วัดผาลาด สวย สงบ อิ่มเอมใจ

0

palad-temple (6)palad-temple (2)

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีวัดวาอารามทั้งน้อยใหญ่เกิดขึ้นมากมายครับ ซึ่งแต่ละวัดก็ล้วนแล้วแต่มีประวัติความเป็นมา และมีอายุนับร้อยๆ ปี และกว่าที่จะกลายมาเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในทุกวันนี้ ย่อมต้องผ่านกาลเวลา และความผันแปรของยุคสมัยมามากมาย ทริปนี้ดูเอเซีย.คอมจะพาเพื่อน ๆ มาเที่ยวชมวัดผาลาดชมความเงียบสงบภายใต้ธรรมชาติที่งดงาม

ในอดีตชาวล้านนามีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จากปาฏิหารย์ที่องค์พระบรมสารีริกธาตุ วัดสวนดอก แยกออกเป็น 2 องค์ ทำให้พระเจ้ากือนา กษัตริย์ผู้ครองราชย์ในสมัยนั้น คิดหาสถานที่ที่จะสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์หนึ่ง พระเจ้ากือนาจึงทรงทำการเสี่ยงทายในวันวิสาขบูชา ทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคล ถ้าช้างไปหยุด ณ จุดใด ก็จะใช้สถานที่นั้นเป็นที่สร้างวัดเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ช้างเสี่ยงทายเริ่มเดินออกจากวัดสวนดอก บ่ายหน้าขึ้นสู่ดอยสุเทพไปจนถึงยอดชั้นที่ 1 ชื่อดอยหมากขนุน หรือดอยช้างนูน และขึ้นต่อไปถึงยอดชั้นที่ 2 ชื่อดอยสนามยอด หรือดอยสามยอด ระหว่างทางช้างเกิดสั่นและหยุดพักช่วงหนึ่ง พระเจ้ากือนาจึงโปรดให้สร้างขึ้น ณ จุดที่ช้างพัก ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดผาลาด นั่นเอง

palad-temple (5) palad-temple (4) palad-temple (3)

 

ประวัติวัดผาลาด

วัดผาลาดเดิมสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายเพื่อหาสถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ  ตามตำนานสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ช้างที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ได้เดินทางมุ่งตรงไปทางดอยอ้อยช้าง ทิศตะวันตกของเมือง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งพญาลิไทยจากเมืองสุโขทัย และเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็แห่ฆ้อง กลอง ตามหลังช้างไป เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุดและย่อเข่าลง  พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งบริวารต่างเห็นพ้องกันว่าควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั่น

 palad-temple (8)  palad-temple (9) palad-temple (7)

ขณะที่ทุกคนกำลังสนทนากันอยู่นั้น ช้างก็ลุกขึ้นเดิน และหยุดย่อเข่าลงอีก (ภาษาเหนือเรียกอาการของช้างว่า ยอบลง) ช้างทำกิริยาอย่างนี้ 3 ครั้ง แล้วเดินต่อไปถึงผาลาดหรือห้วยผีบ้า ข้างธารน้ำตกมีที่ราบเป็นบริเวณกว้าง จึงหยุดพักอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วเดินทางต่อไปจนกระทั่งถึงดอยอ้อยช้าง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ญ สถานที่นั้น คือ วัดพระธาตุดอยสุเทพในปัจจุบัน

วัดผาลาดเป็นวัดป่า 1ใน 3 วัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย  วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี เคยถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไป แต่ก็ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ให้มีสถานภาพเป็นวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรม ส่วนสาเหตุที่ตั้งชื่อว่าวัดผาลาดนั้น ผู้เฒ่า ผู้แก่บางท่านเล่าว่า เดิมเรียกว่า ผะเลิด เพราะคนที่ดินตามช้างมาตามลำธารน้ำตก แล้วเกิดลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน จึงให้ชื่อว่าวัดะเลิด ต่อมาเรียกว่าวัดผาลาด ตามชื่อน้ำตกครับ

โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดก็จะมี วิหาร ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัย สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศใต้ เพื่อไม่ให้ฐานซ้อนที่กัน โดยมีสล่า (ช่าง) เป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง และครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม ปัจจุบันป้านลม ช่อฟ้าหักลงมาเกือบทั้งหมด หลังคาก็ผุพังชำรุดหลายแห่ง เมื่อฝนตกจะเกิดการรั่วซึมเกือบทั้งหลัง

   palad-temple (14)palad-temple (15)palad-temple (26) palad-temple (21)

เจดีย์ เป็นศิลปะสมัยครูบาศรีวิชัย แต่สร้างโดยช่างชาวพม่า กลุ่มเดียวกับที่สร้างวิหาร ลักษณะของเจดีย์จึงออกมาเป็นศิลปะแบบพม่า สันนิษฐานว่ารูปทรงน่าจะคล้ายกันกับวัดมหาวัน ถนนท่าแพ เชียงใหม่ แต่สภาพที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันถูกขุดเจาะเอาของสำคัญที่บรรจุอยู่ภายในเจดีย์ไปตั้งแต่สมัยสงครามโลก  และสมัยหลังสงคราม จนเป็นเหตุให้ยอดเจดีย์พังลงมา องค์เจดีย์เป็นรูใหญ่ ควรได้รับการบูรณะอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นจะพังลงมามากว่านี้

