ข้อมูลท่องเที่ยวกัมพูชา

[aec2 cid=”623″ h=”320px”]

ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองต่างๆในประเทศกัมพูชา


แผนที่ประเทศกัมพูชา


ราชอาณาจักรกัมพูชา
Kingdom of Cambodia

จองโรงแรมในประเทศกัมพูชา


อัตราแลกเปลี่ยนเงิน เรียล ของกัมพูชา (KHR: in Khmer Riel ) คำนวณด้านล่างนี้ครับ

 

DooAsia.com  Universal Currency Converter ®
แปลงเงินจำนวนนี้
สกุลเงินที่ต้องการแปลง
สกุลที่คุณต้องการ

ใส่จำนวนเงินใด ๆ
เลื่อนลงเพื่อดูสกุลเงินอื่น ๆ เลื่อนลงเพื่อดูสกุลเงินอื่น ๆ
Universal Currency Converter under license from XE.comTerms of Use

[aec2 cid=”622″ h=”320px”]

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

แผนที่

ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะภูมิประเทศ
• ที่ตั้ง กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
• ขนาด กว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
• แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ ได้แก่ (1) แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร (2) แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร (3) แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร (4) ทะเลสาบ (Tonle Sap) เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 3,000 ตารางกิโลเมตร
สภาพภูมิอากาศ ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36 องศาเซลเซียส
เมืองหลวง กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
เขตการปกครอง มี 4 กรุง ได้แก่ กรุงพนมเปญ กรุงไพลิน กรุงแกบ กรุงพระสีหนุ และ 20 จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงทม กัมปงสะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย เปรเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย
ประชากร 14.1 ล้านคน (ปี 2548) มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ประกอบด้วยชาวเขมร ร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2
ธงชาติ/เพลงชาติ เป็นธงที่เคยใช้ก่อนวันที่ 18 มีนาคม 2513 มีแถบสีน้ำเงิน – แดง – น้ำเงินตามแนวนอน โดยมีรูปปราสาทนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลางบนแถบสีแดง
เพลงชาติ เพลงนาคราช (Nokoreach)


ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
สภานิติบัญญัติ
• สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 123 คน มาจากการเลือกตั้งโดยระบบสัดส่วนตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
• วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก 61 คน มาจากการเลือกตั้ง (กษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 2 คน) ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547


การลงทุนในกัมพูชา ปี 2549 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชา (CIB) ได้อนุมัติโครงการจำนวน 99 โครงการ มีมูลค่าเงินทุน 207.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจีน ไต้หวัน และรัสเซียเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนสูงสุดในกัมพูชา (ตามลำดับ) และไทยเป็นนักลงทุนต่างชาติลำดับที่ 4 ที่เข้าไปลงทุนสูงสุดในกัมพูชา
การลงทุนของไทยในกัมพูชา ในปี 2549 การลงทุนของไทยในกัมพูชามีจำนวน 5 โครงการ มีมูลค่า 9,990,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม (โครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าที่ จังหวัดกัมปอต) ด้านสาธารณสุข (โครงการก่อสร้างโรงพยาบาล Angkor International เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ) และด้านการเกษตร (โครงการพื้นที่สัมปทานปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร จังหวัด
อุดรมีชัยของบริษัท Crystal Agro และบริษัท Real Green และโครงการพื้นที่สัมปทานปลูกอ้อยและโรงงานผลิตน้ำตาลในเขตจังหวัดเกาะกงของบริษัทน้ำตาลขอนแก่นและบริษัทราชาชูรส ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชาและไต้หวัน) นอกจากนั้น นักลงทุนไทยยังเข้าไปดำเนินธุรกิจในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ด้านบริการ (โรงแรม ท่องเที่ยว ร้านอาหาร) ด้านวัสดุก่อสร้าง (โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์) เป็นต้น

กัมพูชามีโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่ใกล้บริเวณชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อขยายการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลกัมพูชาได้เสนอสิทธิพิเศษด้านการลงทุนไว้มากมายไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษเรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้ การสนับสนุนเงินทุนจาก EXIM Bank และการพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าจากเมืองสีหนุวิลล์ไปยังเวียดนามต่อไป ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย แต่ด้วยข้อติดขัดเรื่องการขายไฟฟ้าให้แก่รัฐบาลกัมพูชาอันเนื่องมาจากปัญหาเรื่องเขตแดนทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยอยู่ในระหว่างการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างไทย – กัมพูชา ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และเพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการค้าและการขนถ่ายสินค้าตามแนวชายแดนจังหวัดสระแก้วอีกด้วย


