ประเพณีชนกว่างของทางภาคเหนือกิจกรรมดีๆ ที่ร่วมสานสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้มาสนุกสนานกัน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างมารวมตัวกันเพื่อชม นักสู้ตัวจิ๋วใจใหญ่ ในศึกชิงนางเป็นความตื่นเต้นที่อาจทำให้ผู้ชมต่างถิ่นต้องหาโอกาสมาชมกันสักครั้ง
กว่าง หรือ "แมงคาม" เป็นชื่อเรียกของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มี 6 ขา ตัวผู้จะมีเขายื่นไปข้างหน้าและโค้งเข้าหากัน ตอนปลายเขาแยกเป็นสองแฉก ซึ่งมีตั้งแต่ 2 เขา 3 เขา และ 5 เขา แต่ที่นิยมนำมาเล่นกันคือกว่างสองเขา ส่วนตัวเมียไม่มีเขา เกิดจากไข่ของแม่กว่างที่ฟักตัวในดิน มีชื่อเรียกตามรูปร่าง ตามขนาด และเรียก ตามแหล่งที่เกิด เช่น กว่างโซ้ง กว่างแซม กว่างกิ กว่างอีลุ้ม (กว่างตัวเมีย) บางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง
.JPG)
ก่อนการเ่ล่นนำกว่างมาวางโชว์กันก่อนครับ เพื่อหาคู่เปรียบ
.JPG)
กว่างโซ้ง
ในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ประชาชนในชนบทในภาคเหนือ เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจการงาน พวกผู้ชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน มักจะหากิจกรรมการละเล่นต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนานและเกิดความสามัคคี ทั้งในหมู่บ้านเดียวกันและข้างเคียง ซึ่งกิจกรรมหนึ่งคือการเล่น “ชนกว่าง”
การชนกว่างเป็นการนำกว่างตัวผู้ที่มีเขาโง้งยาวชนิด 2 เขา มีรูปร่างสวยงาม ตัวเป็นมันสีน้ำตาลแดงถึงเข้ม ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ชาวบ้านเรียกกว่างที่มีลักษณะดีนี้ว่า “กว่างโซ้ง” หรือหากเป็นสีดำออกแดง เรียกว่า "กว่างรักน้ำใส" ถ้าสีดำสนิทเรียกว่า "กว่างรักน้ำปู๋" และยังมีกว่างอีกชื่อคือกว่างแซม มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างแซม เขาจะสั้นเท่ากันทั้งบนและล่าง ชอบส่งเสียง “ซี่ ๆ” กว่างจะถูกนำมาประกวดความงามกันก่อนการแข่งจะเริ่มต้น โดยวางเรียงรายอยู่บนโต๊ะที่จัดไว้ เพื่อหาคู่ที่เหมาะสม โดยการเปรียบเปรียบเทียบดูว่ามีขนาดลำตัว เขา เท่ากันหรือไล่เลี่ยกันหรือไม่ หากมีขนาดเท่ากันก็จะนำมาแข่งขันกันบนสังเวียนที่จัดไว้ นับเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนาที่นิยมเล่นกันมาเป็นเวลานาน นัยว่ามีมาก่อนยุคของพระนางจามเทวี กลายเป็นประเพณีของชาวล้านนา จนมีคำกล่าวขานกันว่า “กว่างนักสู้แห่งล้านนา”
.JPG)
กำลังเปรียบกว่างหาคู่ชน
ต้องทำการหาคู่ที่เหมาะสมในการต่อสู้
กว่างนักสู้บางตัวที่เจ้าของชอบมากๆ จะได้รับการบำรุง เช่น น้ำอ้อยคั้นสด (อ้อยดำสุดยอดอ้อยบำรุงกว่าง) มาให้กว่างกิน และจะทำการฝึกซ้อมให้กว่างของตัวเองมีความอดทน เช่น ซ้อมบิน ว่ายน้ำ เพื่อฝึกกำลัง หรือเดินบนพื้นทรายร่อนละเอียดเพื่อให้เล็บกว่างคมแข็งแรงเวลาชนจะเกาะ “คอน” ได้แน่นขึ้น เป็นต้น และที่จะขาดไม่ได้คือการฝึกฝนทักษะการต่อสู้
เมื่อเริ่มการชนกว่างต้องใช้กรรมการหนึ่งคนนั่งตรงกลางระหว่างเจ้าของกว่างที่จะนั่งอยู่ซ้าย-ขวา บนเวทีที่ตั้งอยู่ค่อนข้างสูงให้เห็นกันชัดๆ โดยจะนำกว่างไปวางไว้บนสังเวียนที่เรียกว่า "คอน" ซึ่งทำจากแกนปอ เป็นไม้ที่มีเนื้ออ่อนนุ่นกว่างจะเกาะได้ดี ที่คอนนี้จะช่องเจาะไว้เป็นร่องเพื่อเอาอี่หลุ้ม
.JPG)
