ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

0

การที่เราจะอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้อย่างสงบสุข และราบรื่นนั้น เราก็ควรจะต้องให้ความเคารพสักการะ แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำที่แห่งนั้น และในเมืองหลวงสุดวิไลอย่างกรุงเทพมหานครนั้นก็คงต้องเป็นวัดพระแก้ว และศาลหลักเมืองที่อยู่ใกล้กัน  ในวันนี้ ดูเอเซียก็ขอมาสักการะศาลหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในเมืองกรุงให้สบายใจกันสักหน่อย

lukmuangbangkoklukmuangbangkok (28) lukmuangbangkok (19)

ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ สามารถเข้าได้ทั้ง 2 ทางคือ ฝั่งศาลฎีกา และฝั่งกระทรวงกลาโหม ซึ่งแต่ละฝั่งก็จะมีแม่ค้าตั้งแผงล็อตเตอรรี่เรียงรายกันเต็มบริเวณ แล้วก็จะมีแม่ค้านำดอกไม้ ธูปเทียนเข้ามายื่นให้ ซึ่งตอนแรกคิดว่าด้านในไม่มีขาย จึงได้ซื้อมา ในราคา ชุดละ 20 บาท แต่ปรากฏว่าด้านในก็มีขายโดยบริจาคตามกำลังศรัทธา แต่ก็แล้วแต่ละคนล่าอยากช่วยแม่ค้าเหล่านี้หรือไม่ค่ะ แล้วเราก็เข้าไปข้างใน จุดที่เค้าจัดให้จุดธูปเทียนได้จะอยู่ด้านหน้าขององค์เสาหลักเมือง ซึ่งจะมีเสาหลักเมืองจำลองให้สักการะอยู่ 3 องค์ด้วยกัน เมื่อสักการะเรียบร้อยแล้วก็สามารถเข้าไปสักการะองค์จริงทางด้านใน หรือใครอยากตรวจดวงชะตาก็มีเซียมซีไว้ให้ทำนายด้วย

รอบๆบริเวณศาลหลักเมือง มีการจัดสวนหย่อมเล็กน่ารัก และมีเก้าอี้ให้นั่งพักผ่อน มีการทำบุญหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเติมน้ำมันตะเกียง การบูชาผ้าสี หรือการบูชาพระ แล้งยังมีน้ำมนต์ไว้ให้ผู้ที่ต้องการสิ่งมงคลแก่ชีวิต โดยทางเจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมถุงไว้ให้คอยอำนวยความสะดวก

ไหว้องค์หลักเมืองจำลองด้านนอกก็ได้

 lukmuangbangkok (2) lukmuangbangkok (5) lukmuangbangkok (6) lukmuangbangkok (7) lukmuangbangkok (8) lukmuangbangkok (9)

ประวัติศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา 6.54 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
lukmuangbangkok (13)lukmuangbangkok (20) lukmuangbangkok (12) lukmuangbangkok (14)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช 2395

ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ. 2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง

มีเรื่องเล่าสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ว่าในพิธีสร้างพระนคร ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ 4 ประตูเมือง และ พิธีฝังเสาหลักเมือง การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องเรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน-จัน-มั่น-คง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองผู้เคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมทั้งเป็น ทั้ง 4 คน เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท คอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องเล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ไม่มีบันทึกในพงศาวดาร

ที่ประดิษฐานพระเสื้อเมืองพระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี

lukmuangbangkok (22) lukmuangbangkok (23) lukmuangbangkok (27)lukmuangbangkok (24)lukmuangbangkok (25)

การเดินทาง

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งวัดพระแก้ว ใกลักับกระทรวงกลาโหม ท่านสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางหรือรถยนต์ส่วนตัวได้โดยสะดวก นอกจากนี้ท่านสามารถนั่งเรือมาขึ้นยังฝั่งท่าช้างแล้วก็เดินผ่านหน้าวัดพระแก้วมานิดหน่อยก็จะถึงยังศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

เชิญแสดงความคิดเห็น