สวนสราญรมย์สวยเก่าแก่นับ 100 ปี

0

ดูเอเซียพาเที่ยวชมบรรยากาศสบายๆที่สวนสราญรมย์สวนเก่าแก่ ที่มีอายุนับ 100 ปี ซึ่งสร้างขึ้นในเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ที่มีต้นแบบมาจากสวนพฤกษาศาสตร์ในต่างประเทศ ปัจจุบันไดรับการปรับปุรงให้เป็นสวนรุกชาติและสวนสาธารณะมีน้ำพุพานโลหะด้านหน้าสวน อีกทั้งโบราณสถานต่างๆโดยรอบ บอกเล่าถึงอิทธิพลการจัดสวนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ได้รับอิทธิผลจากอารยธรรมตะวันตก

saranlom saranlom (1) saranlom (5) saranlom (6)

ประวัติความเป็นมา

พระราชอุทยานเก่าแก่คู่พระนครมานับศตวรรษ คือนิยามของสวนสราญรมย์ในอดีต ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังสราญรมย์ ที่ตั้งอยู่นอกกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก พระราชวังแห่งนี้รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างใน พ.ศ. 2409 ตรงบริเวณตึกดินเก่า เพื่อเป็นที่ประทับหลังทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้ว แต่ยังสร้างไม่เสร็จก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน จนมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระราชทานให้ใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์ เมื่อแรกเสด็จจากวังหลวง ก่อนที่วังส่วนพระองค์จะสร้างเสร็จ ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับพระราชอาคันตุกะจากต่างแดน เช่น เจ้าชายออสคาร์ พระราชโอรสแห่งกษัตริย์สวีเดนในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งเจ้าชายพระองค์นี้ทรงบันทึกไว้ถึงความงดงามของพระราชอุทยานสราญรมย์ว่า ” งดงามแปลกตา มีสถานที่เลี้ยงสัตว์และนก” รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ตกแต่งราชอุทยานให้สวยงามร่มรื่น โดยให้นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ ซึ่งรอบรู้ด้านพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ดูแลจัดการสวนหลวง จนพระราชอุทยานสราญรมย์เป็นที่ร่ำลือว่า ” งามน่าชมมากเป็นที่เสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายในเสมอๆ ” มีการตกแต่งด้วย สระน้ำพุ สวนไม้ดอกไม้ประดับ กล้วยไม้ ไม้ยืนต้น โดยเฉพาะ “กุหลาบแดง” ไม้ดอกที่ทรงโปรดปราน มีกรงสัตว์ กรงนก สระจระเข้ เลี้ยงไว้ดูเล่น

ต่อมาในปี 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ 6) ทรงโปรดใช้พระราชอุทยานเป็นที่ฝึกซ้อมวิชาทหารแก่มหาดเล็กรักษาพระองค ์และเป็นศูนย์กลางขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และแนวความคิดใหม่ ๆ ในนาม “ทวีปัญญาสโมสร” และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ทรงใช้เป็นที่จัดงานฤดูหนาวประจำปี ในรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เป็นที่ตั้งของสโมสรคณะราษฎร์สราญรมย์ ต่อมาสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย และกรมประชาสงเคราะห์เคยใช้เป็นที่ทำการ รวมถึงใช้สถานที่จัดประกวดนางสาวไทย จัดงานวชิราวุธ ทั้งยังเคยเป็นตลาดนัด ตลาดขายสุนัขอัลเซเชี่ยนในยามบ่ายเมื่อครั้งอดีต ซึ่งต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 2503 รัฐบาลได้มอบให้กรุงเทพมหาครดูแลและ ประปรุงเป็นสวนสาธารณะตั้งแต่นั้นมา

saranlom (10) saranlom (11) saranlom (12) saranlom (13) saranlom (14) saranlom (9)

ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวน

ความมีชีวิตชีวาของสวนสราญรมย์ดูจะเริ่มแต่เช้ามืดของทุกวัน ภาพกระแสผู้คนในย่านเกาะรัตนโกสินทร์ หลั่งไหลกันมาออกกำลังกายตามความพึงพอใจ แม้แต่รูปแบบที่แฝงด้วยศิลปวัฒนธรรมอย่างเช่น รำมวยจีน รำกระบี่ ควงกระบอง ลีลาศ ก็มีให้เห็นทั้งเช้าและเย็น ส่วนสถานที่พบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ห้องเรียนธรรมชาติแห่งวิชาศิลปะและนิเวศวิทยาของเด็ก คือบทบาทในเวลากลางวันของสวนสราญรมย์เช่นกัน ภาพดังกล่าวสะท้อนคุณค่า และบทบาทต่อชุมชนของสวนสาธารณะใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี และด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานผ่านกาลเวลามา นับศตวรรษ ทำให้ทุกหนแห่งในสวนสามารถสะท้อนลักษณะสวนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก เห็นได้ชัดจากโบราณวัตถุสถานประกอบสวน และแฝงไว้ด้วยตำนานแห่งความรักความอาลัย ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ในอดีตและพระอัครมเหสี เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ที่สร้างให้พระราชอุทยานในอดีตกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในรูป “สวนศิลปวัฒนธรรม”

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2426 เป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก อาลัยที่พระองค์มีต่อพระอัครมเหสี และพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ผู้สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม สร้าง ณ บริเวณที่พระนางเคยทรงพระสำราญ เมื่อครั้งทรงมีพระชนม์ชีพ มีพื้นที่ 176079 ตารางเมตร อนุสาวรีย์ทำด้วยหินอ่อนบอกเล่า คำจารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของพระองค์จากการสูญเสียในครั้งนั้น

saranlom (30) saranlom (31) saranlom (32) saranlom (34) saranlom (35) saranlom (18) saranlom (19) saranlom (20) saranlom (21)

ศาลาเรือนกระจก   ตึกโถงชั้นเดียวกรุกระจก มีดาดฟ้าตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลาย วิจิตร ใน พ.ศ. 2447 เป็นที่ตั้งของทวีปัญญาสโมสร และโรงละครทวีปัญญา เป็นสโมสรแบบตะวันตกของเจ้านายและข้าราชกาชั้นสูง มีการออกหนังสือทวีปัญญารายเดือน การเล่นกีฬาในร่มและกลางแจ้ง ละครพูด และห้องอ่านหนังสือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรเรียน ต้นไม้กทม. ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาศาลากระโจมแตร งดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม ใช้บรรเลงแตรวงทหารเรือ และดนตรีอื่น เวลามีงานเลี้ยงบริเวณพระราชอุทยาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6   ครั้งทรงดำรงพระอิสริยายศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร

saranlom (33)

ศาลาแปดเหลี่ยม เป็นศาลาพักผ่อน แสดงลักษณะสถาปัตย- กรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่   5 ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง คือ เก๋งจีนในอดีตเมื่อครั้งสร้างสวน ศาลากระโจมแตร งดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม ใช้บรรเลงแตรวงทหารเรือ และดนตรีอื่น เวลามีงานเลี้ยงบริเวณพระราชอุทยาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6   ครั้งทรงดำรงพระอิสริยายศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร

ต้นจำปาเทศ ( Pterospermum acerifolium ) พันธุ์ไม้ หายากของไทยที่อนุรักษ์ไว้ ปลูกอยู่ข้างอาคารเรือนกระจก ดอกมี ลักษณะแปลกสวยสะดุดตามีกลิ่นหอม ออกดอกราวเดือน ม.ค.-ก.พ.

ดนตรีในสวน การแสดงดนตรีไทย สากล สลับหมุนเวียนกับสวน สาธารณ อื่นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะแสดงในช่วงเวลาเย็น

นันทนาการในสวน จัดให้มีการนำเต้นแอโรบิคทุกวันตอนเย็น ซึ่งมีประชาชนสนใจมาก

saranlom (29) saranlom (25) saranlom (26) saranlom (27) saranlom (28)saranlom (38)saranlom (39)saranlom (40)saranlom (41)saranlom (2)saranlom (37)

ที่ตั้ง : ระหว่างถนนเจริญกรุง ตัดกับ ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม.

ขนาดพื้นที่ : 23 ไร่

เวลาทำการ : 05.00 -21.00 น. ทุกวัน

ประเภทของสวน : สวนหมู่บ้าน หรือ สวนละแวกบ้าน

M_saranrom map

รถประจำทาง
 : ถนนเจริญกรุง สาย 1, 6, 12, 25, 43, 48, 75, 86

: ถนนราชินี ปอ. 1, ปอ. 12

 : ถนนสนามไชย สาย 3, 9, 91, ปอ. 6, ปอ. 7
แหล่งข้อมูล : สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม

เชิญแสดงความคิดเห็น