ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ทำเนียบหัวเมืองของไทย

ทำเนียบหัวเมืองของไทย

            ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  กรุงเทพมหานคร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระราชอาณาจักรไทยนั่นเอง  มีหัวเมืองขึ้นอยู่ ๔๗๔ หัวเมือง  อันเป็นผลมาจากพระบรมบุรพกษัตริยาธิราช และบรรดาบรรพบุรุษของไทย ได้พลีเลือดเนื้อและชีวิต รวบรวมเอาไว้เป็นเวลาหลายชั่วชีวิตคน  นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย  กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรี  จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  จนพระราชอาณาจักรไทย แผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล เป็นชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในสุวรรณภูมิและภูมิภาค อาเซียอาคเณย์  คู่เคียงกับชาติใหญ่อีกสองชาติ คือจีนและอินเดีย  ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในเอเซียตะวันออก  และเอเซียใต้ พระราชอาณาจักรไทยในครั้งนั้น มีความยิ่งใหญ่เจริญรุ่งเรืองสมดังบทเพลงที่ว่า
 
  

           การเสียดินแดน
  ๑. เกาะหมาก  ปีนัง  (๑๑ ส.ค. ๒๓๒๙)

  ๒. มะริด  ทะวาย  ตะนาวศรี  (๑๖ ม.ค. ๒๓๓๖)

  ๓. เมืองบันทายมาศ  (๓๒๕๓)

  ๔. แสนหวี  เชียงตุง  เมืองพง  (พ.ค. ๒๓๖๘)

  ๕. รัฐเปรัก  (๒๓๖๙)

  ๖. สิบสองพันนา  (๑ พ.ค. ๒๓๙๓)

  ๗. แคว้นเขมร  (๑๕ ก.ค. ๒๔๑๐)

  ๘. สิบสองจุไท  (๒๒ ธ.ค. ๒๔๓๑)

  ๙. ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ๑๓ เมือง   (๒๗ ต.ค. ๒๔๓๕)

๑๐. ดินแดนฝั่งซ้ายราชอาณาจักรลาว  (๓ ต.ค. ๒๔๓๖)

๑๑. ดินแดนฝั่งขวาแคว้นหลวงพระบาง  จัมปาศักดิ์  (๑๒ พ.ค. ๒๔๔๖)

๑๒. มณฑลบูรพา  เสียมราฐ  พระตะบอง  ศรีโสภณ  (๒๓ มี.ค. ๒๔๔๙)

๑๓. กลันตัน  ตรังกานู  ไทรบุรี  ปลิส  (๑๐ มี.ค. ๒๔๕๑)

๑๔. เขาพระวิหาร  (๑๕ มิ.ย. ๒๕๐๕)


           บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่หมู่เหล่า     พวกเราล้วนพงศ์เผ่าศิวิไลซ์

            เพราะฉะนั้นควรจะยินดีเปรมปรีดิ์ดีใจ     เรียกตนว่าไทยแดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาษเขา


            ก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่     ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอา

            รบ รบ รบ ไม่หวั่นใคร     มอบความเป็นไทยให้พวกเรา     แต่ครั้งนานกาลเก่าชาติเราเขาเรียกชาติไทย


            บ้านเมืองควรประเทืองไว้ดั่งแต่ก่อน     แน่นอนเนื้อและเลือดพลีไป

            เพราะฉะนั้นเราควรเปรมปรีดิ์     มีความภูมิใจแดนดินถิ่นไทย     รวบรวมไว้ได้แสนจะยากเข็ญ


            ยากแค้นเคยกู้แดนไว้อย่างบากบั่น     ก่อนนั้นเคยแตกฉานซ่านเซ็น

            แม้กระนั้นยังร่วมใจ     รวบรวมชาวไทยให้ร่มเย็น     บัดนี้เราดีเด่นร่มเย็นผาสุขเรื่อยมา


            อยู่กินบนแผ่นดินท้องถิ่นกว้างใหญ่     ชาติไทยนั้นเคยใหญ่ในบูรพา

            ทุก ๆ เช้าเราดูธงไทย    ใจจงปรีดาว่าไทยอยู่มา     ด้วยความผาสุกถาวรสดใส


            บัดนี้ไทยเจริญวิสุทธิ์ผุดผ่อง     พี่น้องจงแซ่ซร้องชาติไทย

            รักษาไว้ให้มั่นคง    เทอดธงไตรรงค์ให้เด่นไกล     ชาติเชื้อเรายิ่งใหญ่ชาติไทยบ้านเกิดเมืองนอน