ส่วนบ่อน้ำที่เห็น บ้างก็บอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์  จากการสังเกตทำให้ทราบว่ามีการสร้างทับขึ้นหลายครั้ง  จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งสร้างขึ้นโดยชาวสุโขทัยที่ติดตามงานบุญอัญเชิญพระธาตุร่วมกับพระเจ้ากือนา เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ เป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำห้วยโดยตรง  ส่วนครั้งที่สองน่าจะเป็นสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่  และครั้งที่สามสมัยครูบาศรีวิชัย การสร้างมณฑปครอบบ่อน้ำนี้เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในถิ่นชาวไทยใหญ่ และทางภาคเหนือของพม่า

palad-temple (10)

palad-temple (11)

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
palad-temple (12)

พระพุทธรูปหน้าผา เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก  วิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผา ศิลปะร่วมสมัย มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่ตรงหน้าผาเป็นพระแบบเชียงแสน และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์องค์หนึ่งเรียกว่า พระไล่กา เหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะว่า คนโบราณลงอาคมไว้เพื่อไม่ให้กา ที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์แจ้งเหตุร้าย และนิสัยไม่ดีไม่สามารถบินผ่านวัดขึ้นไปได้ เพราะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่าพระไล่กา แม้ผู้คนที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ หากนำอาหารติดตัวมา หากเป็นเนื้อไม่ว่าสุกหรือดิบจะไม่สามารถเอาผ่านวัดนี้ไปได้ มักจะมีอาการปวดหัว ปวดท้อง ต่อมาภายหลังมีชาวไทยใหญ่หลบภัยสงครามมาอยู่ที่ถ้ำผาลาดนี้ จึงพากันสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะ และป้องกันภัย

palad-temple (20) palad-temple (16) palad-temple (17) palad-temple (18) palad-temple (19)

วิหารพระเจ้ากือนา ปัจจุบันเห็นเพียงแต่แนวอิฐ อยู่ข้างลำธาร ตรงฐานพระประธาน มีการสร้างศาลาครอบเอาไว้  แต่ยังมองเห็นแนวแท่นพระอยู่  ขณะนี้วัดกำลังทำโครงการปรับภูมิทัศน์บริเวณดังกล่าว นอกจากวิหารพระเจ้ากือนา ก็ยังมีวิหารสามยอบ ปัจจุบันเห็นเพียงแค่เนินดินสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 20 x 40 เมตร มีก้อนอิฐกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ด้านหน้าของวิหารมีร่องรอยของสระน้ำอยู่ ในสมัยโบราณน่าจะมีทางน้ำไหลผ่านเข้ามาที่สระ ซึ่งหากสามารถนำน้ำลงมา ณ ที่นั้นได้ก็จะช่วยให้บริเวณของสามยอบ มีความชุ่มชื้น ต้นไม้ใบหญ้าจะสดชื่นเขียวชอุ่ม

นอกจากจะมาเที่ยวชมโบราณสถานในวัดผาลาดแล้ว ทางวัดยังจัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สำหรับพุทธศานิกชนและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการฝึกนั่งสมาธิ และปฏิบัติธรรม วัดผาลาดเป็นวัดเล็ก ๆ ที่มีความสงบและเป็นวัดที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบของจิตใจและก็ยังเป็นวัดที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนานอีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุดอยสุเทพที่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเชียงใหม่

 palad-temple (23) palad-temple (24) palad-temple (27) palad-temple (28) palad-temple (29)

สำหรับเพื่อนๆ ที่เที่ยวชมวัดผาลาดแล้ว ระหว่างทางก็ยังมีน้ำตกวังบัวบาน ซึ่งเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีประวัติที่แสนเศร้ามากครับ เค้าเล่ากันว่าเมื่อก่อนน้ำตกแห่งนี้เป็นสถานที่ในการปลิดชีพตัวเองของสาวชาวเหนือที่มีความรักให้กับหนุ่มชาวกรุงเทพ แต่เมื่อความรักไม่สมปราถนา สาวผู้นั้นก็มากระโดดหน้าผาที่น้ำตกแห่งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักครับ เห็นมั้ยว่าเรื่องมันเศร้า…

 

การเดินทางไปวัดผาลาด

จากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามถนนห้วยแก้วขึ้นดอยสุเทพ หลังจากผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยไปแล้ว ขับรถขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ไกลครับจะมีป้ายด้านซ้ายมือก็เลี้ยวเข้าไปเลย สังเกตดูทางเข้าจะมีอาคารสีขาวที่มีพระพุทธรูปอยู่ภายใน

เชิญแสดงความคิดเห็น