ศาลาแก้วกู่ อุทยานเทวาลัย

0

kwewkoo (8)

สวัสดีครับ ทริปนี้ดูเอเซีย อยู่ที่จังหวัดหนองคาย เมืองพญานาค และจะพามาชมสถาปัตยกรรม ผลงานทางศาสนา ที่เกิดขึ้นมาจากแรงศรัทธาล้วนๆ ที่เรียกได้ว่า หากผู้ใดเข้ามาที่แห่งนี้แล้ว จะนึกว่าอยู่ในดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ที่แห่งนี้ก็คือ ศาลาแก้วกู่แก้วกู่ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดแขก จังหวัดหนองคายนั่นเอง

kwewkoo (2)
ชาวหนองคายหลายคนเรียกที่นี่ว่า วัดแขก” คนไกลหลายคนอาจจะคุ้นชื่อ “ศาลาแก้วกู่แก้วกู่” จากข่าวดังเมื่อต้นปี 2549 ที่มีเชื้อพระวงศ์เจ้าลาวและชายาถูกลอบสังหาร ขณะมาเที่ยวชมสถานที่นี้บ้าง หากมีจังหวะและโอกาสแล้วควรไปดูให้เห็นกับตา โดยเฉพาะนักประวัติศาสตร์ศิลปะและผู้เชี่ยวชาญทางประติมานวิทยาทั้งหลายคงได้มุมมองนอกตำราที่คาดไม่ถึงเพิ่มขึ้นอักโข 

kwewkoo (18) kwewkoo (22) kwewkoo (23) kwewkoo (24) kwewkoo (25) kwewkoo (1) kwewkoo (6) kwewkoo (9) kwewkoo (15)

ศาลาแก้วกู่แก้วกู่สร้างขึ้นโดยการนำของ “ปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์” หรือ ปู่เหลือ” (พ.ศ. 2476–2539) ซึ่งมีประวัติชีวิต และผลงานอัศจรรย์เกินกว่าจะประมวลได้ จึงขอเก็บความจากหนังสือ “ศาลาแก้วกู่แก้วกู่” ฉบับ พ.ศ. 2540 พิมพ์ครั้งที่ 3 มาไว้พอสังเขป

เมื่อนางคำปลิว สุรีรัตน์ (พี่สาวคนโต) ชาวหนองคาย แต่งงานได้ระยะหนึ่งก็ฝันว่ามีชีปะขาวนำนาคมรกตมามอบให้ แต่บอกว่าอีก 7 เดือน ค่อยไปรับมาเป็นของตน ต่อมาแม่ตั้งท้องลูกคนที่เจ็ดในวัยสูงอายุ และหมดประจำเดือนแล้ว และคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน ทุกคนจึงเชื่อว่าเป็นไปตามนิมิตในฝัน นางคำปลิวและสามีจึงรับน้องชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่แรกเกิด

kwewkoo (19) kwewkoo (21) kwewkoo (4) kwewkoo (5) kwewkoo (11) kwewkoo (12) kwewkoo (14) kwewkoo (16) kwewkoo (17) kwewkoo (33)

ด.ช.บุญเหลือ ชอบเข้าวัดมาแต่เด็ก พออายุได้ 6 ปี นางคำปลิวเสียชีวิตลง สามีนางคำปลิวมีภรรยาใหม่ ด.ช.บุญเหลือ จึงกลับไปอยู่กับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด แต่มักขัดขวาง ห้ามปรามผู้ใหญ่ในทางบาปต่างๆ จึงไม่เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง ครั้นอายุ 12 ปี ทนความกดดันรอบข้างไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านรอนแรมไปจนพบสำนักอาศรมแก้วกู่แก้วกู่ในเขตแดนลาว และได้ฝากตัวศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมอยู่กับพระมุนีที่นั่น จนอายุครบ 20 ปี พระมุนีจึงให้ออกจากสำนักไปจาริกแสวงบุญโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล เมื่ออายุ 30 ปี จึงได้กลับมาปรนนิบัติตอบแทนคุณในวาระสุดท้ายของชีวิตพ่อแม่ ก่อนแม่สิ้นบุญในปี 2507 ได้มอบที่ดิน 8 ไร่ ณ บ้านเชียงควาน เมืองท่าเดื่อ เวียงจันท์ ไว้เป็นมรดก 

