ผู้เขียน : dooasia เมื่อ : 8 พ.ย 55. เปิดอ่าน : 2030 ครั้ง
|
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย ประตูสู่เมืองปาย
ประวัติศาสตร์มีไว้ให้ค้นหา ทุกหนทุกแห่งล้วนมีเรื่องเล่าความเป็นมา ดังเช่นสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย จุดแรกเมื่อมาถึงปายนักท่องเที่ยวจะต้องพบกับสะพานท่าปายอย่างแน่นอนหากมาตามเส้นทางปาย-แม่มาลัย เพราะอยู่ก่อนจะเข้าตัวเมืองปาย 19 กิโลเมตร สะพานประวัติศาสตร์ท่าปายเปรียบเสมือนประตูสู่อำเภอปาย ณ จุดนี้เราจะได้ทราบความเป็นมาของสะพานเก่าแก่ และเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองปาย แม้ในปัจจุบันจะมีสะพานปูน ได้สร้างอยู่เคียงข้างกัน (ติดกันเลยครับ) แต่สะพานประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งนี้ ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่มา เยือนอำเภอปายอยู่เป็นประจำเพื่อถ่ายภาพ และพักผ่อนจากการเดินทาง ประวัติสะพานท่าปายเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายวงกว้างส่งผลกระทบไปเกือบทุกประเทศ และทั่วทุกทวีป กองทหารประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาฐานทัพในไทยเพื่อใช้เส้นทางข้ามแม่น้ำปายและลำเลียงเสบียงและอาวุธเข้าไปยังประเทศพม่าซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในขณะนั้น แด่ด้วยการเดินทัพอันยากลำบากบนเส้นที่เป็นหุบเขา และมีลำน้ำปายขวางกั้น กองทหารญี่ปุ่นริเริ่มสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปาย โดยการเกณฑ์ชาวไทยจากหมู่บ้านต่างๆ ให้ขุดถางเส้นทางจากเชียงใหม่ ไปยัง แม่ฮ่องสอน โดยจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานต่อคนวันละ 50 สตางค์ - 1.50 บาท ในขณะเดียว กันชาวบ้านอีกฝั่งของแม่ฮ่องสอน ก็ถูกเกณฑ์ว่าจ้างให้ขุดถางเส้นทางมุ่งหน้าไปยังเชียงใหม่ โดยทั้งสองเส้นทางต่างมาบรรจบกันที่ฝั่งแม่น้ำ บริเวณบ้านท่าปาย อำเภอปาย แล้วจึงร่วมแรงกันใช้ช้างลากไม้ใหญ่หน้า 30 นิ้ว ออกจากป่า ตั้งเป็นเสาสร้างขึ้นเป็นสะพาน บรรจบทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันเหนือแม่น้ำปาย กลายเป็นเส้นทางและสะพานแห่งประวัติศาสตร์สงคราม
สะพานไม้เก่าที่ชาวบ้านสร้างขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กองทัพญี่ปุ่นแพ้สงครามและถอยทัพกลับ และทำการเผาสะพานไม้ทิ้ง ส่งผลให้ชาวเมืองปายที่เคยใช้สะพานร่วมกับทหารญี่ปุ่น ต่างเกิดความไม่สะดวกในการสัญจร เพราะความเคยชินกับสะพานไม้ ชาวเมืองปายจึงได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานไม้ขึ้นมาอีกครั้ง และสะพานไม้ใหม่นี้ถูกใช้งานได้เกือบ 27 ปี ก็มาเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ส่งผลรุนแรง ทำให้สวนผลไม้ ไร่นา ร่วมทั้งสะพานไม้นี้ได้ถูกน้ำพัดหายไป
เมื่อไม่มีสะพานแล้ว และหากจะสร้างสะพานไม้ขึ้นมาอีกก็อาจเจอกับปัญหาสะพานไม่แข็งแรงทนทาน ดังนั้นทางอำเภอปายจึงได้ทำเรื่องขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้ว นำมาใช้แทนสะพานไม้เดิม ในปี พ.ศ.2518 สะพานนวรัฐจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกรื้อและทยอยมาประกอบใช้ใหม่ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้เวลาประกอบ 1 ปีเต็มเป็น "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
บริการล่องแพลุงบุญ แม่น้ำปาย หลังจากเดินทางมาจากเชียงใหม่ผ่านโค้งมากมายและได้มาหยุดพักกันที่สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองปายกันไปบ้างแล้ว ก็เดินเล่นกันบนสะพานครับ ตัวสะพานเป็นเหล็กทาด้วยสีเขียว และมีพื้นไม้ต่อกันเป็นทางตามความยาว ข้างๆ สะพานมีบริการล่องแพของลุงบุญด้วย บริเวณหัวสะพานและท้ายสะพานมีแม่ค้าขายทั้งอาหาร เสื้อผ้า ของที่ระลึก ร่วมไปถึงร้านกาแฟเก๋ๆ ให้คุณได้ใช้บริการ
สะพานคอนกรึตที่สร้างคู่กัน
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
แม่น้ำปาย
ร้านขายของบริเวณหัวสะพาน
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
ร้านแกแฟอยู่ใกล้กับสะพาน
|
|
| ||||||||||||||||||||||||||
|
| ||||||||||||||||||||||||||
|
| ||||||||||||||||||||||||||
โปรโมชั่นจองโรงแรม |
|||||
921 โรงแรม |
510 โรงแรม |
963 โรงแรม |
447 โรงแรม |
296 โรงแรม |