ระบบคมนาคม 
• ทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ กรุงพนมเปญ – ศรีโสภณ และกรุงพนมเปญ – กัมปงโสม มีความยาวรวมทั้งสิ้น 702 กิโลเมตร ขณะนี้ รัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟช่วงศรีโสภณ – ปอยเปต ระยะทาง 48 ก.ม. เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ – คุนหมิง (Singapore – Kunming Railways Links)
• ทางรถยนต์ มีความยาวรวมกัน 14,790 กิโลเมตร แต่อยู่ในสภาพใช้การได้ดีเพียง 2,600 กิโลเมตร เส้นทางสำคัญ ได้แก่ (1) เส้นทางหมายเลข 1 กรุงพนมเปญ – บ๋าแว็ต (ชายแดนเวียดนาม) ระยะทาง 165 กิโลเมตร (ซึ่งต่อไปถึงนครโฮจิมินห์ของเวียดนามอีก 68 กิโลเมตร) (2) เส้นทางหมายเลข 4 กรุงพนมเปญ – กรุงพระ
สีหนุ (กัมปงโสม) ระยะทาง 246 กิโลเมตร (3) เส้นทางหมายเลข 5 กรุงพนมเปญ – ปอยเปต ระยะทาง 402 กิโลเมตร (4) เส้นทางหมายเลข 6 เสียมราฐ – ศรีโสภณ ระยะทาง 106 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีถนนอีก 2 สายที่ไทยให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งระหว่างไทยกับกัมพูชา ได้แก่ ถนนหมายเลข 67 (สะงำ – อันลองเวง – เสียมราฐ) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยกับภาคเหนือของกัมพูชาและจังหวัดเสียมราฐ และถนนหมายเลข 48 (เกาะกง – สแรอัมเบิล) เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างภาคตะวันออกของไทยกับภาคใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม
• ทางน้ำ มีท่าเรือระหว่างประเทศที่กรุงพนมเปญและกรุงพระสีหนุ (กัมปงโสม) และมี เส้นทางเดินเรือภายในประเทศตามลำแม่น้ำโขง แม่น้ำทะเลสาบ และแม่น้ำบาสัก
• ทางอากาศ มีท่าอากาศยานที่สำคัญ 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโปเชนตง กรุงพนมเปญ และท่าอากาศยานเมืองเสียมราฐ กับมีท่าอากาศยานสำรองเพื่อการขนส่งสินค้าที่จังหวัดกำปงชนัง และท่าอากาศยานขนาดเล็กที่กรุงพระสีหนุ
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต วันที่ 19 ธันวาคม 2493 (ค.ศ. 1950) เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญคนปัจจุบัน คือ นายวีรพันธุ์ วัชราทิตย์ ส่วนเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นายอึง เซียน (Ung Sean)
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ เลขที่ 196, Preah Norodom Boulevard, Sangkat Tonle Bassac, Khan Chamcar Mon, Phnom Penh หมายเลขโทรศัพท์ (855) 23 726 306 – 10 (สายอัตโนมัติ) หมายเลขโทรสาร (855) 23 726 303 E-mail : thaipnp@mfa.go.th Website : http://www.thaiembassy.org/phnompenh
สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย 518/4 ถนนประชาอุทิศ ซอยรามคำแหง 39 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม. 10310 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2957-5851, 0-2957-5852 หมายเลขโทรสาร
0-2957-5850 E-mail : recbkk@cscoms.com
วันชาติกัมพูชา 9 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1953

การเมืองการปกครอง


การเมืองการปกครอง
1. กัมพูชามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งนี้ นับจากการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2536 การเมืองของกัมพูชามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
2. ระบอบประชาธิปไตยของกัมพูชาในปัจจุบันมีความก้าวหน้าและหยั่งรากลึกลงในสังคมของกัมพูชาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ฝ่ายต่าง ๆ มีอิสระในการแสดงความเห็นและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น ประชาชนมีความกระตือรือร้นในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
3. รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ รวมถึงการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารราชการแผ่นดิน ระบบศาลยุติธรรมและกฎหมาย การทหาร เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐบาลมีประสิทธิภาพ สามารถใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า ตลอดจนสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชนบทและห่างไกลความเจริญได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างแท้จริง ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชาได้ดำเนินการปฏิรูปในสาขาต่าง ๆ อาทิ การลดจำนวนข้าราชการทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร การปฏิรูปด้านการศาล การปรับปรุงระเบียบและแก้ไขกฎหมายที่ล้าหลังและไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ การปฏิรูปที่ดินและการเร่งออกเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน การส่งเสริมการศึกษาและฝึกฝนอาชีพ การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ อย่างเป็นระบบ การพัฒนาระบบชลประทานและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ โดยเฉพาะระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับการพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว เป็นต้น