            หลักฐานที่ได้จากจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ที่ได้จารึกไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้จารึกไว้ที่คอสอง เฉลียงพระระเบียงล้อมพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน ได้เขียนภาพหัวเมืองขึ้นกรุงเทพมหานคร ๔๗๔  หัวเมือง  แต่ปัจจุบัน ภาพดังกล่าวลบหมดแล้ว  ยังเหลือแต่จารึกบอกชื่อหัวเมืองเหล่านั้น กับเจ้าเมืองบางเมืองอยู่ราวครึ่งหนึ่ง  ตรวจได้ศิลาจารึก ๗๗ แผ่น ทำเนียบเมือง ๑๙๔ เมือง  แบ่งออกตามทิศได้ดังนี้
 
 

ทิศตะวันออก

          เมืองพระตะบอง  เจ้าเมืองชื่อพระยาอภัยภูเบศร  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองตะโหนด  เขมร  เมืองพนมศก เขมร  ขึ้นเมืองพระตะบอง
          เมืองนครเสียมราฐ  เจ้าเมืองชื่อพระยานุภาพไตรภพสบสรรพยุทธฤทธิ  ขึ้นเมืองพระตะบอง
          เมืองระสือ  เขมร  ขึ้นเมืองพระตะบอง  สิ้นอาญาเขตต์เพียงนี้
          เมืองพุทไธสมัน  เขมร  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองจงกน  เขมร  เจ้าเมืองชื่อพญาสุรินทภักดีศรีประภัยสุมล   ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองพิมาย  อยู่ทิศตะวันออกลำพิมูล เมืองประโคนไชย  เมืองนางรอง  อยู่หนตะวันออก  ขึ้นนครราชเสมา
          เมืองปักธงไชย  อยู่หนใต้นครราชเสมา เมืองพุทไธสงฆ์  อยู่หนเหนือนครราชเสมา  ขึ้นนครราชเสมา
          เมืองชนบท  เจ้าเมืองชื่อพญาจันตประเทศ  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองจตุรัศ  อยู่ใต้ลำปะชี เมืองไชยภูมิ์  ขึ้นนครราชเสมา
          เมืองภูเขียว  เจ้าเมืองชื่อพระไกรสีหนาท  อยู่หนตะวันออก ลำปะชี ๒ เมือง  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองสังขะ  เจ้าเมืองชื่อพญาสังขบุรีศรีนครอัจ  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองบุรีรำ  หนตะวันออกนครราชเสมา  ขึ้นนครราชเสมา
          เมืองสุวรรณภูมิ  เจ้าเมืองชื่อพระรัตนวงษา  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองขอนแก่น  เจ้าเมืองชื่อพระนคร  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองกาฬสินธุ์ เจ้าเมืองชื่อพญาไชยสุนทร  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองหนองหารน้อย  เจ้าเมืองชื่อพระพิทักษ์เขตต์ขันธ์  ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองเพ็ง  อยู่ลำน้ำสายบาต  ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์
 
 

