ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ดูนก > แหล่งดูนกในภาคกลาง

 
แหล่งดูนกในภาคกลาง โรงเรียนนายร้อย จปร. จ.นครนายก วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี
ดูนก แหล่งดูนกในภาคกลาง

โรงเรียนนายร้อย จปร. จ.นครนายก

เส้นทางแรก เป็นถนนสายหลักในโรงเรียน โดยเริ่มที่เข้ารั้วมาสองข้างทาง จะเป็นต้นไม้ใหญ่ตลอดทาง ฝั่งซ้ายมือจะมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าโล่งและป่าละเมาะ จะพบนกแอ่นพง (Ashy Wood-swallow) ทำรังมีลูกเล็ก ๆ และเกาะเรียงกันแน่นเป็นกลุ่ม ๆ ตามสายไฟ นกอีเสือสีน้ำตาล (Brown Shrike) และนกอีเสือหัวดำ (long-tailed Shrike) พบได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องมองหา เส้นทางนี้เดินดูนกสบาย ระยะทางไม่ไกลมากนัก ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ก่อนถึงกองกำกับการฯ

เส้นทางที่สอง เริ่มจากประตูใหญ่ เลี้ยวขวาเป็นเส้นทางไปบึงน้ำขนาดใหญ่ ระหว่างทางจะเป็นสภาพป่าโปร่ง และต้นไม้สูง ระยะทางโดยประมาณ 3 กิโลเมตร นกกระปูดใหญ่ (Greater Coucal) นกกาเหว่า (Common Koel) นกบั้งรอกใหญ่ (Green-billed Malkoha) นกกางเขนบ้าน (Oriental Magpie-Robin) และนกอีแพรตแถบอกดำ (Pied Fantail) มีให้เห็นตลอดทาง พอถึงบึงน้ำใหญ่มีนกพริก (Bronze-winged Jacaha) นกอีล้ำ (Common Moorhen) และนกกวัก (White-breasted Waterhen) หากินอยู่ในบึง ส่วนเหยี่ยวขาว (Black-shouldered Kite) บินร่อนอยู่บนท้องฟ้าและมีนกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow) เกาะตามสายไฟ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการบอกว่าเคยมีเป็ดแดง (Lesser Whistling-Duck) มาลงในบึงนี้ด้วย

เส้นทางที่สาม เป็นเส้นทางไปเรือนรับรองและสโมสร เดินขึ้นเขาแต่ไม่ชันมากนัก ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าใกล้มากสำหรับการเดินดูนก มีนกกาแวน (Racket-tailed Treepie) นกแซงแซวสีเทา (Ashy Drongo) และนกแซงแซวหงอนขน (Hair-crested Drongo) นกปรอดถึง 6 ชนิด นกปลีกล้วยเล็ก (Little Spiderhunter) นกอีวาบตั๊กแตน (Plaintive Cuckoo) จำพวกนกเขาก็มี

เส้นทางที่สี่ เป็นเส้นทางในศูนย์พัฒนาการเกษตรเบ็ดเสร็จแยกเข้าทางหน่วยผลิตปศุสัตว์ เป็นเส้นทางดูนกที่ดีและ ไกลที่สุด สภาพพื้นที่จะมีความหลากหลายมาเป็นทุ่งโล่งและทุ่งนา พบนกชายเลนน้ำจืด (Wood Sandpiper) นกยางควาย (Cattle Egret) นกอีเสือลายเสือ (Tiger Shrike) นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia) นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia) นกยอดหญ้าหัวดำ (Stonechat) นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common Kingfisher) เดินต่อไปอีกหน่อยจะมีสภาพเป็นป่าดิบแล้ง เห็นเหยี่ยวนกเขาหงอน (Crested Goshawk) นกตะขาบทุ่ง (Indian Roller) นกกระแตแต้แว้ด (Red-wattled Lapwing) นกกระเบื้องผา (Blue Rock-Thrush) และนกจาบฝนปีกแดง (Rufous-winged Bushlark) นกกิ้งโครงคอดำ (Black-collared Starling) นกกิ้งโครงหัวสีนวล (Vinous-breasted Starling) นกเอี้ยงหงอน (White-vented Myna) และนกเอี้ยงสาริกา (Common Myna) เกาะตามสายไฟ

จุดดูนกที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงพื้นที่บางส่วน ในบริเวณโรงเรียนแห่งนี้ ยังมีที่น่าสนใจอีกหลายจุด เช่น เส้นทางไปวัดเขาคอกทางขึ้นเขาชะโงก เขาดินเหนียว สนามฝึกวิชาทหารด้านหลังมีสภาพเป็นป่าดิบแล้ง พื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองโบด ซึ่งอาจได้พบนกกาน้ำเล็ก (Little Cormerant) พื้นที่แห่งนี้ อาจจะได้พบนกมากถึง 66 ชนิด

วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี

เป็นแหล่งที่นกปากห่าง (Asian Openbill) ทำรังวางไข่ นอกจากนี้ยังพบนกกะเต็นหัวดำ (Black-capped Kingfisher) นกเต้าลมดง (Forest Wagtail) นกเค้าจุด (Spotted Owlet) บางครั้งอาจพบนกกระทุง (Spot-billed Pelican) และนกกุลา (Black-headed Ibis) ในช่วงฤดูย้ายถิ่น แหล่งที่พบนกปากห่างอาศัย อยู่มากอีกแห่งหนึ่ง คือ ที่สวนนกท่าเสด็จ หรือที่เรียกกันติดปากว่าบ้านลุงจอม อยู่ที่บ้านท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอาจได้พบนกกุลาหรือนกช้อนหอยขาวได้ด้วยเช่นกัน

การเดินทาง

ใช้เส้นทางถนนสายปทุมธานี-สามโคก เลยที่ว่าการอำเภอสามโคกถึงวัดสามัคคียาราม แล้วลงเรือข้ามฟากไปวัด ไผ่ล้อม หรือจะนั่งรถสองแถวสายไปวัดไผ่ล้อมจากหัวถนนติวานนท์ (ทางหลวงหมายเลข 306) ถึงสามแยก เลี้ยว ขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 346 ประมาณ 1 กิโลเมตร ทางซ้ายมือมีทางราดยางเข้าสู่วัดเสด็จและวัดไผ่ล้อม ระยะทาง 15 กิโลเมตร ไปลงที่หน้าวัดไผ่ล้อม

อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

มีการพบนกในราว 296 ชนิด อาศัยหากินในพื้นที่อุทยาน ฯ โดยเฉพาะบริเวณทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) เช่น นกกาบบัว (Painted Stork) นกกระสาแดง (Purple Heron) เป็ดหางแหลม (Northern Pintail) นกอินทรีปีกลาย (Greater Spotted Eagle) นอกจากนี้บริเวณที่ทำการฯ ก็สามารถพบนกจาบคาหัวส ีส้ม (Chestnut-headed Bee-eater) นกกะรางหัวขวาน (Hoopoe) เหยี่ยวนกออก (White-bellied Sea-Eagle) และหากขับรถไปตามเส้นทางวงรอบอุทยานฯ จะผ่านนากุ้ง หาดชายเลน อาจหยุดดูนกชายเลนไป เรื่อย ๆ ได้

การเดินทาง

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงสี่แยกปราณบุรีแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายปากน้ำปราณบุรี ประมาณ 4 กิโลเมตร จะเห็นป้ายบอกทางไปอุทยานฯ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. ซึ่งเป็นถนนราดยางอีก ประมาณ 31 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการฯ อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากทางหลวงหมายเลข 4 เมื่อถึงหลักกิโลเมตรที่ 276.5 (บ้านสำโหรง) ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนน รพช. อีก 14 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถทัวร์ หรือรถไฟ ลงรถที่ อ.ปราณบุรี จากนั้นขึ้นรถรับจ้างไปที่ทำการฯ ในบริเวณที่ทำการฯ เขาแดง มีบ้านพัก 3 หลัง และร้านอาหาร เช่นเดียวกับที่บริเวณหาดแหลมศาลา ควรจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ติดต่อที่ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. (02) 561-4292 ต่อ 724-5
แหล่งดูนกในภาคกลาง โรงเรียนนายร้อย จปร. จ.นครนายก วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าละเมาะ ป่า ชายฝั่งแม่น้ำ และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีรายงานการพบนกล่าสุดถึงกว่า 400 ชนิด ความพิเศษของนกที่นี่คือ เป็นแหล่งรวมของนกจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ตั้งแต่นกที่พบบนดอยสูงจนถึงนกในป่าต่ำ จุดที่ดูนกได้ดี ในอุทยานฯ เริ่มจากบริเวณที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งอาจพบนกที่น่าสนใจ เช่น นก หัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common Frameback) นกโพระดกหูเขียว (Green-eared Barbet) นกโพระดกคางแดง (Red-throated Barbet) นกเงือกหัวหงอก (Whited-crowned Hornbill) นกพญาปากกว้างสีดำ (Dusky Broadbill) นกจาบคาเคราแดง (Red-beared Bee-eater) นกเค้าหน้าผากขาว (White-fronted Scops-Owl) นกแต้วแล้วหูยาว (Eared Pitta) สำหรับ นกกะลิงเขียดหางหนาม (Ratchet-tailed Treepie) ทำเลที่พบบ่อย คือ กิโลเมตรที่ 27-29 ว่ากันว่าหากอยาก ดูนกบนดอยสูง ที่กิโลเมตรที่ 27 มีนกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นนกชนิดเดียวกับที่ดอยอินทนนท์และอุ้มผาง และหาก เดินตามถนน ใต้ร่มป่าดงดิบชื้นด้านล่าง จะพบนกป่าต่ำ เส้นทางดูนกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1-17 เป็นส่วนของป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบในที่ราบต่ำ ส่วนที่สองตั้งแต่กิโลเมตรที่ 18-36 ซึ่งจะเป็นป่าดิบผสมป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

