เที่ยวบุรีรัมย์ ชมมหัศจรรย์ปราสาทหินพนมรุ้ง

0

สวัสดีเพื่อนๆดูเอเซียทุกท่าน วันนี้ดูเอเซียจะพาเพื่อนๆไปเยือนแดนดินถิ่นอิสานใต้ จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าของคำขวัญ “เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม” รับรองว่าได้สัมผัสกับของดีของจังหวัดบุรีรัมย์กันอย่างจุใจเลยทีเดียว

 

panomrung2556_1การเดินทางในครั้งนี้ เราได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ และ บริษัท สมาย แพลนเนท ทราเวล จำกัด ในการอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ตรงไปจังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากเข้าที่พักเก็บของเตรียมตัวกันเรียบร้อย ก็ถึงเวลาอาหารกลางวันพอดี มื้อนี้เราได้ลิ้มลอง “ไข่มดแดง” อาหารขึ้นชื่อของทางภาคอิสาน ไข่มดแดงก็คือไข่ที่จะฟักออกมาเป็นมดแดง มีโปรตีนสูง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ไข่เจียว ยำ และอื่นๆ สำหรับคนเมืองอาจจะเป็นของแปลก แต่ความจริงแล้ว เป็นอาหารชั้นเลิศที่มีรสชาติดีและมีราคาแพงกว่าเนื้อหมูเสียอีก

 

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์

หลังจากทานอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางไปสักการะขอพรกันที่ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ศาลหลักเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในอาคารที่ภายนอกก่อสร้างเป็นปราสาทแบบขอม ตั้งอยู่เคียงข้างศาลเจ้าแบบจีน เสาหลักเมืองบุรีรัมย์ มีความแปลกคือเป็นเสา 2 เสาตั้งอยู่ร่วมกัน ซึ่งพบไม่บ่อยนัก ส่วนสาเหตุที่มี 2 เสา นักวิชาการเชื่อว่า เสาต้นแรกถูกสร้างขึ้นในสมัยตั้งเมืองแป๊ะ ส่วนเสาต้นที่ 2 ถูกสร้างตอนยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด

panomrung2556_4 panomrung2556_5

 

สนามฟุตบอล NEW I-Mobile Stadium

สำหรับเพื่อนๆที่เป็นคอบอล คงจะพอรู้จักสนามฟุตบอลแห่งนี้กันมาบ้างแล้ว สนามไอโมบายเป็นสนามฟุตบอลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้มาตรฐาน FIFA,AFC,AFF สามารถจัดการแข่งขันระดับชาติได้ นอกจากนี้ยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลระดับ ฟีฟ่าที่ ที่สร้างได้เร็วที่สุดในโลก ใช้เวลาเพียง 265 วันเท่านั้น สนามไอโมบายตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง บนพื้นที่กว่า 200 ไร่

panomrung2556_8panomrung2556_10 panomrung2556_9 panomrung2556_11

ปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้งในวันนี้คึกคักเป็นพิเศษ เพราะเป็นวันพิเศษที่แสงอาทิตย์จะลอดผ่านประตู 15 ช่อง ทางจังหวัดจึงจัดงานต้อนรับนักท่องเที่ยวและสื่อมวลชน โดยมี นายอภินันท์ จันทรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธาน มีน้องโบว์ลิ่ง หรือ ปริศนา กัมพูสิริ นางสาวไทยปี 2555 และนางสาวปุณณิศา ศิริสังข์ หรือ น้องใบเตย รองนางสาวไทย มาร่วมแถลงข่าวเชิญชวนประชาชนให้มาดูปรากฎการณ์ที่ยิ่งใหญ่นี้ ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 5-6 เมษายน 2556 นอกจากนี้ยังมีการแสดงฟ้อนรำตามศิลปะท้องถิ่น

สำหรับปรากฎการณ์แสงอาทิตย์จะลอดผ่าน 15 ประตู ในครั้งนี้ ทีมงานดูเอเซียสามารถเก็บภาพมาให้เพื่อนๆชมได้ อย่างสวยงาม หากเพื่อนสนใจจะเดินทางมาเก็บภาพปรากฎการณ์นี้ด้วยตัวเอง ดูเอเซียขอแนะนำให้พกกล้องที่มีจอแสดงภาพแบบฝาพับมาด้วย จะถ่ายภาพได้สะดวกมาก

ปราสาทเมืองต่ำ

ค่ำคืนนี้ คณะของเราได้รับเชิญไปทานอาหารกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ในบรรยากาศแบบขันโตก ที่ลานหน้าปราสาทเมืองต่ำ มีการบายศรีสู่ขวัญ และการแสดงแสงสีเสียงพร้อมเอฟเฟกต์ตระการตา เป็นการต้อนรับที่อบอุ่นอันเต็มไปด้วยมิตรไมตรีต่อผู้มาเยือนที่น่าประทับใจ

panomrung2556_13

panomrung2556_17 panomrung2556_18

panomrung2556_14 น้องโบว์ลิ่ง นางสาวไทยปี 2556

panomrung2556_21นายอภินันท์ จันทรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์panomrung2556_22