ทิศใต้

          เมืองปราจีณบุรี  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองออกพระอุทัยธานี  ถือศักดินา ๓๐๐๐  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองกระบิลบุรี  เมืองประจันตคาม  ขึ้นปราจีณบุรี
          เมืองนครนายก  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองพระพิบูลยสงคราม  ถือศักดินา ๓๐๐๐  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองพนัสนิคม  ขึ้นกรมท่า
          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองเอก  ผู้ครองเมืองชื่อเจ้าพระยาศรีธรรมราช ชาติเดโชชัย มไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยบราพาหุ  ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เอกอุ
            ขึ้นกรมพระกระลาโหม
          เกาะสมุย  เกาะพงัน  ขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช
          เมืองไทรบุรี  เมืองแขก  ผู้ครองเมืองชื่อพระยาอภัยธิเบศรมหาประเทศราช ชาติอธิบดินทร อินทไอสวรรย ขันธเสมาเดชชิตพิริยพาห  เมืองขึ้นนครศรีธรรมราช
          เมืองสะตูล  เมืองมะนาวา เมืองละงู เมืองปะหลิด  เมืองเกาะนางกาวี  แขก ขึ้นไทร ๕ เมือง
          เมืองพัทลุง  เดิมเป็นเมืองตรี  ยกเป็นเมืองโท  ผู้ครองเมืองชื่อออกญาแก้วโกรพยพิชัยภักดีบดินทรเดโชชัย  อภัยพิริยพาหะ  ถือศักดินา ๕๐๐๐
            ขึ้นกรมพระกระลาโหม
            เมืองคชราชา  เมืองศรีชนา  ขึ้นเมืองพัทลุง
          เมืองปะเหรียญ  เมืองชรัด  เมืองกำแพงเพชร  เมืองสะทัง  เมืองพะโค  ขึ้นเมืองพัทลุง
          เมืองระโนด  ขึ้นนครศรีธรรมราช
          เมืองสงขลา  เมืองโท  ผู้ครองเมืองชื่อพระยาศรีวิเชียรคีรีสุนทร  วิสุทธิศักดา มหาพิชัยสงครามภักดี พิริยพาห ขึ้นกรมพระกลาโหม
            เมืองมนารา  ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองหนองจิก  เจ้าเมืองชื่อพระยาวิเชียรศรีสุริยวังศารัตนาเขตต์ประเทศราช  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองตานี  เจ้าเมืองชื่อพระยาวิชิตภักดีศรีสุริยวังศา รัตนาเขตต์ ประเทศราช  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองจะนะ  เจ้าเมืองชื่อมหานุภาพปราบสงคราม  ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองเทพา  เมืองสทึง  เมืองรัตนภูม  ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองยะหริ่ง  เจ้าเมืองชื่อพระยาพิพัฒนเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองยะลา  เมืองแขก  ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองรามันห  เจ้าเมืองชื่อพระยารัตนภักดีศรีราชบดินทรสุรินทรวังศา  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
            เมืองสุพรรณ  เมืองป่าหลวง  มหาอรัญ  เมืองปะดัง  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองระแงะ  เจ้าเมืองชื่อพระยาตะมะหงันภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษสวัสดิวังศา  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
          เมืองสาย  เจ้าเมืองชื่อพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายามักตาลีลาอับดุลระซุน วิบุลขอบเขตต์ประเทศมลายู  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
            เมืองปะหลำ  เมืองจวบ  เมืองปะโหละ  เมืองพรายวัน  เมืองสีบโปย  เมืองมายอน  เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
 
 

ทิศตะวันตก

          เมืองกรุงเก่า  ผู้รักษากรุงชื่อพระยาไชยวิชิต สิทธสาตรา มหาประเทศราช ชาติเสนาบดี  ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองปรันตประเทศ  ข้าพระพุทธบาท  ขึ้นกรุงเก่า
          เมืองลพบุรี  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองชื่อออกพระนครพราหมณ์  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองสระบุรี  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองชื่อพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม รามภักดีบดินทรนรินทรเสนา  มหานิคมธานีศรีมไหศวรรย์  นา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองประทุมธานี  เมืองตรี  เจ้าเมืองชื่อพระยาพิทักษ์ทวยหาญ  ขึ้นกรมพระกระลาโหม
          เมืองนนทบุรี  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองชื่อพระนนทบุรี ศรีมหาสมุทร  ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมท่า
          เมืองราชบุรี  เดิมเมืองจัตวา  ยกขึ้นเป็นเมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อพระยาสุรินทรฤาชัย  อภัยประเทศราชชาติพัทธยาธิบดี พิริยพาหะ ถือศักดินา ๓๐๐๐
            ขึ้นกรมพระกระลาโหม
          เมืองกาญจนบุรี  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองชื่อพระยาประสิทธิ์สงคราม รามภักดี  ศรีพิเศษประเทศนิคม ภิรมราไชยสวรรย์  ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมพระกระลาโหม
          เมืองศรีสวัสดิ์  เมืองจัตวา  เจ้าเมืองชื่อพระยาพิไชยชนะสงคราม รามภักดี  ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมพระกระลาโหม
 
 

