คู่มือ 77 จังหวัด

ภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก
เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน :ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
ภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช)บุรีรัมย์ : มหาสารคาม
 : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย :ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย
 : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
ภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี :พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ
 : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี :สุพรรณบุรี : อ่างทอง
ภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง
ภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา
 : ระนอง : สงขลา : สตูล :สุราษฎร์ธานี

ประเทศไทย หรือราชอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

ภูมิอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี

 

จำนวนประชากร

จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก

คนไทยเดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล

ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ขนาดพื้นที่

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างเขตแดนเป็นบางช่วง

 

เมืองหลวง

กรุงเทพมหานคร หรือชื่อเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

 

ประชากร

จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ภาษา

ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และมีการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

 

ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รองลงมาคืออิสลาม คริสต์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น ซิกข์ ฮินดู เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป

 

การปกครอง

ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศในปัจจุบัน

 

อุณหภูมิ

ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศา เซลเซียส

 

วันหยุดประจำปี

1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา
6 เมษายน วันจักรี
6 เมษายน วันมาฆบูชา
13-15 เมษายน วันสงกรานต์
13 เมษายน วันผู้สูงอายุ
14 เมษายน วันครอบครัว
1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ
5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา
ข้างขึ้น เดือน 6(แล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤกษ์) วันพืชมงคล
1 กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปีธนาคาร
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา
12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ, วันชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
31 ธันวาคม วันสิ้นปี

 

ระบบเศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศ ในด้านเกษตรกรรม ข้าวถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุกและก๊าซธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

ระยะทางถึงประเทศต่างๆ (กิโลเมตร)

เมืองซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย                  7,530.84 กิโลเมตร

เมืองโตเกียว ญี่ปุ่น                                4,603.65 กิโลเมตร

เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน             3,692.08 กิโลเมตร

เมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน            1,723.91 กิโลเมตร

เมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย                    2,915.63 กิโลเมตร

เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส                  4,882.68 กิโลเมตร

เมืองโรม สาธารณรัฐอิตาลี                         8,825.12 กิโลเมตร

เมืองมาดริด ราชอาณาจักรสเปน                10,174.82 กิโลเมตร

เมืองปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส                     9,438.89 กิโลเมตร

เมืองเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี         8,598.95 กิโลเมตร

เมืองสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน           8,263.76 กิโลเมตร

เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร                  9,525.96 กิโลเมตร

เมืองมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย                     7,060.83 กิโลเมตร

เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา                      13,922.59 กิโลเมตร

เมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา               13,293.10 กิโลเมตร

เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา                         11,798.55 กิโลเมตร

 

เงินตรา

ใช้สกุลเงินบาท (1 บาท มี 100 สตางค์)

มีธนบัตรชนิด 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาทและมีเหรียญชนิด

25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท

 

เวลาทำการธนาคาร

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น. ยกเว้นสาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อยตามสถานที่ต่างๆ จะมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป บางสาขาเปิดทำการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด

 

ที่ทำการไปรษณีย์

ที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป โดยมากวันจันทร์-ศุกร์เปิดเวลา 08.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เปิดเวลา 09.00-12.00 น. และที่ทำการไปรษณีย์ในท่าอากาศยานบางแห่งเปิดบริการ 24 ชั่วโมง

 

ระบบเวลา

ประเทศไทยยึดเอาลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออกเป็นเวลามาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยมีเวลาแตกต่างจากเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง

 

มาตรวัด

ใช้ระบบการวัดแบบเมตริก คือ วัดความยาวเป็นมิลลิเมตร เมตร และกิโลเมตร วัดน้ำหนักเป็นกรัม และกิโลกรัม และวัดอุณหภูมิเป็นเซลเซียส

 

ระบบไฟฟ้า

ใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลต์

ที่พัก

มีโรงแรมระดับต่างๆ และที่พักหลากหลายรูปแบบอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงแรมหรูระดับห้าดาว รีสอร์ตสไตล์ต่างๆ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ อพาร์ตเมนต์ หอพัก คอนโดมิเนียมให้เช่าทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี ไปจนถึงเกสต์เฮาส์ขนาดเล็ก รวมทั้งมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่มีบริการบ้านพัก จุดกางเต็นท์ และเต็นท์ให้เช่า สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบและต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ รวมทั้งผู้ที่นิยมการพักผ่อนในบรรยากาศแบบแค้มปิ้งด้วย

 

ระบบโทรศัพท์

รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศของประเทศไทยคือ 66

ประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 7.035 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ 27.4 ล้านหมายเลข (สถิติเมื่อปี พ.ศ. 2548)

 

ขอขอบคุณข้อมูล http://thai.tourismthailand.org