หมู่บ้านทอผ้าไหม

เช้าวันที่ 7 เราเดินทางไปชมวิถีชีวิตชาวบ้านที่ผูกพันกับวัฒนธรรมทอผ้าไหม ที่หมู่บ้านหนองตาไก้ และหมู่บ้านหนองตาไก้น้อย ตำบลหนองกง จังหวัดบุรีรัมย์ ชาวบ้านที่นี่ยังคงรักษาวิถีชีวิตและประเพณีแบบดังเดิมเอาไว้ ชาวบุรีรัมย์มีความเชื่อว่าผ้าไหมเป็นของมีค่าและเป็นมงคล สามารถแทนค่าความรักของผู้ที่มอบให้ได้เป็นอย่างดี

การทอผ้าไหมเป็นงานที่ต้องใช้เวลานาน ต้องมีใจรักและมีความอดทนจึงจะทำได้สำเร็จ ผู้ที่ทอผ้าไหมได้สำเร็จก็จะมีความภูมิใจกับผ้าไหมของตัวเองเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ผ้าไหมที่นี่เป็นสินค้ามีชื่อเสียงและส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ผ้าไหมจึงเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกันมากในหลายหมู่บ้าน

และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน สำหรับที่หมู่บ้านหนองตาไก้แห่งนี้ ได้มีการจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้การทำผ้าไหมแบบครบวงจร ให้นักท่องเที่ยวได้ไปเรียนรู้จากของจริง โดยแบ่งออกเป็น 5 ฐาน ฐานที่ 1 มีแปลงปลูกหม่อนขนาดใหญ่ ฐานที่ 2 เป็นฐานการเลี้ยงไหม สาวไหม ฐานที่ 3 เป็นการฟอก ย้อม มัดหมี่ ฐานที่ 4 ชมการทอผ้าไหม ฐานที่ 5 แสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแปรรูป

นอกจากนี้ ยังมีบริการโฮมสเตย์ไว้รับรองนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักที่หมู่บ้านได้ด้วย ในราคา 200 บาท ต่อคน ต่อคืน

 panomrung2556_33panomrung2556_34 panomrung2556_35 panomrung2556_36 panomrung2556_30 panomrung2556_46 panomrung2556_49 panomrung2556_50 panomrung2556_44

หมู่บ้านภูเขาไฟ

จากคำขวัญของจังหวัด ที่ว่าบุรีรัมย์เป็นถิ่นภูเขาไฟ ทำให้คณะของเราได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนภูเขาพระอังคาร ตั้งอยู่ที่บ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ภูเขาไฟแห่งนี้เคยมีการประทุเมื่อประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว

ปัจจุบันเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิท กลายเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่ชาวบ้านช่วยกันฟื้นฟูดูแลรักษาไว้เป็นอย่างดี ถึงขนาดที่เริ่มมีสัตว์ป่าปรากฎให้เห็นบ้างแล้ว บริเวณขอบปล่องภูเขาไฟเป็นที่ตั้งของโบราณวัตถุสมัยทวารวดี คือ ใบเสมาเขาพระอังคาร

มีลกษณะเป็นใบเสมาคู่ แกะสลักเป็นรูปทิพยบุคคลในพุทธศาสนาตามแบบมหายาน ซึ่งเป็นเรื่องแปลกเพราะ บริเวณรอบๆในยุคสมัยเดียวกัน ต่างได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราห์มณเป็นส่วนใหญ่ นอกจากจะมีภูเขาไฟเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดแล้ว

ชาวบ้านในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ยังมีการนำเอาดินภูเขาไฟ มาพัฒนาเป็นสินค้าต่างๆ เช่น ผ้าฝ้ายย้อมดินภูเขาไฟ เป็นผ้าฝ่ายทอมือ ที่มีความนุ่มมาก สวมใส่สบาย ไม่ระคายเคือง หรือข้าวสาร ผักผลไม้ ที่ปลูกด้วยดินภูเขาไฟ ที่ชาวบ้านนำมาให้ลองชิมก็มีรสชาติหวานอร่อยติดใจเช่นเดียวกัน

panomrung2556_51 panomrung2556_53 panomrung2556_54 panomrung2556_55 panomrung2556_56 panomrung2556_57

ข้อมูลเพิ่มเติม

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ชมปรากฎการณ์มหัศจรรย์เขาพนมรุ้งระหว่างวันที่ 4-6 เมษายน 2556 สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

– สำนักงานท่องเที่ยวและกี่ฬา จังหวัดบุรีรัมย์ 044-620171 http://buriram.mots.go.th

– สำนักงานประชาสัมพันธ์จงหวัดบุรีรัมย์ 044-611975 http://pr.prd.o.th/buriram/

– ที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โทร 044-620716

– ที่ทำการปกครองอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โทร 044-628119

 

การเดินทาง

การดินทางโดยรถยนต์ จากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ

  1. ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-นางรอง (ทางหลวงหมายเลข 208) ระยะทาง 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 24 ไป 14 กิโลเมตร ถึงบ้านตะโกเลี้ยวขวา ผ่านบ้านตาเป๊ก ไปพนมรุ้งอีก 12 กิโลเมตร
  2. ใช้เส้นทางสายบรีรัมย์-ประโคนชัย (ทางหลวงหมายเลข 23) ระยะทาง 44 กิโลเมตร จากตัวอำเภอประโคนชัย มีทางแยกไปพนมรุ้งระยะทางอีก 21 กิโลเมตร (เส้นทางนี้ผ่านแยกเข้าปราสาทเมืองต่ำด้วย)

เชิญแสดงความคิดเห็น