันไปตามสภาพธรรมชาติของภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

 
ด้านประวัติศาสตร์

ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่  สร้าง ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 24 ถนนธนะรัชต์ เส้นทางขึ้นเขาใหญ่ด้านอำเภอปากช่อง นักท่องเที่ยวที่ผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ และประชาชนทั่วไปมักแวะไปกราบไหว้ขอโชคลาภและขอพรอยู่เสมอ

กิจกรรม : ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

จุดชมทิวทัศน์ กม.30  กิโลเมตรที่ 30 ถนนธนะรัชต์ สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้างและสวยงาม

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย)  จุด ชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชม มีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาวและทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัด ปราจีนบุรี ตอนเช้าตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่ สวยงาม

เส้นทางถึงยอดเขาเขียวมีระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 9 มีเส้นทางลงสู่จุดชมทิวทัศน์ผาเดียวดาย ผ่านป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นและอากาศเย็นตลอดปี ตามต้นไม้และโขดหินมีมอสและตะไคร่ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป บริเวณนี้จะพบนกบนที่สูงหลายชนิด เช่น นกปรอดดำ นกเปล้าหางพลั่ว นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เป็นต้น

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์   ดูนก  

น้ำตกกองแก้ว  เป็น น้ำตกเตี้ยๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนลำห้วยถึง 2 สะพาน ห้วยลำตะคอง เป็นแนวแบ่งเขต 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 100 เมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกแก่งกฤษณา น้ำตกเหวจั๊กจั่น  เป็นน้ำตกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีความงดงามไม่แพ้แห่งอื่นๆ เหมาะสำหรับการพักแรมในป่า และชมทิวทัศน์ธรรมชาติรอบกายอย่างเพลิดเพลินใจ

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกตะคร้อ น้ำตกสลัดได และ น้ำตกส้มป่อย  เป็น น้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ขญ.10 (ประจันตคาม) เหมาะสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ ทุกวันจะมีนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นและใกล้เคียงไปเที่ยวชมและเล่นน้ำตกนี้ โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวจากถิ่นอื่นไปเที่ยวชมมากเช่น กัน

จากภาพ : น้ำตกส้มป่อย

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกตาดตาคง  เป็น น้ำตกที่งดงามและสูงอีกแห่งหนึ่ง ที่อยู่ถัดไปจากน้ำตกตาดตาภู่ประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ การเดินทางจะเริ่มต้นที่ด้านหลังของโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ (เดิม) ก็ได้ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หรือจะเริ่มที่ กม. 5.5 ถนนเขาใหญ่-ปราจีนบุรีก็ได้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกตาดตาภู่  น้ำตก นี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เกิดจากห้วยระย้าเป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นโขดหินและลาดหินที่มีน้ำไหลหลั่น เป็นทอดลาดเอียงไปข้างล่างประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักค้างแรมในป่า ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้ๆ น้ำตกจะมีทุ่งหญ้าสลับกับป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ สัตว์ป่านานาชนิด ที่เห็นประจำ ได้แก่ เก้ง กวาง ช้างป่า กระทิง นกนานาชนิด เป็นต้น

กิจกรรม : ส่องสัตว์   เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกตาดมะนาว  เป็น น้ำตกขนาดเล็กๆ ที่สวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เดินไปตามเส้นทางเดินเท้าออกจากด้านหลังโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ (เดิม) ประมาณ 5-6 กิโลเมตร จะผ่านป่าดงดิบชื้นที่มีพันธุ์ไม้เล็กใหญ่และไม้สมุนไพรที่น่าสนใจศึกษา

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้  

น้ำตกธารทิพย์  เป็น น้ำตกเล็กๆ ไหลมาตามลานหินกว้างเป็นทางยาว จากนั้นสายน้ำจะไหลผ่านช่องเขาแคบที่ขนาบข้างก่อนตกลงเป็นน้ำตกสูง 5 เมตร จากน้ำตกธารทิพย์มีทางเดินป่าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงน้ำตกเหวอีอ่ำ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง มีความสูงประมาณ 25 เมตร ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 10 (ประจันตคาม)

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกนางรอง  อยู่ ถัดจากทางแยกเข้าน้ำตกสาริกาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3049 จนถึงทางเข้าน้ำตก แล้วเดินเลียบห้วยนางรองไปอีก 250 เมตร จะมีสะพานข้ามห้วยไปถึงน้ำตก ซึ่งไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นทางยาวประมาณ 100 เมตร น้ำตกนางรองแต่ละชั้นไม่สูงมากนัก แต่กระแสน้ำไหลแรง