การเดินทาง

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร ไปได้ 2 ทาง คือ ไปทางอำเภอท่ายาง โดยขับรถต่อไปอีกราว 30 กิโลเมตร หรือไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 186-187 จะมี ทางแยกขวามือเข้าไปตามทางอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ทางอุทยานฯ จะเปิดให้รถขึ้นลงเป็นเวลา คือ ขึ้นเขาขาไป ช่วงเวลา 08.00-11.00 น. และกลับลงมาช่วง 13.00-16.00 น. มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์บริเวณอ่างเก็บน้ำ ลานกางเต็นท์บริเวณกิโลเมตรที่ 15 หรือที่เรียกว่าแค้มป์บ้านกร่างและที่กิโลเมตรที่ 30

สถานที่ตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ

ส่วนใหญ่เป็นนกชายเลนและนกทะเล มีบ้างที่เป็นนกป่าโกงกาง นกที่น่าสนใจ คือนกนางนวลธรรมดา (Brown-headed Gull) นกซ่อมทะเลอกแดง (Asian Dowitcher) นกยางเขียว (Little Heron) นกกระจ้อยป่าโกงกาง (Flyeater) และนกนางนวลแกลบ (Terns) ชนิดต่าง ๆ ในฤดูนกย้ายถิ่น เคยพบนกสำคัญ เช่น นกปากช้อนหน้าดำ (Black-faced Spoonbill) นกแซวสวรรค์หางดำ (Japanese Paradise-flycatcher) และเป็ดพม่า (Ruddy Shelduck)

การเดินทาง

สถานตากอากาศบางปูอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ ริมถนนสุขุมวิท ประมาณกิโลเมตรที่ 37 ตรงข้ามกับนิคม อุตสาหกรรมบางปู

ชายทะเลบ้านกาหลง จ.สมุทรสาคร

มีนกชายเลนเริ่มทยอยย้ายถิ่นเข้ามาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนแทบทุกชนิด นักดูนกจะได้พบนกตีนเทียน (Black-winged Stilt) นกหัวโตทรายเล็ก (Lesser Sand-Plover) นกอีก๋อยเล็ก (Whimbrel) นกทะเลขาแดงลายจุด (Spotted Redshank) นกชายเลนปากโค้ง (Curlew Sandpiper) นกพลิกหิน (Ruddy Turnstone) และฝูงนกนางนวลแกลบ (Terns) หลายชนิด และหากโชคดีอาจได้พบนกใหม่ Pie Avocet นอกจากนี้ หาดโคลนที่นี่ยังเป็นทำเลที่พบนกหายากของโลก 3 ใน 51 ชนิด ที่ขึ้นบัญชีไว้ใน Red Data Book คือ นกชายเลนปากช้อน (Spoon-billed Sandpiper) นกทะเลขาเขียวลายจุด (Nordmann's Greenshank) และนกซ่อมทะเลอกแดง (Asian Dowitcher)

วิธีดูนกชายเลนที่ดีที่สุดคือปักหลักรอดูขณะน้ำลงจะเห็นนกนับหมื่นตัวกระจายกันอยู่ แต่เมื่อน้ำขึ้น นกจะค่อย ๆ ขยับเข้ามาใกล้ ซึ่งนอกจากกล้องสองตาแล้ว ควรจะติดเทเลสโคปไปด้วย

การเดินทาง

ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 51 ถนนพระราม 2 เขตตำบลนาโคก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ถ้าขับรถออก จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปมหาชัย ทางแยกเข้าทะเลกาหลงจะมีป้ายบอกทางไปวัดกาหลง ผ่านสะพานข้ามคลองสุนัขหอน จะมีทางกลับรถเลี้ยวไปตามทางประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงวัดกาหลงจากวัดกาหลง มีทางแยกเล็ก ๆ ด้านขวามือ ข้ามทางรถไฟจะเห็นนาเกลือ เริ่มต้นดูนกได้จากจุดนี้จนถึงชายทะเล ระยะทางราว 3 กิโลเมตร



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์