ทิศเหนือ



            เมืองศรีภิรม  เมืองพรหมพิราม  เมืองเทพบุรี เมืองชาตกาล  เมืองนครไทย  เมืองด่านซ้าย  สุดน้ำโทก ๖ เมือง  ขึ้นเมืองพิษณุโลก
            เมืองชุบศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม  เมืองศรีพนมมาศ  เมืองนครนาคง  อยู่ลำน้ำใหญ่ ๔ เมือง ขึ้นเมืองพิษณุโลก
            เมืองลับแลอยู่ดอน  เมืองปากเหือง  เจ้าเมืองชื่อพระอณะพินาศ เมืองน้ำปาด  เมืองสวางคบุรี  รวมลำน้ำพิชัย ๓ เมือง  ขึ้นเมืองพิชัย
          เมืองตรอนตรีศิลป์  อยู่ตอนหนบุรพสวางค์ เมืองบางโพ  เมืองขุนกัน อยู่ลำน้ำพิชัยฝั่งตก  ขึ้นเมืองพิชัย
            เมืองพิพัฒน์  ขึ้นเมืองพิชัย
          เมืองทุ่งยั้ง  เมืองสวรรคโลก  ขึ้นมหาดไทย
          เมืองพิชัย  เมืองตรี  เจ้าเมืองชื่อออกญาศรีสุริยราชราชัยอภัยพิรยพาหะ นา ๓๐๐๐ ขึ้นมหาดไทย
            เมืองพิมูลขึ้นพิชัย
          เมืองสุโขทัย  เมืองโท  ผู้ครองเมืองชื่อออกญาศรีธรรมศุภราชชาติบดินทร  สุรินทรฤาไชย  อภัยพิริยบรากรมพาหุ นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นมหาดไทย
            เมืองราชธานี  เมืองกงคราม   เมืองพิรามรงค  เมืองพิแรมรมย์  ขึ้นเมืองสุโขทัย ๔ เมือง
            เมืองโคฎก  อยู่ฝั่งเหนือบางขัง  เมืองบางขังอยู่ฝั่งใต้ลำบางขัง  ขึ้นเมืองสวรรคโลก
          เมืองสำโรงทอง  อยู่ฝั่งเหนือลำสำโรง เมืองคีรีมาศอยู่ดอน  ขึ้นเมืองสุโขทัย
            เมืองปอง  ขึ้นเมืองเถินอยู่ดอน
          เมืองเถิน  เจ้าเมืองชื่อพระยาเถินบุรี  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองกำแพงเพ็ชร  เมืองโท  ผู้ครองเมืองชื่อออกญารามรณรงคสงคราม  รามภักดีอภัย พิริยพาหะ  ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองเชียงทอง  เมืองเชียงเงิน  อยู่ลำพิงฝั่งออก  ขึ้นเมืองตาก
            เมืองโกสามพิน  เมืองบงการบุรี  เมืองโบราณราช  เมืองนาถบุรี เมืองไตรตรึงค์ ขึ้นเมืองกำแพงเพชร ๕ เมือง
          เมืองป่าศักดิ์  ผู้ครองเมืองชื่อเจ้านครจำปาศักดิ์ ประเทศราช  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองโขงเจียม  ขึ้นมหาดไทย
            เมืองปากแซง  ขึ้นเมืองเจียม
          เมืองเขมราฐ  เจ้าเมืองชื่อพระเทพวงศา  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองมุกดาหาร  เจ้าเมืองชื่อพระจันทมุริยวงศ์  ขึ้นมหาดไทย
          เมืองนครพนม  ผู้ครองชื่อพระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชทวาเวียง  ดำรงรักษศักดิยศทฤาไกร ศรีพิชัยสงคราม  เจ้าเมืองยศสุนทร
            และเมืองนครพนมทั้งสองเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองท่าอุเทน  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองไชยบุรี  เจ้าเมืองชื่อพระไชยวงศา  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองเดชอุดม  เจ้าเมืองชื่อพระศรีสุระ  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองศรีษะเกศ  เจ้าเมืองชื่อพญาวิเศษภักดี  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองสาลวัน  เจ้าเมืองชื่อเอกราช  เมืองสะเมียร์  เมืองสะภาษ  เมืองคงอยู่ตะวันตกลำเซโคนฝั่งของข้างเหนือ ๔ เมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองสีทันดร  เจ้าเมืองชื่อพระอภัยราชวงศา  ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองตระการ  อยู่ลำแม่ขานฝั่งเหนือ เมืองแจ่ม อยู่ลำแม่แจ่มฝั่งตะวันออก เมืองยวม อยู่ฝั่งน้ำยวมหนตะวันตก เมืองพาน อยู่ตอนหนใต้  ขึ้นเมืองเชียงใหม่ ๔ เมือง
          เมืองหอด  อยู่ลำแม่พิงฝั่งตะวันตก  เมืองตื่นด่าน  พญาอินทรคีรี  ขึ้นเมืองเชียงใหม่ ๒ เมือง
          เมืองลำพูนไชยประเทศราช  ผู้ครองเมืองชื่อตามนามเมือง  ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองยอง  อยู่ฝั่งแม่กอง ตะวันออกตรงเมืองลำพูนข้าม  ขึ้นเมืองลำพูน