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกผากระจาย น้ำตกผาหินขวาง น้ำตกผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก  น้ำตก กลุ่มนี้เป็นน้ำตกขนาดไม่เล็กมากนัก เกิดบนห้วยน้ำซับลักษณะของน้ำตกเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงไป 5 ชั้น จากปากทางเข้าบนถนนสายเขาใหญ่-ปราจีนบุรี ช่วงระหว่าง กม. 6.5-7 จะมีทางเดินเท้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดทำเอาไว้ เดินเข้าไปเพียง 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกแห่งแรก คือ น้ำตกผากระจายและเดินต่อไปอีกจะถึงน้ำตกผาหินขวาง น้ำตกผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก รวมระยะทางในการเดินเท้าทั้งสิ้นประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกผากล้วยไม้  เป็น น้ำตกขนาดกลางที่อยู่ในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า ทางเดินเริ่มจากจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้ไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร โดยเดินเลียบไปตามห้วยลำตะคองที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่ร่มครึ้ม มีโอกาสพบนกหลายชนิด เช่น นกกางเขนน้ำหลังเทา นกกะรางคอดำ นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ ฯลฯ น้ำตกผากล้วยไม้มีลักษณะเป็นหน้าผาลดหลั่นกันลงมา สูงประมาณ 10 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำ ตามหน้าผาและคบไม้บริเวณน้ำตกพบกล้วยไม้นานาชนิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก กล้วยไม้ที่โดดเด่นที่สุด คือ หวายแดง ที่จะออกดอกสีแดงเป็นช่อยาวในช่วงหน้าร้อน

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   แค้มป์ปิ้ง  

น้ำตกผาไทรคู่ น้ำตกผากระชาย น้ำตกผาด่านช้าง และน้ำตกผามะนาวยักษ์  เป็น น้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากห้วยโกรกเด้ ลักษณะไหลลาดไปตามผาหินที่สูงชัน เหมาะสำหรับผู้ชอบผจญภัยค้างแรมในป่า อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 3 (ตะเคียนงาม) ประมาณ 5 กิโลเมตร

จากภาพ : น้ำตกผามะนาวยักษ์

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   แค้มป์ปิ้ง  

น้ำตกไม้ปล้อง  เป็น น้ำตกที่มีทั้งหมด 5 ชั้น ไหลลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุดไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวนรกหรือเหวสุวัต จะพบความความงามตลอดเส้นทางเดินเท้า ประกอบด้วยโขดหินเล็กใหญ่และลำธารที่สวยงาม การเดินทางไปยังน้ำตกแห่งนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ โดยการเดินเท้าตามเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.13 (นางรอง)

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกวังเหว  เป็น น้ำตกขนาดใหญ่มีความกว้างประมาณ 40-60 เมตร ในฤดูฝนมีน้ำมากและไหลแรง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 9 (ใสใหญ่) ประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ใจกลางป่าทางด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การเดินทางจะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 วัน เหมาะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัยไปพักค้างแรมในป่าเป็นอย่างยิ่ง ตลอดเวลาการเดินทางจะพบกับพันธุ์ไม้นานาชนิด และแก่งหินที่สวยงามตามธรรมชาติ นับเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกสาริกา  น้ำตก สาริกา ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอดๆ ถึง 9 ชั้น ผาที่สูงที่สุดประมาณ 100 เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำขนาดย่อม เหมาะแก่การลงเล่นน้ำ บริเวณน้ำตกชั้นล่างมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ และมีทางเดินต่อไปตามธารน้ำที่ไหลตกลงมาเป็นชั้นๆ จนไปถึงแอ่งน้ำกว้างและโขดหินก้อนใหญ่ มองขึ้นไปจะเห็นน้ำตกสาริกาชั้นสูงที่สุด น้ำตกสาริกามีน้ำไหลเกือบตลอดปี และในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมาก

น้ำตกสาริกาอยู่ห่างจากตัวเมืองนครนายกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3049 เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3050 อีก 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย จากตัวเมืองนครนายกมีรถโดยสารสายนครนายก - สาริกา วิ่งวันละหลายเที่ยว หากขับรถมาเองจะมีป้ายบอกตลอดทาง

จากภาพถ่ายเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2549

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกเหวไทร  เป็น น้ำตกอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ทางใต้ถัดไปจากน้ำตกเหวสุวัต ห่างจากน้ำตกเหวสุวัตทางประมาณ 700 เมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างเต็มลำห้วย สูงประมาณ 5 เมตร ในฤดูฝนน้ำตกนี้จะไหลแรงเต็มหน้าผาสวยงามน่าชมมาก การเดินทางไปน้ำตกเหวไทรไปได้ 2 เส้นทาง คือ เดินเท้าต่อไปจากเหวสุวัตระยะทางประมาณ 700 เมตร หรือจะเดินจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ไปตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัตก็ได้ ระยะทางประมาณ 8.3 กม. ตามสองข้างทางเดินที่ผ่านไปจะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สมุนไพร และเห็ดป่า เป็นต้น

