วัดอัมพวันเจติยาราม

0

ดูเอเซียพาเพื่อนๆ ไปเที่ยว อำเภออัมพวากันอีกแล้วแต่ไม่ได้พาไปเดินตลาดน้ำกันนะครับ เรามาบอกข่าวคราวเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต และมองข้ามไป

amphawanjetiyaram (15) amphawanjetiyaram (16) amphawanjetiyaram amphawanjetiyaram (1) amphawanjetiyaram (2)amphawanjetiyaram (32)

“วัดอัมพวันเจติยาราม” ซึ่งหากไม่สังเกตุก็จะไม่เห็น และอาจจะคิดว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่อุทยาน ร.2 เพราะวัดอัมพวันเจติยาราม อยู่ติดกับอุทยาน ร.2 เลยล่ะครับ แล้วที่สำคัญ เเป็นสถานที่เข้าออกของรถต่างๆ ที่วิ่งผ่านไป- มา เพื่อเข้าไปจอดรถที่บริเวณ ลานจอดรถ หน้าอุทยาน ร.2

วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ปากคลองอัมพวาด้านเหนือ เดิมเรียกกันว่า “วัดอัมพวา” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอัมพวันเจติยาราม” มีความหมายว่า “วัดที่มีเจดีย์และมีสวนมะม่วงเป็นที่รื่นรมย์และเกษมสำราญน่าเคารพบูชา”

ภายในอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม
amphawanjetiyaram (3)
amphawanjetiyaram (4) amphawanjetiyaram (5) amphawanjetiyaram (6)

เมื่อเดินเข้ามาก็จะพบกับ พระอุโบสถ ที่มีลักษณะทรวดทรงเหมือนพระอุโบสถของวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้นตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเรื่องราวเกี่ยวกับบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไกรทอง อิเหนาและคาวี

จิตรกรรมสวยงามมากๆ
amphawanjetiyaram (11) amphawanjetiyaram (12) amphawanjetiyaram (7)

ภาพจิตรกรรมบริเวณผนังระหว่างช่องประตูด้านล่าง ซึ่งเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เป็นส่วนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงฝีพระหัตถ์พระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หน้าทหารกลอง และต้นไม้ข้างป้อมริมกำแพง

ฝีพระหัตถ์ของพระเทพฯ
10
11

และบริเวณด้านขวาของพระอุโบสถ จะมี พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐานอยู่ใกล้พระอุโบสถทางด้านหน้าพระวิหาร ทำการหล่อที่กรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เสด็จ เททองเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2509 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกถฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2520

ส่วนด้านหลังเยื้องไปทางขวาจะเจอกับ พระวิหาร ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวิหารมีพระนอนองค์ใหญ่ ตั้งแต่พระเศียรจนถึงพระบาท วัดได้ 19 ศอก มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่รอบระเบียงพระวิหาร จำนวน 52 องค์

amphawanjetiyaram (17)amphawanjetiyaram (18) amphawanjetiyaram (19)

พระปรางค์ อยู่ด้านในพระวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบริเวณสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อบรรจุพระบรมสรีรังคารและพระบรมอัฐิบางส่วนของพระราชชนก

สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยamphawanjetiyaram (13)amphawanjetiyaram (15)

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจภายวัดอัมพวันเจติยาราม ได้แก่ พระที่นั่งทรงธรรม ที่เดิมเป็นตำหนักไม้ที่ประทับของสมเด็จพระรูปฯ ก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งทรงธรรม” เพราะสมเด็จพระรูปฯ เมื่อคราวบวชชีได้ทรงฟังธรรมในที่นั้นเป็นประจำ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีรูปทรงดังปรากฏในปัจจุบัน ในคราวบูรณะใหญ่ปี พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ (สธ) ไว้ที่หน้าบัน ภายในพระที่นั่งทรงธรรมมีพระประธานและมีพระพุทธบาทจำลอง 5 รอย อยู่ด้านหน้า

พระที่นั่งทรงธรรม
amphawanjetiyaram (22)amphawanjetiyaram (23) amphawanjetiyaram (24) amphawanjetiyaram (25)amphawanjetiyaram (29)

amphawanjetiyaram (31)กุฏิใหญ่ มีลักษณะเป็นเรือนหมู่ทรงไทยใต้ถุนสูง ด้านเหนือเป็นบันไดใหญ่ ด้านใต้เป็นหอสวดมนต์ มีหอฉันตรงกลาง ของเดิมเป็นฝีมือช่างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการบูรณะบ้างในรัชกาลต่อ ๆ มา จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน

พระตำหนักมีอยู่ 2 ตำหนัก คือ ตำหนักใหญ่อยู่ด้านทิศใต้ของวัด และพระตำหนักเล็กอยู่ด้านทิศตะวันตก พระตำหนักทั้งสองเดิมเป็นเรือนไม้สักทรงไทย ฝาเฟี้ยม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างไว้ที่สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังพระราชทานแก่สมเด็จพระมหสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แล้วสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงประทานออกมาไว้ที่วัดอัมพวันเจติยามรามพร้อมกับแท่นบรรทม ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 

ประวัติความเป็นมาของ วัดอัมพวันเจติยาราม

เกี่ยวข้องกับต้นราชวงศ์จักรี คือ พระชนกชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๑ ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือของวัดจุฬามณี วันหนี่งขณะที่ท่านทั้งสองถือศีลอุโบสถอยู่ที่วัดจุฬามณี เกิดเพลิงไหม้บ้านจนหมดสิ้น จึงย้ายบ้านเรือนไปปลูกที่ริมคลองอัมพวาที่เป็นวัดอัมพวันเจติยารามในปัจจุบัน ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ ดำรงพระยศเป็น หลวงยกระบัตรเมืองราชบุรี เมื่อเกิดสงครามพม่าในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาได้พาครอบครัว อพยพมาอยู่ที่บ้านอัมพวา สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีจึงมีพระประสูติกาล ณ บ้านอัมพวาแห่งนี้

amphawanjetiyaram (14)

 

เมื่อสมเด็จพระชนกสวรรคต สมเด็จพระราชชนนีของ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์จึงอุทิศบ้านและสวนบริเวณนั้นสร้าง เป็นวัดชื่อ วัดอัมพวา ตามชื่อคลอง ต่อมาเรียกกันว่าวัดอัมพวัน ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ได้ทรงชักชวน พระราชวงศ์มาปฏิสังขรณ์ วัดอัมพวันจึงมีฐานะเป็นพระอาราม หลวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เนื่องจากเป็นสถานที่ประสูติของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประชาชนจึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ที่วัดอัมพวันเจติยาราม และบรรจุ พระบรมสรีรังคารของพระองค์ไว้ ที่พระปรางค์ในวิหารวัดอัมพวัน ซึ่งอยู่ด้านหลังอุโบสถด้วย

ถ้าหากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยว ตลาดน้ำอัมพวา ก็อย่าลืมแวะไปสักการะรอยพระพุทธบาท กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และชมความงดงามของภาพวาดจิตกรรมฝาผนัง ซึ่งหนึ่งในนั้นมีฝีพระหัตถ์ของพระเทพฯ ด้วยนะครับ

amphawanjetiyaram (30)

การเดินทาง

รถยนต์  ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ถึงกิโลเมตรที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงครามและออกไปประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตรที่ 36-37 มีทางแยกซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง-บางนกแขวก–ราชบุรี ลงหน้าวัดอัมพวันเจติยาราม

เชิญแสดงความคิดเห็น