          เมืองป่าซาง  อยู่ลำแม่ทาฝั่งตะวันตก  เมืองหนองล่าง อยู่ลำแม่ลี้ฝั่งเหนือ  เมืองลี้ อยู่ปลายแม่ลี้ฝั่งใต้  ขึ้นเมืองลำพูน ๓ เมือง
            เมืองจาน  เมืองเมาะ  เมืองท่า  เมืองลอง อยู่ตะวันออกนคร เมืองพยาก  เมืองงาว อยู่ตอนเหนือนคร  เมืองเตาะ อยู่ฝั่งตะวันออกน้ำเตาะ  เมืองวัง  เมืองแจ้ห่ม
            อยู่ฝั่งแม่วังฝั่งตะวันออก ขึ้นนครลำปาง ๙ เมือง
            เมืองเวียงติ้น  เมืองพยาว อยู่ลำแม่วังฝั่งตะวันตก  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองนครลำปาง  ประเทศราช  ผู้ครองเมืองชื่อตามนามเมือง  ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองเสิม  เมืองจาง อยู่แม่จางฝั่งเหนือ  ขึ้นนครลำปาง
          เมืองเชียงของ  เมืองโปง  เมืองเงิน  เมืองสราว  เมืองปัว ขึ้นเมืองน่าน
          เมืองน่าน  ผู้ครองเมืองชื่อพระยามงคลยศประเทศราช  ขึ้นมหาดไทย
            เมืองหิน  เมืองงั่ว อยู่หนใต้  ขึ้นเมืองน่าน ๒ เมือง
          เมืองแพร่  เจ้าเมืองชื่อพญาแพร่ราชวงศาประเทศราช  ขึ้นกรมมหาดไทย
          เมืองสรอง  เมืองแสนหลวง อยู่หนใต้เมืองแพร่  ขึ้นเมืองแพร่
            เมืองนำภูน  เมืองนำอาย  เมืองเพียง  เมืองทุง อยู่ลำของใต้เมืองหลวง ๕ เมือง  เมืองด่านขวา  เมืองเชียงเงิน อยู่ลำน้ำด่านตะวันออกเมืองหลวง ๒ เมือง
            ขึ้นเมืองหลวงพระบาง ๗ เมือง
            เมืองมวย  เมืองสะกก  เมืองหิว  เมืองบุญวัง เมืองหะท้าว  เมืองไต  เมืองปักแสง อยู่ลำน้ำเซืองตะวันออกเมืองหลวง ขึ้น ๗
          เมืองคำเกิด  อยู่หว่างน้ำอ่อน หว่างน้ำยวงฝั่งเหนือ เมืองคำม้วน อยู่ลำน้ำอ่อนฝั่งเหนือ  ขึ้นกรมมหาดไทย ๒ เมือง
            เมืองหาว  อยู่ลำน้ำโชติฝั่งเหนือ ขึ้นเมือง คำม้วน
            เมืองบ่อ  อยู่ลำน้ำอ่อนฝั่งใต้  ขึ้นเมืองคำเกิด
            เมืองว่า  อยู่าลำน้ำมอญฝั่งตะวันออก  ขึ้นเมืองคำม้วน
          เมืองภูเวียง  ขึ้นเมืองเวียงจันทน์
            เมืองยศสุนทร  เหนือลำพมูล พระสุนทรวงศา  เจ้าเมืองนครพนม  กินเมืองยศสุนทรด้วย  ขึ้นกรมมหาดไทย
          กรุงศรีสัตนาคนหุต  อุดมราชธานี  เมืองเวียงจันทน์ ประเทศราช  อยู่ฝั่งลำของฟากเหนือ  ขึ้นกรมมหาดไทย
            เมืองนามฮุง  เมืองเชียงคาน  อยู่เหนือเวียงจันทน์  ขึ้นเมืองเวียงจันทน์ ๒ เมือง
          เมืองท่าบ่อ  เมืองพานพร้าว  อยู่ฝั่งลำของข้างใต้  ขึ้นเมืองเวียงจันทน์ ๒ เมือง
            จากกฎหมายตราสามดวง  ซึ่งเป็นประมวลกฏหมาย รัชกาลที่ ๑  ชำระเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๗ ( จ.ศ. ๑๑๖๖)  ในหมวด กฎมณเทียรบาล  หมวดพระธรรมนูญ  และหมวดพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง  มีเรื่องเกี่ยวกับหัวเมืองของไทยในรูปแบบต่าง ๆ  พอประมวลได้ดังนี้
เมืองที่ถวายดอกไม้ทองเงิน
            มีทั้งหมด ๒๐ หัวเมือง เป็นเมืองฝ่ายเหนือ  ๑๖ และเมืองฝ่ายใต้ ๔ เมือง  เมืองฝ่ายเหนือได้แก่  เมืองนครหลวง  เมืองศรีสัตนาคนหุต  เมืองเชียงใหม่  เมืองตองอู  เมืองเชียงไกร  เมืองเชียงกราน  เมืองเชียงแสน  เมืองเชียงรุ้ง  เมืองเชียงราย  เมืองแสนหวี  เมืองเขมราช  เมืองแพร่  เมืองน่าน  เมืองใต้ทอง  เมืองโคตรบอง  เมืองเรวแกว
            เมืองฝ่ายใต้ได้แก่ เมืองอุยองตะหนะ  เมืองมลากา  เมืองมลายู  เมืองวรวาริ
เมืองพญามหานคร แต่ได้ถือน้ำพระพัท
            มีอยู่ ๘ เมืองด้วยกันคือ เมืองพิศณุโลก  เมืองสัชนาไล  มืองศุกโขไท เมืองกำแพงเพช  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองนครราชสีมา เมืองตะนาวศรี  เมืองทวาย
เมืองลูกหลวง  ได้แก่  เมืองพิศณุโลก  เมืองสวรรคโลก  เมืองกำแพงเพช  เมืองลพบุรี  เมืองสิงคบุรี
เมืองหลานหลวง   ได้แก่  เมืองอินทบุรี  เมืองพรหมบุรี
หัวเมืองเอก   จากเดิมเป็นเมืองพระยามหานคร แต่ตัดทิ้งไปบ้างเหลือเมืองพิษณุโลก  นครศรีธรรมราช นอกนั้นตัดทิ้งไปให้เป็นเมืองประเทศราช เพราะอยู่ไกลออกไปควบคุมไม่ได้