ปี พ.ศ. 2513 ปู่เหลือได้พัฒนาที่ดินดังกล่าวสร้างเป็น ปูชนียสถานเทวาลัยอย่างมหึมา” พุทธศาสนิกชนทั้งในภาคพื้นยุโรป และเอเชียเลื่อมใสมาก แต่เมื่อเกิดเหตุ วิกฤตในราชอาณาจักรลาวเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่ จึงพาลูกศิษย์ข้ามโขงมา และรวมกันจัดตั้งเป็นพุทธมามกสมาคมจังหวัดหนองคาย” โดยกรมการศาสนารับรองให้ในปี พ.ศ. 2519 ปี พ.ศ. 2521 สานุศิษย์ได้จัดซื้อที่ดินราว 41 ไร่ ในเขตบ้านสามัคคี ต.หาดคำ ถวายให้เป็นที่ตั้งสำนักจวบจนปัจจุบัน 

ต้นปี พ.ศ. 2527 ปู่เหลือถูกใส่ความและมีผู้ไปแจ้งตำรวจตั้งข้อหาฉกรรจ์ (ซึ่งทางสำนักขอสงวนไว้) ต้องอยู่ในเรือนจำจนถึงปลายปี 2529 เมื่อออกมาแล้วก็สร้างเทวรูปอีกมากมาย ทั้งเล็กและใหญ่ และทั้งขนาดที่สูงถึง 33 เมตร เมื่อสร้างทั้งพุทธรูปและเทวรูปถึง 209 ปางแล้ว ก็สร้างศาลาแก้วกู่แก้วกู่หลังใหม่ โดยรื้อหลังเก่า (พ.ศ. 2523–2538) ที่ทรุดโทรมลง ขณะก่อสร้างศาลาหลังใหม่ ปู่เหลือก็ล้มป่วยและต่อมาได้เสียชีวิตลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 สานุศิษย์ได้นำผอบแก้วใส่ร่างของท่านไว้ตามความประสงค์ก่อนสิ้นชีวิต

kwewkoo (37) kwewkoo (41) kwewkoo (30) kwewkoo (31) kwewkoo (34) kwewkoo (35)kwewkoo (39)kwewkoo (42)kwewkoo (36)kwewkoo (38)

รูปปั้นทั้งเล็กใหญ่เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วว่ากันว่ามีไม่น้อยกว่าหลักพัน ที่ฐานของเทวรูปและรูปปั้นต่างๆ จะมีคำบรรยายจารึกไว้ซึ่งมีทั้งภาษาไทย ภาษาอีสาน และส่วนที่เรียกว่า ปริศนาธรรม” บ้างคนนิยมมาเที่ยวชมที่นี่เหมือนมาเที่ยวชมภาพจำลองนรก-สวรรค์ และดินแดนรวมแห่งทุกศาสนา

สำหรับเพื่อนๆคนไหนมีความสนใจ ในเรื่องของสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ คงจะมีสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้จากศาลาแก้วกู่แก้วกู่ไม่น้อยทีเดียว ดูเอเซียคิดว่าสถานที่ที่สร้างขึ้นมาจากแรงศรัทธาเช่นนี้ และมีจุดประสงค์เพื่อให้มนุษย์ทำดี ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ก็เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชมความอลังการดังกล่าวแล้ว ดูเอเซียแนะนำนะครับ ใครมาที่จังหวัดหนองคายพลาดไม่ได้ที่จะมาชมอุทยานเทวาลัย ดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ที่ศาลาแก้วกู่แห่งนี้นะครับ

 

การเดินทาง  ออกจากตัวเมืองหนองคาย เลี้ยวซ้าย ตรงไปประมาณ 3 กม. ศาลาแก้วกู่แก้วกู่ จะอยู่ทางขวามือ ตั้งอยู่ที่ชุมชนสามัคคี อ.เมือง จ.หนองคาย

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.lib.ru.ac.th/journal/nongkhai/nongkhai_sarakaewkoo.html

เชิญแสดงความคิดเห็น