หรือบางทีเรียกกว่างแม่อู๋ด ซึ่งเป็นกว่างตัวเมียลงไปใส่ไว้ ให้หลังกว่างอี่หลุ้มโผล่ขึ้นมานิดหนึ่ง เพื่อให้กว่างตัวผู้ทั้งสองตัวมาดมแล้วเกิดความต้องการทางเพศปลุกความเป็นนักสู้ ประกอบกับอีกมือของผู้ควบคุมกว่างก็จะหมุนปั่น "ไม้ผั่น" กับคอนให้เกิดเสียงดัง “กลิ่ง ๆ” (เสียงที่มุมของไม้ปั่นตีกับคอน) กว่างนักสู้เมื่อได้ยินเสียงประกอบกับกลิ่นกว่างแม่อีลุ้ม ก็จะตรงไปที่กว่างตัวเมียและกว่างตัวผู้ทั้งสองตัวก็จะชนกันแบบ “ศึกชิงนาง” เมื่อประจันหน้ากันเข้าก็จะเอาเขาสอดสลับเขากัน เรียกว่า "คาม" หรือเอาเขาประสานกันตางฝ่ายต่างหนีบกัน โดยไม่เพลี่ยงพล้ำ เมื่อกว่างตัวใด พยายามเบี่ยงตัวและชิงความได้เปรียบโดยสามารถใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้เพียงฝ่ายเดียว ผู้เล่นจะใช้มือหมุนคอนเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับกว่างของตัวเอง ซึ่งการชนกว่างนี้ นับได้ว่าเป็นการแข่งขันร่วมกันระหว่างกว่างและผู้ควบคุมกว่าง ดังนั้นผู้บังคับกว่างชนต้องมีประสบการณ์และมีฝีมือ ทำให้คนดูมีความสนุกสนานอย่างยิ่ง
.JPG)
คอน สังเวียนกว่าง ที่เจาะไว้ใส่กว่างอีหลุ้ม หรือกว่างตัวเมียไว้ข้างใน
.JPG)
กรรมการนั่งตรงกลาง มีผู้เล่นอยู่ด้านข้างพร้อมกับนักสู้ที่ตนนำมา
หลังจากกว่างนักสู้ได้ชนกัน หากตัวไหนแพ้ก็จะแสดงอาการหนีหรือถอยให้แก่คู่ต่อสู้ ก็ถือเป็นการสิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้ หากคู่ที่สูสีกันมากชนกันไปมาเข้า "คาม" กันหลายครั้ง (เข้าคาม คือการที่เขาของกว่างทั้งสองเข้าประกบพร้อมกัน) จนหมดยกโดยผู้ชมจะสามารถดูได้จากป้ายบอกคามว่ากว่างคู่นี้ชนกันได้กี่คามแล้วที่้ด้านบนศรีษะกรรมการ ป้ายบอกคาม ใช้บอกเตือน “คาม” ในระหว่างการแข่งชนกว่าง (ยกการแข่งขัน) ในอดีตใช้เชือกป่าน ร้อยแถบไม้ หรือไม้ไผ่ แขวนเหนือคานที่คู่แข่งขันนั้นๆ กำลังแข่งชนกันอยู่ ให้ผู้ชมเห็น ได้ชัดเจน ปัจจุบันใช้แผ่นพลาสติกแทนเพราะหาง่าย
ไม่ผั่นกว่าง
ไม้ผั่น เป็นชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่น แ ตกต่างกันตามท้องที่ เช่น ไม้ผั่นกว่าง ไม้ผัด ไม้แหล็ด ไม้ริ้ว หรือ ไม้ริ่ง เป็นต้น ใช้ปั่นเพื่อกระตุ้นหรือยั่วยุให้กว่างโกรธและฮึดสู้ อีกทั้งยังเป็นการมีส่วนร่วมเป็นความสนุกของเจ้าของกว่างที่ได้อยู่ในเกมส์การชนกว่างด้วย โดยจะใช้ไม้ผั่น ปั่นบริเวณหน้าหรือเขาหรือด้านข้างของตัวกว่าง ให้กว่างเดินไปหรือหันไปในทิศทางที่ต้องการ ไม้ผั่น ไม่จำเป็นต้องทำจากไม้ อาจทำจากเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ก็ได้ โดยทั่วไปจะมีความยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ลักษณะเป็นทรงไม้กระบองที่ทำการเซาร่องหรือทำเป็นเหลี่ยม ส่วนปลายแหลมมน ส่วนโคนเหลาให้มีขนาดเล็กกว่าเป็นที่สำหรับจับถือ อาจมีการสลักลวดลายตามความชอบใจของเจ้าของ ตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลงและเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลาปั่นก็จะเกิดเสียง “หลิ้ง ๆ” ทำให้สนุกสานมากขึ้น
สนุกสนานกับการชนกว่างแล้ว ช่วงเวลาของนักสู้เหล่านี้ไม่ได้ยาวนานนักเพราะมีอายุได้เพียงประมาณ 3 เดือนหลังจากกว่างได้เกิดและออกจากดินมาแล้วนั้น ก็กำลังจะหมดอายุขัย และก็เป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลการชนกว่างพอดี ตามธรรมเนียมที่เคยทำกันมา เมื่อออกพรรษาแล้วจะนำกว่างตัวเมียมาให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ มีกว่างตัวเมียอยู่กี่ตัว ก็จะเอามาให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ทุกตัว แล้วนำทั้งกว่างตัวผู้ และตัวเมียไปใส่ไว้ในตะกร้าที่มีกล้วยอ้อย นำไปแขวนไว้ตามชายคาบ้านหรือใต้ต้นไม้ ตกกลางคืนกว่างทั้งหลายก็จะผสมพันธุ์กันตามวิสัย แล้วกว่างตัวเมียจะบินไปสู่บริเวณที่เป็นเนินดินแล้วขุดลงไปไข่ไว้ในดิน หลังจากไข่แล้ว กว่างตัวเมียก็จะฝังตัวตายอยู่ในที่นั้น ไข่ก็จะฟักออกเป็นตัวหนอนและเป็นกว่างในปีต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูล http://www.dnp.go.th