หัวเมืองโท  คือหัวเมืองพระยามหานครเก่า เช่นกัน มีสวรรคโลก  สุโขทัย  กำแพงเพช  เพ็ชรบูรณ์ทางเหนือ  นครราชสีมา  ทางตะวันออก และตะนาวศรีทางใต้  หัวเมืองโทมีความสำคัญต่ออยุธยาในเรื่องการสงคราม
หัวเมืองตรี  คือเมืองพิชัย  พิจิตร  นครสวรรค์  จันทบูรณ์  ไชยา  พัทลุง  ชุมพร
หัวเมืองจัตวา  เป็นเมืองเล็กลงไปปกครองโดยหัวเมืองตรี โท เอก
หัวเมืองที่ขึ้นกับเจ้าพญาจักรี ฯ สมุหะนายก ฯ
            ถ้ามีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไป รั้ง,ครอง เมืองบรรดาที่ขึ้นกับเจ้าพญาจักรี ซึ่งมีอยู่ ๓๑ หัวเมือง  ก็ได้ใช้ตราพระราชสีห์  และใช้ไปให้หัวเมืองทั้งปวง  บรรดาขึ้นแก่มหาดไท  ส่งคู่ความมาพิจารณา  และไปด้วยกิจราชการทั้งปวง  และมีตราพระราชสีห์ไปตั้งเจ้าเมือง และปลัด รองปลัด  นำตราเจ้าพนักงานซึ่งตั้งกรมการ และตั้งนายอากอรขนอนทั้งปวง บรรดาขึ้นแก่กรมมหาดไทย  หัวเมืองดังกล่าวได้แก่  เมืองพิศณุโลก  เมืองสวรรคโลก  เมืองศุกโขไท  เมืองกำแพงเพช  เมืองพิไช  เมืองนครสวรรค  เมืองพิจิตร  เมืองมโนรม  เมืองไชนาฎ  เมืองอุทัยธานี  เมืองอินทบุรี  เมืองพรหมบุรี  เมืองสิงคบุรี  เมืองสรรคบุรี  เมืองลพบุรี  เมืองสรบุรี  เมืองวิเศศไชยชาญ  กรุงเก่า  เมืองนครนายก  เมืองปะจิม  เมืองฉเชิงเทรา  เมืองสุพันทบุรี  เมืองนครไชศรี  เมืองราชบุรี  เมืองเพชบูรร  เมืองท่าโรง  เมืองบัวชุม  เมืองไชบาดาน  เมืองกำพราน  เมืองนครราชศรีมา
หัวเมืองที่ขึ้นกับพญามหาเสนาธิบดี ฯ สมุหะพระกะลาโหม (เจ้าพญากะลาโหม)
            ถ้ามีพระราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไปรั้ง,ครองเมือง ณ หัวเมืองบรรดาขึ้นแก่กรมพระกะลาโหม  ซึ่งมีอยู่ ๑๗ หัวเมือง  ก็ได้ใช้ตราพระคชสีห์  ไปให้กรมการส่งกระทงความหมู่ และไพร่ในกรมวิวาทแก่กัน  และเรียกเงินหาทรัพย์มรดกมาพิจารณาตามตระทรวง
            อนึ่งใช้ตราไปตั้งเจ้าเมืองปะหลัด รองประหลัด  และนำตราเจ้าพนักงานไปตั้งกรมการ และตั้งนายอากอรนายขนอน  ทุกหัวเมืองที่ขึ้นแก่กรมพระกะลาโหม
            หัวเมืองท่าดังกล่าวไดแก่  เมืองนครศรีธำมราช  เมืองพัทลุง  เมืองสงขลา  เมืองไชยา  เมืองชุมพอน  เมืองเพชบุรี  เมืองกุย  เมืองปราน  เมืองคลองวาน  เมืองบางตะพาน  เมืองถลาง  เมืองตะกั่วทุ่ง  เมืองตะกั่วป่า เมืองตะนาวศรี  เมืองมฤต  เมืองทวาย  และเมืองสามโคก
หัวเมืองที่ขึ้นกับเจ้าพญาธรรมราช ฯ ( โกษาธิบดี )
            ถ้ามีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไปรั้ง, ครองเมือง ณ หัวเมืองขึ้นแก่โกษาธิบดี ซึ่งมีอยู่ ๘ หัวเมือง  มีตราไปตั้งเจ้าเมืองประหลัด รองประหลัด  ไปเอากิจราชการ และสุขทุกข์ถ้อยความ ณ หัวเมืองซึ่งขึ้นแก่โกษาธิบดี  และนำตราเจ้าพนักงานไปตั้งกรมการและตั้งนายอากอรนายขนอนทั้งปวง ฯลฯ
            หัวเมืองดังกล่าวได้แก่  เมืองจันทบูรรณ  เมืองตราด  เมืองระยอง  เมืองบางลมุง  เมืองนนทบุรี  เมืองสมุทประการ  เมืองสมุทสงคราม  เมืองสาครบุรี
พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
            ศุภมีศดุ ๑๒๙๘..... พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถ ฯ..... เจ้าพญาธรรมาธิบดี ฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าตำแหน่งศักดิ์นาหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา  ปากใต้ฝ่ายเหนือนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเป็นประการใด..... มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า  เจ้าพญาแลพญาพระหลวงเมืองผู้รั้งกรมการบรรดารับราชการอยู่ ณ หัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา  ปากใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงให้ถือศักดิ์นาตามพระราชประหยัติดังนี้
            เจ้าพญาสุรศรี ฯ  เมืองพิศณุโลก  เอก อุ นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
พระราชฤทธาบนพหลภักดี  พระยาไชยบูรรปลัด นา ๓๐๐๐ ฯลฯ เมืองขึ้นพิศณโลกญ  เจ้าเมือง นา คนละ ๑๖๐๐

