สิรินาถราชินี ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ชุมชนบำบัดปากน้ำปราณ

0

ชุมชนปากน้ำปราณเป็นชุมชนที่เติบโตขึ้นมาจากการทำประมง  เป็นแหล่งอาหารทะเลคุณภาพดี ทั้งหมึกสด หมึกแดดเดียว ฯลฯ  ที่นี้คุณสามารถชมวิถีชีวิตชาวประมงรวมถึงป่าชายเลน 100ปี  นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมดีๆ คือการเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน  ที่เราควรให้ความสำคัญเพราะมีประโยชน์ในระบบนิเวศเป็นอย่างมาก

save-water (2)save-water (18)

ในแถบอำเภอปราณบุรีมีเรือนแถวไม้รุ่นเก่าแทรกสลับกับอาคารพานิชย์สมัยใหม่ มีร้านอาหารทะเลรสดีและร้านขายของฝากหลายแห่งเป็นแหลงที่นักท่องเที่ยวชอบหาอาหารจำพวก อาหารทะเลทานมากที่สุด เพราะที่นี้ เป็นที่ ๆ สด และอร่อยมาก เที่ยวเล่นชิมอาหารทะเลแล้ว  ลองมาเที่ยวชมศูนย์ศึึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนกันด้วยนะครับ

save-watersave-water (22) save-water (23)  save-water (16)

ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นที่เรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างแห่งแรกของประเทศไทย  เดิมเป็นพื้นที่สัมปทานนากุ้งในช่วงปี พ.ศ.2524-2539 ป่าผืนนี้ฟื้นชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จฯ ปราณบุรี ปี พ.ศ.2539 กรมป่าไม้สนองพระราชดำริ ด้วยการยกเลิกสัมปทานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกทั้งยังดำเนินการฟื้นฟูป่าด้วยการกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายปลูกป่า (Forest Plantation Targer- FPT) ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ในปี พ.ศ.2539 ซึ่ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมโครงการและดำเนินการปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ในเวลาต่อมา

save-water (4) save-water (8) save-water (9) save-water (10) save-water (11) save-water (12) save-water (13) save-water (15)

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนแห่งนี้ ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย(Thailand tourism Awards 2010) ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553

save-water (19) save-water (21)save-water (20) save-water (23) save-water (5) save-water (6)

โกงกางเป็นไม้เด่นประจำป่าชายเลน มีทั้งโกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่

โกงกางใบเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhizophora apiculata เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ขึ้นได้ในดินเลนที่ค่อนข้างอ่อน ลึกและมีน้ำทะเลท่วมถึงตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบไม้ชนิดนี้ขึ้นตามชายฝั่งทะเลริมแม่น้ำ, ชายคลองและป่าชายเลน นอกจากประเทศไทยแล้วยังสามารถพบในตอนเหนือของออสเตรเลีย, กวม, ศรีลังกา, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไมโครนีเซีย, นิวแคลิโดเนีย, ปาปัวนิวกินี, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, หมู่เกาะโซโลมอน, ไต้หวัน, ประเทศวานูอาตู, และเวียดนาม

มีชื่อพื้นเมืองดังนี้: โกงกาง (ระนอง), โกงกางใบเล็ก (ภาคกลาง), พังกาทราย (กระบี่), พังกาใบเล็ก (พังงา)

โกงกางใบใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhizophora mucronata เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกลำต้นสีเทาเข้มถึงดำ แตกเป็นร่อง รอบๆโคนต้นมีรากค้ำยันเพื่อพยุงลำต้นให้แข็งแรง สามารถดำรงต้นได้ในดินโคลน ใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรียงเป็นคู่ตรงข้าม ใบสีเขียวอ่อนมีจุดดำที่ก้านใบ ใบเกล็ดสีแดง หุ้มยอดอ่อน ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน มี 4 กลีบ กลีบดอกสีขาว 4 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเดี่ยว ทรงคล้ายลูกข่าง สีน้ำตาล ผิวของผลหยาบสาก ผลงอกตั้งแต่อยู่บนต้น เป็นฝักตรงสีเขียวอ่อน ส่วนที่ติดกับขั้วมีกลีบเลี้ยง

พบในป่าชายเลน เป็นไม้ใช้ก่อสร้าง เผาถ่าน น้ำจากเปลือกใช้ล้างแผลและดื่มแก้ท้องร่วง

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี  ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย  ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เสียค่าใช้จ่าย

หมู่คณะ (50 – 100 คน) จองรอบเข้าชมได้ในวันอังคาร,พุธ และพฤหัสบดี

เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีรอบการนำชมเวลา 10.00 น. และเวลา 14.00 น.

สอบถามรายละเอียด 
โทรศัพท์ 032-632 255 , 086-607 7712
โทรสาร 032-632 255

เชิญแสดงความคิดเห็น