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้  

น้ำตกเหวนรก  เป็น น้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุด อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร เป็นสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง ในฤดูฝนน้ำจะไหลแรงมากจนดูน่ากลัว

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกเหวประทุน  เป็น น้ำตกที่อยู่ในห้วยลำตะคองอีกแห่งเหมือนกัน อยู่ถัดจากน้ำตกเหวไทรประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ สามารถเดินทางจากน้ำตกเหวสุวัตไปก็ได้ หรือจะเดินจากบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ไปก็ได้ เดินตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัต ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางสามารถพนร่องรอยของสัตว์ป่าได้ง่าย เช่น รอยหมูป่า ด่านช้าง น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผา กว้างและสูงสวยงามมาก

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกเหวสุวัต  เป็น น้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วๆ ไป น้ำตกเหวสุวัตนี้อยู่สุดถนนธนะรัชต์ หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและลำธารเหมาะที่จะลงเล่นน้ำ แต่สำหรับฤดูฝนน้ำจะมากและไหลแรงน้ำค่อนข้างเย็นจัด

จากภาพ : ถ่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

ส่องสัตว์  เป็น กิจกรรมที่ใช้ไฟส่องสัตว์ในเวลากลางคืนไปตามถนนสองข้างทาง จะพบสัตว์ที่เลี่ยงหากินกลางวันมาหากินกลางคืน เช่น เม่น ชะมด นกฮูก บ่าง หมีขอ ฯลฯ สามารถติดต่อขออนุญาตได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 20.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ค่าบริการส่องสัตว์ราคา 50.-บาท/คน

กิจกรรม : ส่องสัตว์  

หอดูสัตว์  เป็นสถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการซุ่มดูสัตว์ป่า ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้บริการได้ดังนี้

• โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
หอดูสัตว์หนองผักชี อยู่บริเวณหนองผักชี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่ารอบๆ หนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 35 - 36 ถนนธนะรัชต์ เดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

หอดูสัตว์มอสิงโต อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำมอสิงโต รอบๆ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าโล่งที่เหมาะสำหรับซุ่มดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 500 เมตร

• โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง)
หอดูสัตว์เขากำแพง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทุ่งหญ้าติดชายป่าเชิงเขากำแพง มีทิวทัศน์สวยงามมาก ในเวลาเย็นจะมีฝูงกระทิงออกหากินบริเวณใกล้ๆ สามารถชมจากหอดูสัตว์นี้ได้ชัดเจน

กิจกรรม : ส่องสัตว์  

ด้านท่องเที่ยวผจญภัย

แก่งหินเพิง  แก่ง หินเพิง เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำใสใหญ่ในเขต อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี แก่งหินเพิงจะสวยงามมากที่สุดในยามน้ำหลาก ราวเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน ฤดูฝนจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวแก่งหินเพิง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเล่นน้ำตามแก่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ชื่นชอบความตื่นเต้นเร้าใจ ยังนิยมนำการล่องแก่งแพยางจากแก่งหินเพิงลงมายังหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ขญ.9 อีกด้วย

การเดินทางไปแก่งหินเพิง เริ่มจากตัวเมืองปราจีนบุรีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3452 (ปราจีนบุรี–ประจันตคาม) ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จะมาตัดกับทางหลวงหมายเลข 33 แล้วเลี้ยวขวาตรงไปทางอำเภอกบินทร์บุรี ก่อนถึงอำเภอกบินทร์บุรีจะมีทางสามแยก ให้ตรงไปอีกเล็กน้อยจะเห็นโรงเรียนวัดสระดู่ มีถนนเล็กๆ ติดกับโรงเรียน เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 200 เมตร จะมีป้ายบอกตลอดเส้นทาง

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับแก่งหินเพิงเพิ่มเติม โทร 08 1003 4432 (หมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง)

จากภาพ : เป็นภาพนักท่องเที่ยวล่องแก่งหินเพิง ปลายเดือนกรกฎาคม 2549

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ล่องแก่ง  

เส้นทางเดินป่าประเภทท่องไพร  เส้น ทางเดินป่าระยะไกล เป็นเส้นทางที่ต้องมีการพักแรมในป่า โดยมากเป็นเส้นทางที่อยู่รอบอุทยานแห่งชาติ ใช้เวลาค้างคืน ผู้สนใจสามารถติดต่อเดินป่าได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติใกล้เคียงและ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เช่น