ฯลฯ
            เจ้าพญาศรีธรรมราช ฯ  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองเอก นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
พระศรีราชสงครามปลัด นา ๓๐๐๐ ฯลฯ เมืองขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช นา คนละ ๑๖๐๐
ฯลฯ
            ออกญากระเสตรสงคราม ฯ  พญาสวรรคโลกย  เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกญาศรีธรรมศุภราช ฯ  เจ้าเมืองศุกโขไท  เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดง จุลาเทพซ้าย
            ออกญารณรงคสงคราม ฯ  เมืองกำแพงเพช  เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกญาเพชรัตนสงคราม ฯ  เมืองเพชบูรรณ  เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกญากำแหงสงคราม ฯ  เมืองนครราชศรีมา  เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกญาไชยยาธิบดี ฯ  เมืองตะนาว  เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
                   ปลัด นา ๑๒๐๐ เมืองขึ้นเมืองโท นา คนละ ๑๐๐๐
            ออกญาศรีสุริยะราชาไชย ฯ  เจ้าเมืองพิชัย  เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกญาเทพาธิบดี ฯ เมืองพิจิตร  เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกญาไกรเพชรรัตนสงคราม เมืองนครสวรรค์  เมืองตรี นา ๕๐๐ ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกญาไชยธิบดีศรีณรงคฤาไชยา เมืองจันทบูรรณ  เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
            ออกพระวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม  พระไชยา  เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นอินปัญญาซ้าย
            ออกญาแก้วการพยพิไชย ฯ  ออกญาพัตะลุง  เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นอินปัญญาซ้าย
            ออกญาเคาระทราธิบดี ฯ  พระชุมภอร  เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นอินปัญญาซ้าย
                   ปลัด นา ๑๐๐ เมืองขึ้นเมืองตรี นา คนละ ๘๐๐
            ออกพระศรีสุรินทฤาไชย เมืองเพชบุรี  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกพระสุรบดิน ฯ พระไชยนาถ  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกเมืองอินทบุรีย เมืองอินท  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกเมืองพรหมบุรีย เมืองพรหม  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระญี่สารสงคราม  พระสิงคบุรีย  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระนครพราหมณ  พระลบบุรีย  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกพระพิชัยรณรงค  พระสรบุรีย  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระพิไชยสุนทร เมืองอุไทยธานี  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระศรีสิทธิกัน เมืองมโนรมย
            ออกพระวิเสศไชยชาญ เมืองอ่างทอง  ขึ้นประแดงษารภาษขวา
            ออกพระสรรคบุรี เมืองสรรคบุรี  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระพิไชยภักดี ฯ  เมืองการบุรีย  ขึ้นประแดงเสนาฏซ้าย
            ออกเมืองพลคบุรีย เมืองไทรโยค  ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
            ออกพระสุนทรสงคราม ฯ  พระสุพันทบุรีย  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระศรีสวัดบุรีย เมืองศรีสวัด  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกพระสุนธรบุรีย เมืองนครไชยศรี
            ออกพระอมรินทฤาไชย เมืองราชบุรีย  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            ออกพระวิเสศฤาไชย เมืองฉะเชิงเทรา  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกพระพิบูรสงคราม เมืองนครนายก  ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
            ออกพระอุไทยธานี เมืองปราจีนบุรีย  ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
            พระนนทบุรีศรีมหาสมุท  เจ้าเมืองนนทบุรีย  ขึ้นประแดงอินทปัญญาซ้าย
            พระสมุทสาคร เมืองท่าจีน
            พระสมุทสงคราม เมืองแม่กลอง
            พระสมุทประการ เมืองปากน้ำ
            พระธนบุรีย เมืองชน  ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
            พระปรานบุรีย เมืองปรานบุรีย  ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
            ออกพระพิไชยภักดี ฯ  เมืองกุย  ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
            ออกพระราชภักดี ฯ  เมืองระยอง  ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
          เมืองบางละมุง พระศรีสมอรัตน ฯ  เมืองท่าโรง  พระนครไชยสินนรินท เมืองบัวชุม  พระจันบูรรราชภักดิ์  เมืองกำพราน เมืองไชยบาดาน
            เมืองจัตวาขึ้นมหาดไท  กระลาโหม  กรมท่า  ถือศักดินา ดังนี้ เจ้าเมือง นา ๓๐๐๐ ปลัดนา ๖๐๐ ยุกระบัด นา ๕๐๐ แพ่ง  จ่าเมือง  สุพมาตรา  สัศดี  แขวง  นาคนละ ๔๐๐ รอง ฯลฯ  นาคนละ ๓๐๐
 
