ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > เดินป่า > ชนิดป่าของเมืองไทย

ชนิดป่าของเมืองไทย
ชนิดป่าของเมืองไทย
จากสภาพภูมิอากาศที่เป็นแบบเขตร้อนและกึ่งร้อนมีลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้พัด ผ่าน มีสภาพภูมิประเทศตั้งแต่หาด ทรายชายทะเลจนถึงยอดเขาสูงถึง 2,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปานกลาง บางพื้นที่มีความแห้งแล้งและมีไฟป่าเป็นประจำ ดินแปรผันไป มากมายหลายชนิด มีคุณลักษณะและความอุดม สมบูรณ์แตกต่างกันไป จึงทำให้ประเทศไทยมีป่าอยู่หลายชนิดด้วยกัน

สามารถแบ่งป่าในประเทศไทยออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ป่าไม้ผลัดใบ (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ดังนี้

สังคมพืชป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปี ป่ากลุ่มนี้มีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย และสามารถแยกออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีกหลายชนิด คือ

1. ป่าดิบชื้น มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำ ทะเล จนถึงระดับ 100 เมตร มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมากชนิด เช่น พวกไม้ยางต่าง ๆ พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวกปาล์ม หวาย ไผ่ต่าง ๆ และเถาวัลย์นานาชนิด

2. ป่าดิบแล้ง มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามบริเวณที่ราบและหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำ ทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-2,000 มิลลิเมตร ต่อปี มีพรรณไม้หลักมาก ชนิดด้วยกัน เช่น กระบาก ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน เต็งตานี พยอม สมพง มะค่า ยางน่อง กระบก พลวง เป็นต้น พืชชั้นล่างก็มีพวกปาล์ม พวกหวาย พวกขิง ข่า แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก

3. ป่าดิบเขา คือป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป มีกระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้หลักค่อนข้างจำกัด เช่น ก่อชนิดต่าง ๆ ทะโล้ ยมหอม กำลังเสือโคร่ง นางพญาเสือโคร่ง สนสามพันปี มะขามป้อมดง พญาไม้ พญามะขามป้อมดง สนแผง กุหลาบป่า ฯลฯ ผสมปนกันไป ตามต้นไม้มีพวกไลเคนและมอส หรือตะไคร่น้ำเกาะอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกไม้ดอกล้มลุก เฟิร์น และไผ่ชนิดต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วไป

4. ป่าสน มักจะกระจายเป็นหย่อม ๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวัน ตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,600 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 เมตร พรรณไม้ที่ขึ้นมีไม่มากชนิด มีสนสองใบกับสนสามใบเป็นหลัก นอกนั้นก็มีพวกไม้เหียง ไม้พลวง ก่อ กำยาน ไม้เหมือด พืชชั้นล่างมักเป็นพวกหญ้าต่าง ๆ และพืชกินแมลงบางชนิด

5. ป่าพรุและป่าบึงน้ำจืด เป็นป่าตามที่ลุ่มและมีน้ำขังอยู่เสมอ พบกระจายทั่วไปและพบมากทางภาคใต้ อยู่ ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เท่าที่มีการ สำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 470 ชนิด และในจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของประเทศถึง 50 ชนิด ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,300-2,600 มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้หลักมีพวกมะฮัง สะเตียว ยากา ตารา อ้ายบ่าว หว้าน้ำ หว้าหิน ช้างไห้ ตังหน ตีนเป็ดแดง จิกนม เป็นต้น พืชชั้นล่างเป็นพวกปาล์ม เช่น หลุมพี ค้อ หวายน้ำ ขวน ปาล์มสาคู รัศมีเงิน กระจูด เตยต่าง ๆ เป็นต้น