เส้นทางเขาสมอปูน ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูง 805 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนสันเขาเป็นที่ราบสลับกับป่าโปร่ง ช่วงปลายฝนต้นหนาว ราวเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ดอกไม้ป่า เช่น หงอนไก่ กระดุมเงิน หญ้าข้าวก่ำ จะพร้อมใจกันบานอวดดอกสวยสะพรั่ง เริ่มต้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.12 (เนินหอม) เดินไต่ระดับความสูงแล้วลัดเลาไปตามหน้าผา ผ่านลานสุริยัน ทุ่งพรหมจรรย์ น้ำตกหินดาด น้ำตกบังเอิญ น้ำตกเหวอีอ่ำ และสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม) ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน 3 คืน เส้นทางเขาสมอปูน มีกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปีระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน ของทุกปี

เส้นทางคลองปลากั้ง-น้ำตกวังเหว-รอยเท้าไดโนเสาร์-แก่งหินเพิง เริ่มต้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ไต่ระดับความสูงขึ้นสันกำแพง จะพบพื้นที่ราบบนหลังแปที่มีทุ่งหญ้าขนาดใหญ่แซมด้วยดอกไม้ป่า กล้วยไม้ป่า ต่อจากนี้ก็จะพบน้ำตกวังเหว ไปตามลำธารประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อที่ชัดเจนบนโขดหินริมธาร ผ่านป่าดงดิบลัดเลาไปตามสันเขาไปข้ามลำน้ำที่แก่งกลีบสมุทร วันสุดท้ายออกจากป่าดงดิบถึงแก่งหินเพิง ซึ่งสามารถล่องแก่งในระยะ 3 กิโลเมตร มาขึ้นฝั่งที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 9 (ใสใหญ่) ใช้เวลา 4 วัน 3 คืน

เส้นทางคลองสะท้อน-แก่งยาว ระยะทาง 15 กิโลเมตร สามารถใช้เวลาแบบเดินทางแบบเช้าไป-เย็นกลับ หรือพักแรม 1 คืนก็ได้

เส้นทางโป่งตาลอง-น้ำตกผาด่านช้าง-น้ำตกผามะนาวยักษ์-น้ำตกไทรคู่-น้ำตกผากระชาย ระยะทาง 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน

เส้นทางกลุ่มน้ำตกในตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลที่น่าสนใจ คือ เส้นทางน้ำตกนางรอง-ศูนย์ฝึกอบรมการป่าไม้เขาใหญ่ เส้นทางบ้านคลองเดื่อ-เขาแหลม-เหวสุวัต และเส้นทางซับใต้-เหวกระถิน-เขาสามยอด

กิจกรรม : เดินป่าระยะไกล  

ด้านศึกษาธรรมชาติ

เส้นทางดูนก  อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่พบนกมากกว่า 340 ชนิด ทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น เขาใหญ่เป็นแหล่งดูนกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เส้นทางดูนกจะอยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่-ค่ายพักกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่-มอสิงโต สองข้างทางถนน บริเวณสนามกอล์ฟ (เดิม) ผากล้วยไม้-เหวสุวัต ด่านช้าง-บึงไผ่ และเขาเขียว

กิจกรรม : ดูนก  

เส้นทางเดินป่าประเภทไม่พักแรม  การเดินป่าศึกษาธรรมชาติในเส้นทางเดินป่าประเภทไม่พักแรมนี้ ผู้ที่สนใจต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไป ดังนี้

เส้นทางดงติ้ว-มอสิงโต ระยะทาง 2 กิโลเมตร ผ่านป่าดงดิบเลียบริมห้วย มีไม้ใหญ่ที่เป็นจุดเด่น คือ ต้นสมพงขนาดยักษ์ มีพูพอนสูงท่วมหัวคน

เส้นทางสายดงติ้ว-หนองผักชี ระยะทาง 4 กิโลเมตร ทางช่วงแรกใช้ทางเดียวกับเส้นมอสิงโต จากนั้นจะผ่านป่าดงดิบที่มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ จนไปถึงหอดูสัตว์หนองผักชี

เส้นผากล้วยไม้-เหวสุวัต ระยะทาง 3 กิโลเมตร ทางเลียบริมห้วย ริมทางมีเห็ดมากมายหลายชนิด อาจได้พบสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ริมน้ำ เช่น ตะกอง นาก

เส้นทาง กม.33-หนองผักชี ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ทางผ่านป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่หลายคนโอบ เช่น ไทร หว้า กะเพราต้น เถาวัลย์มากมายหลายชนิด