 

การเสียดินแดนของไทย (พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๔๕๑)

            ไทยได้เสียดินแดนให้กับประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส  ซึ่งได้มาล่าเมืองขึ้นในแถบทวีปเอเซีย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๑ รวม ๕ ครั้งคือ
               ครั้งที่ 1     เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไท ให้แก่ฝรั่งเศส เป็นพื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑
               ครั้งที่ 2     เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือ ดินแดนที่เป็นประเทศลาวทั้งหมด และดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง คือ ดินแดนอาณาจักรล้านช้าง ให้แก่ฝรั่งเศส
                                   เป็นพื้นที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖
              ครั้งที่ ๓     เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  คือ ดินแดนแคว้นจำปาศักดิ์ และแขวงเมืองมโนไพร ให้แก่ฝรั่งเศส เป็นพื้นที่ ๖๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร  เมื่อวันที่ ๑๓
                                   กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖  เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี  ซึ่งฝรั่งเศสยึดไปจากไทยตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๗)
              ครั้งที่ ๔     เสียดินแดนมณฑลบูรพา  อันประกอบด้วย  เมืองศรีโสภณ  เมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง  ให้แก่ฝรั่งเศส เป็นพื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
                                   เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๔๙  เพื่อแลกกับเมืองตราด  เกาะกง และเมืองด่านซ้าย และการได้มาของอำนาจศาลไทย
                                   ที่จะบังคับต่อคนที่อยู่ในบังคับฝรั่งเศสในประเทศไทย
               ครั้งที่ ๕    เสียรัฐกลันตัน  ตรังกานู และปลิส  ให้แก่อังกฤษ  เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑  เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจศาลไทย
                                   ที่จะบังคับต่อคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์