6. ป่าชายเลนหรือป่าบึงน้ำเค็ม เป็นป่าที่น้ำทะเลท่วมถึงพบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลนทั่วๆ ไป นับ เป็นเอกลักษณ์ของสภาพป่าอีกแบบหนึ่งในเขตร้อน เป็นป่าที่มีพืชพรรณค่อนข้างน้อยชนิดและขึ้นเป็นกลุ่ม ก้อน เท่าที่สำรวจพบมี 70 ชนิด พรรณไม้หลักมีโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่เป็นพื้น นอกนั้นเป็น พวกแสม ไม้ถั่ว ประสัก หรือพังกา โปรง ฝาด ลำพู-ลำแพน เป็นต้น ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของมวลชีวภาพ เป็นอาหารของสัตว์ทะเลวัยอ่อนอย่างดี สำหรับพืชชั้นล่างเป็นพวกเหงือกปลาหมอ ถอบแถบน้ำ ปรงทะเล และจาก เป็นต้น

7. ป่าชายหาด เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทราย และโขดหินพรรณไม้น้อยชนิด และ ผิดแผกไปจากป่าอื่นอย่างเด่นชัด ถ้าเป็นแหล่งดินทรายจะมีพวกสนทะเลขึ้นเป็นกลุ่มก้อน ไม่ค่อยมีพรรณ ไม้อื่นปะปน พืชชั้นล่างมีพวกคนทีสอ ผักบุ้งทะเล และพรรณไม้เลื้อยอื่น ๆ บางชนิด ถ้าดินเป็นกรวดหิน พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิง ไม้เมา หูกวาง และเกด เป็นต้น

ชนิดป่าของเมืองไทย
สังคมพืชป่าผลัดใบ เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ผลัดใบหรือ ทิ้งใบเป็นองค์ประกอบสำคัญ การ ผลัดเปลี่ยนใบจะใช้เวลาค่อนข้างยาว นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง สังคมพืชกลุ่มนี้มีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย และแยกเป็นชนิดย่อย ๆ คือ

1. ป่าเบญจพรรณ มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขาที่สูงจากระดับน้ำ ทะเล ระหว่าง 50-600 เมตร ดินเป็นได้ตั้งแต่ดินเหนียว ดินร่วน จนถึงดินลูกรัง ปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตร ต่อปี เป็นสังคมพืชที่มีความหลากหลายทางมวลชีวะมากสังคมหนึ่ง พรรณไม้จะผลัด ใบมากในฤดูแล้ง เป็นเหตุให้พรรณไม้เหล่านี้มีวงปีในเนื้อไม้หลายชนิด พรรณไม้ขึ้นคละปะปนกัน ที่เป็นไม้ หลักก็มี สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พฤกษ์ถ่อน ตะเคียนหนู หามกราย รกฟ้า พี้จั่น และไผ่ ขึ้นเป็นป่าหนาแน่น

2. ป่าเต็งรัง มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ดินมักเป็นดินทรายและดินลูกรัง มีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมักเป็นชนิดที่ทนแล้งทนไฟป่า เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง กราด ประดู่ แสลงใจ เม่า มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน ฯลฯ เป็นต้น พืชชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นพวกหญ้า ไผ่ต่าง ๆ ที่พบมากที่สุดคือ ไผ่เพ็กหรือหญ้าเพ็ก พวกปรง พวกขิง ข่า กระเจียว เปราะ เป็นต้น

3. ป่าหญ้า เป็นป่าที่เกิดภายหลังจากที่ป่าธรรมชาติอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้ถูกทำลายไปหมด ดินมีสภาพเสื่อมโทรมจนไม้ต้นไม่อาจขึ้นหรือเจริญงอกงามต่อไปได้ พวกหญ้าต่าง ๆ จึงเข้ามาแทนที่ พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของไทย หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา แฝก หญ้าพง อ้อ แขม เป็นต้น ไม้ต้นมีขึ้นกระจายห่าง ๆ กันบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า สีเสียดแก่น ประดู่ ติ้ว แต้ว ตานหลือง และปรงป่า เป็นต้น ไม้เหล่านี้ทนแล้ง และทนไฟป่าได้ดี

 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์