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินป่าที่น่าสนใจ คือ เส้นทางวังจำปี-หนองผักชี และเส้นทางกองแก้ว-เหวสุวัต

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เดินป่าระยะไกล  

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ  เส้นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว-น้ำตกกองแก้ว ระยะทางประมาณ 1,200 เมตร เส้นทางนี้จะปูด้วยอิฐตัวหนอน มีป้ายสื่อความหมายตลอดเส้นทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี บ้านพักให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (โซนที่ 1) มีบ้านพักให้บริการ จำนวน 9 หลัง


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี บ้านพักให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนธนะรัตน์ (โซนที่ 4) อยู่บนเนินเขา มีบ้านพักให้บริการ 7 หลัง แยกให้บริการสำรองที่พักเป็นหลัง จำนวน 4 หลัง และสำรองที่พักเป็นห้อง จำนวน 3 หลัง


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนทิวทัศน์ (โซนที่ 2) อยู่บนเนินเขา มีบ้านพักให้บริการ 6 หลัง


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 600 คน การสำรองพื้นที่กางเต็นท์ หรือเต็นท์สามารถจองด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ของกรม


ลานกางเต็นท์    บริเวณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) มีสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ลานกางเต็นท์    ลาน กางเต็นท์ผากล้วยไม้ เป็นลานกางเต็นท์แห่งแรกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 800 คน การสำรองพื้นที่กางเต็นท์ หรือเต็นท์สามารถจองด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ของกรม


ค่ายเยาวชน    มี ค่ายเยาวชนให้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (โซนที่ 1) จำนวน 2 หลัง รองรับเยาวชนได้ 85 คน ค่ายทั้ง 2 หลังนี้ ไม่มีเครื่องนอน ผู้ใช้บริการต้องนำเครื่องนอนมาเอง


ค่ายเยาวชน    มี ค่ายเยาวชนให้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนค่ายสุรัสวดี (โซนที่ 3) จำนวน 3 หลัง รองรับเยาวชนได้ 216 คน และค่ายพักสำหรับผู้ดูแลเยาวชน จำนวน 2 หลังๆ ละ 10 ห้องๆ พักได้ห้องละ 2 คน รวมผู้ดูและพักได้ 40 คน


หอส่องสัตว์    เป็น สถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการซุ่มดูสัตว์ป่า ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
• หอดูสัตว์หนองผักชี อยู่บริเวณหนองผักชี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่ารอบๆ หนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณ กม. 35-36 ถนนธนะรัชต์ เดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

• หอดูสัตว์มอสิงโต อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำมอสิงโต รอบๆ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าโล่งที่เหมาะสำหรับซุ่มดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 500 เมตร

นอกจากนี้ในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ยังได้จัดให้มีหอดูสัตว์ชมกระทิง โดยอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทุ่งหญ้าติดชายป่า เชิงสันเขากำแพง มีทิวทัศน์สวยงามมาก ในเวลาเย็นจะมีฝูงกระทิงออกหากินบริเวณใกล้ๆ สามารถชมจากหอดูสัตว์นี้ได้ชัดเจน


บริการอาหาร    มี บริการร้านอาหาร เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศกุร์ และเวลา 07.00 - 21.00 น. ในวันเสาร์ - อาทิตย์ มีจำนวน 5 แห่ง คือ
- บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- บริเวณจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้
- บริเวณจุดกางเต็นท์ลำตะคลอง
- บริเวณน้ำตกเหวสุวัต
- บริเวณน้ำตกเหวนรก


ร้านขายเครื่องดื่ม    มีร้านขายเครื่องดื่ม / กาแฟ ไว้บริการนักท่องเที่ยว


ร้านขายของที่ระลึก    มีร้านขายของที่ระลึก


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    ศูนย์ บริการนักท่องเที่ยว อยู่ใกล้กับที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีขนาดใหญ่พอที่จะรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 150 คน บริเวณนี้มีห้องประชุมซึ่งสามารถบรรจุคนได้ถึง 100 คน ใช้สำหรับเป็นที่ประชุมบรรยาย ฉายสไลด์และภาพยนตร์


ระบบสาธารณูปโภค    สาธารณูปโภค มีถนนระบบสองทางเชื่อมโยงจากการบริการ ไปยังจุดท่องเที่ยวและนันทนาการต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ความยาวรวมกันกว่า 86 กิโลเมตร มีไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง


 
 
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ตู้ ปณ.9  อ. ปากช่อง  จ. นครราชสีมา   30130
โทรศัพท์ 08 6092 6529, 0 3735 6033, 0 4424 9305   โทรสาร 0 3735 6037   อีเมล khaoyai_np@hotmail.com

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์