เศรษฐกิจการค้า

เศรษฐกิจและสังคม
1. กัมพูชายังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจนมากประเทศหนึ่ง
ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศเพื่อมุ่งขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ (National Strategic Development Plan – NSDP) ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2553 ยุทธศาสตร์ลดความยากจนแห่งชาติ (National Poverty Reduction Strategy – NPRS) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (Cambodia’s Millennium Development Goals – CMDGs) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีจุดมุ่งหมายให้กัมพูชาก้าวเดินไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงและยั่งยืน
2. รัฐบาลปัจจุบันซึ่งนำโดยสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายและประกาศใช้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม (จัตุโกณ) เพื่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน ความเสมอภาคและประสิทธิภาพในกัมพูชา (“Rectangular Strategy” for Growth, Employment, Equity and Efficiency in Cambodia) ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ก. หลักการภายใต้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม
• เป็นวาระแห่งชาติของกัมพูชาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กัมพูชากำลังเผชิญอยู่และการพัฒนาศักยภาพของกัมพูชา ได้แก่ (1) การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2) ส่งเสริมการสร้างงาน (3) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการของรัฐบาลเพื่อประกันความเท่าเทียมกันและความเป็นธรรมในสังคม (4) การเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของรัฐบาลในการดำเนินโครงการปฏิรูปในทุกสาขาเพื่อลดความยากจนและบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ความสำคัญของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม ได้แก่ การมุ่งพัฒนาประเทศเพื่อต่อยอดจากยุทธศาสตร์สามเหลี่ยม (ตรีโกณ หรือ Triangular Strategy) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการดำเนินงานของรัฐบาลชุดก่อน โดยมีวัตถุประสงค์ 9 ประการ ได้แก่ (1) การขจัดความยากจนและหิวโหย (2) การจัดระบบการศึกษาขั้นต้น 9 ปี (3) การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ (4) การลดอัตราการตายของทารก (5) การปรับปรุงระบบสาธารณสุข (6) การต่อสู้กับโรคติดต่อร้ายแรง (HIV/AIDS มาลาเรีย ฯลฯ) (7) การปกป้องสิ่งแวดล้อม (8) การสร้างหุ้นส่วนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา (9) การเก็บกู้ทุ่นระเบิดและการช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยมุ่งพัฒนาและนำประเทศไปสู่การเติบโต การจ้างงาน ความเท่าเทียมกัน และความมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกื้อกูลต่อการปฏิรูป ทางการเมือง และความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
ข. โครงสร้างของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม ประกอบด้วย
• ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยมุ่งเน้นการปฏิรูป 4 ประการ ได้แก่ (1) การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง (2) การปฏิรูปกฎหมายและการศาล (3) การบริหารสาธารณะ (4) การปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะการลดจำนวนกำลังพลและหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรและอาวุธยุทโธปกรณ์
• สร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ (1) ความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพทางการเมือง และระเบียบทางสังคม (2) การสร้างหุ้นส่วนด้านการพัฒนาซึ่งรวมถึง ภาคเอกชน ประเทศ
ผู้บริจาค และประชาชน (3) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการคลัง (4) การบูรณาการกัมพูชาเข้าสู่ภูมิภาคและโลก
• ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยมยังได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ (1) ด้านการเกษตร (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (3) การพัฒนาภาคเอกชนและสนับสนุนการสร้างงาน (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณสุข
ค. ยุทธศาสตร์การลดความยากจนของรัฐบาล ได้แก่
• การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพ และจัดระเบียบทางสังคมโดยใช้มาตรการซึ่งสนับสนุนกฎเกณฑ์และความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย การเคารพในสิทธิมนุษยชนและความเป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความมั่นคงให้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว
• การรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนประมาณร้อยละ 5 – 7 ต่อปี
• การส่งเสริมการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันระหว่าง คนรวยกับคนจน ระหว่างเมืองกับชนบท และระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง
• การพัฒนาการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ปัจจุบันกัมพูชากำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจไว้ 8 ประการ ได้แก่ (1) การฟื้นฟูระบบชลประธานเพื่อการเกษตร (2) การพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคม (3) การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (5) การสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (6) การพัฒนาการท่องเที่ยว (7) การสำรวจและใช้ทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และ (8) การพัฒนาการค้า การเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดี โดยธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.5 และ 9 ในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ อันเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีมากขึ้น การไหลเข้าของการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ และผลผลิตการเกษตรขยายตัว ขณะที่อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ การก่อสร้าง และการท่องเที่ยวก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

 

ดาวโหลดข้อมูลประเทศกัมพูชาอย่างละเอียดคลิกครับ

เชิญแสดงความคิดเห็น