พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์

0

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์    ซึ่งอยู่ภายในตลาดสามชุก ที่ทุกคนล้วนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่บางคนอาจจะไม่ได้สังเกตุว่าในตลาดแห่งนี้มีบ้านอยู่หนึ่งหลัง ซึ่งมีความสำคัญมาก ตั้งอยู่ในตลาดสามชุก ซอย 2 เพราะเป็นบ้านของขุนจำนง จีนารักษ์ ชาวจีนคนแรกที่เข้ามาทำการค้าและบุกเบิกตลาดสามชุก

3chuk (1) 3chuk (2) 3chuk (29)

ข้อมูลจากสามชุก บอกไว้ว่า ขุนจำนงจีนารักษ์ นามเดิมว่า หุย แซ่เฮง เป็นคนจีนเกิดใน ประเทศไทย ใกล้วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ประกอบอาชีพค้าขาย มีโรงเหล้า และโรงยาฝิ่น เมื่อเยาว์วัยศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศจีน กลับมาเมืองไทยเมื่ออายุ 20 กว่าปี ต่อมาได้สมรสกับคุณกุ้ยเอง แซ่เจ็ง เป็นคน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้ 1. นายโต้วซ้ง(บุญส่ง) จีนารักษ์ ปัจจุบันถึงแก่กรรม 2. นายติ้งซ้ง จีนารักษ์ ปัจจุบันถึงแก่กรรม 3. นางซิ้วลั้ง จีนารักษ์

3chuk (3)3chuk (19) 3chuk (5) 3chuk (27)

ต่อมาได้เช่าที่ราชพัสดุปลูกบ้าน 3 ชั้น (คอนกรีตเสริมเหล็ก)ใน พ.ศ.2459 กิจการค้าขายของท่านเจริญรุ่งเรืองไปถึง 6 อำเภอ ท่านจึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ประกอบกับท่านเป็น คนดีมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก จึงได้เป็นผู้นำชุมชน คุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนจำนงจีนารักษ์ ตำแหน่งกรรมการพิเศษจังหวัดสุพรรณบุรี นายอากรสุรา-ฝิ่น ศักดินา 400 ไร่ จากพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2474 เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลิกการสูบฝิ่น ท่านจึงหันมาทำสวนทำไร่ และเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 83 ปี บ้านของท่านในส่วนของ คุณเคียวยี้ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนาย โต้วซ้ง จีนารักษ์ อนุญาติให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นเวลา 10 ปี ปัจจุบันได้ 8 ปีแล้ว โดยใช้ชื่อ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง จีนารักษ์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของโบราณ สำหรับผู้ที่สนใจเข้า ชมเพื่อศึกษาหาความรู้มาจนถึงปัจจุบันนี้

3chuk (4) 3chuk (9) 3chuk (12) 3chuk (14) 3chuk (6) 3chuk (7) 3chuk (8)3chuk (11)

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2547 ก่อนเข้าไปในบ้าน ก็จะต้องถอดรองเท้าเสียก่อนเพื่อให้เกียรติเจ้าของบ้าน ตามมารยาทนะคะ เข้ามาแล้วจะเห็นได้ว่าบริเวณชั้น 1 นั้น ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก สายชีวิตของชุมชนสามชุก สังคม และสภาพวิถีชีวิตของผู้คนสามชุก และมีการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพวาด เกี่ยวกับสามชุกของนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 3chuk (21) 3chuk (10) 3chuk (15)3chuk (18) 3chuk (20) 3chuk (22) 3chuk (23) 3chuk (24) 3chuk (25)  3chuk (16)3chuk (26)

เมื่อเดินขึ้นไปบนชั้นที่ 2 ก็จะมีน้องๆมัคคุเทศก์ คอยบริการทางด้านข้อมูล บนชั้นนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติขุนจำนงจีนารักษ์ เจ้าของบ้านสามชั้น ภาพถ่ายเก่าๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดวางข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เตียง ตู้ที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทีวีเก่า โคมไฟ สวิตไฟโบราณ บริเวณริมระเบียงมีโต๊ะที่ให้ผู้ที่มาเยี่ยมชม ลงชือยี่ยมชม มองออกไปนอกระเบียง จะเห็นต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อว่า กระดังงาจีน ซึ่งมีอายุเท่ากับตัวบ้าน คือ 98 ปี เมื่อได้ชม และศึกษาแล้วก็ทำให้การมาเที่ยว ณ ตลาดสามชุกแห่งนี้มีคุณค่า และยังได้ซึมซับถึงเรื่องราวที่มีมากว่าร้อยปี ทางด้านหน้าของบ้านมีร้านขายโปสการ์ดและของที่ระลึกของบ้านขุนจำนงจีนารักษ์ให้ได้เลือกซื้อด้วยค่ะ

3chuk

เพื่อนๆคนไหนที่มาตลาดสามชุกแล้วนอกจากจะมาชมความเก่าแก่และมีสเน่ห์ หรือจะมาเลือกซื้อสินค้าที่ระลึก อาหารอร่อยๆของตลาดสามชุกแล้ว ก็อย่าลืมที่จะมาศึกษาเรื่องราวประวัติที่น่าสนใจ กับวิถีชาวตลาด 100 ปี ของตลาดมีชีวิตแห่งนี้ด้วยนะคะ หลังจากเที่ยวตลาดแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นใกล้ๆที่น่าสนใจ อีกมากมาย เช่น วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, พิพิธภัณฑ์เผ่าพันธ์มังกร อำเภอเมือง, บึงฉวาก อำเภอเดิมบางนางบวช, บ้านควาย สุพรรณบุรี ฯลฯ

 

การเดินทาง

 เดินทางด้วยรถยนต์ สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 ผ่าน อ.ศรีประจันต์ (ห่างจาก อ.เมือง ประมาณ 20 กม.) ไปต่อจะถึงแยกเข้าตลาดสามชุก ซึ่งบริเวณแยกเข้าตลาดจะมีห้างโลตัสอยู่ ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

 เดินทางด้วยรถตู้จากกรุงเทพฯ

ท่ารถตู้จะอยู่ตรงแยกคอกวัวฝั่งตรงข้ามกับกองสลาก ซอยที่ 2 เลยป้ายรถเมล์มา(ใกล้โรงแรมรัตนโกสินทร์) ซึ่งแถวนั้นจะมีท่ารถตู้ไปกาญจนบุรีและไปนครปฐมด้วย ที่ท่ารถตู้จะเขียนป้ายไปสามชุกตลาดร้อยปี เมื่อมาถึงสามชุกแล้ว จากท่ารถตู้เดินมาไม่ไกลก็สามารถเดินเข้าเยี่ยมชมตลาดร้อยปีได้

เดินทางด้วยโดยสารประจำทาง(รถทัวร์)

ท่านสามารถขึ้นได้ทั้งที่ สถานีปรับอากาศสายใต้ และ หมอชิต โดยที่ท่านจะต้องขึ้นรถที่เขียนว่า กรุงเทพฯ-ท่าช้าง ทั้ง 2 สถานี

เชิญแสดงความคิดเห็น